การออกแบบที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นเมืองคืออะไร? เหตุใดจึงมีความสำคัญ

Ground Plane

การออกแบบที่สะท้อนความสัมพันธ์ของสถานที่กับดินแดนของชนพื้นเมือง ที่ University of Technology ที่ซิดนีย์ Credit: Greenaway Architects, Warren and Mahoney, OCULUS

สถานที่หลายแห่งในออสเตรเลียมีประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และภาษาที่ยึดโยงนับหมื่นปี การออกแบบสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนไปตามกาลเวลามุ่งหวังให้ยังคงเรื่องราวของสถานที่ต่างๆ ไว้ ฟังข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญในการคงความรู้ของชนพื้นเมืองที่ ผสานวัฒนธรรมตะวันตกไว้ในการออกแบบพื้นที่และอาคารต่างๆ


ประเด็นสำคัญ
  • ความเข้าใจว่าวัฒนธรรมพื้นเมืองออสเตรเลียเหมือนกันในทุกพื้นที่ เป็นความเข้าใจที่ผิด
  • การออกแบบสภาพแวดล้อมที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นการออกแบบผังเมืองที่แตกต่างไปจากการออกแบบเมืองอื่นๆ
  • การออกแบบลักษณะนี้ ควรมีผู้ถือองค์ความรู้พื้นเมือง ผู้ออกแบบสภาพแวดล้อม และผู้รังสรรค์การออกแบบมีส่วนร่วมในกระบวนการ

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

นั้นฝังรากลึกในแต่ละดินแดน ทั้งยังรวมถึงสถานที่และสภาพแวดล้อมในบริเวณตัวเมืองที่เราอาศัยอยู่ด้วย

เฉกเช่นการออกแบบสภาพแวดล้อมทั่วไป การออกแบบควรสะท้อนวัฒนธรรมคือการออกแบบให้เหมาะสมกับชุมชนนั้น ไม่ว่าจะเป็นอาคารสาธารณะ จตุรัส จิตรกรรมฝาผนัง การออกแบบจะเชื่อมโยงวัฒนธรรมพื้นเมืองของสถานที่นั้น

สถาปนิก หน่วยงานรัฐบาล และผู้รังสรรค์ออกแบบทำงานเพื่อสะท้อนวัฒนธรรมของชนพื้นเมืองกับสภาพแวดล้อมของเราอย่างไร?

ศาสตราจารย์ไบรอัน มาร์ตินเป็นชาวบันจาลัง มูรูวารี และกามิลารอย และเป็นหนึ่งในผู้เขียนอินเทอร์แนชันแนล ดีไซน์ ชาร์เทอร์

เขาอธิบายถึงแนวทางที่สะท้อนความหลากหลายของวัฒธรรมชนพื้นเมืองออสเตรเลีย

“เมื่อเรานึกถึงความรู้หรือการออกแบบของชนพื้นเมือง ทุกสิ่งล้วนมาจากดินแดน ดังนั้น แนวปฏิบัติที่ดีที่สุดคือการมองลงไปที่สถานที่แห่งนั้น เจ้าของดั้งเดิมของที่นั้น และการออกแบบให้สะท้อนความรู้และแนวคิดที่เกี่ยวข้องกับที่นั้นหรือดินแดนนั้น เป็นการออกแบบโดยใช้วัฒนธรรมพื้นเมืองหรือดินแดนของชนพื้นเมือง”
wildflowers near rock outcrop
ดงดอกไม้ป่าในอุทยานแห่งชาติคาริจินี รัฐเวสเทิร์น ออสเตรเลีย Source: Getty / TED MEAD
สถาปนิกเจฟา กรีนอะเวย์ สถาปนิกชาววายีวัน กามิลารอยและดาราวัล อธิบายว่า สถาปัตยกรรมที่สะท้อนความหลากหลายของวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นการรวมกลุ่มและเป็นการส่งเสริมความเท่าเทียมด้วย
โดยปกติแล้ว ชนพื้นเมืองมักไม่ได้ถูกกล่าวถึงในโปรเจกต์การก่อสร้างระดับใหญ่ ดังนั้นจึงเป็นโอกาสที่ดีในการสนับสนุนและเป็นตัวแทนของพวกเขา
สถาปนิกกรีนอะเวย์กล่าว
การยืนยันถึงการเป็นผู้ถือครองดินแดนก่อนการล่าอาณานิคมหมายความถึงการออกแบบสถาปัตยกรรมที่บอกเล่าประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้นในทุกมิติ ทั้งทางภูมิศาสตร์ และการเชื่อมโยงถึงความสัมพันธ์ฉันท์ญาติมิตร หรือเนื้อเพลง เป็นต้น

“ผมหมายถึงความเข้าใจว่าโปรเจกต์ก่อสร้างตั้งอยู่ที่ใด ตั้งอยู่ที่ดินแดนดั้งเดิมอะไร ใช้ภาษาอะไร เรารู้ดีว่ามีภาษาพื้นเมืองกว่า 270 กลุ่มภาษา และภาษาถิ่น 600 ภาษาทั่วทวีปอันกว้างใหญ่แห่งนี้”
Jefa Greenaway portrait
สถาปนิกเจฟา กรีนอะเวย์ Credit: Aaron Puls
มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น วิทยาเขตตัวเมือง เป็นตัวอย่างแนวทางการออกแบบอาคารที่สะท้อนดินแดนดั้งเดิม โดยมีตึกเรียนเชื่อมต่อกับถนนสวอนสตัน ในย่านศูนย์กลางธุรกิจ

กรีนอะเวย์เป็นหนึ่งในผู้ออกแบบหลักของโครงการนี้ เขากล่าวถึงวิวัฒนาการของการออกแบบว่า

“เราหารือกับชนพื้นเมืองที่เกี่ยวข้อง ผู้อาวุโส ผู้ที่มีภูมิความรู้ นักศึกษาชนพื้นเมือง และเจ้าหน้าที่พื้นเมืองของมหาวิทยาลัย เราพยายามสะท้อนเสียงของพวกเขา สิ่งที่ชัดเจนมากในการทำงานร่วมกันคือมีเรื่องราวเกี่ยวกับการอพยพของปลาไหลในบริเวณใกล้เคียง ดังนั้นสิ่งที่เราพยายามทำในการออกแบบคือสะท้อนแสงสว่างจากลำน้ำเดิม”

ทีมงานได้ทำการออกแบบลำธารผ่านอัฒจันทร์และเส้นทางผ่านลานพลาซ่า เส้นทางที่ปลาไหลอพยพมานานกว่า 60,000 ปี บนดินแดนดั้งเดิมของชนเผ่าคูลิน ไปยังแม่น้ำบีรารัง (แม่น้ำยาร์รา) เพื่อเพาะพันธุ์

โดยใช้พืชพรรณและวัสดุพื้นเมืองสร้างระบบทางน้ำเพื่อเชื่อมกับบ่อน้ำรอบมหาวิทยาลัย

สำหรับลำน้ำเดิม มีการวางท่อเพื่อสร้างระบบรองรับน้ำฝนของเมือง และปลาไหลยังคงอพยพผ่านเส้นทางนี้

กรีนอะเวย์กล่าวว่า นี่เป็นตัวอย่างของการออกแบบที่สะท้อนดินแดน เพื่อยังคงความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม

“การออกแบบสะท้อนความคิดเรื่องความต่อเนื่องทางวัฒนธรรม ในอดีต วัฒนธรรมชนพื้นเมืองถูกตีกรอบให้คงความดั้งเดิม การออกแบบนี้ตีความใหม่และสร้างความเข้าใจว่า เรากำลังสร้างสถาปัตยกรรมที่คงสายสัมพันธ์ที่ยังสะท้อนถึงมรดกที่มีอายุ 67,000 ปีของสถานที่แห่งนี้”
Uni Melb project
โปรเจกต์การก่อสร้างที่สะท้อนเส้นทางการอพยพของปลาไหล ที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น Credit: Peter Bennetts
ศจ. มาร์ตินกล่าวว่า การสานสัมพันธ์เป็นองค์ประกอบสำคัญของกระบวนการออกแบบที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นเมือง ซึ่งหมายความถึงการมีส่วนร่วมอย่างลึกซึ้งกับสถานที่และผู้คนจากสถานที่แห่งนั้น พิธีการทางวัฒนธรรมไม่ใช่แค่เช็คลิสต์สิ่งที่ควรทำ โดยมิได้สร้างความสัมพันธ์เสียก่อน

นักออกแบบควรมีส่วนร่วมกับสถานที่และผู้คนจากที่แห่งนั้นอย่างต่อเนื่อง

“ความสัมพันธ์เป็นส่วนสำคัญของการมีปฏิสัมพันธ์กับสถานที่และตัวแทนของดินแดนนั้น หลักการสำคัญคือการรับฟังอย่างลึกซึ้ง ซึ่งอยู่เหนือกรอบเวลา ความสัมพันธ์มักสร้างขึ้นโดยกำหนดเวลาของโปรเจกต์ ไม่ว่าจะเป็นการหาความรู้หรือการออกแบบโปรเจกต์ โดยบริษัทสถาปนิก หรือหน่วยงานรัฐบาล หรือผู้ออกแบบเอง ซึ่งควรสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนและสถานที่นั้นเสียก่อน”
เดซิรี เอร์นานเดซ อิบินารีอากา หญิงชาวแม็กซิกัน เชื้อสายมายัน แอซเท็ก และบาสก์ อาจารย์จากภาควิชาการออกแบบ มหาวิทยาลัยโมนาช

เธอเคยทำงานร่วมกับหญิงชนพื้นเมืองที่ออสเตรเลียและแม็กซิโก ในระหว่างที่เธอทำวิจัยปริญญาเอก และได้พัฒนาวิธีออกแบบที่สะท้อนความรู้และความหลากหลายทางชีววัฒนธรรมของชนพื้นเมืองออสเตรเลีย

“การออกแบบที่สำคัญคือการสะท้อนเอกลักษณ์ของวัฒนธรรม เพราะเป็นสิ่งที่เชื่อมโยงกับวิธีที่เรามองหรือจักรวาลวิทยาของเรา”
Problem solving design
การออกแบบที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์ของวัฒนธรรมพื้นเมืองเป็นเรื่องสำคัญ และต้องมองจากมุมมองของชุมชนท้องถิ่น โดยใช้สภาพแวดล้อมรอบตัวเรา ดร. อิบินารีอากากล่าว Credit: Desiree Hernandez Ibinarriaga
ด้วยเหตุนี้ ดร. อิบินารีอากากล่าวว่า การสร้างความสัมพันธ์ก่อนออกแบบเป็นทั้งข้อกำหนดเบื้องต้น และเป็นผลลัพธ์ที่แท้จริงด้วย

ก่อนที่ดร. อิบินารีอากาจะเริ่มทำการวิจัยกับวัยรุ่นชนพื้นเมือง เธออาศัยอยู่กับโรงเรียนประจำในแถบชนบทของรัฐวิกตอเรียอยู่หลายเดือน

สิ่งนี้ซึ่งกลายเป็นการทำเวิร์กชอปทางชีววัฒนธรรมของเธอ และถูกออกแบบให้เสริมสร้างเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมสำหรับนักเรียน ผ่านการเชื่อมสัมพันธ์กับดินแดน
สำหรับวิธีการของชนพื้นเมือง สิ่งที่เราควรให้ความสำคัญคือดินแดน รวมถึงผืนดิน ท้องฟ้า และลำน้ำที่เราอาศัยอยู่ เป็นพื้นที่ที่เราดำรงอยู่ เรียกว่า ‘โทนันต์ซินลาลี (Tonantsintlalli)’ แปลว่าแม่พระธรณีในภาษาของบรรพบุรุษของฉัน และยังหมายถึงความสัมพันธ์ที่เรามีกับวัตถุและสิ่งต่างๆ ที่ไม่ใช่วัตถุด้วยเช่นกัน
ดร. อิบินารีอากากล่าว
โอลิเวีย ไฮด์ ผู้อำนวยการด้านการออกแบบ จากหน่วยงานสถาปัตยกรรมของรัฐบาลรัฐนิวเซาท์เวลส์ ซึ่งทำงานร่วมกับทีมสถาปนิกพื้นเมืองจากรัฐควีนส์แลนด์ในการพัฒนา

โดยหน่วยงานที่นำกรอบการออกแบบนี้ไปใช้จะออกแบบโปรเจกต์ที่ยังคงผลลัพธ์เชิงบวกต่อดินแดนและชุมชนพื้นเมือง รวมถึงการลดผลกระทบจากเหตุธรรมชาติผ่านการใช้ดินแดนและลำน้ำอย่างยั่งยืน

กรอบการทำงานมีระยะเวลา 5 ปี ผสมผสานองค์ประกอบของแนวทางที่สะท้อนดินแดน ซึ่งได้รับแรงบันดาลใจจากโปรเจกต์ก่อนหน้า เช่น พารามัตตา แสควร์

“พารามัตตา แสควร์ เป็นตัวอย่างโปรเจกต์ที่ดำเนินการตามกรอบการออกแบบที่ดี โดยชนพื้นเมืองมีส่วนร่วมในการออกแบบ และที่สำคัญที่สุดคือมันถูกออกแบบโดยผู้ถือองค์ความรู้ดารังตั้งแต่แรกเริ่ม ดังนั้นจึงมีกระบวนการที่ทำงานกับชุมชนพื้นเมืองเป็นรากฐาน และพัฒนาแผนงานสำหรับการออกแบบนี้”
jnphoto.com.au-1793.jpg
พารามัตตา แสควร์เป็นหนึ่งในการออกแบบที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นเมืองออสเตรเลีย
ศจ. มาร์ตินกล่าวว่า สิ่งนี้ต่างจากแนวทางการทำงานแบบ ‘ขอแค่ให้มี’

“ผมเคยถูกติดต่อให้ร่วมออกแบบในช่วงท้ายของการออกแบบ แบบว่า เราต้องรวมชนพื้นเมืองในการออกแบบด้วย ซึ่งไม่ใช่การเล่าเรื่องราวที่สะท้อนวัฒนธรรมพื้นเมืองตั้งแต่แรก และลงท้ายที่ไม่มีโครงสร้างของวัฒนธรรมพื้นเมืองในกระบวนการ ในการออกแบบอาคาร สินค้า หรืออะไรก็ตาม”

ในกรณีของพารามัตตา แสควร์ ผู้ออกแบบทำงานเพื่อสร้างและคงประวัติศาสตร์ของสถานที่นั้นอย่างเห็นได้ชัด

มีศิลปะพื้นเมือง มีวงกลมดารัง และชุดงานฝังที่อิงหลักฐานทางประวัติศาสตร์ของชนพื้นเมือง ซึ่งมีอายุนับพันปี

“เมื่อเรานำทุกสิ่งมารวมกัน มันจะแสดงถึงสิ่งที่สะท้อนการอยู่อาศัยที่มีมายาวนาน ความสำคัญของสถานที่ในเชิงวัฒนธรรมต่อชนพื้นเมือง และการยอมรับว่าวัฒนธรรมยังคงอยู่และอยู่ตลอดไป ดังนั้น มันจึงเป็นการย้ำการปฏิบัติทางวัฒนธรรมที่ยังคงอยู่ และยังเปิดกว้างกับทุกคนด้วย”
Waratah flower light installation
การออกแบบดอกไม้วาราท่าห์ ดอกไม้ที่พบได้ในแถบตะวันออกเฉียงใต้ของออสเตรเลีย ในงานแสดงไฟ วิวิด ซิดนีย์ Credit: Manfred Gottschalk/Getty Images
อ่านหรือฟังเรื่องการตั้งถิ่นฐานในออสเตรเลียได้อีก



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand