อัลฟา เดลตา แคปปา สายพันธุ์ไวรัสโคโรนาที่คนในออสเตรเลียควรรู้

จากที่มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 เกือบสี่ล้านคน สาธารณสุขทั่วโลกต้องต่อสู้กับการกลายพันธุ์หลายครั้ง โดยเฉพาะไวรัส 3 สายพันธุ์ที่กำลังสร้างความกังวลในออสเตรเลียตอนนี้ โดยเดลตากำลังจะเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก และเป็นสาเหตุของการระบาดในซิดนีย์ครั้งล่าสุด

Alpha, Delta, Kappa

There are multiple mutations of COVID-19 that are causing great concern round the world. Three in particular has Australian health experts worried. Source: SBS News

ประเด็นสำคัญ

  • ไวรัสสายพันธุ์อะไรที่ทั่วโลกจับตา?
  • เดลตา: สายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด
  • อัลฟา: ยังคงเป็นที่น่ากังวล
  • แคปปา: อีกหนึ่งสายพันธุ์
  • วัคซีนของออสเตรเลียป้องกันสายพันธุ์เหล่านี้หรือไม่?

เป็นเวลากว่า 18 เดือนแล้วที่โควิด-19 เป็นสิ่งที่ทั่วโลกให้ความสนใจ เริ่มแพร่เชื้ออย่างรวดเร็วจากเมืองวูฮั่น ประเทศจืน ก่อนจะแพร่ระบาดและคร่าชีวิตผู้คนนับล้าน และสร้างความโกลาหลให้กับระบบสาธารณสุขทั่วทุกมุมโลก

ตอนนี้ยอดผู้เสียชีวิตทั่วโลกกำลังใกล้หลัก 4 ล้านคน บางครั้งมีผู้ติดเชื้อสูงถึง 180 ล้านคนพร้อมๆ กัน

ในระหว่างนี้ ไวรัสไม่เพียงแพร่เชื้อ แต่ยังกลายพันธุ์อีกหลายครั้ง เวลานี้มีไวรัสที่กลายพันธุ์จากไวรัสโควิด-19 หลายสายพันธุ์ที่สามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่า และมีหนึ่งสายพันธุ์ที่คาดว่าจะเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดเร็วๆ นี้

ไวรัสสายพันธุ์อะไรที่ทั่วโลกจับตา?

เมื่อปลายเดือนพฤษภาคม องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ตั้งชื่อใหม่ให้สายพันธุ์โควิดที่กลายพันธุ์ตามตัวอักษรกรีก

ในออสเตรเลีย มี 3 สายพันธุ์ที่เป็นที่น่ากังวล อัลฟา เดลตา และแคปปา สายพันธุ์เหล่านี้เป็นชนวนการเกิดการติดเชื้อที่พุ่งสูงในหลายภูมิภาคแถบยุโรปและในบางทวีปของโลก ในขณะที่สายพันธุ์ที่มีชื่อว่า เบตาและแกมมาก็สร้างความปั่นป่วนในแอฟริกาและอเมริกาใต้อยู่ในขณะนี้

องค์การอนามัยโลกกำลังจับตามองสายพันธุ์อัลฟา เบตา แกมมา และเดลตา โดยเดลตาเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่สุด
Family members wearing full PPE suits carry the remains of their elderly family member who died of COVID-19 in Johannesburg, South Africa.
The deadly Beta variant was first identified in South Africa, but health experts say there have been very very few cases of it in Australia. Source: EPA
โควิด-19 นั้นเกิดจากไวรัสตระกูลอาร์เอ็นเอ (RNA) ชนิดเดียวกับไวรัสที่ทำให้เกิดไข้หวัดใหญ่ (influenza)

ศาสตราจารย์โรเบิร์ต บูย (Robert Booy) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อแห่งมหาวิทยาลัยซิดนีย์และกลุ่มพันธมิตรสร้างภูมิคุ้มกันกล่าวว่า ไวรัสตระกูลอาร์เอ็นเอนั้นมีแนวโน้มที่จะกลายพันธุ์ “ง่ายมาก”

“เช่นเดียวกับไข้หวัดใหญ่ โควิด-19 ไม่สามารถสร้างสำเนาของตัวเองได้ ดังนั้นเซลล์ต้นกำเนิดหรือลูกหลานของไวรัสตัวเดียวกัน จึงมีความแตกต่างกันเล็กน้อย โดยกลายพันธุ์จากไวรัสต้นกำเนิด” ศจ. โรเบิร์ตกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์

“ไวรัสต้องการอยู่รอดเหมือนคุณและผมที่อยากอยู่รอด ดังนั้นถึงแม้ว่าพวกมันจะไม่มีความตั้งใจ แต่พวกมันก็ไม่สามารถตัดสินใจได้ ไวรัสตัวที่อยู่รอดได้คือตัวที่สามารถแพร่เชื้อได้ เพราะฉะนั้นในเรื่องของการกลายพันธุ์  ไวรัสตัวที่สามารถแพร่เชื้อจากคนหนึ่งไปสู่อีกหนึ่งคน และแพร่ต่อๆ ไป เป็นสิ่งที่ฝังตัวอยู่ในชุมชน”

เดลตา: สายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุด

เดลตาถูกพบครั้งแรกในอินเดีย ในขณะนี้มีการรายงานการแพร่ระบาดของสายพันธุ์นี้กว่า 80 ประเทศ และสร้างความกังวลให้สาธารณสุขเพิ่มมากขึ้น จากการแพร่เชื้อที่รวดเร็ว

ไวรัสตัวนี้เป็นสาเหตุของและการระบาดครั้งล่าสุดในเมลเบิร์น

“สายพันธุ์เดลตากำลังจะกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลที่สุดในโลก เพราะความสามารถในการแพร่เชื้อได้รวดเร็ว” นางโสมยา สวามีนาทาน หัวหน้าทีมนักวิทยาศาสตร์ขององค์การอนามัยโลกกล่าว
นางแคเทอรีน เบนเน็ตต์ ประธานภาคระบาดวิทยาแห่งมหาวิทยาลัยดีคิ้นกล่าวว่า เดลตา “มีอยู่ในทุกที่ที่มีโควิดอยู่ในขณะนี้”

“มันเป็นสายพันธุ์ที่เราจับตาดู เพราะเราเห็นว่ามันเหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่น่ากังวล” นางแคเทอรีนกล่าว

“มันมีอิทธิพลเหลือกว่าสายพันธุ์อื่นที่มีอยู่ได้อย่างรวดเร็ว เราเห็นไวรัสตัวนี้ในอังกฤษ เราเห็นมันในยุโรปตอนนี้ และเรายังเห็นมันในสหรัฐอเมริกา ในบางแห่งมันกลายเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลได้อย่างรวดเร็ว”
Government health officials improvised a public bus as a vaccination center and start a vaccination drive in different market places.  EPA/PIYAL ADHIKARY
A woman receives her vaccine in Kolkata, India. The highly Delta variant was first identified in India. Source: PIYAL ADHIKARY/EPA
เพียงสามเดือนหลังถูกพบครั้งแรกในอังกฤษ กว่า 99 เปอร์เซ็นต์ของเคสเกิดจากสายพันธุ์เดลตาที่นั่น และยังเป็น 90 เปอร์เซ็นต์ของผู้ติดเชื้อรายใหม่ในรัสเซีย ซึ่งมีรายงานผู้ติดเชื้อรายวันสูงที่สุดเมื่อเทียบกับการระบาดในช่วงเริ่มต้น

“สายพันธุ์นี้สามารถแพร่เชื้อได้เร็วกว่าสายพันธุ์อัลฟาถึง 60 เปอร์เซ็นต์ และแพร่เชื้อได้มากกว่าสายพันธุ์อื่นถึง 50 เปอร์เซ็นต์” ศจ. เบนเน็ตต์กล่าว

ผลการวิจัยของสาธารณสุขอังกฤษประเมินว่าเดลตามีค่าการสืบพันธุ์อยู่ที่ 6.0 เทียบกับสายพันธุ์อื่นที่อยู่ที่ระหว่าง 2-3 นั่นหมายความว่าทุกๆ หนึ่งคนที่ติดเชื้อเดลตา สามารถแพร่เชื้อต่อไปได้อีก 6 คน
“นักวิจัยพบว่าสายพันธุ์เดลตามี “ปริมาณไวรัส” ที่ผู้ติดเชื้อมีสูงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ” ศจ. เบนเน็ตต์กล่าว

“มันสร้างตัวเองได้เร็วกว่า และผู้คนสามารถติดเชื้อได้เร็วกว่า โดยมีแนวโน้มที่จะติดเชื้อเนื่องจากได้รับปริมาณไวรัสสูง”

และในขณะที่ข้อมูลบ่งชี้ว่ามันสามารถแพร่เชื้อได้ไวกว่า นักระบาดวิทยากล่าวว่ายังเร็วเกินไปที่ชี้ว่ามันทำให้เกิดการเจ็บป่วยขั้นรุนแรงหรือไม่

ขณะนี้อินเดียกำลังจับตาดูสายพันธุ์ใหม่ที่เรียกว่า เดลตา พลัส (Delta Plus) ที่กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่ามีคนติดเชื้อแล้ว 22 ราย

นายราเจช บูแชน เลขานุการกระทรวงสาธารณสุขของรัฐบาลสหพันธรัฐในอินเดียแถลงว่า พบสายพันธุ์เดียวกันนี้ในอีก 8 ประเทศ และกำลังจับตาดูอย่างใกล้ชิด แต่สายพันธุ์เดลตายังคงเป็นสายพันธุ์ที่น่ากังวลที่สุด”

อัลฟา: ยังคงเป็นที่น่ากังวล

อัลฟา นับเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลในสหราชอาณาจักร ซึ่งอาจถูกเดลตาแย่งตำแหน่งสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดไปครองเร็วๆ นี้ แต่ยังคงเป็นปัญหาสำหรับสาธารณสุขในหลายประเทศ รวมถึงออสเตรเลีย

มันแพร่ระบาดได้เร็วกว่าไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์ต้นกำเนิดถึง 50 เปอร์เซ็นต์

“อัลฟายังคงเป็นที่น่ากังวล และกำลังแพร่กระจาย” ศจ. บูย กล่าว

“เรายังคงเห็นสายพันธุ์อัลฟาที่ข้ามพรมแดนของเรามา เป็นสายพันธุ์ที่เกี่ยวข้องกับเคสผู้ติดเชื้อที่เป็นลูกเรือบนเครื่องบินในรัฐควีนส์แลนด์ และแพร่เชื้อในโรงแรมที่นั่น” ศจ. บูย เผย
Technicians prepare vaccines at the newly opened COVID-19 Vaccination Centre in Sydney on 10 May 2021.
Technicians prepare vaccines at the newly opened COVID-19 Vaccination Centre in Sydney on 10 May 2021. Source: AAP
ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์ชี้ว่า อัลฟาเคยเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลในออสเตรเลีย แต่ถูกแซงโดยอัลฟา

“เราเห็นอัลฟาเข้ามาโดยคนที่เดินทางกลับ”

“แต่ตอนนี้ ไม่ว่าจะเป็นคนจากเอเชีย ยุโรป หรืออเมริกาเหนือ โอกาสที่จะมีผลตรวจเชื้อเป็นบวกจากสายพันธุ์เดลตามีสูง ดังนั้นฉันคิดว่าเราควรต้องยอมรับความจริงที่ว่าเดลตาจะเป็นสายพันธุ์ที่มีอิทธิพลมากที่สุดในโลก และนั่นคือสิ่งที่เราต้องให้ความสำคัญ”

แคปปา: อีกหนึ่งสายพันธุ์

ยังมีคำเตือนสำหรับสายพันธุ์แคปปาในออสเตรเลีย หรือที่เรียกว่า “สายพันธุ์อื่น” ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในอินเดีย

“เมื่อหลายเดือนก่อน มีคนสังเกตว่ามีสายพันธุ์ที่กำลังเกิดขึ้นใหม่ในอินเดีย” ศจ. บูยกล่าว

“พวกเขาเรียกมันว่าการกลายพันธุ์สองครั้ง แต่จริงๆ แล้วอาจจะมีการกลายพันธุ์ถึงสิบสองครั้งที่ทำให้เกิดสายพันธุ์ใหม่นี้ขึ้น”
“เราเห็นแคปปาที่เป็นสาเหตุของการระบาดครั้งล่าสุดในรัฐวิกตอเรีย ที่มีส่วนทำให้มีผู้ติดเชื้อเกือบ 100 ราย” ศจ เบนเน็ตต์กล่าว

ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพกล่าวว่า ข้อกังวลคือเดลตาและแคปปาเป็นสายพันธุ์ที่แพร่เชื้อได้เร็ว แพร่ไปทั่วอินเดียและทวีปอื่น และตอนนี้ในออสเตรเลียด้วย

“เราต้องรับสถานการณ์ให้ดีที่สุดเท่าที่เราจะทำได้ เราต้องเพิ่มมาตรการป้องกันที่สมเหตุสมผลอย่างที่เราเคยทำ การใส่หน้ากาก เป็นสิ่งที่ดี แต่ควรเว้นระยะห่างทางสังคมด้วย รักษาระดับไว้” ศจ. บูยแนะ

วัคซีนของออสเตรเลียป้องกันสายพันธุ์เหล่านี้หรือไม่?

วัคซีนที่ใช้ในออสเตรเลีย ได้แก่ ไฟเซอร์ และแอสตราเซเนกา

ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว่า วัคซีนทั้งสองชนิดเป็นวัคซีนหลักที่ใช้ในสหราชอาณาจักร และทั้งสองวัคซีนได้รับการพิสูจน์แล้วว่าสามารถป้องกันสายพันธุ์เดลตา แต่มีประสิทธิภาพน้อยกว่าเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม

“มันก็ไม่ได้แย่นัก ถ้าคุณได้รับเข็มที่สอง สำหรับคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว มันยังเป็นการป้องกันที่ดีโดยเฉพาะกับสายพันธุ์นี้” ศจ เบนเน็ตต์กล่าว

“สิ่งที่เราเห็นในสหราชอาณาจักรคือ 83 เปอร์เซ็นต์ของเคสที่เกิดจากเดลตานั้น เกิดในคนที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน และความจริงแล้ว ในเคสผู้ติดเชื้อ 3.7 เปอร์เซ็นต์เป็นคนที่ได้รับวัคซีนครบแล้ว ดังนั้นการฉีดวัคซีนยังคงเป็นกลยุทธที่ดีที่สุดของเรา”
ศาสตราจารย์เบนเน็ตต์กล่าวว วัคซีนทั้งสองชนิดมีอัตราการป้องกันการต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลสูง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา

“สำหรับประสิทธิภาพของวัคซีน ตัวเลขที่เป็นผลรายงานจากอังกฤษล่าสุดเผยว่า หากคุณได้รับวัคซีนครบ และเรากำลังพูดถึงการป้องกันจากการเจ็บป่วยร้ายแรงและการต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาล คุณยังมีการป้องกันระหว่าง 96 ถึง 92 เปอร์เซ็นต์ การป้องกันไม่ว่าคุณจะฉีดแอสตราเซเนกาหรือไฟเซอร์หลังจากโดสที่สอง”
People queue outside the Melbourne Exhibition Centre coronavirus vaccination hub.
People queue outside the Melbourne Exhibition Centre coronavirus vaccination hub. Source: AAP
ข้อมูลล่าสุดจากสาธารณสุขแห่งอังกฤษและภาควิชาสุขอนามัยและเวชศาสตร์เขตร้อนแห่งกรุงลอนดอนชี้ว่า สายพันธุ์เดลตานั้นมีความอ่อนไหวต่อวัคซีน เมื่อพูดถึงความเจ็บป่วยร้ายแรง

“ดูเหมือนว่า ประสิทธิกาพต่อการติดเชื้อโดยรวมจะลดลงเล็กน้อย เมื่อคุณเทียบระหว่างสายพันธุ์ดั้งเดิมที่วูฮันกับสายพันธุ์อัลฟา และลดลงอีกเล็กน้อยเมื่อเป็นสายพันธุ์เดลตา” ศาสตราจารย์เบ็นเนตต์กล่าว

“แต่มันก็ยังสูงอยู่ เรากำลังพูดถึงการลดลง 10 เปอร์เซ็นต์ มันอาจจะลดจาก 88 เปอร์เซ็นต์เป็น 80 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณนั้น มันหมายความว่ายิ่งชุมชนได้รับการป้องกันด้วยวัคซีนสูงจะยิ่งดี เพื่อชดเชยกับประสิทธิภาพที่ลดลงเล็กน้อยนั้น”

ศาสตราจารย์บูยกล่าวว่าวัคซีนทั้งสองชนิดมีประสิทธิภาพในการต่อต้านไวรัสสายพันธุ์อัลฟาและแคปปา และเรียกร้องให้คนออสเตรเลียฉีดวัคซีนให้เร็วที่สุดที่พวกเขาสามารถจองนัดหมายเพื่อฉีดได้

“นี่เป็นช่วงเวลาที่อันตรายมาก เพราะเรากำลังเริ่มหละหลวม และกำลังวางใจกับสถานการณ์ ในเวลาเดียวกันกับที่ไวรัสเริ่มที่จะแพร่เชื้อได้เร็วขึ้น”



Share
Published 24 June 2021 6:59pm
Updated 7 July 2021 3:37pm
By Omar Dehen
Presented by Chollada K-Ross


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand