สร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะด้วยงานสีน้ำไปกับคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์

dtai_1.jpg

พูดคุยเรื่องประวัติศาสต์ด้านสถาปัตยกรรมในซิดนีย์ และการสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะด้วยสีน้ำ ไปจนถึงการฝึกใจให้ปล่อยวางผ่านปลายพู่กัน ของคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์ (ต่าย)


Visualiser คืองานอะไร?

Visualiser คืองานที่เราทำงานร่วมกับชุมชนเพื่อวางแผนการจัดการพื้นที่ โดยจะต้องทำงานบนบรีฟร่วมกันกับทีม ก่อนจะนำมาสร้างสรรค์ให้ออกมาเป็นลักษณะภาพของพื้นที่นั้น ๆ ขึ้นมาเป็นภาพ

ซึ่งก่อนที่เราจะขึ้นภาพได้นั้น เราสามารถเริ่มได้จากหลายวิธี โดยถ้าเป็นโปรเจคที่อยู่อาศัย เราก็สามารถร่วมทำงานกับสถาปนิกหรือดีไซเนอร์ โดยเราต้องสเก็ตขึ้นมาจากบรีฟ เช่น ต้องมีสิ่งปลูกสร้างอะไรในโครงการบ้าง หรือผังของแต่ละชั้นต้องมีขนาดเท่าไหร่ เราสามารถนำข้อมูลไปใช้ขึ้นรูปได้ด้วย 2 วิธีคือ ใช้โปรแกรมเพื่อสร้างภาพสามมิติ (3D) ขึ้นมา หรือถ้าเรามีเวลาไม่พอ เราก็จะสก็ตภาพด้วยมือ

dtai_5.jpeg

จุดเริ่มต้นของการใช้สีน้ำเพื่อสร้างสรรค์พื้นที่สาธารณะร่วมกับหน่วยงานของรัฐ

จุดเริ่มต้นมาจากสมัยที่ผมทำงานให้กับบริษัทสถาปนิกตั้งแต่สิบกว่าปีก่อน ซึ่งเราได้ย้ายมาออสเตรเลียเพื่อมาเรียนต่อที่ College of Fine Arts ของมหาวิทยาลัย UNSW (หรือ COFA ก่อนจะเปลี่ยนชื่อเป็น UNSW Art & Design) ดังนั้นเราเลยเคยทำงานด้านนี้และชอบมาอยู่ก่อนแล้ว มันเลยทำให้ผมคิดเองว่าทำไมถึงไม่ลองใช้วิธีวาดรูป แทนที่จะทำทุกอย่างบนคอมพิวเตอร์ทั้งหมด

วันนึงผมไปร้านหนังสือและเจอหนังสือสอนการวาดรูปภาพวิวว่าทำยังไง เราเห็นแล้วเราคิดว่าเราทำได้ดีกว่านี้อีก เลยคิดว่าถ้าเราทำได้ดีแล้วทำไมไม่ทำเอง มันเลยเป็นจุดเริ่มต้นให้เรากลับมาวาดรูปอีกครั้งตั้งแต่ย้ายมา
พอเราไปซื้ออุปกรณ์มาวาดรูปโดยที่คิดว่าจะแค่ทำเป็นงานอดิเรก แต่เรารู้สึกสนุกและได้กลับมาพัฒนาการวาดรูปได้อย่างก้าวกระโดด
คุณต่ายเล่าให้เราฟัง

ตอนนั้นเราวาดอะไรบ้าง?

สมัยนั้นผมทำงานอยู่ใจกลางเมืองไม่ไกลจากทาวน์ ฮอลล์ และจะมีเวลาพักกลางวันหนึ่งชั่วโมง เราเลยคิดว่าเราสามารถไปรวาดจากสถานที่จริงข้างนอกได้ งานสมัยก่อนผมจึงวาดรูปตึกไว้เยอะมาก เพราะเราทำงานในบริษัทสถาปนิกด้วย ตอนนั้นทุกช่วงกลางวันก็เลยหอบของออกไปวาดรูปบางครั้งก็ไม่เสร็จก็ไม่เป็นไร เราก็เอากลับไปทำงานแล้วกลับมาวาดต่อวันอื่น

dtai_2.jpeg

ที่จริงถ่ายรูปเพื่อบันทึกภาพตรงหน้าก็ได้ แต่ถ้าเราทำแบบนั้น มันก็ไม่มีอะไรให้ความแปลกใหม่หรือให้ประสบการณ์ใหม่กับเรา
คุณต่ายเสริม
ตอนนั้นเราศึกษาด้วยตัวเองจากการอ่านหนังสือของศิลปินดังๆ เช่น เดวิด เคอร์ทิส (David Curtis) ที่เค้าแชร์ว่าคนสมัยก่อนเค้าไม่มีกล้อง ก็ต้องถือกระดานวาดรูปออกไปวาดกันตรงนั้นเพื่อบันทึกสถานที่และบรรยากาศเอาไว้ ถ้าเค้าทำไม่เสร็จก็จะกลับมาสถานที่นั้นใหม่ในวันอื่นแต่ช่วงเวลาเดิม มันเลยทำให้เราคิดว่าทำไมเราไม่ใช้กระบวนการทำงานแบบนี้

จากการออกไปวาดรูปสีน้ำในตอนนั้น มันทำให้ผมที่เป็นคนอยากรู้เรื่องสถาปัตยกรรมในยุคที่ต่างกัน ได้ทำให้ผมได้ไปสังเกตและค้นหาข้อมูลต่อว่าแต่ละตึกสร้างในยุคไหน สไตล์แตกต่างกันอย่างไร และใครเป็นคนสร้าง เช่น อาคารเก่าหลายแห่งในซิดนีย์ก็จะมีกลิ่นอายของยุควิกตอเรียนเข้ามาเป็นหลัก หรือ อิทธิพลการออกแบบอาคารสไตล์ดัชท์

dtai_4.jpeg

จากงานอดิเรกสู่การสร้างรายได้

เพราะผมออกไปวาดรูปทุกวัน จนสมุดเล่มนึงของผมเต็ม เราเลยเอาไปให้พี่ที่รู้จักกันช่วยดูว่าเค้าจะให้ความเห็นว่ายังไงกับงานวาดของเรา เค้าเลยแนะนำว่าสวยขนาดนี้ เราน่าจะเอาไปขายได้เลย ตั้งแต่นั้นพี่เค้าเลยชอบบอกว่าทำไมไม่ยอมไปขายตามพวกตลาด The Rocks มันก็เลยกลายเป็นจุดเริ่มต้นของเรา

เราวาดสีน้ำเพราะมันเป็นงานอดิเรกที่สร้างความสุขให้กับเราตอนนั้น แต่ไม่ได้คิดว่ามันจะขายได้จริง ๆ เพราะเรามีงานประจำอยู่แล้วด้วย
คุณต่ายเล่า

โครงการไหนบ้างที่เรามีส่วนร่วมพัฒนา

โครงการ เป็นโครงการเราพัฒนาร่วมกับ โดยพื้นที่ของโครงการนั้นตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์ของชาวอะบอริจินมาก่อน ด้วยความที่เป็นพื้นที่ติดทะเลและมีเรือสำราญลำใหญ่ ๆ ของนักท่องเที่ยวชาวยุโรปและเอเชียมาจอดเทียบท่าทุกสุดสัปดาห์ ทางรัฐจึงอยากจะให้ท่าน้ำนั้นเป็นแลนด์มาร์คที่สร้างความตื่นเต้นให้กับนักท่องเที่ยวได้

dtai_6.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture
dtai_8.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture
เราใช้สกิลล์วาดภาพสีน้ำของเราสร้างสรรค์ออกมา 3-4 รูปเพื่อให้เห็นว่าพื้นที่ตรงนี้จะให้ประสบการณ์อะไรกับนักท่องเที่ยวได้บ้าง โดยเราทำงานร่วมกันกับทีมและไดเรกเตอร์บนโจทย์ที่เค้าให้มา ว่าอยากให้มันได้บรรยากาศชายฝั่ง ออกแนวคันทรี่นิด ๆ และไม่เน้นวัสดุหรูหรา

ทางรัฐอยากให้พื้นที่ของโปรเจคนี้มันเบลนด์ไปกับสภาพแวดล้อม ช่วงปีนั้นมีไฟป่าเยอะมาก วัสดุที่เรานำมาใช้จึงเป็นไม้รีไซเคิลเพื่อที่จะเพิ่มโอกาสจ้างงานให้คนท้องถิ่นด้วย

dtai_9.jpeg
Image courtesy of CoxArchitecture

โครงการ North Head Sanctuary ในย่าน Manly

โปรเจคนี้เองก็เป็นอีกหนึ่งโปรเจคที่ได้ร่วมมือกันกับบริษัทสถาปนิก โดยโครงการนี้ตั้งอยู่บนพื้นที่ประวัติศาสตร์และมีความละเอียดอ่อนเพราะเป็นพื้นที่ทางทหารของออสเตรเลียด้วย สามารถเข้าไปดูบนของทางรัฐได้ โดยทางโครงการต้องการพัฒนาพื้นที่นี้ให้เป็นพื้นที่สาธารณะ แต่จำเป็นต้องไม่ส่งผลกระทบกับสิ่งมีชีวิตท้องถิ่นแถวนั้นด้วย ตอนนี้น่าจะยังอยู่ในช่วงฟีดแบคกับชุมชนอยู่

ที่จริงยังมีอีกหลายโปรเจคที่ผมใช้สีน้ำช่วย ทั้งพวกโรงเรียนและโรงพยาบาล โดยเฉพาะพวกโปรเจคที่บรีฟยังไม่ชัด หรือยังไม่รู้ว่าต้องการอะไร

dtai_10.png
Image courtesy of CoxArchitecture

ความแตกต่างของการใช้ภาพสีน้ำและภาพดิจิตอลสามมิติ

ในช่วงสิบกว่าปีที่ผ่านมา ทุกคนหันไปใช้คอมพิวเตอร์ในการทำงานแทนใช้เทคนิกสีน้ำแบบเดิม ๆ พอเราเอากลับมาทำจากสกิลล์ของเรา มันเลยเป็นเทคนิกนึงของเราที่ทำให้การเข้าไปพูดคุยในมีตติ้งหรือองค์กรต่าง ๆ มันซอฟต์ขึ้น เหมือนเป็นซอฟต์ พาวเวอร์ที่ให้บรรยากาศการเข้าไปพูดคุยได้สบาย ๆ ชวนให้คนเข้ามาแชร์ไอเดียกันได้ มันเลยเป็นวิธีการนำเสนอภาพโปรเคของเราให้ดำเนินไปได้อย่างราบรื่นมากขึ้นในที่ประชุม

สีน้ำที่มันซอฟต์ ไม่แข็งกร้าว ต่างจากภาพดิจิตอลที่สวยหรูจึงทำให้คนดูกล้าจะเสนอไอเดียร่วมกัน
คุณต่างเล่าให้เราฟังถึงข้อดีของการใช้สีน้ำ
การนำเสนอภาพโปรเจคพัฒนาพื้นที่เหล่านี้ด้วยภาพสีน้ำ มันทำให้เกิดความรู้สึกเชื้อเชิญให้ทุกคนที่เห็น กล้าที่จะร่วมเสนอไอเดียและความเห็นไปด้วยกันได้ง่ายกว่าพวกงานสามมิติที่เป็นภาพกำหนดชัดเจนว่าต้องมีองค์ประกอบอะไรบ้างในพื้นที่ปลูกสร้าง

แต่สีน้ำก็มีข้อจำกัดเหมือนกัน เช่น อาจจะไม่เหมาะกับการใช้เป็นภาพโฆษณาอพาร์ตเมนท์ที่อยู่อาศัยที่ลูกค้าอาจจะต้องการเห็นชัดเจนว่าจะได้อะไรในโครงการ จึงต้องเป็นภาพดิจิตอลสมจริงมากกว่าภาพสีน้ำ

งานสีน้ำที่ให้มากกว่าความสนุก

หลักการใช้สีน้ำ มันช่วยสอนให้เราได้ฝึกจิตใจให้เราปล่อยและมองข้าม
คุณต่ายกล่าว
เพราะจุดที่เราต้องการซ้ำเพื่อให้ได้สีหรือเส้นแบบที่เราต้องการ หากเราลงสีไปซ้ำ ๆ กระดาษมันจะเริ่มช้ำหรือบวมได้ มันเลยทำให้เรารู้สึกมองข้ามหรือปล่อยวางได้

dtai_13.jpeg

มุมที่ชอบในเมืองซิดนีย์

ผมชอบย่านเดอะ ร็อกส์ (The Rocks) เพราะสำหรับผมมันเป็นเหมือนสนามเด็กเล่นของผมเลย ด้วยข้อดีหลายอย่าง คือเป็นย่านที่อยู่อาศัย และมีสถาปัตยกรรมทางประวัติศาสตร์ยุคที่หลากหลายให้เราเห็น ทั้งสไตล์วิกตอเรียน อาร์ตนูโว อาร์ตเดโค รวมไปถึงตึกใหม่ ๆ ที่ใช้วัสดุและรูปทรงที่หลากหลาย มีให้เลือกวาดทั้งอุโมงค์ ตึกเก่า หรือผับบาร์ ก็มีให้วาดได้ทุกหัวมุม

สำหรับใครที่สนใจหรืออยากติดตามคุณสมเกียรติ หาณสถิตย์ (ต่าย) สามารถติดตามเพิ่มเติมได้ที่ Instagram:

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand