มีโครงการใหม่ที่กระตุ้นให้ผู้คนแจ้งเหตุถูกเหยียดเชื้อชาติ

9 ใน 10 ของผู้คนที่เคยถูกเหยียดเชื้อชาติ ไม่ได้แจ้งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้เจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทราบ โดยรายงานล่าสุดพบ คนจำนวนมากที่เคยถูกเลือกปฏิบัติเพราะเชื้อชาติหรือศาสนาเชื่อว่า แจ้งไป ก็ไม่มีประโยชน์อะไร

A new anti-racism network is encouraging people of diverse backgrounds to report racist attacks in Australia.

A new anti-racism network is encouraging people of diverse backgrounds to report racist attacks in Australia. Source: SBS News/Abby Dinham

เชมซิยา วาโค วาริทู (Shemsiya Wako Waritu) เป็นผู้หนึ่งที่เคยถูกคนพูดจาเหยียดเชื้อชาติของเธอมาหลายครั้ง

คุณ วาริทู สตรีชาวมุสลิมเชื้อสายเอธิโอเปีย อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาราว 10 ปีแล้ว และเธอได้กลายเป็นพี่เลี้ยง (mentor) ที่คอยชี้แนะแนวทางให้แก่คนอื่นๆ ที่มีความศรัทธาทางศาสนาเช่นเดียวกับเธอ

แต่เมื่อคนแปลกหน้ากลุ่มหนึ่งบอกกับเธอและลูกสาวให้ “กลับประเทศไปซะ” เธอตัดสินใจไม่แจ้งเหตุการณ์นี้ให้เจ้าหน้าที่ทราบ

“สำหรับฉันแล้ว สิ่งที่ดีที่สุดที่ทำได้คือ เงียบเสียแล้วเดินออกมาจากตรงนั้น ซึ่งพวกเราก็ทำเช่นนั้น” เธอบอกกับ เอสบีเอส นิวส์ “พวกเราแค่เดินออกมา และจากนั้นฉันแค่บอกกับเธอถึงประสบการณ์ที่ประเทศของฉันและบอกว่าประเทศนี้ให้อะไรแก่ฉันอย่างมากมายเพียงไร”

คุณวาริทู กล่าวว่า การเหยียดเชื้อชาติเป็นปัญหาหนึ่งที่สตรีมุสลิมจำนวนมากต้องเผชิญเป็นประจำทุกวันในออสเตรเลีย โดยถูก “หมายหัว” จากสีผิว หรือจากการแต่งกายตามหลักศาสนา

เธอมีเพื่อนที่เคยถูกถ่มน้ำลายใส่ เคยถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าสัมภาษณ์งาน และเคยถูกเรียกอย่างล้อเลียน เช่น “หัวผ้าอ้อม”

“สิ่งที่ยากลำบากมากขึ้นคือ เมื่อเรารู้สึกว่าไม่มีสิ่งอื่นใดที่เราสามารถทำได้เกี่ยวกับเรื่องนี้ เมื่อเรารู้สึกว่าไม่มีที่ใดที่เราสามารถนำปัญหานี้ไปปรึกษาได้” คุณวาริทู กล่าว

การศึกษาวิจัยล่าสุดพบว่า คุณวาริทูไม่ใช่ผู้เดียวที่ประสบปัญหาเหล่านี้

จากการสำรวจของมหาวิทยาลัยวิกตอเรียพบว่า ร้อยละ 64 ของผู้ตอบแบบสำรวจเคยถูกเหยียดเชื้อชาติ หรือสมาชิกในครอบครัวของพวกเขาเคยประสบเรื่องนี้ในช่วง 12 เดือนที่ผ่านมา แต่มีเพียงร้อยละ 13 เท่านั้นที่แจ้งเรื่องให้ทางการทราบ

รายงานดังกล่าวพบว่า เหตุผลหลักที่เก็บเรื่องเงียบไว้ เพราะพวกเขารู้สึกว่า จะไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลงถึงแม้จะแจ้งทางการไป หรืออาจมีผลเสียตามมา

ขณะนี้ มหาวิทยาลัยวิกตอเรียและ ได้เปิดตัวโครงการที่พวกเขาเรียกว่าเป็นเครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติในท้องถิ่นแห่งแรกของออสเตรเลีย

เครือข่ายดังกล่าว ช่วยเสริมสร้างทักษะขององค์กรชุมชนในท้องถิ่นให้สามารถเป็นผู้ปกป้องด่านหน้าสำหรับผู้คนถูกเหยียดเชื้อชาติ โดยช่วยให้ผู้คนมากขึ้นเปิดเผยถึงเหตุการณ์ที่พวกเขาประสบ ช่วยคนเหล่านั้นให้เข้าถึงบริการต่างๆ และช่วยแจ้งเหตุการณ์เป็นลายลักษณ์อักษร

ในวันเปิดตัวโครงการเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พ.ค. ที่ผ่านมา สมาชิกชุมชนเชื้อสายเมารี (Maori) ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของเมลเบิร์น ได้แสดงการเต้นฮากา (Haka) ในพิธีเปิดโครงการ พร้อมเรียกร้องให้ผู้ที่ถูกเหยียดเชื้อชาติ อย่าปล่อยให้เหตุการณ์ผ่านไปโดยไม่รายงาน
Members of Maori community perform the Haka
Source: SBS/Abby Dinham
ไทสัน ทูอาลา (Tyson Tuala) เป็นชายชาวเมารีที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมาตั้งแต่ปี 2011 เขากล่าวว่า เขามักถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าไปยังสถานที่สาธารณะบ่อยครั้ง เพราะความที่เขาเป็นคนรูปร่างใหญ่และลายสักตามวัฒนธรรมบนร่างกายของเขา แต่ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมานั้น เขาไม่เคยปริปากเกี่ยวกับเรื่องนี้เลย

“จากประสบการณ์ของผม มันไม่ใช่เรื่องใหญ่สำหรับพวกเรา” เขาบอกกับเอสบีเอส นิวส์ “พวกเราพบเรื่องนี้บ่อยมากจนเกือบเป็นสิ่งปกติไปแล้ว ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าเป็นห่วง”

คุณทูลาอา กล่าวว่า บางคนยินดีที่จะมองข้ามเหตุการณ์ถูกเหยียดเชื้อชาติไปเสีย และพยายามมุ่งเน้นไปที่โอกาสต่างๆ ที่ออสเตรเลียมอบให้แก่พวกเขาแทน

“พวกเรารู้สึกสำนึกในบุญคุณอย่างมากที่ได้มาอยู่ที่นี่ พวกเราซาบซึ้งใจที่มีโอกาสมาที่นี่และได้รับชีวิตที่ดี ซึ่งบางทีอาจจะดีกว่าที่เราเคยมีที่บ้านเกิดด้วยซ้ำ”
Tyson Tuala says the Maori community in Australia is familiar with racism.
Tyson Tuala says the Maori community in Australia is familiar with racism. Source: SBS/Abby Dinham
ดร.มาริโอ พุกเคอร์ (Dr Mario Peucker) กล่าวว่า การเหยียดเชื้อชาติเกิดขึ้นแพร่หลายเพียงใดในออสเตรเลียนั้นไม่มีใครรู้แต่ชัด เนื่องจากผู้ประสบเหตุมักไม่รายงานเกี่ยวกับเหตุการณ์เหล่านี้อย่างเป็นทางการ

“ส่วนหนึ่งของปัญหานี้คือ เรามีการแจ้งเกี่ยวกับเหตุการณ์นี้น้อยกว่าเหตุที่เกิดขึ้นมาก เราจึงไม่รู้แน่ชัดถึงขอบเขตของการเหยียดเชื้อชาติในสังคม เราจึงไม่สามารถบอกได้ว่า ได้มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยสำคัญเกิดขึ้นหรือไม่” ดร.พุกเคอร์ กล่าว

เขากล่าวต่อไปว่า แต่สิ่งหนึ่งที่รู้แน่ชัดคือ จำเป็นต้องมีการทำอะไรมากกว่านี้ในการป้องกันไม่ให้เรื่องนี้เกิดขึ้นซ้ำอีก

“เราสามารถพัฒนาโครงการต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติที่ออกแบบให้เหมาะกับคนกลุ่มต่างๆ โดยเฉพาะได้ มีโครงการต่างๆ เพื่อป้องกัน มีการอบรมสำหรับผู้พบเห็นการเหยียดเชื้อชาติ มีสิ่งต่างๆ เหล่านี้ทั้งหมด ตำรวจก็สามารถจัดเจ้าหน้าที่ลาดตระเวนมากขึ้นในสวนสาธารณะ หากมีพื้นที่ใดที่ปัญหานี้เกิดขึ้นต่อเนื่อง”
Victoria University Dr Mario Peucker led the research
Source: SBS/Abby Dinham
การวิจัยดังกล่าวพบว่า คนส่วนใหญ่ที่เคยรายงานเหตุการณ์การถูกเหยียดเชื้อชาติกล่าวว่า พวกเขาไม่ได้รับการสนับสนุนอย่างที่หวังไว้ และกว่าครึ่งหนึ่งกล่าวว่า พวกเขาคงจะไม่รายงานเหตุการณ์อีกในครั้งต่อๆ ไป

เครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติใหม่นี้ ถูกออกแบบมา ไม่เพียงแต่เพื่ออำนวยความสะดวกให้ในการแจ้งหรือรายงานเหตุการณ์เหยียดเชื้อชาติเท่านั้น แต่ยังให้การสนับสนุนอย่างเหมาะสมกับวัฒนธรรมของผู้ถูกเหยียดเชื้อชาติด้วย

คุณ พอลี คิยากา (Poly Kiyaga) เป็นผู้ลี้ภัยจากประเทศซูดานใต้ ที่ย้ายมาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อปี 2000 พร้อมกับภรรยาและลูกสองคน ขณะนี้ เขาเป็นผู้หนึ่งที่ทำงานช่วยเหลือชุมชนให้แก่

เขากล่าวว่า การนำชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมเป็นกุญแจสำคัญที่จะนำไปสู่ความสำเร็จของเครือข่ายต่อต้านการเหยียดเชื้อชาติ

“เราสามารถเสนอชื่อผู้เป็นตัวแทนเครือข่าย ซึ่งที่นั่นจะมีคนที่พวกเรารู้จัก มีคนที่พูดภาษาของเรา ที่ที่เราจะสามารถเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นได้ และจะมีคนที่รับฟังเรา”

คุณคิยากา กล่าวว่า ปัญหาการเหยียดเชื้อชาติต่อคนในชุมชนชาวซูดานใต้ในออสเตรเลียนั้นเป็นปัญหาใหญ่ แต่ผู้คนไม่ค่อยพูดถึงมัน

เขากล่าวว่า เขาเคยได้ยินคนในชุมชนของเขาเล่าว่า ตนไม่ได้รับบริการเมื่อยืนเข้าแถวรอที่ร้านกาแฟ เคยถูกปฏิเสธความช่วยเหลือเพราะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้เมื่อโทรศัพท์ไปยังบริการฉุกเฉินต่างๆ และถูกหมายหัวจากเจ้าหน้าที่รัฐเพราะสีผิวของพวกเขา
Wyndham Community and Education Centres Poly Kiyaga
Source: SBS/Abby Dinham
แต่คุณคิยากา กล่าวว่า เป็นเรื่องสำคัญที่คนรุ่นต่อไปที่เป็นลูกหลานของพวกเขาจะต้องเห็นพ่อแม่ยืนขึ้นต่อสู้กับการเหยียดเชื้อชาติ

“พวกเขาคิดว่า ‘ฉันเป็นใครกันที่จะยืนขึ้นสู้ได้ ในเมื่อแม้แต่พ่อแม่ของฉันเองยังไม่สามารถทำได้เลย’ ดังนั้น พวกเราจึงจำเป็นต้องสร้างพลังให้พวกเขา เราจำเป็นต้องมีกลไกรับมือเมื่อเผชิญปัญหา ที่เราจะส่งต่อกลไกนี้ให้แก่ลูกหลานของเรา”

คุณคิยากา กล่าวว่า นี่จะช่วยหาทางแก้ปัญหาเรื่องนี้ ที่บ่อยครั้งมักถูกเพิกเฉย ไม่เพียงแต่ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของเมลเบิร์นเท่านั้น แต่ยังเกิดขึ้นทั่วประเทศออสเตรเลียอีกด้วย


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 18 May 2021 2:16pm
Updated 18 May 2021 2:36pm
By Abby Dinham
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand