รายงานเผย นร.ต่างชาติ 'ลำบากขึ้น' กว่าจะได้เป็นพีอาร์

รายงานฉบับใหม่จากสถานบันแกรตแทนระบุว่า ผู้เดินทางมาถึงออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียนน้อยกว่าช่วงเวลา 5 ปีที่ผ่านมา มีความเป็นไปได้มากที่สุดที่จะยังคงถือวีซ่านักเรียนอยู่

Migrats

One in five workers in Australia currently hold either a temporary or permanent visa. Source: Getty Images/Mayur Kakade

รายงานฉบับใหม่ (ผู้อพยพย้ายถิ่นในกำลังแรงงานของออสเตรเลีย) ระบุว่ามีนักศึกษาต่างชาติประมาณ 1 ใน 5 และครึ่งหนึ่งของผู้อพยพมีทักษะวีซ่าชั่วคราวทั้งหมดที่ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่วีซ่าถาวร

อย่างไรก็ตาม รายงานดังกล่าวยังพบอีกว่า ขณะที่จำนวนนักศึกษาต่างชาติซึ่งถือวีซ่าชั่วคราวจะเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญในรอบสิบปีที่ผ่านมา แต่จำนวนผู้ถือวีซ่าถาวรกลับไม่เพิ่มขึ้น



ประเด็นสำคัญ

  • ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราวคิดเป็น 7% ของกำลังแรงงานในออสเตรเลีย
  • รายงานจากสถาบันแกรตแทน (Grattan Institute) ระบุว่าผู้อพยพย้ายถิ่นที่อาศัยอยู่ในออสเตรเลียมีความเป็นไปได้มากกว่าที่จะทำงานเต็มเวลาเมื่อเทียบกับประชากรออสเตรเลีย
  • แม้จะมีประสบการณ์และการศึกษามากกว่า แต่ผู้อพยพย้ายถิ่นที่เพิ่งเข้ามาออสเตรเลียได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าที่เคยเป็นเมื่อ 10 ปีก่อน


จากรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า มีแรงงงานทักษะชั่วคราวจำนวนน้อยลงได้รับการเปลี่ยนผ่านไปสู่วีซ่าถาวรเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยคาดว่าเป็นผลจากจำนวนคนทำงานมีทักษะชั่วคราวที่มีคุณสมบัติได้รับวีซ่าถาวรลดน้อยลงไปกว่าในอดีต
Migration
ผู้อพยพย้ายถิ่นมีทักษะมีแนวโน้มที่จะมีอายุน้อยกว่า มีทักษะสูงขึ้น และมีรายได้มากขึ้นกว่าชาวออสเตรเลียโดยทั่วไป Source: Getty Images/Leo Patrizi
รายงานฉบับนี้ซึ่งเป็นแนวทางสำหรับภาคส่วนกำหนดนโยบาย ระบุว่าตั้งแต่ปี 1996 – 2017 มีเส้นทางที่แน่นอนสู่การเป็นผู้อยู่อาศัยถาวร (พีอาร์) สำหรับผู้อพยพย้ายถิ่นเกือบทุกคนที่ถือวีซ่าทักษะชั่วคราว (temporary skilled visa)
ขณะที่ราวครึ่งหนึ่งของผู้ถือวีซ่าทักษะชั่วคราวทั้งหมด ได้รับการเปลี่ยนผ่านสู่วีซ่าถาวรเมื่อดูจากข้อมูลที่ผ่านมา แต่ก็มีหลายอาชีพที่เส้นทางสู่การได้เป็นพีอาร์นั่นมีอยู่อย่างจำกัดมาก และมีน้อยคนที่จะได้เปลี่ยนผ่านไปสู่วีซ่าถาวรในอนาคต
เฮนรี เชอร์เรลล์ (Henry Sherrell) รองผู้อำนวยการโครงการสำหรับการอพยพย้ายถิ่นฐาน สถาบันแกรตแทน กล่าวว่าก่อนมาตรการปิดพรมแดนจากการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เป็นช่วงที่ออสเตรเลียมีนักศึกษาต่างชาติมากกว่าครั้งไหน แต่ถึงกระนั้นก็มีการลดลงของจำนวนวีซ่าทักษะถาวรสำหรับผู้อพยพย้ายถิ่น

“สิ่งนี้ได้ชี้ว่า มันเป็นเรื่องยากขึ้นสำหรับนักศึกษาต่างชาติในการได้รับวีซ่าถาวรมากกว่าที่เคยเป็นในอดีต” นายเชอร์เรลล์ กล่าว พร้อมอธิบายว่าแนวโน้มดังกล่าวพบเห็นได้ในรอบสิบปีก่อนที่จะมีการปิดพรมแดน

รายงานฉบับนี้ยังได้ระบุอีกว่า ร้อยละ 86 ของวีซ่าประเภทนายจ้างเป็นผู้เสนอชื่อ (Employer-nominated visa) ได้รับการอนุมัติให้กับผู้ที่อยู่ในออสเตรเลียอยู่แล้ว เช่นเดียวกับร้อยละ 90 ของวีซ่าทักษะอิสระถาวร (Skilled independent permanent visa)

อย่างไรก็ตาม ในส่วนของวีซ่าด้านนวัตกรรมและการลงทุนทางธุรกิจ (Business Innovation and Investment) แนวโน้มกลับสวนทาง โดยร้อยละ 89 ของวีซ่าทั้งหมดได้รับการจัดสรรให้กับผู้ที่อาศัยอยู่นอกออสเตรเลียระหว่างที่ยื่นแบบคำร้องขอวีซ่าดังกล่าว

ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มาถึงออสเตรเลียในช่วงเวลาระหว่าง 5 – 10 ปีก่อน และยังคงอยู่ในออสเตรเลีย ประมาณ 1 ใน 4 ได้เปลี่ยนผ่านไปสู่ผู้อาศัยถาวร (พีอาร์) โดยอยู่ในประเภทวีซ่าทักษะอิสระ วีซ่าประเภทรัฐเป็นผู้เสนอชื่อ และวีซ่าครอบครัว
Migration
นักศึกษาต่างชาติเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในหมู่ผู้อพยพย้ายถิ่นชั่วคราว ก่อนที่จะเกิดการแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 Source: Getty Images/FatCamera
รายงานดังกล่าวระบุอีกว่า คนทำงานในออสเตรเลีย 1 ใน 3 เกิดในต่างประเทศ และ 1 ใน 5 ของคนทำงานในออสเตรเลียถือวีซ่าชั่วคราวหรือวีซ่าถาวร

ผู้อพยพย้ายถิ่นวีซ่าชั่วคราวคิดเป็นร้อยละ 7 ของแรงงานในออสเตรเลีย และมีบางส่วนซึ่งรวมถึงวีซ่าเวิร์กกิ้งฮอลิเดย์ และนักศึกษาต่างชาติจำนวนมากมีแนวโน้มที่จะทำงานต่ำกว่าทักษะที่มี และได้รับค่าแรงต่ำ

นอกจากนี้ รายงานดังกล่าวยังชี้ว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นยังมีแนวโน้มที่ได้รับการศึกษาในระดับสูง

“ผู้อพยพย้ายถิ่นประมาณครึ่งหนึ่งซึ่งเดินทางมาถึงที่นี่มีวุฒิการศึกษาในระดับปริญญาตรี หรือในระดับบัณฑิตศึกษา และหลายคนได้รับประกาศนียบัตรในระดับมหาวิทยาลัยระหว่างอยู่ในออสเตรเลีย ประมาณ 1 ใน 4 ของผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่มีวุฒิการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษา เมื่อเทียบกับไม่ถึง 1 ใน 10 ของคนทำงานที่เกิดในออสเตรเลีย” รายงานฉบับดังกล่าวระบุ

อย่างไรก็ตาม แม้จะมีระดับการศึกษาและประสบการณ์สูง แต่ผู้อพยพรายใหม่ ๆ กลับได้ค่าจ้างในวันนี้น้อยกว่าที่เคยเป็นเมื่อช่วงสิบปีก่อน

“แนวโน้มนี้ถูกขับเคลื่อนโดยจำนวนนักศึกษาต่างชาติในอัตราสูง และค่าแรงในระดับต่ำในงานเต็มเวลาของผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่ ผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่ที่ตั้งหลักแล้วมีแนวโน้มที่จะมีรายได้พอ ๆ กับคนทำงานที่เกิดในออสเตรเลีย และรายได้เหล่านี้ก็ได้เติบโตขึ้อย่างต่อเนื่องในความเป็นจริง”

สำหรับ มิชวีน เคาอา (Mishween Kaur) นักศึกษามหาวิทยาลัยอาร์เอ็มไอทีในนครเมลเบิร์น การค้นพบรายงานดังกล่าวเป็นเรื่องน่ากังวล
Migration
คุณมิชวีน เคาอา (Mishween Kaur) อยู่ในวีซ่านักเรียนในออสเตรเลีย และอาศัยอยู่ในนครเมลเบิร์น Source: Supplied by Ms Mishween Kaur
“ฉันต้องคิดว่าจะเอายังไงกับอนาคต เช่นเดียวกับว่าจะเพิ่มโอกาสของฉันที่จะได้เป็นผู้อาศัยถาวรได้อย่างไร ฉันรู้ว่าตอนนี้มีคนจำนวนมากที่รอเพื่อจะได้เป็นพีอาร์” คุณเคาอา ซึ่งกำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านธุรกิจ สาขาโลจิสติกและห่วงโซ่อุปทาน กล่าว

คุณเคาอา ซึ่งเดินทางมาถึงนครเมลเบิร์นเมื่อ 2 ปีที่ผ่านมา และยังคงทำงานอยู่ที่ร้านแมคโดนัลด์แห่งหนึ่ง แบ่งปันประสบการณ์ว่า เป็นเรื่องยากที่จะได้เป็นผู้อยู่อาศัยถาวรในสายอาชีพของเธอเพราะทำงานได้เพียงตำแหน่งเดียว ตามที่ได้ระบุไว้ในรายชื่อทักษะอาชีพซึ่งรัฐบาลออสเตรเลียกำหนดไว้สำหรับวีซ่าต่าง ๆ (Skilled Occupation List – SOL)

“ฉันยังต้องการประสบการณ์ด้านบริหารจัดการอีก 5 ปีเพื่อให้ได้เป็นพีอาร์ ซึ่งก็นั่นแหละมันเป็นเรื่องยาก” เธออธิบาย

จนถึงตอนนี้ เธอวางแผนที่จะขยายขอบเขตการทำงาน ซึ่งจะช่วยสนับสนุนแบบคำขอสถานะผู้อยู่อาศัยถาวรของเธอ

คณะผู้จัดทำรายงานฉบับดังกล่าวระบุว่า พวกเขามองหาโอกาสที่จะ “เติมช่องว่างองค์ความรู้” ในส่วนของบทบาทที่ผู้อพยพย้ายถิ่นมีต่อตลาดงานในออสเตรเลีย “เพื่อที่ผู้จัดทำนโยบายจะสามารถปฏิรูประบบ เพื่อเติมพลังให้กับประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจของการอพยพย้ายถิ่นต่อชาวออสเตรเลีย” ซึ่งจะระบุข้อมูลวีซ่าที่ผู้อพยพถืออยู่ รวมถึงทักษะที่พวกเขามี สถานที่ซึ่งพวกเขาทำงาน และรายได้ที่พวกเขาได้รับ


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 12 May 2022 2:18pm
Updated 12 May 2022 3:09pm
By Natasha Kaul
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand