นักวิทย์ฯ ชี้ก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศเข้าขั้นวิกฤต พร้อมแนะครัวเรือนทำปุ๋ยหมัก

EARTH NASA PROGRAM TRACKING METHANE

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่าปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์ Credit: NASA/SCIENTIFIC VISUALIZATION STUDIO HANDOUT/EPA

ก๊าซมีเทนเป็นตัวแปรหนึ่งที่ทำให้เกิดปรากฎการณ์เรือนกระจกรุนแรงขึ้น จากรายงานล่สุดพบว่ามีการใช้งบประมาณรัฐเพียงร้อยละ 2 เท่านั้นเพื่อการแก้ไขเรื่องนี้ ปัจจุบันออสเตรเลียมีนโยบายแก้ไขเรื่องนี้อย่างไร


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยซิดนีย์ เปิดเผยว่าพวกเขาได้คิดค้น วิธีเปลี่ยนการปล่อยก๊าซมีเทนจากแหล่งฝังกลบให้กลายเป็นแหล่งพลังงานที่ยั่งยืน โดยเปลี่ยนขยะเป็นขุมสมบัติทางวิทยาศาสตร์

หัวหน้านักวิจัย จากคณะวิศวกรรมเคมีและชีวโมเลกุล ของมหาวิทยาลัยมหาวิทยาลัยซิดนีย์ และสถาบัน Net Zero ศาสตราจารย์ พี เจ คัลเลน กล่าวว่ากระบวนการทางเคมี ที่นำพลาสมา มาใช้เพื่อสร้างเชื้อเพลิงสังเคราะห์ที่มีศักยภาพในผลิตพลังงานไฟฟ้าในอุตสาหกรรมที่ก่อมลพิษหนัก เช่น การบินและการขนส่ง ศาสตราจารย์ Cullen เปิดเผยถึงการค้นพบดังกล่าวว่า

"เรามุ่งมั่นพัฒนาและคิดค้น การใช้พลังงานไฟฟ้าของอุตสาหกรรมเคมี ซึ่งก๊าซมีเทน เป็นหนึ่งในหัวข้อที่เราสนใจ มันเป็นเรื่องที่น่าตื่นเต้นในแง่ของการเอาเทคโนโลยีที่มีศักยภาพมาใช้เปลี่ยนสารที่ก่อให้เกิดก๊าซเรือนกระจก มาเปลี่ยนเป็นพลังงานที่อุตสาหกรรมต้องการได้ "

ด้านนักวิทยาศาสตร์ด้านภูมิอากาศนานาชาติ เตือนว่าการตรวจจับและควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน เป็นสิ่งสำคัญในการชะลอผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ในรายงานฉบับล่าสุด นักวิทยาศาสตร์กลุ่มนี้ชี้ว่า ปัจจุบันปริมาณก๊าซเรือนกระจกในชั้นบรรยากาศเพิ่มขึ้นในอัตราสูงสุดเป็นประวัติการณ์

ศาสตราจารย์ด้านธรณีศาสตร์จากมหาวิทยาลัย Duke ของสหรัฐอเมริกา ดริว ชินเดล ซึ่งเป้นนักวิจัยร่วม ในรายงานฉบับนี้ กล่าวว่า

"นับตั้งแต่ประมาณปี 2006 เราได้สังเกตว่าก๊าซมีเทน มีความเข้มข้นขึ้นเกือบทุกปี โดยการวัดค่าครั้งล่าสุดพบว่า มีอัตราการเติบโตของก๊าซมีเทนในชั้นบรรยากาศมากที่สุด ตั้งแต่มีการบันทึกการสังเกตการณ์"

News Bulletin 2009
ก๊าซมีเทนเป็นหนึ่งในสามของสาเหตุของภาวะโลกร้อน รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ Credit: Courtesy of Abbie O'Brien

 นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าการเพิ่มขึ้นของก๊าซมีเทนส่วนใหญ่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ เช่น

 ในอุตสาหกรรมที่ปล่อยของเสีย การใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล และการเกษตร ก๊าซมีเทนเป็นหนึ่งในสาม ของสาเหตุของภาวะโลกร้อน รองจากก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ซึ่งพบได้บ่อยกว่าและลอยอยู่นานกว่าในชั้นบรรยากาศ

แต่ก๊าซมีเทนมีความสามารถในการดักจับความร้อนได้มากกว่า ซึ่งส่งผลกระทบทำให้ชั้นบรรยากาศอุ่นขึ้นกว่า 80 เท่า ซึ่งเทียบกับการปล่อยเก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในระยะเวลา 20 ปี

ศาสตราจารย์ชินเดลล์กล่าวว่า ถ้าเราสามารถการควบคุมการปล่อยก๊าซมีเทน อาจช่วยลดผลกระทบนี้ได้

" ระหว่างปัจจุบันจนถึงปี 2050 เราต้องช่วยกันลดก๊าซมีเทน วึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการชะลอภาวะโลกร้อน การลดก๊าซมีเทนเพียงเล็กน้อย อาจจจะไม่ต้องเท่ากับการลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ แต่มันจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงมหาศาล"


บทความนี้สอดคล้องกับรายงานฉบับล่าสุดจากสภาสภาพภูมิอากาศออสเตรเลีย ซึ่งเรียกร้องให้ออสเตรเลียดำเนินการที่เข้มงวดมากขึ้นในการแก้ไขปัญหามลพิษจากก๊าซมีเทน

 ผู้อำนวยการสภาสภาพภูมิอากาศกล่าวว่าออสเตรเลีย ศาสตราจารย์เลสลีย์ ฮิวจ์ กล่าวว่า ออสเตรเลียมีการผลิตก๊าซมีเทนจำนวนมากเมื่อเทียบกับนานาชาติ

 "ออสเตรเลียผลิตก๊าซมีเทนมากที่สุดเป็นอันดับที่ 12 ของโลก แต่เมื่อเทียบกับจำนวนประชากรต่อหัวแล้วเราผลิตมีเทนมากถึง 4-5 เท่า เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ดังนั้นเราต้องแสดงความรับผิดชอบต่อเรื่องนี้ "

 ในรายงานดังกล่าวมีการเรียกร้องให้บริษัทเชื้อเพลิงฟอสซิล ต้องติดตาม รายงาน และลดการปล่อยก๊าซมีเทน พร้อมๆ กับเสนอแนะให้เพิ่มแรงจูงใจ เพื่อให้เกษตรกรนำเทคโนโลยีใหม่ๆ มาใช้เพื่อลดการปล่อยก๊าซมีเทน

ศาสตราจารย์ฮิวจ์ กล่าวว่าการจัดการขยะทีมีประสอทธิภาพมากขึ้น เช่น การทำปุ๋ยหมัก ก็มีความสำคัญในการลดการปล่อยก๊าซมีเทนเช่นกัน

"ในออสเตรเลีย มากกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของขยะเปียกที่เป็นอาหาร ถูกนำไปฝังกลบ และนั่นคือการเริ่มต้นของกระบวนการผลิตก๊าซมีเทน ดังนั้นหากเราสามารถรวบรวมเศษอาหาร และมีวิธีจัดการที่ดีขึ้น เช่น มีการนำไปทำปุ๋ยหมักหรือในฟาร์มไส้เดือน มันจะช่วยลดก๊าซมีเทนได้ "

 

การลงทุนและการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อแก้ปัญหานี้ เช่น การตรวจจับมีเทนแล้วนำมาเปลี่ยนเป็นพลังงานหมุนเวียน อย่างที่นักวิทยาศาสตร์ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์กำลังทำอยู่ ก็สามารถช่วยได้เช่นกัน

 โฆษกรัฐมนตรีกระทรวงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและพลังงาน คริส โบเวน กล่าวในแถลงการณ์ว่า

“รัฐบาลกำลังดำเนินการอย่างแข็งขันเพื่อผลักดันการลดก๊าซมีเทนทั้งระบบเศรษฐกิจ เรื่อยไปตั้งแต่ฟาร์มการเกษตร ไปจนถึง การผลิตในอุตสาหกรรม เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตามที่เราลงนามไว้



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  



 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand