ช่องว่างความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นในออสเตรเลีย

Chris Sprake stands in front of the drop-in zone where food is distributed to those in need.

ผู้จัดการฟูด แบงก์กล่าวว่าผู้คนมาขอรับบริจาคอาหารเพิ่มมากขึ้นใน 18 เดือนที่ผ่านมา Source: SBS

ผลการวิจัยล่าสุดเผยคนรวยออสซี 10 เปอร์เซ็นต์ถือครองทรัพย์สินเกินครึ่งของทั้งประเทศ ชี้ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม


กด ▶ ฟังพอดคาสต์ด้านบน

ภาพคิวต่อแถวเป็นทางยาวหน้าฟูด แบงก์ (food bank) ที่เมลเบิร์นก่อนที่ประตูจะเปิด

ขณะนี้อาหารสดหมดไปอย่างรวดเร็วในเวลาไม่กี่ชั่วโมง

คุณแนนซี เฉิน (Nancy Chen) เป็นหนึ่งในคนที่ดิ้นรนหาอาหารประทังชีวิต

“มันยากที่จะซื้อของในบางครั้ง แต่ที่นี่ช่วยคนได้หลายคน ฉันชอบที่นี่ ฉันมาหลายครั้งแล้ว”
คุณคริส สปราค (Chris Sprake) ผู้จัดการฟูด แบงก์กล่าวว่าเขาบริจาคอาหารให้ประมาณ 40 คนต่อสัปดาห์ แต่ขณะนี้จำนวนเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 500 คนต่อสัปดาห์แล้ว

คนเหล่านี้เคยมีฐานะทางการเงินเพียงพอต่อการจับจ่ายใช้สอย แต่ปัจจุบันเจอปัญหาค่าครองชีพที่เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ

“จำนวนคนที่มารับบริจาคอาหารเพิ่มขึ้นจำนวนมาก เราให้บริการด้านการดูแลสุขภาพออนไลน์ฟรีด้วย และก็เต็มเช่นกัน ในช่วง 18 เดือนที่ผ่านมา หลายคนที่เคยอยู่ในระดับชนชั้นกลางเข้าขอรับบริจาค"
พวกเขากล่าวว่าต้องเลือกระหว่างจ่ายค่าเช่ากับค่าอาหาร และพวกเขาเลือกมาขอรับบริจาคอาหารจากเรา
ผู้จัดการฟูด แบงก์ที่เมลเบิร์นกล่าว
รายงานล่าสุดจากมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ (University of New South Wales) และสมาพันธ์การบริการสังคมแห่งออสเตรเลีย (Australian Council of Social Service) พบว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของครอบครัวที่จัดอยู่ในกลุ่มมั่งคั่งมีการเติบโตเพิ่มขึ้นถึง 84 เปอร์เซ็นต์ในช่วง 20 ปีที่ผ่านมา

แต่การเติบโตของความมั่งคั่งในกลุ่มที่มีฐานะปานกลางถึงต่ำ (60 เปอร์เซ็นต์จากครัวเรือนทั้งหมด) มีเพียง 55 เปอร์เซ็นต์ ช่องว่างของความเหลื่อมล้ำเกิดจากอัตราว่างงานที่อยู่ในจุดที่ต่ำที่สุดเป็นประวัติการณ์

โดยกลุ่มที่เป็นพ่อแม่เลี้ยงเดี่ยวและผู้อพยพที่ไม่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาหลักมักถูกจัดอยู่ในกลุ่มที่มีความมั่งคั่งต่ำ

คุณคาสซานดรา โกลดี (Cassandra Goldie) ผู้อำนวยการของสมาพันธ์การบริการสังคมแห่งออสเตรเลียกล่าวว่า

“นี่ไม่ใช่สถานการณ์ปกติ สิ่งที่เรากำลังเผชิญคือความเหลื่อมล้ำในชุมชนออสเตรเลียที่เพิ่มมากขึ้น และจะสร้างความเสียหายต่อสังคม เศรษฐกิจ และสถานะของประชาธิปไตยของเรา”
People holding a miniature wooden house
บ้านไม้จำลอง Credit: Pexels/Kindel Media
ความเหลื่อมล้ำทางการเงินที่เพิ่มขึ้นนี้กำลังสร้างปัญหาด้านจริยธรรมด้วย

“นี่เป็นคำถามทางจริยธรรมอันล้ำลึกที่เราต้องเผชิญ ในฐานะที่เราจัดว่าเป็นประเทศที่ร่ำรวย"
เราควรตระหนกว่าเรามีกลุ่มคนที่มีรายได้ต่ำ ที่ต้องอดอาหารบ่อยๆ ใช้ชีวิตด้วยความกลัวว่าจะเป็นคนไร้บ้าน ในขณะที่เรามีกลุ่มคนที่ร่ำรวยที่รวยมากกว่าเดิมมาก
ผู้อำนวยการของสมาพันธ์การบริการสังคมแห่งออสเตรเลียกล่าว
หลายคนกล่าวว่าช่องว่างของความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้นเพราะราคาอสังหาริมทรัพย์ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

การวิเคราะห์ล่าสุดโดยสถาบันอสังหาริมทรัพย์แห่งออสเตรเลีย (Real Estate Institute of Australia) ระบุว่าราคาอสังหาริมทรัพย์มีราคาแพงเกินความจริง 29 เปอร์เซ็นต์ คุณโจอี โมโลนี (Joey Moloney) จากสถาบันกรัททัน (Grattan Institute) กล่าวว่าราคาอสังหาริมทรัพย์ที่สูงขึ้นนี้ส่งผลให้ความมั่งคั่งกระจุกตัวอยู่ในกลุ่มคนออสเตรเลียไม่กี่คน

“การถือครองอสังหาริมทรัพย์นับเป็น 2 ใน 3 ของความมั่งคั่งในครัวเรือนที่ออสเตรเลีย และสิ่งที่เราเห็นในช่วง 20-30 ปีที่ผ่านมาคือราคาที่พุ่งสูงขึ้นอย่างมาก มากเกินอัตราการเติบโตของค่าแรง รวมถึงอัตราการถือครองบ้านที่ลดลง สิ่งนี้หมายความว่ามีคนไม่กี่คนที่สามารถถือครองบ้านในราคาที่แพงขึ้นได้ ชัดเจนว่าช่องว่างของความเหลื่อมล้ำเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำในระยะยาวคือการแก้ปัญหาตลาดอสังหาริมทรัพย์ การเพิ่มจำนวนบ้าน การลดหยอนภาษีเพื่อชะลอการเติบโตของตลาดอสังหาริมทรัพย์ เพื่อลดความไม่เท่าเทียม”

การให้ความช่วยเหลือด้านรายได้ การลดหย่อนภาษี และการปฏิรูปที่อยู่อาศัยเป็นข้อเสนอแนะเชิงนโยบายเพื่อลดปัญหาเรื่องความเหลื่อมล้ำแก่รัฐบาลสหพันธรัฐ ก่อนจะแถลงงบประมาณในเดือนพฤษภาคมนี้


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand