หลายคนไม่สนใจและไม่เข้าใจป้ายคำเตือนที่ชายหาด

ป้ายคำเตือนที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach)

ป้ายคำเตือนที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach) Credit: SBS

เกือบ 1 ใน 3 คนไม่เข้าใจคำเตือนสำคัญที่ห้ามว่ายน้ำบริเวณระหว่างธง เสียงเรียกร้องให้ทบทวนป้ายเตือนบนชายหาด หลังผลวิจัยล่าสุดเผยว่าผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดส่วนใหญ่ไม่สนใจหรือไม่เข้าใจคำเตือนเรื่องความปลอดภัย


ในวันที่ท้องฟ้าสดใสที่ชายหาดบอนได (Bondi Beach) อันมีชื่อเสียงของซิดนีย์ แต่เหมือนว่าบางสิ่งไม่ชัดเจน และนั่นคือป้ายคำเตือน
ฉันไม่รู้ว่าต้องว่ายน้ำในบริเวณที่มีธงอยู่ ถ้าฉันไม่ได้เห็นคำเตือนที่เป็นตัวหนังสือ
นักท่องเที่ยวกล่าว
ในระหว่างปี 2021-22 มีการรายงานผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 141 รายซึ่งสูงเป็นประวัติการณ์ ทำให้เกิดคำถามถึงประสิทธิภาพของป้ายคำเตือน

จากผลการวิจัยที่สอบถามประชาชน 160 คนที่หาดบอนได เรื่องความเข้าใจถึงข้อความเตือนพบว่า เกือบครึ่งของคนที่เกิดในต่างประเทศ และร้อยละ 40 ของคนออสเตรเลียไม่เข้าใจหรือไม่ค่อยอ่านป้ายเตือน

การวิจัยยังพบอีกว่าเกือบร้อยละ 30 ของคนออสเตรเลียและคนที่เกิดในต่างประเทศเข้าใจว่าคำเตือนให้ ‘ว่ายน้ำในบริเวณที่มีธง’ มีไว้สำหรับนักกีฬาว่ายน้ำหรือผู้ที่ฝึกฝนว่ายน้ำ

และครึ่งหนึ่งของผู้ที่ไปเที่ยวชายหาดเข้าใจถึงการไม่มีธงว่า คุณสามารถลงไปเล่นน้ำได้ แต่ห้ามว่ายน้ำ

ด็อกเตอร์มาซากิ ชิบาตะ (Dr Masaki Shibata) จากมหาวิทยาลัยแอดิเลด (University of Adelaide) นักวิจัยกล่าวว่า

“ปกติแล้วนักท่องเที่ยวจะคิดว่าการว่ายน้ำในบริเวณที่มีธงหมายความว่า คุณต้องว่ายน้ำบริเวณนั้น และหากคุณไม่สามารถว่ายน้ำได้ คุณต้องอยู่ด้านนอก นั่นเป็นความเข้าใจที่ผิดมากเลย”
ผู้คนที่ชายหาดในออสเตรเลีย
ผู้คนที่ชายหาดในออสเตรเลีย Credit: Pexels/Belle Co
สิ่งหนึ่งที่ดร.ชิบาตะพบคือ ทางการควรพิจารณาการใช้รหัสสีใหม่ รวมถึงการใช้ธงสีแดงและสีเหลือง เพราะสีแดงในบางประเทศหมายความถึงอันตราย

และนักท่องเที่ยวผู้หนึ่งไม่แน่ใจ
ปกติแล้วฉันจะมองหาธงและดูว่ามันอันตรายไหม ฉันไม่รู้ถึงเรื่องสีที่นี่ แต่ฉันคิดว่าสีแดงหมายความว่าอย่าลงไปเล่นน้ำ เพราะมันอันตราย
นักท่องเที่ยวกล่าว
ดร.ชิบาตะแนะว่ารูปควรจะอธิบายถึงอันตรายอย่างละเอียดสำหรับชาวต่างชาติที่อาจไม่เข้าใจ เช่น แมงกะพรุนที่อันตรายที่นี่คือ ‘บลูบอทเทิล (Bluebottles)’

“มีเพียงร้อยละ 50 ของผู้ที่เกิดในต่างประเทศรู้ว่าบลูบอทเทิลคืออะไร คุณอาจคิดว่ามันเป็นแค่เศษแก้ว หรือขวดสีฟ้า อะไรทำนองนั้น นี่เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เราใช้พูดกันบนหาดบอนได และถึงแม้ว่าพวกเขาจะอ่านป้ายคำเตือน พวกเขาก็อาจไม่เข้าใจว่ามันคืออะไร”
ดร.ชิบาตะกล่าวว่า ป้ายคำเตือนบนหาดบอนไดมักใช้คำแสลงที่มีน้อยกว่าร้อยละ 30 ของผู้ที่เกิดในต่างประเทศเข้าใจ

คุณเชน ดอว์ (Shane Daw) จากหน่วยช่วยชีวิตคนตกน้ำ (Surf Livesaving Australia) กล่าวว่า ปัญหาหนึ่งคือหลายคนมักไม่สนใจคำเตือน

“ผมคิดว่าเราควรระวังให้มากกว่านี้เกี่ยวกับวิธีที่เราทำ ผมคิดว่าต้องมีการแนะนำและรณรงค์ให้ดีกว่านี้เกี่ยวกับผู้ที่เดินทางมาออสเตรเลีย ให้พวกเขารู้ว่าพวกเขาอาจเจออะไรบ้าง”

คุณดอว์กล่าวว่า จากสถิติของผู้ที่จมน้ำ มี 12 เปอร์เซ็นต์เป็นนักท่องเที่ยว นักศึกษาต่างชาติหรือนักท่องเที่ยวแบ็กแพ็ก (Backpacker) ซึ่งมีพื้นเพจากต่างประเทศ

นั่นหมายความว่า ผู้ที่พำนักในออสเตรเลียซึ่งเกิดในต่างประเทศเป็นกลุ่มที่เสี่ยงที่จะจมน้ำในทะเลมากที่สุด

หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตราย โทรสายด่วนฉุกเฉิน 000


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand