นักวิทย์ฯ เตือนโลกอาจร้อนจนย้อนกลับไม่ได้

NEWS: พื้นที่บางส่วนของโลกมีความเสี่ยงที่จะอยู่อาศัยไม่ได้ เนื่องจากอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรมเกือบ 5 องศาเซลเซียส อาจส่งผลให้โลกร้อนขึ้นแบบไม่มีทางย้อนกลับ

นักวิจัยได้เตือนว่า ทั่วโลกจำเป็นต้องเปลี่ยนผ่านการใช้พลังงานฟอซซิลสู่พลังงานสะอาดโดยเร่งด่วน เนื่องจากมลพิษจากพลังงานฟอซซิลกำลังผลักดันให้โลกเข้าสู่สภาวะ “ฮอตเฮาส์ สเตท (Hothouse state)” ซึ่งเป็นภาวะอันตรายถาวร

หากน้ำแข็งขั้วโลกยังคงละลายต่อไป ป่าไม้ถูกตัดโค่น และประมาณก๊าซเรือนกระจกเพิ่มขึ้นกว่าเดิมจนทำสถิติใหม่ ซึ่งมีสถิติใหม่เกิดขึ้นทุกปี โลกก็จะถึงจุดพลิกผัน

นักวิทยาศาสตร์ได้ประกาศเตือนในเอกสารสรุปการประชุมของสถาบันวิทยาศาสตร์แห่งชาติสหรัฐฯ (Proceedings of the National Academy of Sciences) ว่า การถึงจุดพลิกผันนั้นจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงขึ้นกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 4-5 องศาเซลเซียส และระดับน้ำทะเลจะสูงขึ้น 10-60 เมตรจากปัจจุบัน

นอกจากนี้ นักวิจัยยังระบุว่า สิ่งเหล่านี้จะเกิดขึ้นในช่วงสิบปีข้างหน้า

Hothouse Earth คืออะไร

นักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยโคเปนเฮเกน มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย และสถาบันพอทส์ดัม ได้ระบุเกี่ยวกับสภาวะ Hothouse Earth ว่า มีความเป็นไปได้ว่ามันจะเกินการควบคุมและเป็นอันตรายอย่างมาก

โดยภายในศตวรรษนี้หรือเร็วกว่านั้น แม่น้ำจะเอ่อล้น พายุจะโหมพัดแนวชายฝั่งอย่างรุนแรง และแนวปะการังจะหายไปทั้งหมด อุณหภูมิทั่วโลกจะสูงเกินกว่าทุกช่วงคั่นระหว่างยุคน้ำแข็งในอดีต เมื่อราว 1.2 ล้านปีก่อน
Pia Eriksson and Gunhild Ninis Rosqvist measuring the southern glacier of Kebenekaise in 2017
A glacier on Sweden's Kebnekaise mountain melted so much in sweltering Arctic temperatures that it is no longer the country's highest point. Source: University of Stockholm
น้ำแข็งขั้วโลกที่ละลายจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นอย่างมากของระดับน้ำทะเล ซึ่งจะเข้าท่วมชายฝั่งต่างๆ ซึ่งมีบ้านเรือนที่มีผู้อาศัยมากกว่าร้อยล้านคน

"หลายพื้นที่ของโลกจะไม่สามารถอยู่อาศัยได้ หากสภาวะ Hothouse Earth นั้นกลายเป็นความจริง" นายโยฮัน ร็อกสตรอม (Johan Rockstrom) ผู้ช่วยจัดทำวิจัย และผู้อำนวยการบริหาร Stockholme Resilient Centre กล่าว

อะไรคือจุดพลิกผัน

นักวิจัยระบุว่า โลกอาจถึงจุดพลิกผันเมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียส โดยในขณะนี้อุณหภูมิเฉลี่ยสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 1 องศาเซลเซียส โดยอุณหภูมินี้จะเพิ่มขึ้น 0.17 องศาเซลเซียสในทุกๆ 10 ปี

"เมื่ออุณหภูมิเฉลี่ยสูงถึง 2 องศาเซลเซียส สามารถทำให้เกิดปัญหาพลิกผันขึ้นได้ และหากอุณหภูมิเพิ่มขึ้นอีกมันจะเกิดปัญหาตามมาต่อๆ กันแบบโดมิโน ซึ่งจะกระทบถึงระบบการทำงานของโลก และนำไปสู่อุณหภูมิที่สูงขึ้นอีก" ข้อมความส่วนหนึ่งในรายงานฉบับดังกล่าวระบุ

"ปัญหาที่เรียงต่อกันนั้น อาจทำให้โลกเข้าสู่การทำงานรูปแบบใหม่" นายฮานส์ โจอาคิม เชนอูเบอร์ (Hans Joachim Schellnhuber) ผู้ร่วมจัดทำรายงานฉบับดังกล่าว และผู้อำนวยการสถาบันพอทส์ดัมกล่าว

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญยังกังวลเกี่ยวปรากฎการณ์อย่างไฟป่า ซึ่งลามไปทั่วโลกเนื่องจากอากาศที่ร้อนและแห้งขึ้น ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการสะสมของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเกิดภาวะโลกร้อน
Firefighters and volunteers try to extinguish flames during a wildfire at the village of Kineta, near Athens, on July 24, 2018
Firefighters and volunteers try to extinguish flames during a wildfire at the village of Kineta, near Athens, on July 24, 2018. Source: Getty

การคำนวณจุดพลิกผัน

บทความ Perspective ซึ่งเขียนขึ้นจากข้อมูลในงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่มีการตีพิมพ์ เกี่ยวกับเรื่องจุดพลิกผันของโลก

ที่ผ่านมา นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจสอบสภาพของโลกในยุคต่างๆ ที่ผ่านมา เพื่อประกอบกันในการจัดทำบทความฉบับนี้ เข่น ในยุคสมัยไพลโอซีน เมื่อ 5 ล้านปีก่อน ระดับคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ที่ 400 ppm เหมือนในปัจจุบัน และในช่วงยุคครีเทเชียส ซึ่งเป็นยุคหนึ่งของช่วงยุคไดโนเสาร์เมื่อประมาณ 100 ล้านปีก่อน ระดับก็าซคาร์บอนไดออกไซด์นั้นสูงมากถึง 1,000 ppm เนื่องจากมีการระเบิดของภูเขาไฟ

"การกล่าวว่า อุณหภูมิโลกเฉลี่ยที่สูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม 2 องศาเซลเซียสเป็นจุดที่ไม่สามารถย้อนกลับได้นั้นเป็นเรื่องใหม่" นายมาร์ติน ซีย์เกิร์ท (Martin Siegert) รองผู้อำนวยการสถาบันแกรนแทม ที่ราชวิทยาลัยลอนดอน ซึ่งไม่ได้เข้าร่วมในการวิจัยครั้งนี้กล่าว

"บทความดังกล่าวเป็นการตรวจทานแนวคิดและทฤษฎีที่มีการตีพิพม์ไปก่อนหน้านี้ เพื่อนำเสนอว่าการเปลี่ยนแปลงของระดับนั้นจะทำงานอย่างไร มันดูเป็นเรื่องเฉพาะเจาะจง แต่ก็ไม่ได้ผิดแปลกอะไร" นายมาร์ตินกล่าวเสริม

เราจะหยุดมันได้อย่างไร

นักวิจัยกล่าวว่า ผู้คนจะต้องเปลี่ยนวิถีการใช้ชีวิตโดยทันทีเพื่อให้เป็นผลดีต่อโลก

แหล่งพลังงานจากฟอซซิลจะต้องถูกทดแทนด้วยแหล่งพลังงานที่มีมลภาวะน้อยหรือพลังงานสะอาด และจะต้องมีกลยุทธ์ในการดูดซับการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้มากขึ้น เช่น การหยุดตัดไม้ทำลายป่า และการปลูกต้นไม้ขึ้นทดแทน

การจัดการหน้าดิน การเพาะปลูกที่มีความรับผิดชอบ รวมถึงการอนุรักษ์ธรณี พื้นที่ชายฝั่ง และเทคโนโลยีในการดักจับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เหล่านี้คือหนึ่งกระบวนการตามกลยุทธ์ดังกล่าว

แม้มนุษย์จะหยุดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก แต่แนวโน้มความร้อนในปัจจุบันอาจก่อให้เกิดกระบวนการของระบบโลกอื่นๆ ซึ่งจะผลักดันให้โลกร้อนขึ้นอีก ซึ่งรวมถึงการละลายของชั้นดินเยือกแข็ง การสูญเสียหิมะที่ปกคลุมขั้วโลกเหนือ รวมถึงทะเลน้ำแข็ง และแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก  

นักวิจัยกล่าวว่า มันไม่มีความแน่นอนว่าโลกจะสามารถกลับมามีเสธียรภาพได้อีกครั้ง

"สิ่งที่เรายังไม่รู้ในตอนนี้คือ ความปลอดภัยของสภาพอากาศในสภาวะที่อุณหภูมิเฉลี่ยของโลกสูงแตะ 2 องศาเซลเซียส ซึ่งสูงกว่ายุคก่อนอุตสาหกรรม และการประชุมข้อตกลงด้านสภาพอากาศปารีส (Paris Agreement) ก็กำลังจะมาถึง" นายเชนอูเบอร์กล่าว

ชมคลิป: ไฟป่าทางตอนใต้ของสเปน




Share
Published 7 August 2018 2:45pm
Updated 7 August 2018 11:26pm
By SBS-AFP
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand