แหวน กล่องลึกลับ และคิวอาร์โคด: กลโกงมิจฉาชีพแบบใหม่ล่าสุด

หญิงชาวซิดนีย์ผู้หนึ่งคิดว่าเธอได้สั่งซื้อเสื้อผ้าแบรนด์ดังออนไลน์ แต่เมื่อของมาส่งกลับเปิดเจอแหวนเพชร

Composite image of a woman and a box containing a diamond ring

คุณ ลอรา รามอส ได้รับกล่องพัสดุที่มีแหวนเพชรข้างในแต่ไม่ระบุว่าใครเป็นผู้ส่ง Source: Supplied / Laura Ramos


คุณ ลอรา รามอส เจอโฆษณาเสื้อผ้าแบรนด์ดังของออสเตรเลียกำลังลดกระหน่ำด้วยการเซลล์เสื้อผ้าออนไลน์ ที่มีราคาถูกสุดๆ เพียงตัวละ 7 ดอลลาร์เท่านั้น

และเมื่อคลิกผ่านโฆษณาพอปอัปบนโซเชียลมีเดีย คุณ ลอรา จากนครซิดนีย์ก็สั่งซื้อเสื้อผ้าที่กำลังเซลล์นี้ไปประมาณ 70 ดอลลาร์ คุณ รามอส อธิบายลักษณะของเว็บไซต์นี้ว่า

“มีโลโก้แบรนด์แปะอยู่ รูปถ่ายที่ใช้ก็แบบเดียวกับที่ใช้บนเว็บไซต์ (ของจริง) และมีสินค้าเหมือนกันเป๊ะ”

“ดูแล้วแล้วพวกเขาก็อปทุกอย่างยกเว้นราคา”


เมื่อคุณรามอส สั่งซื้อสินค้าแล้ว เธอก็ให้จัดส่งไปที่ที่ทำงาน แต่เมื่อผ่านไปนานกว่าหนึ่งเดือนและไม่ได้ของ เธอก็ตระหนักว่า 'การลดราคากระหน่ำ' นั้นเป็นกลโกง

แต่ต่อมา ของก็มาถึง ซึ่งเมื่อเธอเปิดดูก็พบว่าเป็นแหวนเพชร พร้อมด้วยโบรชัวร์ที่มีรหัส QR ซึ่งดูเหมือนจงใจกระตุ้นให้คนสแกนหาข้อมูลเพิ่มเติม คุณรามอสอธิบายเหตุการณ์เมื่อเธอได้รับพัสดุดังกล่าวว่า

“ฉันรู้สึกตกใจมาก เพราะมันไม่มีชื่อที่อยู่ของผู้ส่ง ไม่มีอะไรที่ฉันสามารถตรวจสอบหรือติดตามได้ จากนั้นฉันก็โพสต์ออนไลน์ (และ) ทุกคนในที่ทำงานก็ตกใจ”

“พวกเขาพูดประมาณว่า 'อะไรกันเนี่ย แฟนของเธอขอแต่งงานหรือเปล่า'”

แต่คุณรามอสรู้ว่าแฟนของเธอไม่ได้ขอแต่งงาน หลังจากนั้นนเธอและเพื่อนร่วมงานจึงเริ่มสืบเรื่องนี้

A woman sitting outside in the evening smiling at camera
พัสดุที่มาถึงเมื่อเธอเปิดดูก็พบว่าเป็นแหวนเพชรที่เธอไม่ได้สั่งซื้อ Source: Supplied / Laura Ramos
หลังจากตามหาแหล่งที่มาของกล่องปริศนาทางออนไลน์ ในที่สุด พวกเขาก็พบกับวิดีโอจาก Sassy Gal Prepping ผู้สร้าง YouTube ที่ได้รับแหวนทางไปรษณีย์อย่างลึกลับในปี 2023

จากวิดีโอ แหวนดังกล่าวไม่ใช่เพชรจริง และการส่งของก็ดูซับซ้อน ซ่อนเงื่อน โดยเหยื่อจะถูกแฮกหากพวกเขาสแกนโคดและป้อนรายละเอียดของพวกเขา

คุณ รามอสกล่าวว่าก่อนหน้านี้เธอพยายามสแกน QR โคดแต่ไม่สำเร็จ

เธอเชื่อว่าการตั้งค่าความปลอดภัยบน iPhone ของเธอตรวจพบว่าลิงก์นั้นน่าสงสัยและทำการบล็อกไว้

แม้ว่าเธอไม่มีหลักฐานว่า มิจฉาชีพที่อยู่เบื้องหลังขบวนการนี้จะเป็นคนกลุ่มเดียวกันหรือไม่ แต่เธอสงสัยว่าพวกเขามีความเชื่อมโยงกัน เนื่องจากปกติแล้วเธอไม่ค่อยคลิกลิงก์ที่มีความผิดปกติหรือการขายของลดราคาออนไลน์ คุณรามอส เปิดเผยว่า

“ฉันว่าฉันค่อนข้างรมีดระวังตัวในเรื่องนี้ ฉันไม่เคยคลิกลิงก์หรืออะไรทำนองนั้นเลย”

“แต่สำหรับครั้งนี้ที่ฉันตัดสินใจซื้อ เพราะมันค่อนข้าง 'น่าสนใจ' เพราะของลดเยอะมากในเว็บนั้น แต่ฉันก็ไม่เคยเจอปัญหานี้มาก่อน”

กลลวงแบบ brushing scam คืออะไร?

พัสดุลึกลับที่คุณ ลอร่า รามอส ได้รับอาจเป็นรูปแบบหนึ่งของ 'การหลอกลวงแบบ brushing scam'

เว็บไซต์ความปลอดภัยทางไซเบอร์ LifeLock โดย Norton ชี้ว่าการหลอกลวงแบบ brushing scam เป็นการฉ้อโกงอีคอมเมิร์ซประเภทหนึ่งที่เหยื่อจะได้รับพัสดุที่พวกเขาไม่เคยสั่ง

มิจฉาชีพจะเริ่มต้นด้วยการได้รับรายละเอียดของเหยื่อ ซึ่งพวกเขาสามารถใช้เพื่อเปิดบัญชีหลายร้อยบัญชีในร้านค้าออนไลน์ที่ขายสินค้าแบบปลอมๆ

จากนั้น พวกเขาจะ 'ซื้อ' สินค้าของตนเอง ส่งไปยังที่อยู่ของเหยื่อ และโพสต์รีวิวปลอมบนเว็บไซต์ของตน เพื่อทำให้สินค้าที่อยู่ในหน้าเว็บดูเหมือนจริง

LifeLock ยังกล่าวว่าสัญญาณสำคัญของกลโกงแบบ brushing scam' คือการได้รับสินค้าที่คุณไม่ได้สั่งซื้อ และไม่มีที่อยู่สำหรับส่งคืน แต่หลังจากนั้นชื่อของคุณจะปรากฏบนรีวิวของสินค้าเหล่านี้

หากคุณตกเป็นเหยื่อในการหลอกลวง ข้อมูลส่วนบุคคลและข้อมูลทางการเงินของคุณอาจถูกเปิดเผย

ทำให้คุณมีความเสี่ยงสูงที่จะถูกขโมยข้อมูลส่วนตัว คำแนะนำของ LifeLock บอกว่าคุณควรจับตาดูบัญชีธนาคารของคุณอย่างใกล้ชิดสำหรับการเข้าออกเงินในบัญชีที่น่าสงสัย

จะตรวจจับการหลอกลวงออนไลน์ได้อย่างไร?

จากข้อมูลของ ระบุว่าเมื่อปีที่แล้วชาวออสเตรเลียสูญเสียเงิน 74 ล้านดอลลาร์จากการหลอกลวงทางออนไลน์

การหลอกลวงมีหลายแบบซึ่งรวมไปถึงการสร้างเว็บไซต์ปลอมให้ดูเหมือนสินค้าแบรนด์ดัง หรือแอบอ้างเป็นคนดังเพื่อให้คำแนะนำต่างๆ

การหลอกลวงเว็บไซต์นี้อาจรวมถึงแบนเนอร์พอปอัปหรือมีคำเตือนที่เด้งขึ้นมาตามหน้าฟีดในอินเตอร์เน็ต หรือข้อความที่บอกว่าคุณดำเนินการผิดเพื่อกดดันให้ผู้ใช้ดำเนินการอะไรบางอย่าง


ด้าน บริการ Scamwatch ของคณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภคแห่งออสเตรเลีย (ACCC) กล่าวว่าสัญญาณเตือนเกี่ยวกับการหลอกลวงของมิจฉาชีพในเว็บไซต์ขายสินค้านี้อาจรวมถึง:
  • การขายสินค้าราคาถูกกว่าปกติมาก
  • มีวิธีการชำระเงินที่ผิดปกติ
  • มีคำเตือนหรือข้อความแสดงข้อผิดพลาด 'ด่วน'
  • มีรีวิวที่คลุมเครือหรือมีรีวิวเชิงบวกเท่านั้น
คุณ รามอสกล่าวว่าจากประสบการณ์นี้เธอแนะนำว่าควรหาข้อมูลให้มากขึ้นก่อนตัดสินใจซื้อสินค้าเหล่านั้น เพื่อที่จะได้ไม่เป็นเหยื่อของเหล่ามิจฉาชีพ

“ขั้นตอนแรกที่สำคัญที่สุดคือการตรวจสอบ และตรวจสอบเว็บไซต์ที่คุณซื้อสินค้าอีกครั้ง” เธอกล่าว

“และเปิดหน้าใหม่บนเว็บไซต์ แล้วลองหาชื่อที่อยู่ถัดจากเว็บไซต์ปลอมและดูว่ามีอะไรปรากฏขึ้นหรือไม่”

Scamwatch ยังแนะนำว่าก่อนที่จะจ่ายเงินหรือให้รายละเอียดส่วนบุคคลใดๆ นั้นอย่าหลงเชื่อรีวิว

อย่าเชื่อรีวิวบนเว็บไซต์ แต่ให้ค้นหารีวิวอิสระบนเว็บไซต์อื่น ๆ
Scamwatch

"หากข้อเสนอหรือการลดราคาดูดีเกินจริง ก็มีโอกาสเป็นไปได้ว่าเป็นกลลวง คุณควรศึกษาข้อมูลให้ถ่องแท้ก่อนที่จะหลงเชื่อและซื้อสินค้าเหล่านั้น"

หากคุณคิดว่าคุณตกเป็นเหยื่อ โปรดติดต่อผู้ให้บริการธนาคารของคุณทันทีเพื่อรายงานเรื่องนี้ ขอให้พวกเขาหยุดการทำธุรกรรม และเปลี่ยนรหัสผ่านบนอุปกรณ์อิเลกทรอนิกส์ของคุณทั้งหมด

หากคุณมีข้อกังวลด้านความปลอดภัยทางไซเบอร์หรือคิดว่าข้อมูลประจำตัวของคุณถูกแฮก โปรดติดต่อ IDCARE ที่หมายเลข 1800 595 160



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 



บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 23 July 2024 9:30am
By Jessica Bahr
Presented by Chayada Powell
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand