คนรุ่น Baby Boomer ร่ำรวยจริงหรือไม่?

Angus Witherby is a city planner who says he can't afford to retire - SBS Insight .jpg

แองกัส วิเธอร์บี กล่าวว่าเขาไม่สามารถเกษียณได้

1 ใน 6 ของคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สยังไม่มีบ้านเป็นของตนเอง บางคนยังไม่สามารถเกษียณได้เนื่องจากไม่มีเงินซุปเปอร์เพียงพอ ผู้เชี่ยวชาญชี้ทัศนคติเหมารวมว่าเป็นคนรุ่น ’เงินถุง-เงินถัง’ ไม่ใช่กับทุกคน


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

แองกัส วิเธอร์บี นักวางผังเมือง อายุ 64 ปี เขายังคงผ่อนบ้านไม่หมดและไม่มีเงินซุปเปอร์ (superannuation หรือเงินบำนาญ) เลย

“แน่นอนว่าประสบการณ์ชีวิตของผมแตกต่างจากคนส่วนใหญ่ที่อยู่ในห้องนี้ ผมไม่รวย ผมไม่มีเงินซุปเปอร์ ผมพึ่งพารายได้จากธุรกิจของผม และไม่มีใครให้งานผมในตอนนี้ ผมคาดการณ์ว่าผมต้องทำงานจนอายุ 75 ปี เพื่อผ่อนบ้านให้หมด และผ่อนหนี้อื่นด้วย”
สำนักงานสถิติแห่งออสเตรเลียจัดประเภทคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สว่าเป็นรุ่นที่เกิดระหว่างปีค.ศ. 1946 – 1964

เมื่อแองกัสอายุสูงขึ้นทุกวันและมีเงินซุปเปอร์ไม่ถึง 3,000 ดอลลาร์ เขาไม่แน่ใจว่าเขาจะหาเลี้ยงตัวเองอย่างไร

เขากล่าว ว่า ทัศนคติเหมารวมคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์สว่าเป็นคนมี ‘เงินถุง-เงินถัง’ สามารถเกษียณด้วยเงินในบัญชีจำนวนมากได้ แต่ไม่ใช่สำหรับเขา

เขาผ่านการหย่าร้างถึง 2 ครั้ง ทำให้เขาเหลือเงินติดลบในบัญชี 2 ครั้งเช่นกัน

แต่การหย่าร้างไม่ใช่สิ่งเดียวที่ให้ผลเสีย แม้ว่าเขาจะทำงานมาตลอดชีวิต
Mental health
ผู้ชายนั่งกุมขมับอยู่ที่โซฟา Source: Getty / Getty Images/Dermot Conlan
เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เงินบำนาญของเครก ดอยล์ลดฮวบ หลังจากที่มีคนแนะนำให้เขาแปลงกองทุนซุปเปอร์เป็นการลงทุนในอสังหาริมทรัพย์แทน ซึ่งเขาคิดว่าจะมั่นคง

เครกมีอสังหาริมทรัพย์ 5 แห่ง ซึ่งมีมูลค่าโดยรวมเกือบ 3 ล้านดอลลาร์ แต่สถานะทางการเงินของเขายังห่างไกลจากความมั่นคง

ในความเป็นจริง อสังหาริมทรัพย์แต่ละแห่งสร้างหนี้มากกว่ากำไร เนื่องจากเงินทุนที่เขาลงไปกับการจำนอง อัตราดอกเบี้ยที่สูงขึ้น การหยุดเก็บค่าเช่า ภาษีที่ดิน และค่าบำรุงรักษาต่างๆ

ท้ายที่สุด เครกต้องตัดสินใจขายทรัพย์สินของเขา ซึ่งเป็นกองทุนการเกษียณของเขาทีละหลัง

“ผมและภรรยาพบกันในช่วงปลายของชีวิต และเราตัดสินใจลงทุนในอสังหาริมทรัพย์เมื่อ 10 ปีที่แล้ว เราลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 3 แห่ง แห่งแรกผ่านนโยบายเงินซุปเปอร์ เราใช้ประโยชน์จากสิ่งนั้น แต่ 4-5 ปีที่ผ่านมา อัตราดอกเบี้ยที่พุ่งสูงขึ้น และราคาอสังหาริมทรัพย์ของเราลดลงตามราคาตลาด เราสูญเงิน 15,000 ดอลลาร์ในแต่ละไตรมาส ในการลงเงินกับอสังหาริมทรัพย์ของเรา ดังนั้นเราจึงต้องตัดสินใจขายอสังหาริมทรัพย์ทั้งหมด และเราเสียเงินไปแล้ว”

รองศาสตราจารย์ไมร่า ฮามิลทัน จากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ทำการวิจัยเรื่องประชากรสูงวัยของออสเตรเลียและปัญหาที่คนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ต้องเผชิญ

เธอกล่าวว่า แนวคิดว่าคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์เป็นคนรวยไม่จริงเสมอไป

แม้ว่าความมั่งคั่งของพวกเขาจะดูที่มูลค่าสินทรัพย์ แต่ 1 ใน 6 ของคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ไม่มีบ้านเป็นของตนเอง

นอกจากนี้ ผู้หญิงอายุ 55 ปีขึ้นไปยังเป็นหนึ่งในกลุ่มคนที่ประสบปัญหาไร้บ้านเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ส่วนหนึ่งเนื่องมาจากอุปสรรคในการหางาน
ฉันคิดว่ามีความแตกต่างในกลุ่มคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์อย่างมาก และฉันคิดว่าส่วนหนึ่งของปัญหาคือการพูดถึงคนรุ่นนี้ว่าเป็นรุ่นที่โชคดีหรือรุ่นที่ร่ำรวย
"หมายความว่ามันปกปิดความไม่เท่าเทียมกันในเรื่องความร่ำรวยและข้อเสียบางอย่าง มีการเหมารวมว่าเบบี้ บูมเมอร์ได้รับสิทธิประโยชน์จากสภาวะทางสังคมและเศรษฐกิจหลายประการ ขณะที่คนหนุ่มสาวต้องดิ้นรน นั่นเป็นการเชื่อมโยงที่ไม่ถูกต้องระหว่างคนรุ่นเบบี้บูมเมอร์ที่ได้ดีและคนหนุ่มสาวที่ต้องดิ้นรน และฉันคิดว่าไม่ใช่แค่คนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ ที่ร่ำรวยที่ถูกตัดสินแบบนี้ แต่ถูกเหมารวมว่าเป็นคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ทั้งหมด ไม่ว่าพวกเขาจะรวยจริงหรือไม่ก็ตาม”
New World Record for the Australian Economy
ธนบัตรออสเตรเลีย Source: AAP
นักเศรษฐศาสตร์ อีวาน ลูกา กล่าวว่า แม้จะมีความมั่งคั่งที่แตกต่างกันในรุ่น แต่ก็มีนโยบายที่เป็นประโยชน์กับคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์อย่างมากในช่วงชีวิตของพวกเขา

เงินซุปเปอร์ ภาษีกำไรจากการขาย และเนกาทีฟ เกียริง (negative gearing หรืออัตราหนี้สินต่อทุนในเชิงลบ) ล้วนส่งผลให้คนรุ่นนี้มีความมั่งคั่งประมาณ 1.9 ล้านล้านดอลลาร์

และประมาณร้อยละ 40 ของความมั่งคั่งอยู่ในสินทรัพย์

“สิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ โดยเฉพาะในช่วงครึ่งหลังของการทำงานของพวกเขาคือการเปลี่ยนระบบภาษี นโยบายของรัฐบาลต้องการให้คุณลงทุนเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ด้วยสิทธิประโยชน์ของภาษี ดังนั้นคุณออกจากระบบภาษีเงินได้รายบุคคล ซึ่งออสเตรเลียนับเป็นประเทศที่เก็บภาษีนี้สูงเป็นอันดับต้นๆ ของโลก ไปสู่การจ่ายภาษีจากเงินซุปเปอร์ ซึ่งเป็นระบบภาษีที่ต่ำที่สุด ออสเตรเลียเป็น 1 ใน 3 ประเทศของโลกที่ไม่เก็บภาษีจากเงินบำนาญ ดังนั้นเมื่อคุณเกษียณอายุ คุณไม่ต้องเสียภาษีกับเงินซุปเปอร์ และคุณยังเป็น 1 ใน 3 ของกลุ่มคนที่รับผลประโยชน์ จากงบประมาณของรัฐบาล เนื่องจากการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุและผู้พิการ ซึ่งมีแนวโน้มที่จะอยู่ในวัย 50 ปีขึ้นไป”

อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเงินสนับสนุนจากครอบครัวจะช่วยให้ลูกๆ ของคนรุ่นเบบี้ บุมเมอร์เข้าสู่ตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่ราคาสูงได้ แต่แองกัสกล่าวว่า เขาไม่มีเงินเพียงพอที่จะเลี้ยงตัวเองด้วยซ้ำ

เนื่องจากแองกัสไม่สามารถเกษียณได้เร็วๆ นี้ เขาจึงต้องพึ่งพาเงินจากลูกๆ ของเขา และรู้สึกว่าจะเป็นผลดีที่เขาจะไม่สร้างหนี้ไว้ให้ลูก

“ผมคิดว่าสิ่งที่ดี่สุดที่ผมสามารถทำได้คือไม่มีหนี้ค่าบ้านที่ต้องผ่อนจ่าย อย่างน้อยผมไม่อยากสร้างภาระให้ลูกๆ ด้วยเรื่องนั้น”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand