รายงานล่าสุดพบผู้ย้ายถิ่นได้ค่าจ้างต่ำน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ 2 เท่า

A Senate committee is examining new laws to protect migrant workers from exploitation.

ผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะได้รับค่าจ้างต่ำน้อยกว่าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้อยู่อาศัยถาวร Source: AAP

จากผลการศึกษาล่าสุดพบว่า ผู้อาศัยถาวรในออสเตรเลียได้รับค่าจ้างขั้นต่ำสูงกว่าผู้ย้ายถิ่นหน้าใหม่ในถึงสองเท่า และรายงานยังระบุว่าสถานการณ์นี้พบได้ทั่วไปในออสเตรเลีย


ในฐานะผู้อพยพจากฟิลิปปินส์ คุณ ลู คาบินเก เปิดเผยว่าเธอต้องหางานทำเร็วที่สุดหลังจากหนีจากความรุนแรงในครอบครัว ในออสเตรเลีย

ด้วยสถานการณ์บังคับ เธอจึงต้องทำงานโดยได้ค่าจ้าง 10 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง เธอเล่าว่า

"แน่นอนฉันได้ยินมาว่าค่าจ้างที่ฉันได้รับมันถูกมากแต่ฉันต้องทำเพื่อให้มีชีวิตรอดและเลี้ยงดูลูกสาวตัวอายุ 6 ขวบ ของฉัน ผู้ที่ถือวีซ่าชั่วคราวเช่นฉันต้องยอมถึงแม้ว่าจะได้รับค่าจ้างน้อยก็ตาม"

อย่างไรก็ตาม ตอนนี้ คุณ ลู คาบินเก ออกจากงานนั้นแล้ว และได้รับค่าจ้างตามกฎหมาย

แต่เธอบอกว่าเธอรู้จักคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เลวร้ายยิ่งกว่าตัวเธอ เธอเปิดเผยว่า

"ฉันได้ยินมาว่ามีคนรับเงินต่ำกว่า 10 ดอลลาร์ ฉันคิดว่าฉันโชคดีเพราะฉันยังได้ 10 ดอลลาร์ในตอนนั้น แต่พวกเขาได้ค่าจ้างเพียง 7 ดอลลาร์เท่านั้น ดังนั้นฉันจึงโชคดีกว่าพวกเขามากเพราะนายจ้างของฉันไม่ได้เลวร้าย ฉันจึงยอมรับค่าจ้าง"

Hospitality
ย้ายถิ่นอายุน้อยที่ไม่มีทักษะซึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการบริการ เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงมากที่สุดในการได้รับค่าจ้างต่ำ Source: Getty / Getty Images

รายงานฉบับล่าสุด ที่เผยแพร่โดย Grattan Institute พบว่า ร้อยละ 16 ของแรงงานข้ามชาติในออสเตรเลียได้รับค่าจ้างต่ำกว่าค่าแรงขั้นต่ำ นั่นทำให้ผู้ย้ายถิ่นมีแนวโน้มที่จะได้รับค่าจ้างต่ำน้อยกว่าถึงสองเท่าเมื่อเทียบกับผู้อยู่อาศัยถาวร

คุณ เทรนท์ วิทเชียร์ หนึ่งในผู้เขียนรายงานนี้ ชี้ว่า

"มันการเอารัดเอาเปรียบที่เป็นมานานแล้ว ค่าจ้างที่พวกเขาได้เมื่อเปรียบเทียบกับค่าแรงขั้นต่ำ อาจมีแค่หนึ่งในหกของคนงานที่อยู่ในประเภทนี้ แต่เมื่อคุณคำนึงถึงสวัสดิการอื่นๆ เช่น การทำงานล่วงเวลา รางวัล การลาพักร้อนประจำปี ซูเปอร์ หรือการจ่ายค่าจ้างเป็นเงินสด มันจะมีคนงานจำนวนมากที่ไม่ได้รับสวัสดิการในส่วนนี้"

 รายงานของ คุณ เทรนท์ วิทเชียร์ พบว่าผู้ย้ายถิ่นอายุน้อยที่ไม่มีทักษะซึ่งทำงานในภาคเกษตรกรรม อุตสาหกรรมการบริการ เป็นกลุ่มมีความเสี่ยงมากที่สุดในการได้รับค่าจ้างต่ำ เขาเปิดเผยว่า
เราคิดว่ามีสาเหตุมาจากสิ่งต่างๆ เช่น การเลือกปฏิบัติและการเหยียดเชื้อชาติ หรือการที่แรงงานข้ามชาติไม่มีเครือข่ายและคนรู้จักในออสเตรเลียเมื่อเทียกับคนงานในท้องถิ่น ดังนั้นพวกเขาจึงมีตัวเลือกน้อยในการหางานทำ ไม่มีเครือข่ายมากพอ มีสามารถใช้วุฒิการศึกษาจากบ้านเกิด ปัจจัยเหล่านี้ทำให้แรงงานข้ามชาติได้รับค่าจ้างต่ำกว่าปกติ

หนึ่งในคำแนะนำที่รายงานฉบับนี้เสนอคือ การเปลี่ยนชื่อ ผู้ตรวจการเพื่อการจ้างงานที่เป็นธรรม หรือ แฟร์เวิร์ก เป็น Workplace Rights Authority เพื่อทำให้องค์กรมีอำนาจมากขึ้นและได้รับเงินสนับสนุนมากขึ้น

รายงานนี้ยังกล่าวอีกว่า ในปีที่แล้ว แฟร์เวิร์ก สั่งปรับนายจ้างเป็นเงิน 4 ล้านดอลลาร์ เทียบกับสำนักงานภาษี (ATO) ซึ่งเรียกเก็บภาษีจากนายจ้าง 3 พันล้านดอลลาร์และ ACCC (Australian Competition and Consumer Commission) ซึ่งมีกำหนดโทษเกี่ยวกับการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม กว่า 230 ล้านดอลลาร์


ด้าน แฟร์เวิร์ก กล่าวว่ากำลัง "ทบทวนรายงานและจะพิจารณาคำแนะนำ"

รายงานยังเสนอให้มีการปรับปรุงวีซ่า Workplace Justice Visa เพื่อช่วยให้พนักงานสามารถพำนักในออสเตรเลียได้ในขณะที่พวกเขาดำเนินคดีการเอารัดเอาเปรียบจากนายจ้าง

 รัฐมนตรีกระทรวงมหาดไทย นาง แคลร์ โอนีล เรียกการแสวงประโยชน์จากคนงานว่าเป็นการ 'ขัดต่อค่านิยมของออสเตรเลีย' เธอกล่าวว่ารัฐบาลได้ขยายช่องทางสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรสำหรับผู้ถือวีซ่าทักษะชั่วคราว

หากคุณหรือคนที่คุณรู้จักต้องการรับปรึกษาเกี่ยวกับความรุนแรงในครอบครัว คุณสามารถโทรไปที่หมายเลข 1800RESPECT ที่ 1800 737 732 หรือ ที่ 13 11 14 และ ในกรณีฉุกเฉิน โทร 000

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand