ทีมนักวิจัยออสฯ ผุดไอเดียใช้ภูมิต้านทานจากอัลปากาต้านโควิด-19

Alpacas have a unique immune system

Alpacas have a unique immune system Source: Getty

ขณะนี้ทั้งในออสเตรเลียและทั่วโลกต่างมีจำนวนผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนาและผู้เสียชีวิตมีเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ด้านทีมนักวิทยาศาสตร์ออสเตรเลียกำลังทำการวิจัยแนวใหม่โดยการใช้ภูมิต้านทานจากอัลปากาเพื่อยับยั้งไวรัสโควิด-19


กดปุ่ม 🔊ที่ภาพด้านบนเพื่อฟังรายงานเรื่องนี้

ในขณะที่เหล่านักวิทยาศาสตร์กำลังขะมักเขม้นพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโควิด-19 ทีมนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลียก็กำลังทดลองใช้วิธีการที่ไม่เหมือนใคร โดยโครงการการวิจัยนี้ได้นำเอาอัลปากามาเป็นส่วนหนึ่งในการทดลอง เนื่องจากพบว่าระบบภูมิคุ้มกันของอัลปากานั้นอาจเป็นกุญแจสำคัญในการค้นพบอันยิ่งใหญ่เกี่ยวกับการป้องกันไวรัสโคโรนา

ที่มาของโครงการวิจัยใช้ภูมิต้านทานจากอัลปากา

ประเทศเบลเยี่ยม เป็นประเทศแรกที่ค้นพบเกี่ยวกับระบบภูมิคุ้มกันของอัลปากา และนำมาทดลองใช้ครั้งแรกในระหว่างการแพร่ระบาดของไวรัสซาร์ ในปี 2002 จนกระทั่งในปี 2020 การวิจัยดั้งเดิมถูกปัดฝุ่นมาใช้ในการต่อสู้กับไวรัสโควิด-19  เหล่านักวิจัยจาก Australia's Nuclear Science and Technology Organisation (ANSTO) ทำงานร่วมมือกับสถาบันวอเตอร์และอลิซา ฮอล์ (the Walter and Eliza Hall Institute) ในการศึกษาวิจัยภูมิต้านทานของอัลปากาเพื่อจะนำมาสร้างตัวยาที่รักษาไวรัสโควิด-19

นี่ไม่ใช่โครงการพัฒนาวัคซีนป้องกันไวรัสโคโรนา แต่มันเป็นโครงการที่พยายามจะสร้างภูมิต้านทานที่สามารถช่วยให้ร่างกายของคนเราต่อสู้กับไวรัสได้

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาย ฮอง ทาม (Wai-Hong Tham) ประธานร่วมของภาควิชาระบาดวิทยาและระบบคุ้มกันของสถาบัน วอเตอร์และ อลิซา ฮอล์ เปิดเผยเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่ามันอาจเป็นสิ่งที่ช่วยชีวิตผู้คนได้โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้สูงอายุในสถานดูแลคนชรา 

“เราไม่ได้พัฒนาวัคซีน แต่เรากำลังนำภูมิต้านทานกลับเข้าสู่ร่างกายคนไข้ และนี่คือการรักษาที่เราเรียกว่าการรักษาโดยใช้ภูมิต้านทาน (antibody based therapies) เราดึงเอาแอนติบอดี หรือภูมิคุ้มกันที่สามารถระงับการติดเชื้อของไวรัสโคโรนาได้และนำกลับเข้าไปในร่างกายใหม่ คุณสามารถใช้การรักษาแบบนี้ได้ในสถานดูแลคนชราเพื่อเป็นตัวยาที่ใช้ในการป้องกันโรค”

กระบวนการใช้ภูมิต้านทานของอัลปากาในการรักษาโรค

ทีมนักวิจัยกำลังใช้เทคนิคที่มีความซับซ้อน เรียกว่าผลึกวิทยา (crystallography) เพื่อช่วยในการตรวจสอบโครงสร้างของโมเลกุลทางชีววิทยาที่มีความละเอียดอ่อนจนถึงระดับของอะตอมเดี่ยว เทคนิคที่ใช้คือการศึกษากระบวนการทางชีววิทยาและโรคต่างๆ โดยมีเป้าหมายที่จะพัฒนาตัวยาใหม่ๆ ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาโรค

ทีมนักวิทยาศาสตร์ใช้วิธีการนำเอานาโนบอดี (nanobodies) ซึ่งเป็นอนุภาคของภูมิต้านทาน และใช้โมเลกุลเหล่านี้มาสร้างการตอบสนองกับการติดเชื้อ โดยการฉีดภูมิคุ้มกันที่มีผิวโปรตีน ที่เรียกว่า "spike protein" จาก SARS-CoV-2 ซึ่งเป็นไวรัสที่ทำให้เกิด โควิด-19 เข้าไปในอัลปากา  เหล่านักวิทยาศาสตร์สามารถแยกนาโนบอดี ที่มีความสามารถเข้าไปยับยั้งการทำงานของผิวโปรตีนที่ทำให้เซลล์ของมนุษย์ติดเชื้อได้

ศาสตราจารย์ ไมเคิล เจมส์ (Micheal James) นักวิทยาศาสตร์หัวหน้าโครงการวิจัยเกี่ยวกับเครื่องเร่งอนุภาคของออสเตรเลีย อธิบายถึงกระบวนการนี้ว่า

“คุณนึกดูว่าถ้าเราป่วยจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ระบบภูมิคุ้มกันของเราจะช่วยต่อสู้กับผู้บุกรุกโดยสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาในร่างกายของอัลปาคาก็เช่นกันพวกมันก็สร้างภูมิต้านทานขึ้นมาแต่เป็นประเภทที่สอง ชื่อว่า นาโนบอดี ซึ่งนาโนบอดีนี้ดูจะมีประสิทธิภาพในการต่อสู้กับไวรัสที่เข้ามาในร่างกาย เรากำลังทำความเข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร ซึ่งมันอาจมีความเป็นไปได้ที่เราจะใช้มันเพื่อเป็นตัวยายับยั้งการติดเชื้อไวรัส เช่นไวรัส โควิด-19 เป็นต้น”

ผลการวิจัยในปัจจุบัน

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ทาม กล่าวว่า การวิจัยที่เริ่มต้นในเดือนมีนาคมที่ผ่านมานั้นมีผลการวิจัยที่เต็มไปด้วยความหวัง

“ความคืบหน้าในตอนนี้คือ เรามีอัลปากาที่ฉีดภูมิคุ้มกันด้วยอนุภาคที่ไม่ติดเชื้อของผิวโปรตีน ซึ่งผิวโปรตีนหรือ spike protein นี้นำมาจากไวรัสโคโรนา และเราสร้างแบบที่ไม่ติดเชื้อขึ้นมาเพื่อที่จะฉีดเข้าไปในอัลปากา เพื่อที่พวกมันจะสามารถสร้างภูมิคุ้มกันที่ตอบสนอง และสร้างภูมิต้านทานขึ้นมาได้ เราทำกระบวนการนี้เสร็จสิ้นแล้ว และพบว่าเราได้ภูมิคุ้มกันที่ตอบสนองกับผิวโปรตีนได้เป็นอย่างดี และตอนนี้เราได้จำลองเอายีนส์ของนาโนบอดีที่ได้จากอัลปากาออกมา เราสามารถแยกวิเคราะห์กลุ่มของนาโนบอดีที่สามารถป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าไปทำลายเซลล์ในจานเพาะเชื้อได้”

หากโครงการนี้ประสบความสำเร็จ ทีมนักวิจัยเชื่อว่ามันจะเป็นจุดสูงสุดอย่างหนึ่งของอาชีพเพราะพวกเขาสามารถช่วยชีวิตผู้คนได้ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ วาย ฮอง ทาม ให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า

“มันคือการก้าวไปอีกขั้น มันคือสิ่งที่น่าตื่นเต้น เรามีการแบ่งปันความรู้ทางวิทยาศาสตร์อย่างมหาศาล มันเป็นสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน มันเป็นเรื่องที่น่าภาคภูมิใจมากที่ได้ทำงานร่วมกับชุมชนนักวิทยาศาสตร์ของออสเตรเลีย”

ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตมหานครของเมลเบิร์น (Metropolitan Melbourne) อยู่ภายใต้มาตรการล็อกดาวน์ระดับ 4 และจะต้องปฏิบัติตามการห้ามออกจากเคหสถานระหว่างเวลา 20.00 น.-5.00 น.

ในระหว่างช่วงเวลาที่ห้ามออกจากเคหสถาน ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อไปทำงาน หรือไปรับบริการด้านสุขภาพหรือไปรับการดูแลที่จำเป็น หรือเพราะเหตุผลด้านความปลอดภัยเท่านั้น

ระหว่างเวลา 5.00 น. เป็นต้นไปจนถึงเวลา 20.00 น. ประชาชนในเมลเบิร์นจะสามารถออกจากบ้านได้ เพื่อออกกำลังกาย เพื่อไปซื้อของจำเป็นและไปรับบริการที่จำเป็น ไปทำงาน ไปรับบริการด้านสุขภาพ หรือไปให้การดูแลญาติที่ป่วยหรือผู้สูงอายุเท่านั้น

รายละเอียดข้อจำกัดทั้งหมดสามารถดูได้  ชาวรัฐวิกตอเรียทุกคนจะต้องสวมหน้ากากหรือผ้าปกคลุมจมูกและปากเมื่อออกจากเคหสถาน ไม่ว่าพวกเขาจะอาศัยอยู่ในพื้นที่ใด

ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

การตรวจเชื้อไวรัสโคโรนาขณะนี้สามารถทำได้ทั่วออสเตรเลีย หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

ประสบการณ์ทำงานในสถานดูแลผู้สูงอายุช่วงโควิด



 

 

 

 

 

 

 

 

 


Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand