เรียกร้องให้ทบทวน Net Migration นโยบายจำกัดจำนวนผู้อพยพของออสเตรเลีย

UNIVERSITY STOCK

นักศึกษาที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ออสเตรเลีย Source: AAP / JULIAN SMITH/AAPIMAGE

สังคมพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลียกำลังเจอทางตันหรือไม่? ผู้เชี่ยวชาญด้านการย้ายถิ่นและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเรียกร้องให้ตีความการจำกัดจำนวนผู้อพยพและบทบาทของนักศึกษาต่างชาติใหม่ที่ National Press Club ณ กรุงแคนเบอร์รา


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

การอพยพย้ายถิ่นดูเหมือนจะเป็นประเด็นสำคัญในการเลือกตั้งรัฐบาลระดับสหพันธรัฐครั้งหน้า

หลังมีการเผยจำนวนการย้ายถิ่น (net migration หรือการคำนวณจำนวนอพยพมาออสเตรเลียระยะยาวลบด้วยจำนวนผู้ที่อพยพมาออสเตรเลียระยะสั้น) ซึ่งเพิ่มเป็นจำนวนกว่า 500,000 คน เมื่อเดือนกันยายน 2023 และรัฐบาลของนายกรัฐมนตรีอัลบานีซีให้คำมั่นที่จะลดตัวเลขผู้อพยพประจำปีลงเหลือ 235,000 คน

ด้านนายปีเตอร์ ดัตตัน ผู้นำฝ่ายค้านกล่าวว่าเขาจะลดจำนวนผู้อพยพให้เหลือ 160,000 คน หากเขาได้รับเลือกเป็นนายกรัฐมนตรี

ผู้เชี่ยวชาญด้านการอพยพย้ายถิ่นและนโยบายระหว่างประเทศได้กล่าวปราศรัยในประเด็นนี้ที่ เนชันแนล เพรส คลับ (National Press Club) ที่กรุงแคนเบอร์รา โดยตั้งคำถามว่าสังคมพหุวัฒนธรรมของออสเตรเลียกำลังจะสิ้นสุดลงหรือไม่

ดร. อาบุล ริซวี (Dr Abul Rizvi) คอลัมนิสต์และอดีตรองเลขาธิการจากกระทรวงอพยพย้ายถิ่นกังวลถึงการอภิปรายเรื่องนี้ที่อาจนำไปสู่ความไม่สงบ

“เราควรพูดคุยเรื่องจำนวนผู้อพยพในระยะยาวหรือควรมีการพิจารณาที่ดีกว่านี้ เมื่อพิจารณาถึงความยากในการที่จะบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้และผลที่จะตามมาในอนาคต การที่เราจะพูดถึงเรื่องนี้อย่างสงบและมีเหตุผลยังเป็นคำถามอยู่ อันตรายของการหาเสียงเลือกตั้งที่ต่อสู้กันในเรื่องจำนวนผู้อพยพ"
ดังที่นักการเมืองจากทั้งสองขั้วการเมืองตระหนักดีคือสิ่งนี้อาจด้อยค่าลงไปถึงสไตล์ของประธานาธิบดีทรัมป์และความวุ่นวายที่อาจเกิดขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้ง
ศาสตราจารย์ริซวีกล่าว
ดร. ริซวีอพยพมาออสเตรเลียตั้งแต่ยังเด็ก เมื่อนโยบาย ‘ไวท์ ออสเตรเลีย (White Australia)’ สิ้นสุดลง นโยบายที่พยายามป้องกันไม่ให้ผู้อพยพที่ไม่ใช่คนยุโรปอพยพมาออสเตรเลีย

ประสบการณ์ตรงของดร. ริซวีทำให้เขาเข้าใจถึงนโยบายการอพยพย้ายถิ่นที่ดีและไม่ดี และเขากล่าวว่ากลยุทธ์ระยะสั้นที่รัฐบาลของนายอัลบานีซีและฝ่ายค้านนำมาใช้อาจก่อให้เกิดความวุ่นวาย

ดร. ริซวีเรียกร้องให้ตีความตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่ เพื่อรักษาเศรษฐกิจที่ดีและความสามัคคีทางสังคม
ตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นไม่สามารถจัดการได้ในลักษณะที่รัฐบาลกำลังทำอยู่
"การจำกัดจำนวนวีซ่าถาวรเป็นการจัดการของรัฐบาล แต่ไม่ใช่วิธีที่จะจำกัดจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นที่เป็นปัญหาจากการวัดผลและความล่าช้า แนวทางในการจัดการจำนวนผู้อพยพต้องคล้ายคลึงกับวิธีที่ธนาคารกลางจัดการอัตราเงินเฟ้อ นั่นคือการพยายามรักษาจำนวนผู้อพยพให้อยู่ในขอบเขตที่กว้างและดำเนินการแก้ไขแต่เนิ่นๆ หากจำนวนผู้อพยพสูงกว่าขอบเขตวงกว้างที่ตั้งไว้ หลังจากที่ปล่อยให้ผลกระทบสร้างความผันผวนในตลาดแรงงาน”

รัฐบาลและฝ่ายค้านต่างให้คำมั่นที่จะจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติ โดยรัฐบาลมุ่งจำกัดจำนวนที่มหาวิทยาลัยรับผู้ลงทะเบียนตั้งแต่เดือนมกราคม 2025 เป็นต้นไป

ดร. ริซวีเรียกร้องให้เพิ่มความเข้มงวดในการสอบเข้า โดยให้มีคะแนนสอบเข้าขั้นต่ำสอดคล้องกับจำนวนนักศึกษาในประเทศแทน

ศาสตราจารย์ไมเคิล เวสลีย์ (Michael Wesley) ผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและรองอธิการบดีที่มหาวิทยาลัยเมลเบิร์นกล่าวว่า แก่นแท้ของการจำกัดจำนวนนักศึกษาต่างชาติคือสิ่งที่เขาเรียกว่าการชะลอการมีส่วนร่วมของนักศึกษาต่างชาติในการสร้างออสเตรเลียยุคใหม่

การมีส่วนร่วมนี้เป็นตัวกำหนดความสามารถของออสเตรเลียในการรับมือกับโรคระบาด ภาวะเศรษฐกิจถดถอย และวิกฤตสภาพภูมิอากาศ ซึ่งเริ่มมีพัฒนาการตั้งแต่นักศึกษาในมหาวิทยาลัยยุค 1950 ที่ได้รับทุนการศึกษาจาก ‘โคลัมโบ แพลน (Colombo Plan)’ หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

“นักศึกษาเหล่านี้ ส่วนใหญ่มาจากแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือเอเชียใต้ เดินทางมายังประเทศที่ใช้นโยบายอพยพย้ายถิ่นที่กีดกันทางเชื้อชาติหรือที่เรียกว่านโยบาย ไวท์ ออสเตรเลีย นโยบายที่แบ่งแยกสองขั้วชัดเจนและได้รับการสนับสนุนอย่างกว้างขวาง นักศึกษาจากโคลัมโบ แพลน อาศัยอยู่ในออสเตรเลียกับครอบครัวและเริ่มมีผลสำคัญในการเปลี่ยนทัศนคติเรื่องเชื้อชาติในสังคม ในช่วงปลายทศวรรษ 1950 มีการวิพากษ์วิจารณ์นโยบายไวท์ ออสเตรเลียเพิ่มขึ้น และเริ่มลดความสำคัญลงในกลางทศวรรษ 60 จนสุดท้ายยกเลิกไปหลังปี 1973”
international_student.jpg
นักศึกษาต่างชาติและกระเป๋าเดินทางที่สนามบิน Source: Getty / Getty Images/urbazon
ศาสตราจารย์เวสลีย์กล่าวว่า ไม่มีข้อมูลสนับสนุนคำกล่าวที่ว่านักศึกษาต่างชาติส่งผลกระทบต่อวิกฤตด้านที่พักอาศัยและค่าครองชีพ
84% ของนักศึกษาต่างชาติเดินทางกลับประเทศหลังจบการศึกษา มีเพียง 16% ที่อาศัยอยู่ต่อในออสเตรเลีย
"การจำกัดจำนวนผู้สำเร็จการศึกษาจากต่างประเทศที่กลายเป็นผู้อพยพในระยะยาวควรได้รับการจัดการที่ดีกว่านี้ด้วยการบริหารวีซ่าทำงานหลังจบการศึกษาที่เข้มงวดมากขึ้น อีกประเด็นหนึ่งที่กล่าวว่านักศึกษาต่างชาติสร้างความกดดันเรื่องที่พักอาศัยและเป็นปัจจัยในการสร้างวิกฤตเรื่องที่อยู่อาศัย แต่มีเพียงนักศึกษาต่างชาติแค่ 4% ที่เป็นผู้เช่าในออสเตรเลีย”

เช่นเดียวกับดร. ริซวี ศาสตราจารย์เวสลีย์สนับสนุนให้มีจำนวนผู้อพยพที่ประมาณ 200,000 คนต่อปี เนื่องจากประชากรสูงวัยทำให้การเติบโตของประชากรลดลงต่ำกว่า 100,000 คน

ความเสียหายด้านเศรษฐกิจ การเมือง และสังคมจากการจำกัดจำนวนผู้อพยพในระยะสั้นจะเกิดขึ้นกับทุกคน ตั้งแต่คนเก็บผลไม้ แรงงานทักษะและนักศึกษาต่างชาติ และอาจไม่ง่ายที่จะแก้ไข

“เราเห็นนักศึกษาที่ตั้งใจว่าจะมาศึกษาต่อที่ออสเตรเลียเปลี่ยนใจเพราะเสี่ยงเกินไป ทำไมพวกเขาจะต้องเสี่ยงยื่นวีซ่าและจ่ายค่าธรรมเนียมหากมีโอกาสที่จะถูกปฏิเสธวีซ่า? หรือต้องรอวีซ่าเป็นเวลานานโดยไม่มีความแน่นอน? ทำไมไม่ไปศึกษาต่อที่ยุโรป อเมริกา หรือสิงคโปร์?”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand