Explainer

รัฐต้องเปิดพรมแดนหรือไม่หากออสเตรเลียฉีดวัคซีนได้ถึงเป้า 80%

ขณะที่ออสเตรเลียค่อย ๆ เข้าใกล้เป้าหมายฉีดวัคซีนโควิดแก่ประชากรร้อยละ 80 หลายรัฐและมณฑลแสดงออกว่าอาจไม่เต็มใจเปิดพรมแดนทันทีที่บรรลุเป้าหมายนี้ จนมีแนวโน้มกลายเป็นประเด็นทางรัฐธรรมนูญ

Queensland border sign

Source: AAP/SBS News

ประชาชนหลายล้านคนในออสเตรเลียยังคงไม่อาจข้ามเส้นเขตแดนระหว่างรัฐ บ้างออกจากบ้านได้ไม่เกิน 5 กิโลเมตร ในขณะเดียวกัน ยอดเข้ารับวัคซีนกลับพุ่งสูงขึ้นจากคำมั่นว่า มาตรการจำกัดการเดินทางจะสิ้นสุดลงเมื่อมีจำนวนผู้ได้รับวัคซีนถึงเกณฑ์ที่ตั้งไว้

อย่างไรก็ตาม ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่า เป้าหมายฉีดวัคซีนแก่ประชากรทั่วประเทศให้ได้ร้อยละ 80 เพียงอย่างเดียวนั้นไม่อาจเป็นสัญญาณยุติมาตรการปิดพรมแดนได้

เป็นไปได้แค่ไหนที่รัฐต่าง ๆ จะปิดพรมแดนต่อไป

ศาสตราจารย์แมรี-หลุยส์ แมกลอว์ (Mary-Louise McLaws) จากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (UNSW) ที่ปรึกษาด้านโควิด-19 ขององค์การอนามัยโลก กล่าวว่า มีแนวโน้มสูงที่หลายรัฐอาจจำกัดการเดินทางข้ามรัฐต่อไป
Queensland
A police officer stops a driver at a checkpoint at Coolangatta on the Queensland-New South Wales border. Source: AAP
“หากไม่มีให้ตรวจเชื้อด้วยตัวเอง หากไม่มีการทดสอบภายในพรมแดน เราจะยังเห็นพรมแดนปิดต่อไป ซึ่งจะสร้างปัญหามากมาย”

ขณะนี้ ประชากรวัยผู้ใหญ่ในออสเตรเลียร้อยละ 42 ฉีดวัคซีนครบโดสแล้ว และร้อยละ 67 ได้รับแล้วหนึ่งโดส

ข้อคัดค้านทางกฎหมายในอดีตเป็นอย่างไรบ้าง

ความพยายามยื่นข้อคัดค้านทางกฎหมายต่อมาตรการจำกัดพรมแดนของรัฐที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จ

กรณีดังที่สุดกรณีหนึ่งคือกรณีนายไคลฟ์ พาล์มเมอร์ (Clive Palmer) นักธุรกิจเหมืองแร่ ยื่นข้อคัดค้านต่อศาลสูง ระบุว่ามาตรการปิดพรมแดนเป็นการกระทำละเมิดรัฐธรรมนูญ
Clive Palmer challenges WA border closure in 2020
کلایف پالمر در اوایل ۲۰۲۰ محدودیت مرزی دولت آسترالیای غربی را در دادگاه عالی آسترالیا به چالش کشید. Source: Getty Images AsiaPac
รองศาสตราจารย์เอมีเลีย ซิมป์สัน (Amelia Simpson) จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวว่า ถึงแม้ข้อคัดค้านครั้งนี้ไม่ประสบผล การยื่นข้อคัดค้านในอนาคตอาจคืบหน้ากว่านี้หากสถานการณ์โรคระบาดยืดเยื้อ

“ในแง่ความพร้อมของศาลสูงต่อการตั้งคำถามว่ารัฐบาลรัฐต่าง ๆ ดำเนินการรับมือโควิด-19 กันอย่างไรอยู่นั้น ดิฉันคิดว่ายังเร็วเกินไปถ้าจะขอให้ศาลทำอะไรใหญ่โตอย่างสั่งให้รัฐเปิดพรมแดนโดยไม่สมัครใจ”

รัฐธรรมนูญออสเตรเลียบัญญัติเรื่องนี้ไว้อย่างไร

บทบัญญัติในรัฐธรรมนูญออสเตรเลียที่มักหยิบยกขึ้นมาคัดค้านมาตรการปิดพรมแดนของรัฐมีสองมาตรา ได้แก่ มาตรา 92 และมาตรา 117

มาตรา 92 กล่าวถึงการวางข้อกำหนดอันเป็นไปในลักษณะเดียวกันว่าด้วยหน้าที่ทางศุลกากร การค้า การพาณิชย์ และการติดต่อสัมพันธ์ในหมู่รัฐ ไม่ว่าด้วยวิธีการขนส่งภายในหรือการเดินเรือในมหาสมุทร ต้องกระทำได้อย่างอิสระโดยสมบูรณ์

การติดต่อสัมพันธ์ ในที่นี้หมายถึงการเดินทางเคลื่อนย้ายผู้คนระหว่างรัฐ
มาตรา 117 ระบุว่า ผู้อยู่ภายใต้พระราชอำนาจของสมเด็จพระราชินี ไม่ว่ามีถิ่นอาศัยในรัฐใด ต้องไม่ถูกจำกัดหรือถูกเลือกปฏิบัติใด ๆ ในรัฐอื่นอย่างไม่เท่าเทียมกับเมื่อบุคคลนั้นเป็นผู้อาศัยอยู่ภายใต้พระราชอำนาจของสมเด็จพระราชินีในรัฐอื่นนั้น

ศาตรจารย์แอนน์ ทูมีย์ (Anne Twomey) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายรัฐธรรมนูญจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ (University of Sydney) กล่าวว่า ทั้งสองมาตราไม่ใช่ข้อชี้ขาด เนื่องจากในอดีต ศาลสูงเคยรับรองว่ารัฐสามารถขัดขวางการเดินทางเคลื่อนย้ายได้หากมีเหตุผลอันควรและจำเป็นต่อความปลอดภัยสาธารณะ
“เป็นเช่นนี้มาตลอดว่า อิสระโดยสมบูรณ์ ไม่ได้หมายความว่ามีอิสระโดยสมบูรณ์เสมอไป ต้องมีข้อจำกัดบางอย่างเพื่อเอื้อแก่การดำเนินการอย่างเช่น คุ้มครองสุขภาพประชาชน มีคดีตั้งแต่สมัยทศวรรษที่ 1920 และ 1930 เกี่ยวกับประเด็นนี้ด้วย”

ไม่ใช่ว่ารัฐต่าง ๆ เห็นด้วยกับแผนเป้าหมาย 80% หรือ

ภายใต้แผนเปิดประเทศ 4 ระยะของรัฐบาลสหพันธรัฐ มาตรการล็อกดาวน์มีแนวโน้มลดน้อยลงเมื่อฉีดวัคซีนให้ประชากรได้ร้อยละ 70 โดยจำกัดเหลือแค่ล็อกดาวน์เฉพาะจุดหลังจากประชากรอายุ 16 ปีขึ้นไปร้อยละ 80 ได้รับวัคซีนครบโดสแล้ว
People queue at a Covid-19 vaccination centre in Melbourne
People queue at a Covid-19 vaccination centre in Melbourne Source: AFP
แม้ว่าทุกรัฐและมณฑลเห็นด้วยกับแผนดังกล่าว ถึงตอนนี้หลายรัฐแสดงออกว่า อาจยังไม่พร้อมเปิดพรมแดนทันทีที่บรรลุเกณฑ์ฉีดวัคซีนของประเทศ

รองศาสตราจารย์ซิมป์สันจึงมองว่า มีความเป็นไปได้ที่อาจมีการยื่นคัดค้านต่อศาลสูงอีกในอนาคต
รองศาสตราจารย์ซิมป์สันอธิบายว่า เมื่อเวลายืดระยะออกไปและมีจำนวนประชากรที่ได้รับวัคซีนแล้วเพิ่มมากขึ้น ศาลสูงต้องชั่งน้ำหนักความจำเป็นและเหตุผลของล็อกดาวน์ เทียบกับผลกระทบด้านเศรษฐกิจ จิตใจ และผลที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ

“สักวันสมการความสมเหตุสมผลจะเปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ดิฉันไม่คิดว่ามีใครอยากให้สถานการณ์แบบนี้ดำเนินต่อไปไม่รู้จบ ถึงจะเป็นมุขมนตรีรัฐที่โดนสื่อเรียกว่าผู้ถือสันโดษก็เถอะ”

รัฐบาลสหพันธรัฐลบล้างมาตรการของรัฐได้หรือไม่

ศาสตราจารย์ทูมีย์กล่าวว่า ในทางทฤษฎี รัฐบาลสหพันธรัฐลบล้างมาตรการจำกัดพรมแดนได้ โดยออกข้อบัญญัติแห่งชาติที่มีผลบังคับใช้ครอบคลุมทั่วประเทศ เพื่อกำกับควบคุมการเดินทางเคลื่อนย้ายช่วงภาวะโรคระบาด แต่ที่ผ่านมารัฐบาลสหพันธรัฐเลือกไม่ทำเช่นนั้น

“รัฐบาลสหพันธรัฐเลือกไม่ใช้วิธีนั้น โดยถือว่าเป็นแนวทางตอบสนองด้านสาธารณสุขของแต่ละรัฐเอง ผลที่ตามมาคือ รัฐสามารถตั้งมาตรการจำกัดเหล่านี้ได้”
Rapid Antigen test kits
Rapid Antigen test kits Source: Getty Images Europe
ศาสตราจารย์แมกลอว์ชี้ว่า ที่ผ่านมามาตรการปิดพรมแดนค่อนข้างประสบความสำเร็จในแง่การควบคุมไวรัสในออสเตรเลีย แต่การระบาดของสายพันธุ์เดลตาทำให้สถานการณ์เปลี่ยนไป ตอนนี้รัฐบาลแต่ละรัฐต้องปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ

“เรามีสายพันธุ์เดลตาแล้ว และเราต้องเรียนรู้ที่จะลดความเสี่ยง เพราะการควบคุมเดลตาให้เป็นศูนย์นั้นแทบเป็นไปไม่ได้”

ศาสตราจารย์แมกลอว์ย้ำว่า ชุดตรวจแอนติเจนด้วยตนเองแบบทราบผลเร็ว (rapid antigen self-testing) ที่ใช้แพร่หลายในต่างประเทศ เช่น สหราชอาณาจักร คือกุญแจสู่ชีวิตก้าวออกจากล็อกดาวน์ในออสเตรเลีย




คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 13 September 2021 3:37pm
Updated 13 September 2021 3:41pm
By Abby Dinham
Presented by Phantida Sakulratanacharoen


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand