ผู้ย้ายถิ่นอาจพบปัญหาด้านภาษาจากเทเลเฮล์ท

Dr Asher Freilich says the demand for Instant Scripts' telehealth services have increased ten-fold since the coronavirus pandemic.

Dr Asher Freilich says the demand for Instant Scripts' telehealth services have increased ten-fold since the coronavirus pandemic. Source: SBS

ประชาชนจากชุมชนหลากวัฒนธรรมที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง อาจเผชิญปัญหาในการสื่อสารระหว่างรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านบริการเทเลเฮล์ท ขณะที่การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาบีบให้ผู้คนต้องใช้บริการนี้มากขึ้น


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงาน

จากข้อมูลของเมดิแคร์ (Medicare) ชี้ว่า มีชาวออสเตรเลียกว่า 1.8 ล้านคนที่ใช้บริการรับคำปรึกษาทางการแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์ หรือที่เรียกว่าบริการ เทเลเฮล์ท (telehealth) ในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา

แพทย์ทั่วไป (แพทย์จีพี) กำลังพูดคุยกับคนไข้ผ่านทางโทรศัพท์ หรือทางวิดีโอคอล แทนที่จะให้คำปรึกษาแบบพบกันซึ่งๆ หน้า โดยเป็นความพยายามที่จะชะลอการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

แต่ประชาชนที่พูดภาษาอังกฤษไม่คล่อง การใช้ล่ามมาช่วยแปลภาษาให้ก็ค่อนข้างจำกัด เนื่องจากกฎการสร้างระยะห่างทางสังคม

บริการเทเลเฮล์ท (telehealth) มีมานานหลายปีแล้ว โดยส่วนใหญ่มักเป็นบริการสำหรับชุมชนที่อยู่ห่างไกล แต่ขณะนี้ บริการนี้กลายเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับการให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป

อินสแทนต์ สคริปส์ (Instant Scripts) เป็นบริการให้คำปรึกษาจากแพทย์ผ่านทางโทรศัพท์ ซึ่งเคยได้รับโทรศัพท์จากผู้มาใช้บริการวันละ 100 สายก่อนช่วงการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

แต่ตอนนี้ มีผู้โทรศัพท์เข้ามาใช้บริการวันละกว่า 1,000 สาย

นายแพทย์ อาเชอร์ ไฟรลิค ซึ่งให้คำปรึกษาทางโทรศัพท์แก่คนไข้ผ่าน อินสแทนต์ สคริปส์ (Instant Scripts) เขากล่าวว่า คนไข้ใหม่ที่มาใช้บริการจำนวนมากขอคำปรึกษาเรื่องปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพจิต เนื่องจากประชาชนกำลังต้องแยกตัวโดดเดี่ยว ไม่ได้พบเพื่อนฝูงและครอบครัว

"ผลกระทบที่ไม่ได้ตั้งใจให้เกิดขึ้นอย่างหนึ่งของการแยกตัวจากสังคมคือ การพุ่งสูงขึ้นของภาวะซึมเศร้า ภาวะวิตกกังวล ความรู้สึกว่าตนตกอยู่ในความเสี่ยง ความเหงา ซึ่งเรากำลังสังเกตเห็นการขอรับคำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพจิตที่มีเข้ามาเป็นจำนวนมาก" นายแพทย์ ไฟรลิค เผย

คุณเกรก เชอร์ มีประสบการณ์รับคำปรึกษาจากแพทย์ผ่านเทเลเฮล์ทเป็นครั้งแรก เพื่อขอคำปรึกษาเกี่ยวกับยาสำหรับโรคหอบหืด โดยที่เขาไม่ต้องไปนั่งรอพบแพทย์ที่คลินิกอีกต่อไป

"ผมยอมรับว่า มันแตกต่างไปจากเดิม มันแปลกๆ ที่จะต้องพูดคุยกับแพทย์ของคุณทางโทรศัพท์ผ่านวิดีโอ แต่แพทย์ก็มีความเป็นมืออาชีพมากและเห็นอกเห็นใจ ผมพบว่ามันเป็นบริการที่ดีมาก" คุณเชอร์ คนไข้เผยประสบการณ์

แต่สำหรับแพทย์ทั่วไปบางคน อย่างแพทย์หญิง คูดซีอา ฮาสนานี พบว่า ยากที่จะเคยชินกับการวินิจฉัยโรคโดยไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้

"การได้เห็น ได้รู้สึก ได้สังเกตอาการ และตรวจร่างกายคนไข้ด้วยการลงมือปฏิบัติจริง ฉันรู้สึกว่าการให้คำปรึกษายังไม่สมบูรณ์ หากฉันไม่ได้ตรวจร่างกายคนไข้อย่างเหมาะสม"

แพทย์หญิง ฮาสนานี แพทย์ทั่วไปที่พูดได้ทั้งภาษาฮินดี ภาษาอูรดู และพูดภาษารัสเซียได้เล็กน้อย กล่าวว่า แพทย์ชุมชนที่มักให้บริการในภาษาต่างๆ อยู่แล้วยังคงสามารถให้คำปรึกษาแก่คนไข้ผ่านระบบเทเลเฮล์ทได้

แต่หากไม่มีแพทย์ที่พูดภาษาอื่นๆ ได้นอกเหนือจากภาษาอังกฤษ การจะเข้าถึงบริการล่ามทางเทเลเฮล์ทนั้นลำบาก โดยมากจึงทำให้หน้าที่ช่วยแปลภาษาตกเป็นของสมาชิกในครอบครัว

"เนื่องจากเราต้องเว้นระยะห่างทางสังคม ดังนั้น จึงมีเพียงสมาชิกในครอบครัวที่อาศัยอยู่ในบ้านหลังเดียวกันเท่านั้นที่จะได้รับอนุญาตให้มาช่วยแปลภาษาได้ การมีล่ามจากข้างนอกเดินเข้ามาหาพวกเขาที่บ้านและช่วยแปลภาษาให้ เป็นการทำให้ทั้งสองฝ่ายตกอยู่ในความเสี่ยง" แพทย์หญิง คูดซีอา ฮาสนานี เล่าปัญหา

อย่างไรก็ตาม กระทรวงสาธารณสุขของสหพันธรัฐ กล่าวว่า แพทย์สามารถใช้บริการแปลและล่าม (TIS) ที่ดำเนินการโดยกระทรวงมหาดไทยได้
ฟังคุณหมอคนไทยอธิบายเรื่องเทเลเฮล์ท

หมออธิบายแยกตัวเพื่อกักโรคอย่างไรในออสเตรเลีย

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand