งานวิจัยเผยปัจจัยผลักกลุ่มผู้อพยพฯเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายช่วงโควิด19

Australian Open Djokovic

A refugee advocate writes a slogan on the wall outside the Park Hotel, used as an immigration detention hotel Source: AAP / Mark Baker/AP

งานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเผยให้เห็นว่าช่วงการระบาดของโควิด 19 ผ่านมา กลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นและกลุ่มผู้ลี้ภัยต้องเผชิญหน้ากับอุปสรรคในการเข้าถึงบริการด้านกฎหมายและกระบวนการยุติธรรมมากขึ้นกว่าเดิม


ประเด็นสำคัญ
  • งานวิจัยชิ้นใหม่จากม.เมลเบิร์นเผยช่วงโควิด-19 กลุ่มผู้ลี้ภัยเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมยากขึ้น
  • ทั้งยังพบอีกว่าในชุมชนผู้ลี้ภัย ต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น หลายครอบครัวอยู่ในภาวะจำยอม
  • ผู้อพยพฯ บางคนไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพราะกลัวว่าจะสูญเสียวีซ่าไป

กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

งานวิจัยชิ้นใหม่จากมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นเผยให้เห็นว่าช่วงการระบาดของโควิด-19นั้น สถานการณ์การเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมของกลุ่มผู้ลี้ภัยและกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่น กลับยิ่งเลวร้ายลง

งานวิจัยชิ้นนี้ระบุว่าอุปสรรคที่พวกเขาต้องพบเจอ เช่น ความโดดเดี่ยวในช่วงล็อคดาวน์ การเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายและบริการต่างๆ มีเพิ่มมากขึ้น

งานวิจัยยังชี้อีกว่าช่วงการล็อคดาวน์นั้น ผู้อพยพย้ายถิ่นหลายคนในเมลเบิร์นซึ่งอาศัยอยู่ในอาคารที่ทางหน่วยงานรัฐจัดสรรให้ ไม่ได้รับความช่วยเหลือขั้นพื้นฐานอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งไม่ได้รับการสื่อสารที่ชัดเจนจากหน่วยงานที่ดูแล ซ้ำร้ายพวกเขากลับถูกสอดแนมจากตำรวจเพิ่มขึ้นกว่าเดิม
New Zealand Australia Refugees
FILE- Police guard outside the refugee detention hotel, the Park Hotel in Melbourne, Australia, Saturday, Jan. 8, 2022. Source: AP / Hamish Blair/AP/AAP Image
เจนนิเฟอร์ บาลินต์ ศาสตราจารย์จากภาควิชาสังคมวิทยา หัวหน้าสาขาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์ ผู้ทำวิจัยชิ้นนี้กล่าวว่า การค้นพบดังกล่าวนั้นเป็นหนึ่งในความล้มเหลวที่พวกเขาพบ

"สิ่งพื้นฐานง่ายๆ อย่างการใช้ล่าม ก็ยังพบว่ามีความล้มเหลว ซึ่งน่าประหลาดใจจริงๆ การที่ชุมชนเหล่านี้ถูกตัดขาดจากหน่วยงานที่ดูแล รวมทั้งการสอดแนมในช่วงเวลานั้น การปฏิบัติที่แตกต่าง การที่ผู้นำชุมชนไม่ได้มีส่วนร่วมการตัดสินใจ มิหน่ำซ้ำยังถูกผลักให้พวกเขาตัดสินใจกันเอง"
ความหวาดกลัวและบาดแผลทางจิตใจนั้นเกี่ยวโยงกับการบังคับใช้กฎหมายของหน่วยงานรัฐ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเวลาที่มีการตรวจเข้มของตำรวจเพิ่มมากขึ้น ซึ่งยิ่งสร้างอุปสรรคเพิ่มเติม

ศาสตราจารย์ บาลินต์ กล่าวว่า ประเด็นที่ถูกนำเสนอในงานวิจัยชิ้นนี้เป็นสิ่งที่ท้าทายต่อกลุ่มผู้อพยพย้ายถิ่นอยู่ก่อนแล้ว และยิ่งเพิ่มขึ้นในช่วงการระบาด

สิ่งเหล่านี้คืออุปสรรคที่มีมานานแล้วแต่เพิ่งเผยให้เห็นชัดขึ้น ไม่ใช่เพียงเฉพาะกับผู้ที่เผชิญหน้ากับมันโดยตรงเท่านั้น นอกจากนี้ สิ่งสำคัญจริงๆ ก็คือเมื่อมีการติดตาม สร้างความร่วมมือและทำงานร่วมกัน สิ่งต่าง ๆ ก็เริ่มดีขึ้นมาก ที่น่าสนใจและบอกได้ชัดเจนมากก็คือ สำหรับหน่วยงานที่รับผิดชอบหลายราย พวกเขาตระหนักดีว่า วิธีการที่พวกเขานั้นไม่ได้ผล พวกเขาจำเป็นต้องเลิกการควบคุม จำเป็นต้องเห็นคุณค่าของความเชี่ยวชาญของชุมชน และเน้นไปที่ความเชี่ยวชาญนั้น
เจนนิเฟอร์ บาลินต์ ศาสตราจารย์จากภาควิชาสังคมวิทยา หัวหน้าสาขาสังคมศาสตร์และรัฐศาสตร์
งานวิจัยยังพบด้วยว่า สภาพความเป็นอยู่ในสถานกักกันนั้นเลวร้ายลงอย่างมากในช่วงล็อคดาวน์ อย่างกรณีผู้ลี้ภัยและผู้ขอลี้ภัยถูกกักกันในโรงแรมปาร์คในเมลเบิร์น

โรงแรมแห่งนี้ถูกได้รับความสนใจทันทีหลังจากเชื้อโควิด-19 ได้แพร่ระบาดเป็นวงกว้างในหมู่ผู้พักอาศัย ซึ่งหลายคนยังไม่เคยได้รับวัคซีน นักรณรงค์ด้านสิทธิมนุษยชนบางคนเรียกว่าสถานที่นี้ว่า "ศูนย์เพาะเชื้อโควิด"

LISTEN TO
COVID MIGRANTS THA final  image

งานวิจัยเผยปัจจัยผลักกลุ่มผู้อพยพฯเข้าไม่ถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายช่วงโควิด19

SBS Thai

23/11/202305:44
งานวิจัยเผยด้วยว่า ในชุมชนผู้ลี้ภัยและผู้อพยพย้ายถิ่น พวกเขาต้องเผชิญหน้ากับความรุนแรงในครอบครัวที่เพิ่มมากขึ้น และยิ่งเลวร้ายลงไปอีกเมื่อพวกเขาไม่สามารถเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมาย หลายครอบครัวที่เผชิญหน้ากับความรุนแรงทำอะไรไม่ได้เลย นอกจากการยอมรับสภาพ และทนอยู่ต่อไป

สิ่งสำคัญที่งานวิจัยชิ้นพยายามชี้ให้เห็นคือ การที่หน่วยงานที่รับผิดชอบต้องทำงานร่วมกันชุมชนผู้ลี้ภัยเพื่อทำความเข้าใจอุปสรรคที่พวกเขาพบเจอและพาพวกเขาก้าวข้ามมันไปให้ได้
NSW CORONAVIRUS COVID-19
People wear face masks as they walk through Lakemba, in Sydney, Monday, August 16, 2021. Source: AAP / BIANCA DE MARCHI/AAPIMAGE
ศาสตราจารย์บาลินต์กล่าวว่า การเข้าถึงความช่วยเหลือทางกฎหมายและทางสังคมนั้นควรเป็นของทุกคน

ด้าน InTouch ซึ่งเป็นศูนย์ความหลากหลายทางวัฒนธรรมที่เกี่ยวข้องกับความรุนแรงในครอบครัว ตั้งอยู่ในนครเมลเบิร์น องค์กรนี้ให้บริการแบบครบวงจรสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นและผู้ลี้ภัยที่เผชิญกับความรุนแรงในครอบครัว

อายสลัช ซิสโควิช ทนายความประจำศูนย์ InTouch กล่าวว่าลูกค้าของพวกเขาอยู่ด้วยความหวาดกลัว โดยบางคนไม่กล้าขอความช่วยเหลือเพราะกลัวว่าจะสูญเสียวีซ่าไป

ไม่ใช่ลูกค้าของเราทุกคนที่สามารถติดต่อเราได้เพราะพวกเขาใช้ชีวิตด้วยความกลัว ฉันคิดว่า 40% ของลูกค้าของเราถือวีซ่าชั่วคราว ดังนั้นจึงมีความกลัวอีกชั้นหนึ่งว่า หากฉันขอความช่วยเหลือหรือถ้าฉันไปที่ไหนสักแห่งฉันอาจถูกยกเลิกวีซ่า นั่นคือข้อกังวลที่ลูกค้าของเรามี ก็คือการละเมิดวีซ่า ข้อเสียเปรียบด้านวัฒนธรรมและภาษาที่พวกเขามีระหว่างการปิดเมืองนั้นเป็นเรื่องยากจริง ๆ สำหรับลูกค้าของเรา
อายสลัช ซิสโควิช


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand