ออสฯ ทดลองรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยยาครั้งแรกของโลก

A blood glucose measurement is carried out

A blood glucose measurement is carried out Source: Getty

การทดลองยารักษาโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในมนุษย์เป็นครั้งแรกของโลกกำลังจะเริ่มต้นขึ้นในออสเตรเลีย นักวิทย์ฯ พบตัวยาสำคัญที่อาจลดความจำเป็นในการฉีดอินซูลินเข้าทางผิวหนัง


LISTEN TO
Trial begins of new type 1 diabetes treatment that could cure the disease image

ออสฯ ทดลองรักษาเบาหวานชนิดที่ 1 ด้วยยาครั้งแรกของโลก

SBS Thai

16/11/202004:58
เมื่อ 3 ปีที่ผ่านมา คุณลิบบี โรส (Libby Rose) ได้รับ ผลการวินิจฉัยว่า เธอเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 การควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดนั้น กลายเป็นกิจวัตรประจำวันของเธอ

“มันลำบากมาก ฉันอยากกลับไปเป็นวัยรุ่นที่ไร้ความกังวลอีกครั้ง มันเป็นเรื่องที่จัดการได้ แต่มันก็เป็นเรื่องยาก เมื่อรู้ว่าเพื่อน ๆ ของฉันจะกินอะไรก็ได้ โดยไม่ต้องคิดอะไร แต่สำหรับฉันแล้ว ก็จะต้องคิดถึงเรื่องน้ำตาลในเลือดอยู่ตลอดเวลา” คุณโรสกล่าว

มีชาวออสเตรเลียประมาณ 120,000 คน ป่วยเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ซึ่งเป็นความผิดปกติทางภูมิคุ้มกัน เมื่อเซลล์ที่ผลิตฮอร์โมนอินซูลินในตับอ่อน ถูกภูมิคุ้มกันของร่างกายทำลาย

การทดลอง โดยสถาบันวิจัยทางการแพทย์เซนต์วินเซนต์ (St Vincent's Institute of Medical Research) ในนครเมลเบิร์น ได้เริ่มขึ้นเพื่อทดสอบการรักษาที่มุ่งลดการทำลายเซลล์ที่ใช้ผลิตอินซูลินในร่างกาย

ศาสตราจารย์เฮเลน โทมัส (Prof Helen Thomas) ผู้ร่วมวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า การทดลองดังกล่าว อาจนำไปสู่การที่ผู้ป่วยโรคเบาหวาน มีความจำเป็นในการรับฮอร์โมนอินซูลินที่ลดลง

“หลังจากการวินิจฉัย เราพบว่า ผู้ป่วยยังคงมีเซลล์ในร่างกายจำนวนหนึ่งที่ยังคงสามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้บางส่วน เพียงแต่มันไม่พอที่จะผลิตในระดับที่ร่างกายต้องการ และเซลล์เหล่านั้นมีความสำคัญที่เราต้องปกป้อง และนั่นคือสิ่งที่เราหวังว่าจะทำได้” ศาสตราจารย์โทมัส กล่าว

รักษาเซลล์ผลิตอินซูลินที่ยังหลงเหลือไม่ให้ถูกทำลาย

โดยตัวยาที่กำลังจะได้รับการทดสอบในมนุษย์นั้น มีชื่อว่า “บาริซิทนิบ (Baricitnib)”

ศาสตราจารย์ทอม เคย์ (Prof Tom Kay) ผู้นำและผู้ร่วมการวิจัยในครั้งนี้ กล่าวว่า ตัวยาดังกล่าวได้มีการนำไปใช้ในการรักษาโรคเกี่ยวกับความผิดปกติด้านภูมิคุ้มกันอื่น ๆ รวมถึงโรคไขข้ออักเสบ

“เนื่องจากตัวยานี้มีอยู่แล้วในท้องตลาด มีการนำไปใช้ในเด็กสำหรับการรักษาโรคอื่น ๆ และเนื่องจากตัวยาดังกล่าวมีความต้านทานกับสารชนิดอื่น รวมถึงมีผลข้างเคียงน้อย การนำมาใช้ในทางคลินิกนั้นน่าจะเป็นเรื่องง่ายกว่าวิธีอื่น ๆ ที่เราต้องสร้างตัวยาขึ้นมาใหม่ตั้งแต่ต้น” ศาสตราจารย์เคย์ กล่าว    

โดยการทดลองตัวยาดังกล่าว ซึ่งมีชื่อการทดลองว่า BANDIT ต้องการผู้เข้าร่วมการทดลอง 83 คน ในนครเมลเบิร์นและแอดิเลด ที่มีอายุระหว่าง 12-30 ปี และได้รับการวินิจฉัยว่ามีภาวะโรคเบาหวานชนิดที่ 1 ในรอบ 100 วันที่ผ่านมา

ผลช้างเคียงต่อร่างกายจากการรักษาด้วยอินซูลิน

มีการใช้ฮอร์โมนอินซูลินในการรักษาผู้ป่วยโรคเบาหวานชนิดที่ 1 มาเกือบ 100 ปีจนถึงขณะนี้ แต่ พญ.โดโรทา พาวแล็ก (Dorota Pawlak) หัวหน้าเจ้าหน้าที่วิทยาศาสตร์ จากมูลนิธิวิจัยโรคเบาหวานในเยาวชนออสเตรเลีย (JDRF) กล่าวว่า การรักษาด้วยการใช้ฮอร์โมนอินซูลินนั้น มีความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียงในระยะยาว 

“ผลข้างเคียงเหล่านั้น ได้แก่ความเสียหายต่อดวงตา ไต ระบบประสาท รวมถึงมีผลที่ทำให้เกิดภาวะซึมเศร้าระยะยาว และปัญหาทางสุขภาพจิตอื่น ๆ ที่ตามมา จากการจัดการภาวะอาการป่วยที่มีความยากลำบากนี้ไปตลอดชีวิต” พญ.พาวแล็ก กล่าว

โดยการทดลองทางคลินิกดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลาราว 2 ปี


รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

SA จะเปิดพรมแดนให้ VIC ในอีกไม่ถึงสามสัปดาห์


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand