ธุรกิจในออสเตรเลียรับมือลูกจ้างที่เป็นคนหลากรุ่น

NEWS: อายุเกษียณในออสเตรเลียที่กำลังเพิ่มขึ้น ทำให้เป็นครั้งแรกที่บริษัทต่างๆ ในออสเตรเลีย จะต้องรับมือกับการมีลูกจ้างที่เป็นคนต่างรุ่นกันถึง 5 รุ่น ทำงานเคียงบ่าเคียงไหล่

You can read the full article in English

ภายในปี 2023 อายุเกษียณของประชาชนในออสเตรเลียจะเพิ่มขึ้นเป็นอายุ 67 ปี การเปลี่ยนแปลงครั้งนี้จะหมายความว่าผู้จัดการในที่ทำงานต่างๆ ของออสเตรเลียจะต้องหาวิธีการใหม่ที่จะพยายามทำให้แน่ใจได้ว่า ทุกอย่างในที่ทำงานนั้นเหมาะสมกับลูกจ้างที่มีความหลากหลาย ตั้งแต่รุ่นเบบี้ บูมเมอร์ (baby boomer) ไปจนถึงคนรุ่นเจเนเรชัน แซด (generation Z)

ลานโบว์ลิ่งและศูนย์บันเทิง วินซิตี้ ในนครเมลเบิร์น เป็นที่ทำงานแห่งหนึ่งที่พยายามรับมือกับพลวัตการเปลี่ยนแปลงในที่ทำงานที่กำลังเกิดขึ้นนี้

ดิออน วาร์น นักเรียนชั้นปีที่ 12 เป็นหนึ่งในหัวหน้างานที่ควบคุมดูแลการทำงานของลูกจ้างที่เป็นเด็กนักเรียนที่อายุน้อยกว่า ซึ่งทำหน้าที่ดูแลลานโบว์ลิ่ง ห้องเล่นเลเซอร์แทก และมินิกอล์ฟเรืองแสง
Dion Warne says mutual respect keeps him working at Wyncity.
Dion Warne says mutual respect keeps him working at Wyncity. Source: SBS
เขากล่าวว่า มีสิ่งหนึ่งที่ทำให้เขาสามารถทำงานในธุรกิจแห่งนี้ได้

“ความเคารพซึ่งกันและกัน” ดิออน กล่าว “คุณต้องการเข้ากันได้กับคนที่คุณทำงานด้วย”

อีกผู้หนึ่งที่อยู่เบื้องหลังธุรกิจนี้คือ รูดี้ เทรกัตส์ วัย 65 ปี ซึ่งทำงานไพท์ไทม์ เป็นช่างเทคนิกและช่างซ่อมบำรุงที่นั่น

เขากล่าวว่าเขายังไม่มีแผนที่จะเกษียณจากงาน

“ผมได้ทำงานที่นี่ในวันเกิดของผม มีสิ่งต่างๆ ที่ไม่ทำงาน และผมก็มีความสุขดีกับมัน ผมชอบความตื่นเต้นแบบอะดรีนาลีนหลั่ง ที่ได้ซ่อมสิ่งต่างๆ ในทันทีทันใด”

อายุเกษียณที่เพิ่มขึ้นนำไปสู่ความเปลี่ยนแปลงลักษณะบุคลากรในที่ทำงาน

แต่สำหรับชาวออสเตรเลียสูงอายุจำนวนไม่น้อย ที่ไม่มีทางเลือก จึงต้องเกษียณช้าลง

อายุเกษียณที่มีสิทธิได้รับเงินบำนาญขณะนี้ อยู่ที่อายุ 65.5 ปี ซึ่งมีกำหนดจะเพิ่มขึ้น 6 เดือนในทุกๆ 2 ปี และเพิ่มขึ้นเป็นอายุเกษียณ ที่ 67 ปี ภายในปี 2023

นโยบายใหม่นี้หมายความว่า จะเป็นครั้งแรกที่ที่ทำงานในออสเตรเลีย จะมีคน 5 รุ่นทำงานร่วมกันในธุรกิจใดธุรกิจหนึ่ง โดยคนรุ่นต่างๆ เหล่านั้นจะมีทักษะ ค่านิยม และทัศนะคติในการทำงานที่แตกต่างกันด้วย

คนรุ่นที่ถูกเรียกกันว่ารุ่นหัวอนุรักษ์นิยม ซึ่งเกิดหลังปี ค.ศ. 1945 มักถูกมองว่าเป็นผู้ที่มีความมั่นคง จงรักภักดี และทำงานหนัก

คนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ มีคุณลักษณะเด่นคือ ให้ความร่วมมือดี และแม้แต่รู้สึกเป็นหนี้บุญคุณที่ได้งานทำ

คนรุ่นเจเนอเรชัน เอ็กซ์ ซึ่งเกิดระหว่างปี ค.ศ.1965-1976 ถูกมองว่าเป็นผู้มีความเป็นปัจเจกชน รวมทั้งมีความยืดหยุ่นมากกว่า

คนรุ่นมิลเลนเนียลส์ หรือเจเนอเรชัน วาย เกิดราวปี 1977-1995 มักมีจิตวิญญาณในการเป็นเจ้าของธุรกิจ และเต็มไปด้วยแนวคิดนวัตกรรม

คนรุ่นเจเนอเรชัน แซด เกิดหลังปี 1996 ถูกมองว่ามักแสวงหาความหมาย ความสุขใจ และการสร้างตัวตนให้เป็นที่รู้จักผ่านการทำงานของพวกเขา

คุณแคลร์ แมดเดน นักประชากรศาสตร์ กล่าวว่า คนรุ่นที่อายุน้อยที่สุดจะมีทัศนคติและค่านิยมที่แตกต่างออกไป

"พวกเขาเป็นคนพวกที่มีสมาธิสั้นกว่า เนื่องจากการเชื่อมต่อกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นตลอดเวลา" คุณแมดเดน กล่าว เธอเป็นผู้แต่งหนังสือเรื่อง เฮลโล เจน เซด: เอ็นเกจจิง เดอะ เจเนเรชัน ออฟ โพสต์-มิลเลนเนียลส์ (Hello Gen Z: Engaging the Generation of Post-Millennials)

“พวกเขาได้รับการเพิ่มขีดความสามารถ พวกเขาตระหนักถึงทางเลือกของตน แต่ขณะเดียวกันพวกเขาก็มักรู้สึกกระวนกระวายใจ เหมือนกับว่าพวกเขาจะต้อง ‘เปิดรับ’ สถานการณ์อยู่ตลอดเวลา”

วินซิตี้ยกความดีความชอบให้โครงการอบรมที่สร้างความสมานฉันท์ในที่ทำงาน

คุณเอดี เดอ เพลเลอกริน ผู้อำนวยการบริหารของวินซิตี้ เป็นคนรุ่นเบบี้ บูมเมอร์ วัย 56 ปี

เธอกล่าวว่า โครงการฝึกอบรมและพัฒนา ส่งผลให้ธุรกิจมีทีมงานที่ยอดเยี่ยม แต่เธอก็ยอมรับว่าลูกจ้างใหม่ที่รับมาทำงานนั้นบางครั้งสร้างความท้าทายเช่นกัน

เธอยอมรับภาพลักษณ์ของคนรุ่น เจน แซด ที่ถูกมองว่าเป็นคนรุ่นที่ “ชอบอ้างสิทธิ์” นั้นดูเหมือนจะตรงดังที่ว่า

“เมื่อฉันเริ่มทำงาน พวกเราไม่เคยถามว่าอัตราค่าจ้างเท่าไร ฉันจะได้เงินค่าจ้างเพิ่มพิเศษเมื่อทำงานนอกเวลาปกติหรือไม่ สภาพการทำงานของฉันจะเป็นอย่างไร”
Edi de Pellegrin says managing the five generations of workers has been a learning curve.
Edi de Pellegrin says managing the five generations of workers has been a learning curve. Source: SBS
“แต่จะว่าไปแล้ว ก็เป็นสิ่งดีที่เด็กเหล่านี้ถูกสอนให้ถามคำถามเหล่านี้ แต่มันกลายเป็นสิ่งที่สำคัญมากกว่าตัวงานในบางครั้ง ตอนนี้ มันเกือบเหมือนกับว่าเด็กพวกนี้กำลังช่วยเหลือเราเสียด้วยซ้ำ ในการทำงานให้เรา”

ในทางตรงกันข้าม องค์กรตัวแทนกลุ่มนายจ้างของออสเตรเลีย แย้งว่าผู้ประกอบวิชาชีพที่อายุไม่มากนักซึ่งเป็นคนรุ่นใหม่นั้นไม่ได้ว่าวิตกเกี่ยวกับเงินเดือนและเงื่อนไขการทำงานเท่าใดนัก

คุณเจมส์ เพียร์สัน ผู้อำนวยการบริหารของหอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์กรมักเป็นสิ่งที่คำนึงถึงเป็นหลัก

“ผมได้ไปพูดในหลักสูตรปริญญาโทบริหารธุรกิจที่กำลังจะจบการศึกษา มันค่อนข้างชัดเจนมากกว่าสิ่งที่พวกเขาให้ความสำคัญมากที่สุดคือค่านิยมและวัฒนธรรมของบริษัทที่พวกเขาจะไปทำงานให้ มากกว่าเงินค่าจ้างที่พวกเขาจะได้รับ หรือโอกาสในการก้าวหน้าทางการงาน” คุณเพียร์สัน ระบุ

“ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่แตกต่างอย่างมากระว่างคนรุ่นนั้น กับคนรุ่นที่อายุมากกว่า”

เสียงเรียกร้องให้มีความยืดหยุ่นในการทำงานมากกว่านี้

คุณเจมส์ เพียร์สัน กล่าวว่า ขณะนี้ยังไม่มีการเตรียมพร้อมผู้จัดการในออสเตรเลียอย่างเพียงพอ ที่จะบริหารงานบุคคลการที่เป็นคนรุ่นแตกต่างกัน

หอการค้าและอุตสาหกรรมแห่งออสเตรเลีย พยายามที่จะพัฒนาในจุดนี้ด้วยการจัดอบรมทั่วประเทศหลายหลายโครงการ ซึ่งใช้ชื่อว่า “เนกซ์เจน อิน บิซิเนส” (NextGen in Business) หรือ “รุ่นต่อไปในธุรกิจ”

แต่มีเสียงเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงในองค์กรนั้นขยายขอบเขตออกไปสำหรับคนทุกรุ่น

บรรดาผู้ส่งเสริมการสูงวัยอย่างสดใส กล่าวว่า บรรดาธุรกิจต่างๆ ควรมีโครงสร้างระบบพี่เลี้ยงหรือการให้คำแนะนำในการทำงาน และพยายามทำให้แน่ใจได้ว่า ลูกจ้างที่อยู่ในช่วงเปลี่ยนผ่านไปสู่การเกษียณ ได้รับความยืดหยุ่นในการทำงานมากเท่าที่จะเป็นไปได้ เช่นเดียวกันกับลูกจ้างที่เป็นนักเรียน และลูกจ้างที่เป็นคุณแม่ ซึ่งต้องเลี้ยงดูบุตร

ระวังความขัดแย้งของคนต่างรุ่น

คุณแคลร์ แมดเดน นักประชากรศาสตร์ กล่าวว่า เหล่าผู้จัดการควรปลูกฝังทัศนคติเรื่อง “การหมั่นศึกษาหาความรู้ไม่ว่าจะอายุเท่าไร” ในหมู่พนักงาน ขณะเดียวกัน ก็ต้องตระหนักถึงความเป็นไปได้ที่อาจเกิดความขัดแย้งของคนต่างรุ่น
Demographer Claire Madden.
Demographer Claire Madden. Source: SBS
“เจน แซด เป็นคนกลุ่มที่เชื่อมั่นใจขีดความสามารถ มีความว่องไวและปรับตัวให้เข้ากับเทคโนโลยีได้ดี พวกเขามีทักษะที่สำคัญต่อที่ทำงานในปัจจุบัน นั่นหมายความว่าพวกเขาสามารถได้รับการเลื่อนตำแหน่งได้ในอัตราที่เร็วกว่า”

“แน่นอนว่า อาจมีความรู้สึกของความขัดแย้ง และความรู้สึกว่าถูกมองข้ามไปจากคนรุ่นที่อายุมากกว่า”

สำหรับคุณเอดี เดอ เพลเลอกริน ผู้อำนวยการบริหารของศูนย์บันเทิงวินซิตี้ นี่เป็นสิ่งที่เธอได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง

“ฉันต้องเรียนรู้ที่จะสื่อสารและส่งสารของฉันออกไปให้ดีกว่านี้ ฉันต้องระบุถึงสิ่งที่ฉันหมายถึง และต้องไม่พูดกว้างมากนัก”

“การจะทำงานกับคนอายุน้อยเหล่านี้ได้ ฉันต้องพูดจาในภาษาของพวกเขา ซึ่งเป็นภาษาของเทคโนโลยี”

ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 29 January 2019 1:24pm
By Rena Sarumpaet
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand