รัฐบาลเพิ่มเงินเยียวยาแก่เหยื่อความรุนแรงในครอบครัวที่ถือวีซ่าชั่วคราว

Photo-dv-pexels-karolina-grabowska.jpg

Minister for Social Services Amanda Rishworth. Credit: Pexels/Karolina Grabowska

ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่ต้องหนีออกจากความรุนแรงในความสัมพันธ์หรือในครอบครัวสามารถขอความช่วยเหลือจากรัฐบาลได้เสมือนพลเมืองและผู้พำนักถาวรในออสเตรเลีย โดยจะได้รับเงินช่วยเหลือในจำนวนเพิ่มขึ้นตั้งแต่วันที่ 3 กรกฎาคม


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

รัฐบาลสหพันธรัฐประกาศให้ความช่วยเหลือเพิ่มเติมกับโครงการเงินเยียวยาสำหรับผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่ต้องหนีจากความรุนแรงในความสัมพันธ์หรือในครอบครัว โดยโครงการนี้เริ่มตั้งแต่ปี 2021

1 ใน 6 ของผู้หญิงออสเตรเลียประสบปัญหาความรุนแรงในครอบครัวและผู้หญิง 1 ใน 3 รายเป็นผู้อพยพและผู้ลี้ภัย

เงินเยียวยานี้จะให้เพื่อช่วยเหลือผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่ประสบความรุนแรงในครอบครัว โดยเพิ่มจาก $3,000 เป็น $5,000

รัฐมนตรีกระทรวงบริการสังคม อแมนดา ริชเวิท (Amanda Rishwort) กล่าวว่านี่เป็นขั้นตอนสำคัญในการให้เงินช่วยเหลือเหยื่อที่ถือวีซ่าชั่วคราวเสมือนที่ให้แก่ผู้พำนักถาวร

“แพ็คเกจเงินเยียวยานี้ให้เงินเยียวยาสำหรับผู้ถือวีซ่าชั่วคราวเทียบเท่ากับผู้พำนักถาวรจำนวนเท่ากัน เราหวังจะขยายจำนวนเงินเยียวยานี้ให้แก่ผู้หญิงเกือบ 2,000 รายที่ต้องหลบหนีออกจากความสัมพันธ์ที่รุนแรง ที่ต้องเริ่มต้นใหม่อีกครั้ง"
เงินนี้จะช่วยให้พวกเขาสามารถเริ่มต้นใหม่ได้อีกครั้ง
รัฐมนตรีริชเวิทกล่าวว่า สถานะวีซ่าไม่ควรเป็นตัวแปรในการตัดสินใจเรื่องจำนวนเงินที่เหยื่อความรุนแรงจากความสัมพันธ์ควรได้รับ

การให้เงินเพิ่มเป็นการยอมรับว่าผู้ถือวีซ่าชั่วคราวเป็นกลุ่มคนที่เปราะบางและต้องเผชิญอุปสรรคในการขอความช่วยเหลือ
การต้องขาดความช่วยเหลือจากครอบครัวที่นี่ ที่ออสเตรเลีย ต้องกังวลกับเรื่องวีซ่า และแน่นอน ต้องเผชิญอุปสรรคเรื่องภาษา
"เราต้องการให้แน่ใจในการส่งข้อความที่ชัดเจนออกไป มีความช่วยเหลือที่สามารถขอได้จากสภากาชาดแห่งออสเตรเลีย สามารถขอรับแพ็กเกจสิ่งของช่วยเหลือ รวมถึงความช่วยเหลือด้านกฎหมายเช่นกัน”

รัฐบาลสหพันธรัฐให้เงินทุนจำนวน 4.4 ล้านดอลลาร์ เป็นเวลา 2 ปี

จากเดิม 38.2 ล้านดอลลาร์ที่ให้แก่โครงการที่เริ่มเมื่อเดือนเมษายน 2021 เพื่อช่วยเหลือผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่ประสบความรุนแรงในความสัมพันธ์และในครอบครัว

มีการขยายโครงการจนถึงเดือนมกราคม 2025 เพื่อช่วยผู้ถือวีซ่าชั่วคราวให้ได้รับเงินเยียวยา สินค้าและบริการ และรับคำปรึกษาด้านกฎหมายจากผู้เชี่ยวชาญกฎหมายครอบครัวและกฎหมายการอพยพย้ายถิ่น

คุณวิกกี มอร์ (Vicki Mau) ผู้อำนวยการโครงการจากสภากาชาดแห่งออสเตรเลียกล่าวว่าโครงการนี้ได้ให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หญิงที่ต้องหลบหนีออกจากความรุนแรงในครอบครัวนับหลายพันราย

การให้เงินช่วยเหลือเพิ่มเติมนี้จะช่วยเติมเต็มช่องว่างให้แก่ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยที่ต้องหาที่ปลอดภัย

“ผู้หญิงกลุ่มนี้ประสบปัญหาหลายอย่าง เพราะพวกเขามักไม่สามารถขอเงินสวัสดิการได้ เช่น จากเซ็นเตอร์ลิงค์ (Centrelink) หรือเมดิแคร์ (Medicare) ในแง่ของการหาความปลอดภัย มันเป็นเรื่องที่ยากมากจริงๆ เงินเยียวยาเพิ่มเติมจะช่วยได้อย่างมาก โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเริ่มออกมา การหาความปลอดภัย เริ่มต้นใหม่ ให้รู้สึกปลอดภัยและมั่นคง และเริ่มตัดสินใจสิ่งที่จะทำต่อไป และเคสเกินกว่าครึ่งหนึ่งมักมีเด็กๆ ด้วย”
คุณมอร์กล่าวว่า ผู้อพยพและผู้ลี้ภัยหลายคนยังคงกลัวเรื่องคดีความที่เกี่ยวกับการหลบหนีออกจากความรุนแรงในความสัมพันธ์หรือในครอบครัว และเงินเยียวยานี้เอื้อต่อการขอความช่วยเหลือด้านกฎหมายอีกด้วย

“สิ่งสำคัญของโครงการนี้คือเกี่ยวกับการส่งต่อไปยังบริการให้คำปรึกษาด้านกฎหมาย และระบบการสนับสนุนที่กว้างขึ้นเกี่ยวกับคามช่วยเหลือด้านกฎหมายแก่ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวและผู้ลี้ภัยทั่วออสเตรเลีย เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขาจะได้รับความช่วยเหลือที่พวกเขาต้องการ”

* หากคุณหรือบุคคลอื่นตกอยู่ในอันตราย โทรสายด่วนฉุกเฉิน 000

* บริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัวหรือการประทุษร้ายทางเพศ (1800RESPECT) โทร 1800 737 732 หรือ 

* บริการให้ข้อมูลและให้ความช่วยเหลือเรื่องสุขภาพจิต 24 ชั่วโมง (Beyond Blue) 1300 224 636 หรือ

* บริการสำหรับผู้ที่ประสบปัญหาทางอารมณ์ 24 ชั่วโมง (Lifeline) โทร 13 11 14 หรือ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand