“เราไม่สามารถแยกตัวจากทั้งโลกได้”: ผู้เชี่ยวชาญเตือนออสเตรเลีย

คณะทำงานเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน คาดการณ์ว่า ชาวออสเตรเลีย โดยเฉพาะรุ่นของคนอายุน้อยๆ อาจเผชิญกับ “ทศวรรษที่หายไป” หากออสเตรเลียไม่ก้าวไปสู่การกลับมาเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง

Travellers at Sydney Airport.

A taskforce of multi-disciplinary experts has forecast Australians, especially younger generations, may face a lost decade if the country doesn't reopen. Source: AAP

คณะทำงานเฉพาะกิจซึ่งประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายด้าน ได้วางแผนแม่บทสำหรับการเปิดประเทศออสเตรเลียสู่ส่วนที่เหลือของโลกอีกครั้ง

ในรายงานดังกล่าวที่ใช้ชื่อว่า A Roadmap to Reopening โต้แย้งว่า การปิดพรมแดนระหว่างประเทศที่เป็นอยู่ขณะนี้ อาจส่งผลเสียร้ายแรงต่อชื่อเสียงของประเทศในระดับนานาชาติ และแนะนำให้มีทราเวลบับเบิล (travel bubbles) สำหรับบางภาคอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนัก เช่น ภาคศิลปะ

คณะทำงานเฉพาะกิจเห็นว่า การยืนกรานที่จะใช้มาตรการขจัดเชื้อโควิดให้หมดไป (COVID elimination) แทนที่จะใช้กลยุทธ์การอยู่ร่วมกับไวรัส เป็นสิ่งที่ “น่าผิดหวัง” ขณะที่ร่างงบประมาณแผ่นดินคาดการณ์ว่า การเดินทางไปต่างประเทศจะยังคงอยู่ในระดับต่ำต่อไปจนถึงกลางปี 2022

“ออสเตรเลียไม่สามารถปิดพรมแดนอย่างไม่มีกำหนดเปิดได้ เพราะเหตุผลง่ายๆ คือ มันจะส่งผลเสียอย่างร้ายแรงต่อเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรมของเรา” นายทิม สุตพรหมเสน (Tim Soutphommasane) อดีตกรรมาธิการต่อต้านการเลือกปฏิบัติเพราะเชื้อชาติและเป็นผู้ให้การสนับสนุนการจัดทำรายงานนี้ กล่าว

“เราเป็นชาติการค้าและเป็นชาติพหุวัฒนธรรม สังคมและวัฒนธรรมของเราไม่สามารถแยกตัวออกจากส่วนอื่นของโลกได้”

“มันน่าผิดหวังที่เราได้เห็นแนวความคิด ‘ออสเตรเลียที่ล้อมรอบด้วยป้อมปราการ’ เกิดขึ้น ซึ่งทำให้เราหันหลังให้ส่วนที่เหลือของโลก”
Autoridades piden a residentes de Nueva Gales del Sur 'reconsiderar' viajes a Melbourne
Ongoing border closures have barred many including Australian citizens from returning to Australia. Source: Getty Images/simonkr
รายงานฉบับนี้ เรียกร้องให้มีขั้นตอนไปสู่การเปิดพรมแดนระหว่างประเทศอีกครั้ง โดยขึ้นอยู่กับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ที่กว้างขวางและรวดเร็ว ข้อกำหนดด้านการตรวจเชื้อก่อนเดินทางและการมีภูมิคุ้มกันโรคสำหรับผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ และมีระบบการกักตัวที่แข็งแกร่งและออกแบบให้เฉพาะคนมากขึ้น

“เราประสบความสำเร็จอย่างสูงในการปราบปรามเชื้อโควิด-19 ซึ่งเราอาจกล่าวได้ว่า เรากำลังชนะสงครามต่อต้านโควิด-19 แต่หากเราไม่ระมัดระวัง เราอาจลงเอยด้วยการสูญเสียความสงบสุขได้” นายทิม สุตพรหมเสน กล่าว

“ขอให้ระลึกว่า ประชากรออสเตรเลียราวครึ่งหนึ่งที่เกิดในต่างประเทศ หรือมีพ่อหรือแม่ที่เกิดในต่างประเทศ ดังนั้น การที่พรมแดนปิดไม่ได้แค่หมายความว่า ผู้คนถูกห้ามไม่ให้เดินทางไปพักผ่อนในต่างประเทศเท่านั้น”

“มันยังหมายความว่า ไม่มีความแน่นอนที่ผู้คนจะได้พบกับสมาชิกครอบครัวที่อยู่ต่างประเทศเมื่อใด”

ความเสี่ยงของการกลายเป็น “ชาติฤาษี” ผู้ตัดขาดจากโลกภายนอก

งานวิจัยที่จัดทำโดย Sydney Policy Lab ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ ที่ทำขึ้นพร้อมๆ กับรายงานฉบับนี้ พบว่า ร้อยละ 55 ของผู้ตอบแบบสอบถาม สนับสนุนการเดินทางระหว่างประเทศกับประเทศที่ประชากรได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้วและสามารถควบคุมสถานการณ์โควิด-19 ได้ ร้อยละ 54 สนับสนุนการให้นักเรียนต่างชาติเดินทางเข้ามาได้ หากพวกเขาได้รับการฉีดวัคซีนครบถ้วนแล้วและกักตัวภายใต้ระบบกักตัวที่มหาวิทยาลัยจัดให้

ขณะเดียวกัน ร้อยละ 53 สนับสนุนการเดินทางเข้าประเทศและการกักตัวสำหรับผู้ทำงานสายครีเอทีฟ (creative) ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบแล้วและเป็นผู้ที่มีส่วนร่วมกับโครงการใหญ่ต่างๆ ในออสเตรเลีย

“เราไม่ได้แนะนำให้กลับไปสู่ระดับก่อนเกิดโควิด แน่นอนว่า เราจำเป็นต้องปกป้องประชากรให้ปลอดภัย แต่เราไม่เชื่อว่า ประชากรทั้งหมดต้องได้รับการฉีดวัคซีนเสียก่อน เราจึงจะเปิดพรมแดนได้” นายสุตพรหมเสน กล่าว

“เรากำลังแนะนำให้มีการเปิดพรมแดนออสเตรเลียอีกครั้ง โดยทำอย่างมีการควบคุมดูแล ทำเป็นขั้นๆ และมีการชั่งน้ำหนักความเสี่ยง”
รายงานดังกล่าวเตือนถึงความเสี่ยงของการไม่เปิดพรมแดนอีกครั้ง โดยเฉพาะรุ่นของคนอายุน้อยๆ ที่อาจกำลังเผชิญ “ทศวรรษที่หายไป”

“ช่วงปลายปีที่แล้ว ทันใดนั้นเองเราได้ตระหนักว่า มีภาคส่วนของสังคมออสเตรเลียเกือบทั้งหมดที่มีความวิกตกกังวลเพิ่มมากขึ้นเกี่ยวกับอนาคต” ศ.มาร์ก สเตียส์ ผู้อำนวยการของ Sydney Policy Lab ของมหาวิทยาลัยซิดนีย์ บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“ทั้งรัฐบาลสหพันธรัฐและรัฐบาลของรัฐต่างๆ ได้รับมือกับความท้าทายของโรคระบาดได้อย่างดีเยี่ยม ดีกว่าประเทศประชาธิปไตยอื่นๆ ทั่วโลก แต่ผลของการหมกมุ่นกับวิกฤตที่เกิดขึ้นเบื้องหน้า จึงมีการมองไปยังขอบฟ้าไกลน้อยลง”

ศ.สเตียส์ มองว่า โครงการฉีดวัคซีนโควิดให้ประชาชนที่ทำอย่างแข็งขันมากขึ้น เป็นก้าวสำคัญที่ประเทศจะกลับไปเปิดพรมแดนอีกครั้งได้ แต่ “เราไม่ต้องการรอจนกว่าคนสุดท้ายในประเทศจะได้รับการฉีดวัคซีน เราจึงจะเริ่มยุ่งเกี่ยวกับประเทศอื่นอีกครั้ง”

“เราได้เห็นสิ่งดีเยี่ยมที่สุดของออสเตรเลียในช่วงโควิด เมื่อผู้คนร่วมใจกันรับมือกับสถานการณ์ แต่เรายังได้เห็นเสี้ยวหนึ่งของความเลวร้ายที่สุดในด้านของการเหยียดเชื้อชาติ ความเกลียดชังชาวต่างชาติ และความตื่นกลัว”

“สิ่งที่เราไม่ต้องการเห็นในระยะต่อมาของช่วงเกิดโรคระบาดคือ ผู้คนพากันหลบภัยอยู่ใน ‘ชาติฤาษี’ (ที่ตัดขาดจากโลกภายนอก) แต่เราต้องการส่งเสริมให้ผู้คนมองไปข้างหน้าอีกครั้ง”
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Published 17 May 2021 1:12pm
Updated 31 May 2021 7:27pm
By Jennifer Scherer
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand