ด้านดีและด้านมืดของการซื้อของออนไลน์

การซื้อของออนไลน์อาจสะดวกสบาย แต่ก็มีความเสี่ยง

การซื้อของออนไลน์อาจสะดวกสบาย แต่ก็มีความเสี่ยง Source: Moment RF / Oscar Wong/Getty Images

การช้อปปิ้งออนไลน์อาจให้ความสะดวกสะบายและให้ส่วนลดแก่ลูกค้า แต่มันก็มีความเสี่ยงเช่นกัน ร้านขายของออนไลน์จะเก็บข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า และสแกมเมอร์สามารถใช้ประโยชน์จากการซื้อขายออนไลน์ได้ โดยการมุ่งเป้าไปที่ลูกค้าที่ประสบการณ์น้อย


กระแสการซื้อของออนไลน์สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และดีดตัวขึ้นอีกหลังการล็อกดาวน์ จากการระบาดของโควิด-19

การวิจัยล่าสุดพบว่า ประชากรออสเตรเลีย 1 ใน 5 ซื้อของออนไลน์ การวิจัยอีกตัวหนึ่งพบว่าการซื้อของในซุปเปอร์มาร์เก็ตแบบออนไลน์เพิ่มขึ้นเกือบสามเท่าในช่วงการระบาด

ด็อกเตอร์หลุยส์ กริมเมอร์ (Dr Louise Grimmer) นักวิจัยและอาจารย์สอนวิชาการตลาด ภาควิชาธุรกิจและเศรษฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยแทสเมเนีย (University of Tasmania) กล่าวว่า ก่อนวิกฤตโควิด ร้านค้ารายใหญ่มีการขายออนไลน์ที่ดีอยู่แล้ว วิกฤตโควิดบังคับให้ร้านค้าหลายร้านต้องมีหน้าร้านออนไลน์ หรือปรับปรุงแพลตฟอร์มและบริการทางดิจิทัล

“ก่อนการระบาด มีผู้บริโภคของออสเตรเลียซื้อของออนไลน์เพียง 40 เปอร์เซ็นต์ ตอนนี้เราผ่านวิกฤตการระบาดมาแล้ว และหลายคนยังคงซื้อแบบออนไลน์ ตัวเลขเพิ่มขึ้นมาก ขณะนี้ผู้บริโภคประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ซื้อของออนไลน์เป็นประจำ”
ด็อกเตอร์กริมเมอร์อธิบายว่า ร้านค้าหลายร้านปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อเสนอบริการออนไลน์และการจัดส่งที่ดีขึ้น ทั้งสิทธิประโยชน์และสิ่งล่อใจอื่นๆ เพื่อรักษาธุรกิจไว้

เธอกล่าวว่า ถึงแม้ว่าเว็บไซต์ขายปลีกออนไลน์มักช่วยลูกค้าประหยัดเงินด้วยการโฆษณาส่งเสริมการขาย แจกคูปองรางวัล การันตีคืนเงิน และข้อเสนอพิเศษต่างๆ ผู้บริโภคควรตระหนักว่าร้านเหล่านี้เก็บข้อมูลส่วนบุคคลและติดตามข้อมูลพฤติกรรมการซื้อของออนไลน์ด้วย

“ทุกวันนี้ ร้านค้าส่วนมาก ร้านใหญ่ๆ หรือร้านเล็กๆ มีโปรแกรมรักษาความสัมพันธ์ (Loyalty program) โดยคุณให้ข้อมูลของคุณไป เช่น อีเมล และคุณอาจได้อะไรบางอย่างตอบแทน อาจเป็นส่วนลด อาจเป็นบัตรกำนัลเพื่อใช้ในภายหลัง แน่นอนว่ามีการติดตาม (Tracking) ว่าคุณทำอะไรบนเว็บไซต์ และคุณต้องให้ข้อมูลส่วนตัวบางอย่าง”
ภาพเงาแฮกเกอร์กำลังดึงข้อมูล
ภาพเงาแฮกเกอร์กำลังดึงข้อมูล Source: Getty / Getty Images
ฐานข้อมูลที่มีข้อมูลลูกค้านั้น ร้านค้าสามารถนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางการตลาดได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย และยังสามารถเฝ้าดูหรือขายให้แก่ธุรกิจอื่น หากได้รับอนุญาตตามข้อตกลงของผู้ใช้

ข้อมูลเหล่านี้ดึงดูดอาชญากรทางไซเบอร์และแฮกเกอร์ (Hackers) ที่ต้องการใช้เพื่อประโยชน์ของตนเอง เนื่องจากข้อมูลส่วนตัวสามารถขายได้ในตลาดมืดเพื่อหากำไร

ความเสี่ยงอีกประการหนึ่งของการซื้อของออนไลน์คือร้านค้าปลอมที่ตั้งขึ้นโดยสแกมเมอร์ เพื่อขโมยเงินหรือตัวตน

รองประธานของคณะกรรมการการแข่งขันและผู้บริโภค เดเลีย ริกการ์ด (Delia Rickard) อธิบายว่า

“เดี๋ยวนี้สิ่งที่สแกมเมอร์ทำคือตั้งร้านปลอมขึ้น ไม่ว่าจะเป็นทางอินเตอร์เน็ตหรือที่พบได้บ่อยคือทางโซเชียลมีเดีย พวกเขาโฆษณาสินค้าที่มักจะมีราคาถูกมาก หรือมีผลประโยชน์ที่น่าทึ่ง ซึ่งดีเกินจริง”
คุณริกการ์ดกล่าวว่า หากเว็บไซต์ถามถึงการชำระเงินที่ผิดปกติ เช่น การโอนเงินผ่านธนาคาร จ่ายด้วยสกุลเงินดิจิทัล หรือบัตรกำนัล มีแนวโน้มว่าจะเป็นการฉ้อโกง

เธอเตือนอีกว่ามิจฉาชีพออนไลน์มักแอบอ้างเป็นหน่วยงานในออสเตรเลีย เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ
บ่อยครั้ง พวกเขาจะแสร้งทำเป็นบริษัทในออสเตรเลีย มีเลขประจำตัวเอบีเอ็น (ABN number) ของออสเตรเลีย ที่พวกเขาขโมยมา
คุณริกการ์ดเตือน
คุณริกการ์ดแนะนำให้นักช้อปออนไลน์ตรวจสอบเว็บไซต์ เพื่อศึกษากลโกงออนไลน์ รายงานการฉ้อโกงหรือขอความช่วยเหลือ

ข้อมูลออนไลน์ยังมีในหลายภาษา

“ในเว็บไซต์สแกมวอช เรามีสิ่งที่เรียกว่า สมุดบัญชีปกดำของการฉ้อโกง ที่ได้ถูกแปลไว้ในหลายภาษา”
แม่กุญแจบนแผงข้อมูล
แม่กุญแจบนแผงข้อมูล Credit: Getty Images
หากคุณถูกโกง คุณริกการ์ดแนะนำให้ติดต่อธนาคารของคุณทันที

เธอเสริมว่า ความต้องการที่เพิ่มขึ้นทำให้การจัดส่งสินค้าล่าช้าลง ส่งผลให้เป็นการยากขึ้นที่ผู้บริโภคจะบอกได้ว่าถูกโกงหรือเป็นความล่าช้าจริงๆ “มันยากขึ้นเรื่อยๆ ที่จะรู้ว่าคุณถูกโกงจากการซื้อของลดราคาออนไลน์หรือไม่ เพราะปัญหาการจัดส่ง นี่ยังคงหมายถึงว่าเราเริ่มคุ้นเคยกับหลายๆ สิ่งที่ใช้เวลานานกว่าเดิมในการได้รับของ และนั่นเป็นปัญหา เพราะยิ่งคุณรู้ว่าคุณถูกหลอกเร็วเท่าไหร่ และรีบบอกธนาคารของคุณ คุณจะสามารถปกป้องตัวคุณเองได้ดีขึ้น”

อย่างไรก็ตาม คุณริกการ์ดกล่าวว่า การฉ้อโกงทางออนไลน์หลายอย่างถูกออกแบบมาเพื่อให้สามารถเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล เช่น ชื่อ อายุ ที่อยู่ และข้อมูลทีเป็นที่ต้องการคือใบขับขี่และหมายเลขหนังสือเดินทาง

กลโกงเหล่านี้มักใช้เพื่อขโมยข้อมูลที่ระบุตัวตน

ตัวหนังสือสแกมบนแลปทอป
ตัวหนังสือสแกมบนแลปทอป Source: Getty / Getty Images
คุณริกการ์ดเรียกร้องให้ผู้ที่ถูกหลอกให้เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว ติดต่อสแกมวอชโดยเร็วที่สุด

คุณยังสามารถติดต่อทาง idcare.org หน่วยงานที่ได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลที่ช่วยต่อต้านการโจรกรรมข้อมูลระบุตัวตน

ด็อกเตอร์กริมเมอร์แนะนำให้นักช้อปออนไลน์ตรวจสอบเว็บไซต์ ก่อนที่จะชำระเงินหรือให้ข้อมูลส่วนตัว

“คุณสามารถดูได้จากเบราว์เซอร์ (Browser) ของคุณ ซึ่งมียูอาร์แอล (URL) ของร้าน ดูว่ามีรูปแม่กุญแจเล็กๆ หรือไม่ เพราะนั่นหมายความว่ามันเป็นเว็บที่ปลอดภัยที่คุณสามารถซื้อของได้ คุณยังสามารถค้นหาว่าเว็บนั้นเป็นเว็บที่มีชื่อเสียงหรือไม่ เป็นแหล่งที่ผู้คนซื้อของและมีประสบการณ์ที่ดีหรือไม่ และคุณสามารถดูได้จากการรีวิว (Review) และการให้คะแนน (Rating)”

ด็อกเตอร์กริมเมอร์แนะนำให้ผู้ที่ยังใหม่กับการซื้อของออนไลน์ปรึกษาครอบครัวหรือเพื่อนๆ เพื่อให้แน่ใจว่าแพลตฟอร์มร้านค้าที่เจอนั้นเชื่อถือได้

แม้ว่าจะไม่จำเป็นต้องติดต่อตำรวจ บางครั้งการทำสิ่งนั้นอาจช่วยได้ โดยเฉพาะหากสแกมเมอร์นั้นอยู่ในออสเตรเลีย

ณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand