ออสปิดพรมแดนมีส่วนทำให้แม่มือใหม่ซึมเศร้า

Representational picture of grandparent and granddaughter

คุณยายและหลานสาว Source: pexels

นโยบายปิดพรมแดนของออสเตรเลียกลายเป็นสาเหตุของภาวะซึมเศร้าหลังคลอดในหมู่คุณแม่มือใหม่ ที่ต้องการการสนับสนุนจากบิดามารดาที่อยู่ต่างประเทศ คุณแม่หลายท่านร่วมเขียนจดหมายเปิดผนึกถึงนางเจนนี่ มอร์ริสัน ภริยาของนายกรัฐมนตรี ที่ให้สัมภาษณ์ถึงการเอาชนะภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของเธอได้ด้วยการสนับสนุนจากครอบครัว


เมื่อนางอเล็กซานดรา ปาร์กเกอร์ (Alexandra Parker) คุณแม่ชาวซิดนีย์ อ่านเรื่องราวของของนางเจนนี มอร์ริสัน (Jenny Morrison) และการต่อสู้กับภาวะซึมเศร้าหลังคลอดของเธอ คุณอเล็กซานดราเข้าใจถึงความรู้สึกของภริยานายกรัฐมนตรีได้ดี

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา นางมอร์ริสันได้พูดถึงชีวิตของเธอหลังคลอดบุตรสาวสองคน โดยเล่าว่าเธอสามารถเอาชนะภาวะซึมเศร้าหลังคลอดได้ด้วยความช่วยเหลือของเพื่อนและครอบครัว

แต่ต่างจากนางเจนนี่ มอร์ริสัน นางอเล็กซานดรา ปาร์กเกอร์ไม่ได้รับการสนับสนุนจากครอบครัวในระหว่างที่อยู่ในภาวะซึมเศร้าหลังคลอด

นั่นเป็นเพราะคำร้องขอให้บิดามารดาของเธอซึ่งอยู่ที่สหราชอาณาจักรเข้าออสเตรเลียนั้นถูกปฏิเสธ ถึงแม้ว่าเธอจะยื่นจดหมายจากแพทย์และผู้ให้คำปรึกษาสุขภาพจิตเพื่อสนับสนุนคำร้อง

สำหรับคำร้องขอยกเว้นการเดินทาง (travel exemptions) รัฐบาลไม่นับบิดามารดาเป็นครอบครัวใกล้ชิด (immediate family)

คำร้องของนางปาร์กเกอร์ถูกปฏิเสธถึงสามครั้ง เธอกล่าวว่า เธอเข้าใจความรู้สึกของนางมอร์ริสัน ผู้หญิงหลายคนก็กำลังต่อสู้โดยไม่มีครอบครัวสนับสนุนเช่นเดียวกับเธอ

“แน่นอนค่ะดิฉันรู้สึกเห็นใจเธอ [นางมอร์ริสัน] ใครก็ตามที่ต้องเผชิญกับภาวะซึมเศร้าหลังคลอด ความวิตกกังวลต่างๆ ดิฉันขอส่งกำลังใจไปให้พวกเขา แต่จากบทสัมภาษณ์ของเธอ ซึ่งเธอได้กล่าวถึงเป็นสิ่งแรกคือ การต่อสู้กับภาวะทางจิตเช่นนี้ควรได้รับการสนับสนุนจากคนรอบข้าง และเธอยังพูดถึงการที่มีครอบครัวอยู่ตรงนั้น แพทย์ และเพื่อนๆ นั่นเป็นสิ่งที่สำคัญต่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจจากภาวะนี้ที่สามารถรักษาให้หายได้โดยการมีครอบครัวอยู่เคียงข้าง ซึ่งจะช่วยให้ทั้งผู้หญิงและผู้ชายสามารถผ่านพ้นภาวะจิตใจเช่นนี้ไปได้”
คุณปาร์กเกอร์กล่าวว่า ภาวะซึมเศร้าหลังคลอดและความวิตกกังวลที่เธอประสบนั้นจะต่างออกไป หากแม่ของเธออยู่เคียงข้างเพื่อช่วยเหลือเธอ

และเธอยังวิจารณ์ถึงการที่กรณีของเธอไม่ถูกพิจารณาให้เป็นเหตุผลที่ควรเห็นใจ (a compassionate ground)

“มันทำร้ายจิตใจมาก ดิฉันไม่อยากเชื่อว่ารัฐบาลไม่พิจารณาว่าการซึมเศร้านั้นเป็นเหตุผลที่ควรเห็นใจ พ่อกับแม่ของฉันได้รับวัคซีนแล้วทั้งคู่ พวกเขายอมที่จะกักตัว พวกเขายอมทำทุกอย่างที่จะลดความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น และนั่นก็ยังไม่ใช่เหตุผลที่น่าเห็นใจ การที่พวกเขาจะมาที่นี่เพื่อช่วยฉันและลูกๆ ของฉัน”

นางปาร์กเกอร์ไม่ใช่คนเดียวที่ถูกปฎิเสธ นางนิโคล เมดนิก (Nicole Mednick) ผู้จัดงานอีเว้นต์ (event planner) ก็ถูกปฏิเสธคำร้องให้แม่ของเธอเดินทางเข้าออสเตรเลีย ถึงแม้ว่าเธอจะต้องการการสนับสนุนจากแม่ของเธอ หลังแท้งบุตรคนแรกของเธอ
มันเป็นสิ่งที่ยากที่สุดที่ฉันต้องเผชิญในชีวิต ฉันรู้สึกหลงทาง อ่อนแอ เสียใจ ฉันรู้สึกเหมือนโลกของฉันแตกเป็นเสี่ยงๆ ความเจ็บปวดไม่เคยหายไป แต่การมีแม่อยู่ที่นี่จะช่วยสนับสนุนและปลอบโยนฉันได้มาก และช่วยให้ฉันใช้ชีวิตในแต่ละวันได้
องค์กรดูแลสุขภาพเรื่องความวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าหลังคลอดบุตรแห่งออสเตรเลีย (Parinatal Anxiety & Depression Australia) หรือ PANDA กล่าวว่าการระบาดครั้งนี้ทำให้มีผู้โทรติดต่อองค์กรเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา

ทุกเดือน องค์กรได้รับแจ้งขอความช่วยเหลือเฉลี่ย 3,200 (3,261) ราย ผ่านข้อความ SMS และโทรศัพท์ เทียบกับจำนวน 1,700 (1,706) รายก่อนเกิดโควิด

นางจูลี่ บอร์นิงโฮฟ ผู้บริหารขององค์กรกล่าวว่า หลายคนมีความอ่อนแอทางจิตใจและความเครียดเพิ่มขึ้น เนื่องจากไม่มีคนในครอบครัวอยู่เคียงข้าง

“เราทราบดีว่าสำหรับบางคนนั้น พวกเขาอธิบายถึงการไม่มีความยุ่งยากและภาระครอบครัวว่าในบางครั้งนั้นเป็นเรื่องที่ผ่อนคลาย แต่เราทราบว่าสำหรับคนจำนวนมากนั้น การที่ไม่สามารถมีครอบครัวอยู่เคียงข้างพวกเขาในช่วงเวลานี้มันกระทบจิตใจ และทำให้มีความอ่อนแอทางจิตใจและความเครียดสูงขึ้น  เราทราบว่ามีหลายคนที่โทรเข้าสายด่วนของเรา พวกเขามีประวัติของภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าหลังคลอดมาก่อน และตอนนี้เพิ่งคลอดบุตรคนที่สองหรือสาม และกำลังเปราะบางเพราะไม่สามารถอยู่กับพ่อและแม่ของพวกเขาได้ PANDA ไม่สามารถติดตามจำนวนคนที่ได้รับผลกระทบจากการปิดพรมแดนได้ เพราะพวกเขาพูดถึงสถานการณ์ที่พวกเขาเป็นอยู่ และบ่อยครั้งมักจะเน้นไปที่สิ่งอื่นมากกว่าสิ่งที่เป็นตัวกระตุ้น แต่เราทราบว่ามีคนที่โทรมาจำนวนมากที่กำลังระทมทุกข์ เพราะพวกเขาไม่สามารถให้พ่อและแม่ที่อยู่อินเดียมาอยู่กับพวกเขาได้ หรือบางคนที่อยู่ที่นี่และกำลังกักตัว โดยคู่ครองอยู่นอกประเทศและไม่สามารถกลับเข้ามาได้เพราะสถานการณ์โควิดระบาด”
postnatal mum
คุณแมเดลีน ฮัลล์ ประสบภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพราะพ่อและแม่ไม่สามารถเดินทางมาเยี่ยมได้ Source: AAP
ในฐานะของผู้ที่มีประวัติโรควิตกกังวล นางแมเดลีน ฮัลล์ (Madeleine Hull) ผู้ที่อาศัยในแถบเซ็นทรัล โคสต์ (Central Coast) รัฐนิวเซาท์เวลส์ เป็นหนึ่งในหลายคนที่ต้องการความช่วยเหลือตั้งแต่เนิ่นๆ

เธอยื่นคำร้องให้พ่อและแม่ของเธอสามารถเดินทางมาจากสหราชอาณาจักร เพื่อช่วยเหลือเธอที่เพิ่งคลอดบุตรคนแรก ในช่วงแรกของการระบาด แต่ถูกปฏิเสธภายใน 45 นาทีหลังยื่นเรื่อง

นางฮัลล์ได้รับบาดเจ็บจากการคลอดบุตร และรู้สึกว่าไม่ได้รับความช่วยเหลือ หลังถูกเชิญออกจากโรงพยาบาลภายในไม่กี่ชั่วโมง
ไม่มีแม่อยู่ข้างๆ ฉันที่นี่ หัวใจฉันแตกสลาย ฉันต้องการให้แม่ฉันจับมือฉัน กอดฉัน ฉันอยากให้แม่ฉันช่วยสอนฉันเปลี่ยนผ้าอ้อมเด็ก และบอกฉันว่าไม่เป็นไร แต่ฉันไม่มีอะไรแบบนั้นเลย ฉันไม่มีโอกาสที่จะมีภาพความหลังที่มีแม่อยู่ตรงนั้นกับฉัน ไม่มีอะไรเลย การที่ไม่มีแม่อยู่กับฉันมันเป็นตัวกระตุ้นให้ฉันมีภาวะซึมเศร้าหลังคลอด เพราะแม่เป็นที่พึ่งทางจิตใจของฉันอย่างมาก
นางฮัลล์ได้เขียนจดหมายถึงนางมอร์ริสัน อ้อนวอนให้ภริยานายกรัฐมนตรีรับฟังเรื่องราวของคุณแม่หลายท่านที่มีประสบการณ์เช่นเดียวกัน

“นายกรัฐมนตรีและภริยาทราบดีว่าการมีครอบครัวอยู่เคียงข้างในช่วงหลังคลอดบุตรนั้นสำคัญอย่างไร คุณเจนนี่ มอร์ริสันยอมรับว่าเธอโชคดีที่มีเพื่อนและครอบครัวที่ดีอยู่ข้างเธอ เพื่อเธอ ในช่วงเวลานั้น แต่ฉันกลับถูกปฏิเสธ ผู้หญิงในออสเตรเลียหลายคนไม่ได้รับความโชคดีแบบนั้น”

อ่านข้อมูลเรื่องภาวะวิตกกังวลและซึมเศร้าหลังคลอดบุตรได้ หรือโทร 1300 726 306

ใช้บริการล่ามฟรีโทร 131 450       


 คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand