หมอไทยในซิดนีย์แนะการปฏิบัติตัวเพื่อลดโควิดระบาดช่วงล็อกดาวน์

การสวมหน้ากากอนามัยในรถโดยสารสาธารณะและในสถานที่ชุมชนเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้บังคับ ช่วงล็อกดาวน์ของนิวเซาท์เวลส์

การสวมหน้ากากอนามัยในรถโดยสารสาธารณะและในสถานที่ชุมชนเป็นมาตรการหนึ่งที่ใช้บังคับ ช่วงล็อกดาวน์ของนิวเซาท์เวลส์ Source: Pixabay/iqbal nuril anwar

พญ.มานี แวนดีโบนา (Dr.Manee Vandebona) แพทย์คนไทยในซิดนีย์ ชี้แจงการปฏิบัติตัวเพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโควิดในช่วงล็อกดาวน์ของซิดนีย์และบางส่วนของนิวเซาท์เวลส์ ทำอย่างไรเราจึงจะช่วยกันลดจำนวนผู้ติดเชื้อที่ไปไหนมาไหนในชุมชนขณะแพร่เชื้อได้ พร้อมแนะนำกรณีหากคุณต้องกักตัว 14 วันเพราะไปสถานที่เสี่ยง ต้องแยกตัวอย่างคนอื่นและคนในบ้านอย่างไร


ฟังการพูดคุยกับคุณหมอ 
LISTEN TO
Thai speaking doctor in Sydney advises on COVID restrictions image

หมอไทยในซิดนีย์แนะการปฏิบัติตัวเพื่อลดโควิดระบาดช่วงล็อกดาวน์

SBS Thai

30/07/202115:58
ประเด็นสำคัญของการพูดคุย

  • ในการแถลงข่าวของรัฐบาลนิวเซาท์เวลส์บางครั้งจะมีการระบุว่า มีผู้ติดเชื้อจำนวนหนึ่งที่ไปไหนมาไหนในชุมชนขณะมีการอาการที่แพร่เชื้อได้ (out in the community while infectious) หมายความว่าอย่างไร และทำอย่างไรเราถึงจะลดจำนวนของผู้ติดเชื้อกลุ่มนี้ได้
  • เหตุใดในช่วงล็อกดาวน์ เราจึงไม่ควรไปเยี่ยมหรือพบปะกับคนที่ไม่ได้อยู่บ้านเดียวกัน
  • บางคนมีอาการ แต่ขณะเดินทางไปรับการตรวจเชื้อ ไปยังที่อื่นๆ ก่อนหรือหลังไปยังศูนย์ตรวจเชื้อ เป็นสิ่งที่ไม่ควรทำเพราะอะไร และการปฏิบัติตัวอย่างถูกต้องควรเป็นอย่างไร
  • มีกรณีคนที่มีอาการของโควิด แทนที่จะไปรับการตรวจเชื้อทันที แต่ไปร้านขายยา เพื่อไปซื้อยามากิน หรือไปคลินิกเพื่อไปหาหมอ ต่อมาพบผลการตรวจเชื้อเป็นบวกคือติดเชื้อ จึงทำให้นำความเสี่ยงไปแพร่ที่ร้านขายยาหรือคลินิกหมอที่ไป คุณหมออยากแนะนำคนฟังอย่างไร เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดกรณีแบบนี้ขึ้นอีก
  • การกักตัวกรณีถูกระบุว่าเป็นผู้พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ (close contact) ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร
  • ถ้าเราเป็น close contact แต่ต้องอยู่ร่วมบ้านกับคนอื่น เราควรทำอย่างไร
  • คุณหมอฝากถึงคนที่ลังเลใจเกี่ยวกับวัคซีนต้านโควิดว่า “โอกาสที่ฉีดวัคซีนแล้วตายเพราะลิ่มเลือด เหมือนการถูกล็อตเตอรี่รางวัลที่ 1 ติดโควิดแล้วตายเหมือนถูกเลขท้ายสองตัว คือมีโอกาสมากกว่า”
“สำหรับคนที่ลังเลเพราะกลัวว่าวัคซีนจะไม่ถูกกับโรคประจำตัวของเรา ให้คุยกับหมอจีพีของเราก่อนว่าเรามีโรคนั้นโรคนี้แล้วควรจะฉีดไหม ถ้าเขาเห็นว่าเราฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกาไม่ได้ เขาอาจให้เราฉีดไฟเซอร์ ให้โทรไปคุยกับหมอก่อน”


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand