ผลวิจัยล่าสุดพบผลิตภัณฑ์อาหารเด็กเล็กในออสเตรเลียจำนวนมากไม่ได้มาตรฐาน WHO

Baby girl eats on a high chair

มีการตรวจสอบพบว่าอาหารเด็กบางชนิดในออสเตรเลียไม่ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก Credit: VW Pics/Universal Images Group via Getty

มีการตรวจสอบพบว่าอาหารเด็กบางชนิดในออสเตรเลียไม่ได้มาตรฐานขององค์การอนามัยโลก (WHO) อาหารทารกหลายยี่ห้อ ระบุส่วนผสมบนฉลากผลิตภัณฑ์ไม่ถูกต้อง ด้านนักวิจัยเรียกร้องให้มีการปรับเปลี่ยนกฎระเบียบของการผลิตอาหารในออสเตรเลีย



กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

มีคำเตือนให้ผู้ปกครอง ทั้งผู้ที่มีเด็กแรกเกิดและเด็กแบเบาะ ให้ระวังอาหารเด็กหลายๆ ยี่ห้อที่จำหน่ายในตลาด ในออสเตรเลีย ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่าไม่เป็นไปตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลก ((WHO))

การวิจัยล่าสุดโดย George Institute for Global Health ได้เผยให้เห็นถึงอาหารเด็กเล็กจำนวนมาก ไม่ได้อยู่ภายใต้การควบคุมในผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารก ซึ่งนำไปสุ่ความเข้าใจผิดของผู้ปกครอง ที่เชื่อว่าผลิตภัณฑ์อาหาร ที่มักมีน้ำตาลสูงเหล่านี้ดีต่อสุขภาพของเด็ก

จากการตรวจสอบ พบว่าร้อยละ 78 ไม่เป็นไปตามมาตรฐานโภชนาการของ WHO และผลิตภัณฑ์อาหารที่มีในตลาดทั้งหมดไม่เป็นไปตามมาตรฐานด้านการตลาดและการส่งเสริมการขาย ของ WHO เนื่องมาจากการกล่าวอ้างเกินจริง

นักโภชนาการและนักวิจัยจากสถาบันจอร์จ ดร.เดซี คอยล์ กล่าวถึงผลของการตรวจสอบนี้ว่าเป้นเรื่องที่น่าผิดหวัง

“มันเรื่องที่ไร้การควบคุมอย่างสิ้นเชิง มีประเด็นมากมายที่ถูกหยิบยกมาจากการวิจัยครั้งนี้ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดประการหนึ่งที่เราพบคือเกี่ยวกับปริมาณน้ำตาลของผลิตภัณฑ์เหล่านี้ มากกว่าครึ่งไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานขององค์การอนามัยโลกในเรื่องปริมาณน้ำตาลที่เหมาะสม"

เราต้องแก้ไขปัญหานี้โดยด่วน นอกจากนี้ยังมีปัญหาอีกหลายเรื่อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการใช้ชื่อผลิตภัณฑ์ที่พ้องกับถึงส่วนผสมอาหาร และเรื่องการกล่าวอ้าง ทั้งเรื่องประเภท และตัวเลขต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์
นักโภชนาการและนักวิจัยจากสถาบันจอร์จ ดร.เดซี คอยล์

การวิจัยนี้ อ้างอิงจากข้อมูลของผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับทารกและเด็กเล็ก 309 รายการ ซึ่งประเมินโดยใช้มาตฐานของสำนักงานภูมิภาค ในด้านสารอาหารและการส่งเสริมในทวีปยุโรปของ WHO ซึ่งเผยแพร่ในปี 2022 และถือเป็นเกณฑ์มาตรฐานที่เรียกว่า "มาตรฐานชั้นหนึ่ง" หรือ a 'gold standard'

นักวิจัยของสถาบันจอร์จพบว่า จากผลิตภัณฑ์ที่ตรวสอบ มีเพียงร้อยละ 22 เท่านั้นที่ผ่านมาตรฐานองค์ประกอบสารอาหารของ WHO โดยผลิตภัณฑ์ส่วนใหญ่ไม่ผ่านเกณฑ์ปริมาณน้ำตาลและแคลอรี่ ยิ่งไปกว่านั้น ไม่มีผลิตภัณฑ์ใดปฏิบัติตามข้อกำหนดและเงื่อนไขการจำหน่ายสินค้าและการกล่าวอ้างส่วนประกอบหรือสรรพคุณ เช่นการห้ามมีคำว่า 'ปราศจากสีและรสชาติ' 'ออร์แกนิก' และ 'ไม่เติมน้ำตาล'

เช่น ยี่ห้อ Squeeze Pouches ซึ่งเป็นยี่ห้ออาหารสำหรับทารกและเด็กเล็กที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในออสเตรเลีย มีการใช้คำกล่าวอ้างต้องห้ามมาก

ผู้เขียนหลักของงานวิจัยชิ้นนี้ ดร.เอลิซาเบธ ดันฟอร์ด อธิบายว่า

"เราพบว่าอาหารเด็กส่วนใหญ่ในออสเตรเลียมีการกล่าวอ้างคุณสมบัติหรือสรรพคุณเป็นจำนวนมาก โดยเฉลี่ยแล้วมีการพบการกล่าวอ้างใน หกหรือเจ็ดข้อ ประการในแทบทุกผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์บางอย่างมีการกล่าวอ้างถึง 21 ข้อ ซึ่งมันนำไปสู่ความเข้าใจผิด และหมิ่นเหม่ต่อข้อหาหลอกลวงผู้บริโภค และทำให้ผู้ปกครองเกิดความสับสน แม้แต่ฉันในฐานะผู้เชี่ยวชาญในด้านนี้และก็เป็นแม่คนด้วย ก็ยังไม่รู้ว่าจะเชื่อผลิตภัณฑ์อะไรได้ เป็นการยากมากเมื่อพิจารณาจากปริมาณการกล่าวอ้างอ้างบนบรรจุภัณฑ์ ของผลิตภัณฑ์ต่างๆ"

ดร.ดันฟอร์ดกล่าวว่าการใช้คำกล่าวอ้างเนื้อหาด้านสุขภาพและโภชนาการที่เป็นเท็จ สามารถมีอิทธิพลต่อผู้ปกครองในการเลือกซื้ออาหารให้กับทารกและเด็กเล็ก โดยเฉพาะในช่วงปีแรกๆ ที่มีความสำคัญ ต่อพัฒนาการของเด็ก

ดร.ดันฟอร์ด ชี้ว่าพ่อแม่ที่ไม่ค่อยมีเวลา ต้องพึ่งพาผลิตภัณฑ์เหล่านี้ในฐานะแหล่งโภชนาการ ซึ่งส่งผลต่อสุขภาพของบุตร

"การวิจัยพบว่าต่อมรับรส ของเด็ก ๆ เริ่มต้นตั้งแต่อายุ 2 ขวบ และโดยธรรมชาติแล้ว เด็ก จะชอบอาหารที่มีรสหวานหรือรสเค็มอยู่แล้ว ดังนั้นผลิตภัณฑ์ที่มีการเติมน้ำตาลหรือเกลือในปริมาณสูงกว่ามาตรฐาน จะเป็นตัวกำหนดนิสัยการบริโภคอาหารของเด็กในอนาคตด้วย"

เราหวังว่า ผลการวิจัยนี้ จะช่วยให้รัฐบาลดำเนินการเปลี่ยนแปลงกฎระเบียบบางอย่างในอุตสาหกรรมนี้ เพื่อให้เด็ก ๆของเราได้รับประทานอาหารที่มีมาตรฐานจริงๆ
ดร.เดซี คอยล์

ดร. คอยล์กล่าวว่าการมีแนวทางที่ครอบคลุมมากขึ้นในการจัดการกับปัจจัยที่อาจก่อให้เกิดโรคเรื้อรังตั้งแต่ในวัยเด็กมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันส่งผลต่อสุขภาพในอนาคตของเด็ก

"ข่าวดีก็คือรัฐบาลกำลังหาวิธีเปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกล่าว รัฐมนตรีกระทรวงอาหารเพิ่งมีการเปิดเสวนากับประชาชนเพื่อรับทราบมุมมองว่าภาคส่วนนี้ควรก้าวต่อไปอย่างไร และสิ่งที่เรากำลังผลักดัน ในฐานะกลุ่มสาธารณสุขคือ เราต้องดเข้มงวดกับกฎระเบียบบังคับสำหรับผลิตภัณฑ์เหล่านี้ และหวังว่าเราจะมีผลิตภัณฑ์อาหารเด็กเล็กในตลาดที่มีมาตรฐานและดีต่อสุขภาพของเด็กจริงๆ"


นักวิจัยจากงานวิจัยนี้กล่าวว่า เนื่องจากน้ำตาลเป็นปัจจัยต่อการเกิดโรคอ้วนและโรคอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เบาหวาน โรคหัวใจ และมะเร็ง ผู้กำหนดนโยบายจึงควรมีข้อกำหบดว่า ผลิตภัณฑ์ดังกล่างควรมีประมาณน้ำตาลเท่าใด

บทความนี้เกิดขึ้นหลังจากการประชุมรัฐมนตรีกระทรวงอาหารของออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ในเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งมีการอภิปรายสาธารณะเพื่อปรับปรุงคุณภาพอาหารเชิงพาณิชย์สำหรับทารกแรกเกิดและเด็ก หลังจากพบสถิติโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคอ้วนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ด้านรัฐบาลกลางชี้แจงว่าเป้าหมายคือการปรับปรุงส่วนประกอบ การติดฉลาก และเนื้อสัมผัสของอาหารเชิงพาณิชย์สำหรับทารกและเด็กเล็ก เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางโภชนาการสำหรับทารกและเด็กเล็กในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ และเพื่อให้เป็นไปตามความคาดหวังของพ่อแม่ ผู้ปกครอง และผู้ดูแลเด็กด้วย

 
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  



 

 

 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand