รัฐนิวเซาท์เวลส์เตือนระวังโรคหัดระบาด ล่าสุดติดเชื้อเพิ่ม 5 ราย

A rash is one of the defining symptoms of measles.

ผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังกระจายตั้งแต่บริเวณศรีษะไปจนทั่วลำตัวเป็นอาการบ่งบอกว่าคุณอาจจะติดเชื้อโรคหัด Source: AAP

NEWS: สาธารณสุขนครซิดนีย์เตือนประชาชนให้ระวังโรคหัดระบาด ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 5 ราย พร้อมเตือนทุกคนควรตรวจสอบภูมิคุ้มกันโรคหัดของตน


กดปุ่ม 🔊 ด้านบนเพื่อฟังรายละเอียดเรื่องนี้

กระทรวงสาธารณสุขของรัฐนิวเซาท์เวลส์ รายงานว่าเมื่ออาทิตย์ที่แล้วพบชายวัยรุ่น อายุประมาณ 20 ปีคนหนึ่งที่ติดเชื้อโรคหัด ขณะนี้ยังไม่พบสาเหตุที่ชัดเจนว่าเขาติดโรคนี้ติดมาจากที่ใด แต่มีความน่าเป็นห่วงเพราะว่าในช่วงปลายเดือนธันวาคมที่ผ่านมาขณะที่เขากำลังติดเชื้อโรคระบาดนี้ เขาได้เดินทางไปในเขตต่างๆในนคซิดนีย์หลายแห่งไม่ว่าจะเป็นเมืองวูลองกอง ซึ่งตั้งอยู่ในเขตชายฝั่งทางทิศใต้ของนครซิดนีย์ ไปยังเขตตอนกลางของนครซิดนีย์ และจากนั้นก็เดินทางไปยังเขตในเมืองฝั่งตะวันตกและบอนได บีช (Bondi Beach) ซึ่งอาจทำให้เชื้อไวรัสโรคหัดแพร่กระจายสู่ประชาชนได้

ส่วนสถานการณ์โรคหัดล่าสุดที่พบตั้งแต่หลังวันคริสต์มาสจนถึงวันปีใหม่ที่ผ่านมา พบว่ามีผู้ป่วยโรคหัดเพิ่มขึ้น 5 รายแล้ว ซึ่งพบในเขต ลิตเติล เบย์ บีช (Little Bay beach) ไฮด์ พาร์ค (Hyde Park) มารูบรา (Maroubra) แมคควารี ฟิลด์ส (Macquarie Fields) และแบงค์สทาวน์ (Bankstown)

อาการของโรคหัดที่คุณควรสังเกต

ดอกเตอร์ ลีนา กัปตา จากองค์กรสาธารณสุขประจำเขตของนครซิดนีย์ได้ให้คำแนะนำแก่ประชาชนว่าให้ระวังสังเกตอาการของโรคหัดเธอกล่าวว่า

“อาการของโรคหัดที่คุณสังเกตได้คือ มีไข้ เจ็บระบบบริเวณตา มีน้ำมูก ไอ และในอีกสามสี่วันต่อมาก็จะมีผื่นแดงขึ้นตามผิวหนังและจะกระจายตั้งแต่บริเวณศรีษะไปจนทั่วลำตัว” ดอกเตอร์ ลีน่า กัปตา อธิบาย

ด้านองค์การอนามัยโลกชี้แจงว่าโรคหัดสามารถติดต่อจากการสัมผัสละอองน้ำลาย น้ำมูก หรือ สเลด จากผู้ป่วยที่มีอาการโรคนี้ และปกติจะแสดงอาการ 10 หรือ 12 วัน หลังจากติดเชื้อ
The measles virus
ไวรัสโรคหัดสามารถติดต่อจากการสัมผัสละอองน้ำลาย หรือน้ำมูกจากผู้ป่วยที่มีอาการโรคนี้ Source: Universal Images Group Editorial
สถานการณ์ปัจจุบันของโรคหัดในออสเตรเลียและทั่วโลก

ในปี 2019 มีการรายงานว่าพบโรคหัดกระจายในพื้นที่ต่างๆ ทั่วออสเตรเลีย ซึ่งทำให้ ดอกเตอร์ โทนี่ บาร์โทน ประธานแพทยสภาแห่งออสเตรเลียเรียกการระบาดในครั้งนั้นว่าเป็นสัญญาณเตือนภัย  เขากล่าวว่า

 “ถ้าเราย้อนเวลาไปเพียง 50 ปีที่แล้วเราจะเห็นว่าการสาธารณสุขพื้นฐานของเราก้าวหน้ามากเพียงใด อย่างหนึ่งก็เพราะว่าโครงการรณรงค์การฉีดวัคซีนของเรา และเราก็ประสบผลสำเร็จยอดเยี่ยมที่ทั่วโลกให้การยอมรับแต่ในขณะที่เรารู้สึกว่าเราพอใจกับผลที่ได้แล้ว เราก็กลับมาเผชิญกับความเสี่ยงที่จะเกิดโรคระบาดรุนแรงเหมือนที่เคยเกิดขึ้นในสมัยก่อนอีกครั้งหนึ่ง” ดอกเตอร์ โทนี่ บาร์โทน ชี้

ขณะที่ในประเทศกำลังพัฒนาทั้งหลายพบผู้ที่เสียชีวิตจาดโรคหัดกว่า 1000,000 คน โดยเฉพาะในเด็กเล็ก ถึงแม้ว่าจะมีบริการการฉีดวัคซีนที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพก็ตาม องค์การอนามัยโลกเปิดเผยว่าผู้คนที่เสียชีวิตจากโรคหัดมีจำนวนลดลงทั่วโลกจากตัวเลขผู้เสียชีวิต 550,100 คน ในปี 2000 เหลือเพียง 140, 000 คน ในปี 2018  ซึ่งปัจจัยหลักๆ ก็คือมีอัตราผู้ที่ได้รับวัคซีนโรคหัดมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นนั่นเอง ในขณะมีข่าวดีที่จำนวนผู้เสียชีวิตโรคหัดลดลงแต่ในปี 2016 กลับมีการเพิ่มขึ้นของจำนวนผู้ติดเชื้อโรคหัดเพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจทั่วโลกถึงร้อยละ 30

ในประเทศสหรัฐอเมริกามีการรายงานว่าพบผู้ติดเชื้อโรคหัดจำนวน 112 คน ตั้งแต่เดือนกันยายน ปี 2018 ซึ่งเป็นสถิติการระบาดที่รุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ของนครนิวยอร์ก ในขณะที่ในทวีปยุโรปตั้งแต่ปี 2018 เป็นต้นมาก็พบผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัดราวๆ 60,000 คน  ซึ่งพบว่าตัวเลขผู้ป่วยโรคหัดในยุโรปเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาและเป็นตัวเลขที่สูงที่สุดในรอบศตวรรษ
ฉีดวัคซีนป้องกันโรคหัดจำเป็นอย่างไร

ดอกเตอร์ ลีน่า กัปตา เปิดเผยว่าการฉีดวัคซีนเป็นเรื่องจำเป็นอย่างยิ่งโดยเฉพาะผู้ที่เกิดหลังจากปี 1966 เป็นต้นมา เธอกล่าวว่า

“ก่อนหน้าปี 1966 ผู้คนอาจจะเคยได้รับเชื้อโรคหัด เพราะเป็นโรคระบาดรุนแรงซึ่งพบได้แพร่หลายในออสเตรเลีย แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมาผู้คนต้องได้รับวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันกับโรคนี้ และไม่ว่าใครก็ตามก็มีความเสี่ยงที่จะติดโรคหัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคุณเป็นคนที่เกิดหลังจากปี 1966  และกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูงอีกกลุ่มหนึ่งก็คือเด็กทารกที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีนทั้งหลาย ดังนั้นมันจึงเป็นเรื่องที่สำคัญมากที่ทุกคนต้องได้รับการฉีดวัคซีนเพื่อที่เราจะสร้างภูมิคุ้มกันที่แข็งแกร่งให้กับชุมชนของเรา”ดอกเตอร์ ลีน่า กัปตา  แนะนำ

กระแสต่อต้านการฉีดวัคซีนกับการแพร่ระบาดของโรคหัด

ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกได้ออกมาเตือนถึงกระแสการต่อต้านการฉีดวัคซีนว่าเป็นสิ่งที่ทำให้การทำงานเพื่อป้องกันหรือหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคหัดที่มีมาหลายสิบปีสูญเปล่า

ด้านกลุ่มผู้สนับสนุนกระแสต่อต้านการฉีดวัคซีนอ้างว่ามีการค้นพบว่าการฉีดวัคซีนมีผลกระทบต่อการป่วยเป็นโรคทางพัฒนาการทางสมองต่างๆ เช่น กลุ่มโรคออทิสติก แต่อย่างไรก็ตามผู้เชี่ยวชาญด้านการวิจัยเรื่องนี้ได้ให้การปฏิเสธคำกล่าวอ้างนี้

ดอกเตอร์ แฮนนาห์ เคิร์ก จากคลินิกศูนย์วิทยาศาสตร์ด้านสมองและการเรียนรู้ จากมหาวิทยาลัยโมนาชเปิดเผยกับเอสบีเอสว่าในปี2019 ที่ผ่านมาสื่อได้มีบทบาทอันสุ่มเสี่ยงในการสร้างกระแสต่อต้านการฉีดวัคซีนให้แพร่หลายมากขึ้น เธอกล่าวว่า

“เราต้องการต่อสู้กับความคิดที่ว่าการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่ชั่วร้ายผ่านทางโซเซียล มีเดีย และสำนักข่าวต่างๆ เป็นที่แน่นอนว่าเราจะมีรายงานเกี่ยวกับผลการวิจัยนี้ให้สาธารณชนได้รับทราบ ซึ่งเป็นที่น่าเสียดายว่าถึงแม้เราจะแสดงให้เห็นว่ามันไม่มีผลกระทบกับความปกติด้านสมองแต่มันก็ทำให้หัวข้อนี้กลับมาสู่ความสนใจของสาธารณชนและเป็นประเด็นถกเถียงอีกครั้งหนึ่ง”  ดอกเตอร์ แฮนนาห์  เคิร์ก กล่าว

ด้านดอกเตอร์ ลีนา กัปตา กล่าวว่าในกรณีล่าสุดที่พบในนครซิดนีย์นั้นควรจะเป็นกรณีศึกษาที่เตือนผู้คนให้ตรวจสอบสถานะการฉีดวัคซีนของตน  เธอกล่าวว่า

“ถ้าคุณไม่แน่ใจว่าคุณมีภูมิคุ้มกันโรคหัดแล้วหรือยัง คุณควรจะไปหาแพทย์ประจำบ้าน หรือ GP ของคุณ  การวัคซีนเป็นสิ่งที่ปลอดภัย และมีประสิทธิภาพมาก สำหรับคนส่วนมากการฉีดวัคซีนซ้ำครั้งที่สองจะเป็นการป้องกันโรคหัดของคุณไปตลอดชีวิต” ดอกเตอร์ ลีนา กัปตา สรุป

คุณสามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่

กดปุ่ม 🔊 ด้านบนเพื่อฟังรายละเอียดเรื่องนี้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


 

 

 

 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand