Work from home จะอยู่ต่อไปแม้วิกฤตโควิดผ่านพ้น

Mixed race man working from home on his computer during lockdown

การทำงานจากที่บ้านจะยังคงอยู่ แม้มาตรการสกัดโควิด-19 จะสิ้นสุดลง Source: Digital Vision/Getty Images

การทำงานจากที่บ้านในสถานการณ์โควิด-19 อาจเป็นแบบนี้ต่อไปในอนาคต หลังรายงานด้านการทำงานของออสเตรเลีย พบคนทำงานจากที่บ้านเพิ่มสูงถึงราว 40% เทียบกับราว 8% ก่อนการแพร่ระบาดจะเกิดขึ้น และคาดว่าจะยังอยู่ในระดับนี้ต่อไป แม้มาตรการจำกัดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 จะสิ้นสุดลง


LISTEN TO
Coronavirus pandemic has changed work forever: Productivity Commission  image

Work from home จะอยู่ต่อไปแม้วิกฤตโควิดผ่านพ้น

SBS Thai

20/09/202106:24
การทำงานจากที่บ้าน จะไม่ใช่เพียงปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นเฉพาะการแพร่ระบาดใหญ่อีกต่อไป รายงานฉบับใหม่ของคณะกรรมการผลิตภาพ (Productivity Commission) ได้คาดการณ์ตัวเลขโดยรวมว่า จำนวนผู้คนที่ทำงานจากที่บ้านจะยังคงอยู่ในระดับสูง แม้มาตรการล็อกดาวน์จะสิ้นสุดลงไปแล้ว

คุณแอนดี วิเธอส์ (Andy Withers) เป็นบรรณาธิการอาวุโสจากบริษัทสื่อกีฬานานาชาติ เขารู้สึกมีความสุขที่ได้ใช้เวลาอยู่ที่บ้านระหว่างทำงานได้มากขึ้น เช่นเดียวกับอีกหลายคน   

“ไม่มีวันไหนที่ผมไม่รู้สึกขอบคุณข้อดี และสิทธิพิเศษที่ผมมีในอาชีพการทำงานของผม ผมเข้าใจอย่างลึกซึ้งว่า มีผู้คนจำนวนมากที่ไม่ได้อยู่ในจุดที่สามารถทำงานได้จากที่บ้าน” คุณวิเธอส์ กล่าว

ประชากรวัยทำงานประมาณ 2 ใน 3 ไม่มีทางเลือกในการทำงานจากที่บ้านเช่นนั้น แต่สำหรับผู้ที่ทำงานจากที่บ้านได้นั้น สิ่งนี้ก็อาจเป็นประโยชน์กับทั้งลูกจ้าง และนายจ้างด้วยเช่นกัน

คุณไมเคิล เบรนแนน (Michael Brennan) ประธานคณะกรรมการผลิตภาพของออสเตรเลีย เชื่อว่า การเปลี่ยนมาทำงานจากที่บ้านนั้น มีข้อดีมากกว่าข้อเสีย

“แน่นอนว่า คุณต้องการที่จะเข้าใจ คุณต้องการจับตา และติดตามอย่างใกล้ชิด แต่คุณคงไม่ต้องการขัดขวางเทคโนโลยีที่อาจนำพาโอกาสใหม่ ๆ และความเป็นไปได้ที่พนักงานและบริษัทต่าง ๆ จะสามารถทำงานตามแนวทางที่พวกเขาเห็นสมควร” คุณเบรนแนน กล่าว

รายงานจากคณะกรรมการผลิตภาพยังได้เน้นอีกว่า การทำงานจากที่บ้านนั้นก็มีด้านลบ ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่อสุขภาพจิต ขณะที่ผู้นำสหภาพระบุว่า มีผลพลอยได้อื่น ๆ ที่ไม่พึงประสงค์จากการทำงานที่บ้านด้วยเช่นกัน

คุณมิเชล โอนีล (Michelle O’Neill) ประธานสภาหอการค้าออสเตรเลีย (ACTU) อธิบายว่า

“สิ่งที่เราพบจากการทำแบบสำรวจเมื่อปีที่แล้วก็คือ คนทำงานจากที่บ้านในตอนนั้น ต้องทำงานเพิ่มจากชั่วโมงงานปกติที่เคยทำอยู่ในที่ทำงานอย่างน้อย 2 ชั่วโมง และเวลาทำงานที่เพิ่มเติมจากนั้นมา คือชั่วโมงงานที่ไม่มีค่าตอบแทน” คุณโอนีล อธิบาย

นอกเหนือจากความกังวลดังกล่าว คุณโอนีล แสดงความกังวลอีกว่า ผู้หญิงกำลังพบกับความต้องการที่เพิ่มมากขึ้น

“สำหรับผู้หญิงในวัยทำงานส่วนใหญ่ พวกเขายังมีความรับผิดชอบมากขึ้น ในการดูแล และช่วยเหลือการเรียนจากที่บ้านของบุตรหลาน มันจึงไม่ใช่ภาพที่เท่าเทียมกัน ในแง่ว่าใครต้องทำงานบ้านเพิ่มเติมจากการทำงานจากที่บ้าน” คุณโอนีล กล่าว

คุณไมเคิล เบรนแนน ประธานคณะกรรมการผลิตภาพ กล่าวอีกว่า รายงานดังกล่าวสรุปได้ว่า การทำงานแบบผสมจากที่บ้านและที่ทำงานนั้น คือลักษณะการทำงานในอุดมคติ

“รูปแบบการทำงานที่ดูเหมือนว่าธุรกิจจำนวนมากให้ความสนใจ ในฐานะวิธีที่ดีที่สุดในการไกล่เกลี่ยความต้องการให้ความยืดหยุ่นกับคนทำงาน เพื่อทำงานจากที่บ้านในบางครั้ง และยังได้ประโยชน์จากการมีปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล

“เป็นไปได้ว่า รูปแบบการทำงานแบบผสมผสาน ที่เปิดโอกาสให้ผู้คนมีความยืดหยุ่นในการทำงานจากที่บ้านได้บางเวลา และยังมีคนทำงานอยู่ในที่ทำงานในช่วงเวลาส่วนใหญ่นั้น อาจเป็นสิ่งที่ลงตัว” คุณเบรนแนน กล่าว

สำหรับคนทำงานอย่าง คุณแอนดี วิเธอส์ เขากล่าวว่า มันเป็นวิธีทำงานที่ทำให้เขาหัวแล่นมากขึ้น

"ผมจะหัวแล่นกว่าเมื่ออยู่ที่บ้าน เพียงเพราะไม่ต้องใช้เวลาเพิ่มอีกเป็นชั่วโมง ในการเดินทางไปกลับที่ทำงานช่วงเช้าและช่วงเย็น ทำให้เริ่มวันใหม่ได้สดชื่นกว่า เพราะไม่ต้องใช้เวลาเป็นชั่วโมงบนระบบขนส่งสาธารณะ ไม่ต้องแก่งแย่งกับคนอื่น ๆ ไม่ต้องเจอรถไฟที่มาสาย หรืออะไรทำน้องนั้น"

"ผมว่าตัวผมเองหัวแล่นมากขึ้น และที่แน่นอนก็คือ ไม่เคยหัวแล่นน้อยไปกว่าเดิม" คุณวิเธอส์ กล่าว


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ร้านอาหารไทยเปิดใจหลังตกเป็นข่าวใหญ่เพราะโควิด


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand