หลายคู่อยากมีลูก แต่กังวลกับอนาคตของเด็ก

คุณแม่อุ้มลูกยืนมองไปนอกหน้าต่าง

คุณแม่อุ้มลูกยืนมองไปนอกหน้าต่าง Credit: Pexels/Polina Tankilevitch

เมื่อปี 2019 ออสเตรเลียเผชิญกับปีที่ร้อนที่สุดเป็นประวัติการณ์ ปี 2022 ก็ประสบอุทุกภัยหนักที่สุด ซึ่งก่อให้เกิดภัยพิบัติฉุกเฉินต่อๆ มาอีก สภาพอากาศอันรุนแรงเหล่านี้มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจที่จะมีบุตรหรือไม่? นักวิจัยออสเตรเลียได้ทำการศึกษาในเรื่องนี้


คุณอมีนา เพย์น (Ameena Payne) และคู่ครองของเธอปรึกษากันหลายปี ว่าจะมีลูกดีหรือไม่

เธอกล่าวว่าความไม่แน่นอนที่ว่า คนรุ่นหลังจะต้องเจอกับโลกแบบไหนเป็นสิ่งที่ทำให้พวกเขาลังเล

“ไฟป่า และคุณก็รู้ดี ภัยแล้งเอย น้ำท่วมเอง ที่เราได้ยิน ไหนจะวิกฤตเศรษฐกิจ ล้วนกระทบการตัดสินใจว่าเราจะมีลูกดีไหม”

ในที่สุด คู่รักที่อยู่ด้วยกันมา 6 ปีก็ตัดสินใจว่าจะไม่มีบุตร และไม่ใช่มีแค่พวกเขาเท่านั้น

“สิ่งที่ฉันสังเกตในกลุ่มเพื่อนของฉันคือ เราวางแผนครอบครัวอย่างจริงจัง มันไม่ใช่แค่คุณคนเดียว ไม่ใช่เพียงแค่เรื่องการเงินว่าเราพร้อมหรือไม่ โลกจะสามารถอยู่ได้ไหมหากมีเด็กเพิ่มมากขึ้นด้วย”

แพทย์หญิง คาร์ลา พาสโค เล (Dr Carla Pascoe Leahy) นักประวัติศาสตร์สาขามารดา การมีบุตรและครอบครัว เชื่อว่าผู้หญิงออสเตรเลียทั่วประเทศถามคำถามเดียวกันนี้มากขึ้นเรื่อยๆ

นี่เป็นสาเหตุที่พญ. คาร์ลาและทีมนักวิจัยเริ่มการวิจัยในประเด็นว่าภาวะโลกร้อนมีผลต่อการตัดสินใจสืบพันธุ์หรือไม่

“สิ่งที่น่าสนใจคือ เมื่อเราถามคำถามกับหลายคนในโซเชียลมีเดีย เราได้คำตอบที่หลั่งไหลเข้ามา เหมือนว่าเราไปจุดประเด็น”

โปรเจกต์มารดาและการมีบุตรในอนาคต (The Maternal Futures project) ซึ่งเป็นโครงการร่วมระหว่างมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย (University of Tasmania) มหาวิทยาลัยเอดินเบิร์ก (University of Edinburgh) และมหาวิทยาลัยฟลินเดอร์ส (Flinders University) เพื่อวิจัยว่าภาวะโลกร้อนมีผลกระทบอย่างไรในการตัดสินใจเรื่องการมีบุตร

ซึ่งขณะนี้กำลังทำการวิจัยและจะเผยแพร่ผลการวิจัยในปีหน้า

แพทย์หญิงคาร์ลากล่าวว่า จนถึงตอนนี้ ทีมนักวิจัยได้สอบถามผู้หญิง 10 คนทั่วออสเตรเลีย จากเมืองหลวงต่างๆ จากภูมิภาคต่างๆ และจากหลากหลายวัฒนธรรม

“ผู้หญิงหลายคนรู้สึกโหยหาอยากมีบุตรและเป็นแม่ แต่ในขณะเดียวกัน พวกเขาก็รู้สึกไม่แน่ใจและสับสนว่าอนาคตของลูกๆ พวกเขาจะเป็นอย่างไร”

ตัวเลขจากสำนักงานสถิติของออสเตรเลีย (Australia Bureau of Statistics) แสดงให้เห็นว่าออสเตรเลียออกใบสูจิบัตรในปี 2022 ราว 294,000 ใบ นับเป็นอัตราการเจริญพันธุ์ที่ต่ำที่สุดในประวัติศาสตร์

ขณะที่มีสูจิบัตรเกือบ 310,000 ใบที่ขึ้นทะเบียนในปี 2021 ผู้อำนวยการสำนักประชากรศาสตร์ เอมิลี วอลเทอร์ (Emily Walter) กล่าวว่าอัตราการเจริญพันธุ์โดยรวมในทศวรรษที่ผ่านมาลดลง

“ตัวเลขสูงสุดที่เราเห็นคือเมื่อปี 2008 ด้วยตัวเลขทารก 2.02 คนต่อมารดา 1 คน   และตั้งแต่นั้นมาก็ลดลงเรื่อยๆ”

พญ.คาร์ลายังทำการวิจัยว่า ภัยพิบัติต่างๆ กระทบต่อการตัดสินใจของมารดาอย่างไร

“การวิจัยเรื่องวิกฤตของมารดาพบว่า ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อมารดาชาวออสเตรเลียอย่างลึกซึ้ง ขณะที่ภัยพิบัติเพิ่มขึ้น มารดาหลายคนคิดทบทวนอย่างระมัดระวังเกี่ยวกับว่าจะปกป้องครอบครัวของพวกเธออย่างไรในศตวรรษที่ 21 เรื่องของที่ที่พวกเขาควรอยู่และสร้างบ้านของครอบครัวที่ปลอดภัย จะเตรียมตัวกับภัยพิบัติในอนาคตอย่างไร”

การวิจัยดังกล่าวเป็นของผู้หญิงที่อาศัยในภูมิภาคกิปส์แลนด์ (Gippsland) ของรัฐวิกตอเรีย บริเวณที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักจากภัยพิบัติต่างๆ จากไฟป่าครั้งใหญ่หลายครั้งในทศวรรษที่ผ่านมา

ครูชั้นประถมศึกษา เจน ซัลทานา (Jane Sultana) มีลูกชายวัยรุ่น 2 คนและผ่านวิกฤตไฟป่ามาหลายครั้ง เธอกล่าวว่ามันกระทบกับวิธีที่เธอเลี้ยงลูกๆ

“เมื่อเราไปเที่ยวกับครอบครัวในฤดูร้อน เราจะไม่ไปไกล เพราะเราไม่อยากถูกล้อมด้วยไฟป่าขณะที่เราขับรถ เราสร้างบ้านของเราให้ประหยัดพลังงานมากที่สุด เราพยายามซื้อของที่ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม โดยการเลือกอาหารที่มีหีบห่อน้อยลง ฉันหวั่นใจกับอนาคตของลูกๆ ของฉัน ภาวะโลกร้อนจะกระทบโลกอย่างไร และจะกระทบกับอนาคตของพวกเขาอย่างไร”

หวังว่าการวิจัยนี้จะส่งผลให้มีบริการช่วยเหลือที่ดีขึ้น เพื่อช่วยให้หลายๆ ครอบครัวสามารถรับมือกับวิกฤตภาวะโลกร้อนได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand