ลูกของคุณแพ้ถั่วลิสงอยู่รึเปล่า? ล่าสุดแพทย์ค้นพบตัวช่วยลดอาการ

Peanut allergy

Peanut allergy. Conceptual image. Source: iStockphoto - Getty Images

เจ้าหน้าที่สำนักงานอาหารและยาสหรัฐอเมริกา รับรองยาตัวแรกที่ช่วยลดอาการแพ้ถั่วลิสงในเด็ก โรคภูมิแพ้ที่มีเด็กเป็นมากเป็นอันดับสองของออสเตรเลีย


กดปุ่ม (▶) ด้านบนเพื่อฟังพอดคาสต์นี้

เจ้าหน้าที่สํานักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ได้รับรองยาตัวแรกที่ช่วยลดอาการแพ้ต่อถั่วลิสงในเด็ก

แม้ว่ามันไม่ใช่การรักษาโรคแพ้ถั่วลิสงให้หายขาด แต่ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่านี่คือการเปิดประตูสู่การบำบัดรักษาในอนาคตอีกมากมาย 

โรคแพ้ถั่วลิสงเป็นโรคภูมิแพ้ที่เด็กในประเทศออสเตรเลียเป็นมากเป็นอันดับสอง และกำลังเพิ่มขึ้นอยู่เรื่อยๆ

โรคนี้พบได้ในเด็กหนึ่งคนจากเด็กทุกๆ 50 คน และผู้ใหญ่หนึ่งคนในทุกๆ 200 คน

ถั่วลิสงเป็นอาหารที่มีแนวโน้มจะก่อให้เกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงเรียกว่าปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลัน หรือ anaphylaxis และคาดว่ามีผู้เสียชีวิตหนึ่งคนจากผู้ที่เกิดปฏิกิริยาภูมิแพ้รุนแรงอย่างเฉียบพลันทุกๆ 200 คน

ประมาณ 1 ใน 4 ของเด็กที่มีอาการแพ้ถั่วลิสงจะลงเอยด้วยการต้องถูกส่งไปที่ห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลทุกปี

คุณนีนา นิโคลส์ อายุ 18 ปี เป็นโรคแพ้ถั่วลิสงมาเกือบตลอดชั่วชีวิตของเธอ

“ฉันค้นพบว่าตัวเองเป็นโรคแพ้ถั่วลิสงตั้งแต่อายุ 2 ขวบ เพื่อนให้แครกเกอร์เนยถั่วที่ริมสระว่ายน้ำกับฉันด้วยความไม่รู้ และก็จบลงด้วยการเกิดอาการแพ้ภายในไม่กี่นาทีหลังจากนั้น”

คุณมาเรีย ลอรา แม่ของของคุณนิโคลส์กล่าวว่า สิ่งที่เกิดขึ้นตามมานั้นน่ากลัวมาก 

“ร่างกายของเธอเต็มไปด้วยผื่นลมพิษ ตาของเธอนั้นปูดบวมจนปิด เธออาเจียนและเริ่มส่งเสียงฟืดฟ้าดระหว่างที่หายใจ”

คุณนิโคลส์ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของการทดลองทางการแพทย์ในสหรัฐอเมริกาเพื่อบำบัดโรคแพ้ถั่วลิสงด้วยการรับสารถั่วลิสงวันละน้อยๆ หรือ Palforzia โดยเธอรับประทานผงถั่วลิสงที่ได้จัดเตรียมมาอย่างพิเศษในปริมาณน้อยๆ ทุกวัน โดยจะค่อยๆ เพิ่มปริมาณขึ้นในช่วงหลายเดือน

กระบวนการนี้จะฝึกร่างกายของเด็กๆ ให้มีความต้านทานต่อถั่วลิสงมากขึ้น เพื่อที่ว่าเมื่อพวกเขาบังเอิญทานถั่วลิสงเข้าไป จะทำให้มีแนวโน้มน้อยลงที่จะการเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรงหรือเสียชีวิตในกรณีที่อาการสาหัส

หัวหน้าศูนย์โรคภูมิแพ้และภูมิคุ้มกันวิทยาโรงพยาบาลเด็กแห่งชาติ ณ กรุงวอชิงตันดี.ซี ดอกเตอร์เฮแมนท์ ชาร์มา กล่าวว่า

“นี่ไม่ใช่การรักษาโรคแพ้ถั่วลิสง แม้แต่ผู้ป่วยที่ได้การบำบัดอาการจากผลิตภัณฑ์ถั่วลิสงนี้พวกเขาก็จะจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงถั่วลิสงอยู่ดี”

ดอกเตอร์ชาร์มา ยังบอกอีกว่าการบำบัดเช่นนี้ไม่ได้เหมาะสำหรับทุกคน

“Palforzia สามารถก่อให้เกิดผลข้างเคียงรวมไปถึงอาการแพ้อย่างรุนแรงเป็นครั้งคราวและถ้าเยาวชนหยุดรับสารถั่วลิสงประจำวันจะทำให้พวกเขาสูญเสียการป้องกันนั้นไป”

ในบางกรณี ยานั้นกลับไปกระตุนให้เกิดอาการแพ้อย่างหนักจากสิ่งที่มันถูกแบบมาให้ป้องกัน

แต่มีการบำบัดอีกวิธี ที่กำลังได้รับการพิจารณาจากโดยสํานักงานอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา ที่อาจจะกลายมาเป็นคู่แข่งของ Palforzia

มันเป็นแผ่นแปะผิวหลัง พัฒนาโดยสถาบันการแพ้อาหารเอลเลียทและโรสลิน เจฟฟี (Elliot and Roslyn Jaffe Food Allergy Institute) ที่โรงพยาบาลเมาท์ไซไน ในนครนิวยอร์ก 

ดอกเตอร์สกอตต์ สิเชเลอร์ ผู้อำนวยการสถาบันกล่าวว่า

“มันใกล้เคียงกับแผ่นแปะนิโคตินแต่ใช้สำหรับการแพ้อาหาร มีโปรตีนถั่วปริมาณน้อยฝั่งอยู่ในนั้น โดยแปะไว้บนร่างกายตลอดเวลา จนถึงขณะนี้การศึกษาดังกล่าวอาจจะบอกได้ว่ามันไม่ได้มีกำลัง ไม่ได้มีประสิทธิภาพมากเท่ากับการให้วัคซีนเพื่อรักษาโรคภูมิแพ้ทางปาก แต่มันค่อนข้างดีและมีผลข้างเคียงน้อยกว่า”

ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand