รายงานรัฐสภาแนะให้ปรับปรุงระบบพิจารณาวีซ่าครอบครัว

รายงานฉบับดังกล่าวได้แนะนำกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย ให้ดำเนินการอย่างเร่งด่วนในการพัฒนากลยุทธ์ระยะยาวที่จะปรับปรุงระบบการพิจารณาวีซ่าให้ทันสมัย

ป้ายสำนักงานแห่งหนึ่งในเมลเบิร์นของกระทรวงมหาดไทย (Department of Home Affairs) ออสเตรเลีย

Source: AAP / JAMES ROSS/AAPIMAGE

ทนายความด้านการย้ายถิ่นฐานต่างเรียกร้องให้มีการดำเนินการตามคำเรียกร้องจากรายงานรัฐสภาเกี่ยวกับระบบวีซ่าครอบครัว หลังมีการเปิดเผยว่า ความล้มเหลวของระบบได้สร้างความเสียหายต่อประชาชน

การไต่สวนหาความจริงของรัฐสภาที่มีขึ้นในสัปดาห์ที่แล้ว เรื่อง “ประสิทธิภาพ ความยุติธรรม ความทันท่วงที และค่าใช้จ่ายในการพิจารณาและการอนุมัติ” วีซ่าครอบครัวหรือวีซ่าคู่ครอง ได้แนะนำให้มีการปฏิรูประบบอย่างเร่งด่วน

การค้นพบที่สำคัญสรุปว่า “เป็นเรื่องเร่งด่วน” ที่กระทรวงมหาดไทย (Department of Home Affairs) ของออสเตรเลีย จำเป็นต้องพัฒนา “กลยุทธ์ระยะยาวในการปรับปรุงระบบสำหรับการพิจารณาวีซ่า”

รายงานดังกล่าวได้วิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง โดยกล่าวว่า จำเป็นต้องมีการดำเนินการในเรื่องนี้ เพื่อปรับปรุง "ประสิทธิภาพ เพื่อลดความซับซ้อน ลดเวลารอคอยลงอย่างมาก และเพื่อให้มีความโปร่งใสมากขึ้นสำหรับผู้สมัครขอวีซ่า"

รายงานยังเน้นย้ำถึงความจำเป็นในการจัดสรรทรัพยากรให้กระทรวงมหาดไทย "อย่างเหมาะสม" เพื่อให้สามารถดำเนินการได้ "อย่างเร่งด่วน" ในการพัฒนากลยุทธ์และ "นำมาตรการเหล่านั้นมาใช้ได้อย่างทันท่วงที"

คุณ โจเซฟีน แลงเบียน ทนายความอาวุโสของศูนย์กฎหมายสิทธิมนุษยชน กล่าวว่า “สำคัญอย่างยิ่ง” ที่รายงานดังกล่าวได้นำเสนอสิ่งที่ค้นพบจากการไต่สวนหาความจริง หลังองค์กรต่างๆ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องได้แสดงความเป็นห่วงเกี่ยวกับระบบ

“มันแสดงให้เห็นอย่างแท้จริง ว่าระบบนั้นชำรุดและไม่มีประสิทธิภาพอย่างที่ครอบครัวที่สมัครขอวีซ่า คาดหวัง” คุณ แลงเบียน บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“หลักฐานที่บ่งชี้เรื่องนี้เห็นได้จากความล่าช้าที่ไม่สมเหตุสมผล ค่าดำเนินการที่สูงเกินไป และนโยบายการเลือกปฏิบัติที่กีดกันไม่ให้ผู้คนได้กลับไปอยู่ร่วมกับผู้คนที่พวกเขารักเป็นเวลานานหลายปี”

ในแถลงการณ์จากโฆษกของกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียกล่าวว่า กระทรวงรับทราบถึงรายงานของคณะกรรมการวุฒิสภาและได้มีส่วนร่วมในการไต่สวนหาความจริงดังกล่าว

“ข้อเสนอแนะของรายงานดังกล่าวจะได้รับการพิจารณาอย่างรอบคอบจากรัฐบาล และตอบสนองในเวลาที่เหมาะสม” โฆษกกระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลีย กล่าว
รายงานรัฐสภาเกี่ยวกับระบบวีซ่าครอบครัว เปิดเผยว่า ความล้มเหลวของระบบได้สร้างความเสียหายต่อประชาชน
รายงานรัฐสภาเกี่ยวกับระบบวีซ่าครอบครัว เปิดเผยว่า ความล้มเหลวของระบบได้สร้างความเสียหายต่อประชาชน Source: Getty images
ผลการพิจารณาของคณะกรรมการ

คณะกรรมการไต่สวนหาความจริงของรัฐสภาชุดนี้ ที่นาย คิม คาร์ วุฒิสมาชิกพรรคแรงงาน เป็นประธาน มีนางซาราห์ เฮนเดอร์สัน วุฒิสมาชิกพรรคลิเบอรัล เป็นรองประธาน และมีกรรมการจากพรรคแรงงานอีก 3 คน จากพรรคลิเบอรัลอีก 2 คน และจากพรรคกรีนส์ 1 คน

แต่ถึงแม้จะเป็นคณะกรรมการที่นำโดยพรรคแรงงาน แต่รายงานฉบับนี้ไม่มีความคิดเห็นที่คัดค้านผลการค้นพบจากกรรมการที่สังกัดพรรครัฐบาล

ในข้อคิดเห็นสุดท้าย ที่ลงนามรับรองโดยวุฒิสมาชิกคาร์นั้น คณะกรรมการระบุว่า การกลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งของครอบครัวควรถูกมองว่าเป็นองค์ประกอบที่สำคัญยิ่งของโครงการวีซ่าที่ประสบความสำเร็จ

“บ่อยครั้งจนเกินไป ที่การอภิปรายกันเรื่องการย้ายถิ่นฐานมักบอกว่า การกลับมาอยู่ร่วมกันอีกครั้งของครอบครัว เป็นความสมดุลระหว่างผลประโยชน์ทางสังคม เศรษฐกิจ และมนุษยธรรม” รายงานดังกล่าวระบุ

รายงานดังกล่าวยังระบุว่า ในการไต่สวนหาความจริงครั้งนี้คณะกรรมการยังได้ฟังหลักฐาน “ที่น่ากังวลอย่างยิ่ง” เกี่ยวกับประสบการณ์ของบุคคลต่างๆ ที่ยื่นขอย้ายถิ่นฐานมายังออสเตรเลียภายใต้ระบบวีซ่าสำหรับครอบครัว

นี่รวมไปถึงการร้องเรียนต่างๆ ที่ว่าระบบพิจารณาวีซ่าครอบครัวหรือคู่ครองนั้น "คิดค่าดำเนินการแพง ไม่มีความชัดเจน ยืดเยื้อ และยากลำบาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับภาคส่วนที่เปราะบางที่สุดในหมู่ประชากรที่อพยพย้ายถิ่นฐาน"

“ต้องมีการทำอะไรมากกว่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนการยื่นขอวีซ่ามีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม ในขณะเดียวกันก็ขานรับนโยบายต่างๆ ที่เป็นวาระสำคัญของรัฐบาลออสเตรเลีย” รายงานระบุ
ویزا
"ต้องมีการทำอะไรมากกว่านี้ เพื่อให้แน่ใจว่าขั้นตอนการยื่นขอวีซ่ามีประสิทธิภาพ โปร่งใส และเป็นธรรม" Source: SBS
คุณ อาลิ โมห์เทเฮดี เป็นหัวหน้าทนายความของศูนย์ให้คำแนะนำและสิทธิ์ด้านการย้ายถิ่นฐาน (Immigration Advice and Rights Center) ซึ่งเป็นบริการช่วยเหลือทางกฎหมายในรัฐนิวเซาท์เวลส์ และทำงานร่วมกับครอบครัวต่างๆ ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจระบบวีซ่า

เขากล่าวว่าผู้มาใช้บริการของเขาหลายคนมีความเปราะบาง โดยมีทั้งผู้ทุพพลภาพ หรือผู้รอดชีวิตจากการความรุนแรงในครอบครัว ซึ่งต้องเผชิญกับความยากลำบากของระบบวีซ่าเหล่านี้

“มันยากอย่างเหลือเชื้อ ที่จะหาทางและทำความเข้าใจ ไม่เพียงแต่เรื่องกระบวนการเท่านั้น แต่ยังรวมถึงเรื่องกฎหมายด้วย” คุณ อาลิ โมห์เทเฮดี กล่าวกับ เอสบีเอส นิวส์

“มันรวมถึงกระบวนการต่างๆ และคำจำกัดความต่างๆ ที่ซับซ้อนสำหรับทนายความ นับประสาอะไรกับผู้คนที่อาจไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาแม่”

รายงานยังมุ่งเป้าไปที่ระบบไอที (IT) ที่กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียใช้ โดยกล่าวว่าระบบเหล่านี้เป็น "อุปสรรคสำคัญ" ต่อ "การดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพ" ของโครงการรับผู้ย้ายถิ่นฐาน

มีการระบุว่า ระบบประมวลผล "มีอายุราว 30 ปี" และ "ไม่พร้อม" สำหรับสิ่งที่ถือเป็น "มาตรฐานที่ยอมรับสำหรับการให้บริการที่ทันสมัย"

ในความคิดเห็นเพิ่มเติม ของพรรคกรีนส์ ซึ่งเป็นหัวหอกในการไต่สวนหาความจริงดังกล่าว ระบุว่า กระทรวงมหาดไทยต้องทำให้ ระบบวีซ่า “มีความเป็นธรรมขึ้น เร็วขึ้น และมีราคาย่อมเยามากขึ้น โดยด่วน”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 



Share
Published 5 April 2022 2:19pm
Updated 5 April 2022 4:36pm
By Tom Stayner
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand