ล่ามไทยร่วมประท้วง เหตุศาลลดค่าแรง โวย 'ถูกขโมยเงิน'

Photo-Interpreter Strike (3).jpg

ล่ามหลายภาษารวมตัวประท้วงหน้าศาล Credit: Translator and Interpreter Australia

นับเป็นเวลากว่า 3 สัปดาห์ที่ล่ามรวมตัวกันประท้วงหน้าศาลที่รัฐวิกตอเรีย เหตุถูกลดค่าแรง สมพิศ วัตกินส์ ล่ามไทยที่รัฐวิกตอเรีย หนึ่งในล่ามที่ร่วมประท้วงเล่าถึงสาเหตุของการประท้วงครั้งนี้


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

สมพิศ วัตกินส์เป็นนักแปลและล่ามคนไทยที่มีใบรับรองนาติ (NAATI) ที่รัฐวิกตอเรีย และเป็นหนึ่งในล่ามที่ร่วมประท้วงในครั้งนี้ เธออธิบายว่าเหตุการณ์นี้เป็นการรวมตัวกันประท้วงของล่ามในรัฐวิกตอเรียกับองค์กร คอร์ท เซอร์วิสส์ ออสเตรเลีย (Court Services Australia) หรือ CSV ซึ่งเป็นหน่วยงานของรัฐบาลที่บริหารจัดการบริการต่างๆ ของศาลในรัฐวิกตอเรีย รวมถึงการจ้างงานล่ามที่ทำงานให้ศาลด้วย
Photo-Interpreter Strike (7).jpg
ล่ามรวมตัวประท้วงหน้าเคานต์ตี คอร์ท Credit: Sompit Watkins
สมพิศอธิบายถึงการทำงานของล่ามว่า ล่ามส่วนใหญ่ทำงานกับภาครัฐ ทำให้รัฐบาลเป็นทั้งผู้จัดหางานและผู้บริโภค โดยล่ามจะได้รับการจ้างงานผ่านเอเจนซี ซึ่งให้บริการทั้งภาครัฐและเอกชน เช่น แลงเกวจ ลูป (Language Loop) ออนคอล (Oncall) ฯลฯ และล่ามมักมีสถานะเป็นพนักงานชั่วคราวหรือผู้รับเหมาอิสระ (contractor)

“ตัวอย่างเช่น คนไทยที่ไปหาหมอ ไปคุยกับเซ็นเตอร์ลิงก์ ไปสัมภาษณ์กับอิมฯ หรือว่าไปศาล จะไม่ต้องจ่ายค่าจ้างล่าม ยกเว้นในบางกรณี เพราะหน่วยงานรัฐที่ติดต่อล่ามเป็นคนจ่ายค่าล่าม เพราะฉะนั้นรัฐจะเป็นผู้กำหนดเงื่อนไขในการขอรับบริการ และปกติแล้วจะไม่คำนึงถึงค่าตอบแทนและเงื่อนไขในการทำงานของล่าม” 
เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ปฏิวัติวงการแปลภาษา-ล่าม

อย่างไรก็ตาม สมพิศกล่าวว่า รัฐบาลมักจะเป็นผู้กำหนดค่าจ้างหรือสัญญาจ้าง โดยที่ล่ามไม่มีอำนาจในการต่อรอง เนื่องจากองค์กรของรัฐบาลและเอเจนซีมักปรับเปลี่ยนค่าจ้างและเงื่อนไขในการทำงานของล่ามเสมอ สิ่งนี้เป็นปัญหาที่ยืดเยื้อมาเป็นเวลาปลายปี แม้จะมีสหภาพแรงงานล่ามและนักแปลเข้ามาไกล่เกลี่ย

สำหรับการที่ล่ามมารวมตัวกันประท้วงในครั้งนี้ เนื่องจากล่าสุด CSV ปรับลดค่าจ้างล่าม และเปลี่ยนแนวทางปฏิบัติที่เคยใช้ในการทำงาน จากที่เคยจ้างงานแบบครึ่งวันหรือเต็มวัน เป็นการจ้างแบบชั่วโมงที่สั้นลง ทำให้ได้รับค่าตอบแทนน้อยลง รวมถึงสิ่งนี้ยังกระทบความแน่นอนในการทำงานด้วย

“งานศาลเนี่ย เป็นงานที่คาดเดาไม่ได้ สมมติว่าดิฉันถูกจ้างไปเป็นล่ามในการไต่สวนรับสารภาพ อาจใช้เวลาไม่กี่นาที สมมติว่าจำเลยรับสารภาพ ผู้พิพากษาอาจไต่สวนเพิ่มเติม และสั่งให้ดิฉันอยู่ต่อ”
ล่ามจะได้ค่าจ้างน้อยลงประมาณอย่างต่ำ $10 หรือ $40 - $50 เหรียญต่อวัน ล่ามไม่ได้ค่าจ้างเพิ่มมานานแล้ว
สมพิศ ล่ามไทย กล่าว
Photo-Interpreter strikes-Sompit Watkins (1).jpg
สมพิศ วัตกินส์ขณะร่วมประท้วงกับล่ามภาษาอื่น Credit: Sompit Watkins
สมพิศและล่ามภาษาอื่นกังวลว่า การปรับลดค่าจ้างครั้งนี้อาจบานปลายไปถึงงานอื่นของรัฐบาลด้วย ล่ามจึงร่วมกันประท้วงด้วยการหยุดรับงานศาล จนถึงวันนี้เป็นเวลาเกือบ 1 เดือนแล้ว โดยมีโปรเฟสชันนัล ออสเตรเลีย (Professional Australia) หน่วยงานสำหรับนักวิชาชีพในออสเตรเลีย และองค์กรนักแปลและล่ามออสเตรเลีย (Translator and Interpreter Australia) ให้การสนับสนุน

“ทางผู้ให้บริการ พอไม่มีคนรับงานที่ศาล ก็เปลี่ยนงานเป็นการทำงานทางโทรศัพท์หรือวิดิโอแทน เพื่อให้ล่ามจากรัฐอื่นรับงานแทนได้ ซึ่งล่ามในรัฐอื่นที่สนับสนุนล่ามเช่นกันก็ปฏิเสธงาน”

สมพิศตอบคำถามว่าการประท้วงถือว่าขัดหลักจรรยาบรรณหัวข้อความสามัคคีหรือไม่ เหตุผลที่ล่ามยังทำงานกันต่อ ความสำคัญของล่ามทั้งกับคนไทยและกับหน่วยงานของออสเตรเลีย และความมั่นคงของงานล่ามที่ออสเตรเลีย

ฟังได้ในบทสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
กด ▶ ฟังสัมภาษณ์ฉบับเต็ม
Thai_Interview_Interpreter protest_120924 image

ล่ามไทยร่วมประท้วง เหตุศาลลดค่าแรง โวย 'ถูกขโมยเงิน'

SBS Thai

12/09/202417:07

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 
 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand