เปิดปูมประวัติสงกรานต์

สงกรานต์พี่พิม.png

ดร.โสภา โคล กล่าวว่าสงกรานต์ไม่ได้เฉลิมฉลองเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นประเพณีร่วมกันของเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ Source: Pixabay, Supplied / Pixabay/Sopha Cole

อธิบายความเป็นมาของเทศกาลสงกรานต์ที่เฉลิมฉลองกันในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นับพันปีแล้ว เหตุใดน้ำจึงมีบทบาทสำคัญต่อประเพณีนี้ รวมทั้งที่มาของเรื่องนางสงกรานต์ การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษช่วงสงกรานต์ การขนทรายเข้าวัดและการก่อเจดีย์ทราย ดร.โสภา โคล อาจารย์สอนภาษาและวัฒนธรรมไทยในออสเตรเลีย และอดีตอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ พูดคุยในประเด็นเหล่านี้


ดร.โสภา โคล ผู้อำนวยการศูนย์ Thai Education Centre of Victoria และอดีตอาจารย์ด้านประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เธอกล่าวว่า สงกรานต์ไม่ได้เฉลิมฉลองเฉพาะในประเทศไทย แต่เป็นประเพณีร่วมกันของเอเชีย โดยเฉพาะเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

คลิก ▶ ด้านบนเพื่อฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม

“ตามประวัติศาสตร์ของแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งนักวิชาการมักเรียกกันว่า อุษาคเนย์ จะมีประเทศไทย ลาว พม่า กัมพูชา และเวียดนาม ที่มีเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน โดยลาวจะเรียกว่า ‘สงกาน’ พม่าจะเรียกว่า ‘Thingyan’ กัมพูชาจะเรียกว่า ‘ซ็องกรานต์’ และในยูนาน สิบสองปันนาของประเทศจีน ก็มีการจัดเทศกาลสงกรานต์เหมือนกัน เรียกว่า ‘พัวสุ่ยเจี๋ย’ สงกรานต์จึงไม่ได้เป็นวัฒนธรรมของประเทศไทยประเทศเดียว แต่เป็นมรดกร่วมของเอเชีย เพราะในตอนเหนือของอินเดียก็จะมีพิธีคล้ายๆ กันด้วย” ดร.โสภา โคล กล่าว
Songran Thailand new years festival and water festival, Thai Family day.
เล็กๆ รดน้ำดำหัวและขอพรจากพ่อแม่หรือผู้ใหญ่ที่เคารพนับถือในช่วงสงกรานต์ ซึ่งในประเทศไทยยังจัดเป็นวันแห่งครอบครัวอีกด้วย Credit: TaManKunG/Getty Images
เทศกาลสงกรานต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เฉลิมฉลองมานับพันปีแล้ว แต่เมื่อก่อนอาจไม่ได้เรียกว่าสงกรานต์ โดยเป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว
ดร.โสภา โคล
“เทศกาลสงกรานต์ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มีการเฉลิมฉลองมานานนับพันปีแล้ว แต่เมื่อก่อนนั้นอาจไม่ได้เรียกว่าสงกรานต์ โดยเป็นประเพณีที่จัดขึ้นหลังฤดูเก็บเกี่ยว เนื่องจากในหน้าร้อน จะไม่มีฝนตก ชาวนาจึงไม่ต้องทำนา เขาก็จะจัดพิธีรื่นเริงต่างๆ รวมทั้งการบูชาผี บูชาผีบรรพบุรุษ หรือบูชาผีพระแม่โพสพ โดยเป็นประเพณีของชาวบ้าน”

“ต่อมาเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้รับอิทธิพลของอินเดีย ก็จะรับวัฒนธรรมของพราหมณ์เข้ามา ซึ่งพราหมณ์มีอิทธิพลในราชสำนัก จึงเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆ เข้ามา และมีการใช้น้ำในพิธีกรรม ในยุคนั้นยังไม่มีการสาดน้ำ แค่นำน้ำมาใช้ในพิธีกรรมเท่านั้น แต่การเล่นสาดน้ำมีที่มาจากไหนนั้น นักวิชาการหาหลักฐานไม่พบว่ามาจากสมัยโบราณหรือเปล่า เพราะจากบันทึกสมัยสุโขทัยและจากหลักฐานที่วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ไม่ได้พูดถึงการสาดน้ำ แต่จะพูดถึงพิธีอื่นๆ ดังนั้นการสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานน่าจะเป็นประเพณีสมัยใหม่มากกว่า”
Asian little child girl pouring water on hands of elder senior
การใช้น้ำในพิธีกรรม เช่น การทรงน้ำพระ การรดน้ำดำหัวผู้ใหญ่ในประเพณีสงกรานต์นั้น ได้รับอิทธิพลมาจากวัฒนธรรมพราหมณ์จากอินเดีย Credit: Arisara_Tongdonnoi/Getty Images
songkran-g1b2f92cbf_1280.jpg
การเล่นสาดน้ำเพื่อความสนุกสนานในช่วงสงกรานต์น่าจะเป็นประเพณีสมัยใหม่ เพราะไม่ปรากฎหลักฐานในบันทึกทางประวัติศาสตร์จากสมัยก่อน Source: Pixabay
เมื่อได้รับอิทธิพลของอินเดีย ก็รับวัฒนธรรมของพราหมณ์เข้ามา จึงเริ่มมีพิธีกรรมต่างๆ และมีการใช้น้ำในพิธีกรรม แต่ในยุคนั้นยังไม่มีการสาดน้ำ
ดร.โสภา โคล
Close-Up Of Sand Pagodas
การขนทรายเข้าวัดและการก่อเจดีย์เป็นอีกอย่างที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาในช่วงสงกรานต์ Credit: Sutthiwat Srikhrueadam / EyeEm/Getty Images
ดร.โสภา ยังได้เล่าถึงเรื่องท้าวกบิลพรหมและธิดาทั้ง 7 นาง ที่จะผลัดกันเป็นนางสงกรานต์ในแต่ละปี เกี่ยวข้องกับประเพณีนี้ได้อย่างไร นางสงกรานต์ปีนี้เป็นใครและมีคำทำนายเกี่ยวกับสถานการณ์บ้านเมืองและความอุดมสมบูรณ์อย่างไร รวมทั้งเรื่องการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้บรรพบุรุษในช่วงสงกรานต์ การขนทรายเข้าวัด การก่อเจดีย์ทราย และเพลงสงกรานต์ย้อนยุคของกรมประชาสัมพันธ์ ติดตามฟังได้ในสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
คลิก ▶ เพื่อฟังสัมภาษณ์
thai_120423_History of Songkran.mp3 image

เปิดปูมประวัติสงกรานต์

SBS Thai

12/04/202322:09
คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand