วัคซีนโคโรนาในออสเตรเลีย: จะได้รับเมื่อไหร่ และทุกชุมชนจะเข้าถึงได้อย่างไร

เอสบีเอสนิวส์อธิบายทางเลือกวัคซีน 3 ตัวที่รัฐบาลกลางจ่ายไป และความสำคัญของการที่คนออสเตรเลียทุกคนจะมีส่วนร่วมเมื่อเริ่มใช้

Australia vaccine graphic

Australia is due to roll out a vaccine in 2021. Source: SBS News

วัคซีนต่างๆ ถูกผลิตขึ้นด้วยความรวดเร็วจนสร้างความประหลาดใจให้ผู้คนทั่วโลก

อังกฤษและสหรัฐอเมริกาอนุมัติการใช้วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer)/ไบออนเทค (BioNTech) อย่างเร่งด่วน รวมถึงวัคซีนโมเดิร์นนาในอเมริกาด้วย โดยเริ่มฉีดให้คนในชุมชนที่ติดเชื้อได้ง่ายก่อนแล้ว

ตอนนี้เคสผู้ติดเชื้อโควิด 19 เริ่มประทุขึ้นอีกครั้งในออสเตรเลีย หลายคนสงสัยว่าเมื่อไหร่จะมีการเริ่มฉีดวัคซีนที่นี่

รัฐบาลสหพันธรัฐยืนยันว่าวัคซีนกำลังจะมา และเริ่มเตรียมแผนการจำหน่ายที่ครอบคลุมในไตรมาสแรกของปี 2021 แต่ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน และนี่คือสิ่งที่เรารู้ในตอนนี้

ทำไมออสเตรเลียถึงยังไม่อนุมัติวัคซีน?

ศาสตราจารย์เอเดรียน เอสเทอร์แมน นักระบาดวิทยาจากมหาวิทยาลัยเซาท์ ออสเตรเลียชี้ว่าคำตอบง่ายๆ คือ ยังไม่มีอะไรต้องรีบร้อน
Allergic reactions to the Pfizer/BioNtech vaccine are said to be incredibly rare.
Allergic reactions to the Pfizer/BioNtech vaccine are said to be incredibly rare. Source: Photonews
เขากล่าวว่าสิ่งสำคัญที่ต้องนึกถึงคือการอนุมัติให้ใช้วัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทคในประเทศอังกฤษและอเมริกานั้นเป็น “การอนุมัติแบบเร่งด่วน” กล่าวคือการทดลองระยะที่สามยังไม่เสร็จสิ้น แต่ความต้องการที่จะต้องใช้นั้นสูงเกินที่จะรอ  

“มันไม่ใช่เรื่องปกติที่จะใช้วัคซีนแบบเร่งด่วน แต่ประเทศอย่างอังกฤษและอเมริกากำลังเผชิญสถานการณ์โควิด 19 ที่ร้ายแรง พวกเขาไม่สามารถรอได้ และมันก็สมเหตุสมผล” เขากล่าว

เมื่อไหร่ออสเตรเลียจะเริ่มใช้วัคซีน?

“หน่วยงานควบคุมของเรา (องค์กรบริหารสินค้าเพื่อการบำบัด) อยากรอผลของการทดลองที่เสร็จสิ้นเรียบร้อยเสียก่อน วิเคราะห์ผลอย่างถี่ถ้วน มั่นใจว่าจะอนุมัติใช้ได้จริง แล้วถึงค่อยเริ่มใช้วีคซีน” ศาสตราจารย์เอสเทอแมนกล่าว ก่อนที่จะมีการระบาดในชุมชนที่ซิดนีย์

เขาคาดว่าจะมีการเริ่มใช้วัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค “ประมาณเดือนมีนาคม” 2021 

ใครจะได้รับวัคซีนก่อน?

ศาสตราจารย์พอล เคลลี รักษาการประธานสาธารณสุขของออสเตรเลียยืนยันว่าวัคซีนจะถูกนำไปใช้ตามกลุ่มความต้องการ โดยจะให้ผู้สูงอายุและผู้ที่มีปัญหาเรื่องสุขภาพเป็นกลุ่มแรก

เขากล่าวว่าคนที่มีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อ เช่น เจ้าหน้าที่สาธารณสุขและผู้ดูแลคนชราเป็นกลุ่มที่สอง ตามด้วยคนที่ต้องทำงานในหน่วยฉุกเฉินและคนที่ทำงานซึ่งมีความจำเป็น (Essential worker)

ออสเตรเลียจ่ายเงินให้กับวัคซีนอะไรไปบ้าง?

หลังจากที่ตัดสินใจไม่สนับสนุนวัคซีนที่ผลิตโดยมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ รัฐบาลออสเตรเลียตอนนี้มีสามตัวเลือก ทุกตัวเลือกต้องฉีดคนละสองครั้ง และครอบคลุมประชากร 25 ล้านคนหรือมากกว่านั้น

  • แอสตราเซเนกา

    Image

รัฐบาลได้ตัดสินใจที่จะเพิ่มการสั่งซื้อวัคซีนแอสตราเซเนกาของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดจากเดิม 33.8 ล้านเป็น 53.8 ล้านโดส ยังไม่มีการอนุมัติใช้วัคซีนนี้ในประเทศอื่น แต่ผลการวิจัยมีประสิทธิภาพถึง 90 เปอร์เซ็นต์

“เราเรียกวัคซีนนี้ว่าไวรอล เวคเตอร์ เป็นการใช้ไวรัสจากลิงชิมแปนซีซึ่งไม่มีอันตรายฉีดเข้าไปเพื่อส่งต่อวัคซีน” ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนกล่าว

บริษัทเทคโนโลชีชีวภาพของออสเตรเลียหรือ CSL ได้ทำสัญญาการผลิต 50 ล้านโดสในเมลเบิร์น ตอนนี้ได้เริ่มเตรียมความพร้อมในการผลิตแล้ว แต่ยังต้องรอให้วัคซีนแอสตราเซเนกาได้รับการอนุมัติก่อนถึงจะเริ่มผลิตได้

  • โนวาแวกซ์

Novavax
Source: SBS News
อีกหนึ่งทางเลือกคือวัคซีนโนวาแวกซ์ของสหรัฐอแมริกาจำนวน 51 ล้านโดสซึ่งกำลังอยู่ในการทดลองขั้นที่สาม

ศาสตราจารย์เอสเทอร์แมนเรียกวัคซีนนี้ว่า “วัคซีนโปรตีน” ที่มีการทดลองและตรวจสอบแล้ว ซึ่งเขาคิดว่าจะได้รับการอนุมัติช่วงปีใหม่

“พวกเขาเพิ่งเริ่มการทดลองขั้นที่สามในเดือนกันยายน” ศาสตราจารย์อธิบาย

“เช่นเคย มันจะไม่ถูกนำมาใช้น่าจะจนกว่าประมาณเดือนพฤษภาคมหรือเดือนมิถุนายนปีหน้า”

  • ไฟเซอร์/ไบออนเทค

Pfizer/BioNtech
Source: SBS News
วัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทค 10 ล้านโดสที่มีระดับประสิทธิภาพอยู่ที่ 95 เปอร์เซ็นต์ เป็นวัคซีนที่น่าจะมาถึงประเทศออสเตรเลียเป็นวัคซีนแรก เทคโนโลยีของวัคซีนนี้เรียกว่า mRNA ซึ่งเป็นวิธีใหม่ที่ไม่เคยถูกนำมาใช้ผลิตวัคซีนมาก่อน

ถึงแม้ว่าวัคซีนจะมีประสิทธิภาพ แต่ด้วยความจำเป็นที่ต้องฉีดสองครั้ง หมายความว่าจะมีประชากรออสเตรเลีย 5 ล้านคนเท่านั้นที่จะได้วัคซีนนี้

นายแพทย์คริส มอย รองประธานสมาคมการแพทย์ออสเตรเลียกล่าวว่าการที่รัฐบาลกลางมีแผนการณ์ที่สามารถรับประกันได้ว่ามีทางเลือกวัคซีนจากหลายแห่งเป็นสิ่งที่สำคัญมาก

“ที่จริงแล้ว ประเด็นคือความพยายามที่จะไม่ผูกมัดกับทางเลือกเดียวในสถานการณ์วิกฤตของประเทศ และสามารถเข้าถึงวัคซีนที่มีแนวโน้มที่จะประสบความสำเร็จมากที่สุด” นายแพทย์มอยชี้ “เราไม่สามารถเลือกทุกสิ่งได้”

แต่พรรคแรงงานชี้ว่าการตกลงกับผู้ผลิตวัคซีนแค่สามแห่งยังไม่พอ ตามมาตรฐานสากลควรมีประมาณห้าถึงหกแห่ง

วัคซีนไฟเซอร์เก็บรักษายากหรือไม่?

ใช่ วัคซีนนี้ต้องถูกเก็บรักษาที่อุณหภูมิลบ 70 องศาเซลเซียสตลอดเวลา ทำให้การนำไปใช้ยุ่งยากเล็กน้อย

“มันต้องถูกเก็บไว้ในภาชนะบรรจุพิเศษ เหมือนกล่องเก็บความเย็น แต่ใช้ไนโตรเจนเหลวที่เก็บความเย็นสูงแทน” ศาสตราจารย์เอสเทอแมนกล่าว
داروشناسی در حال تحویل‌گیری نخستین محموله واکسین کرونا در شفاخانه‌ای در لندن.
The Pfizer/BioNTech vaccine must be kept at very cold temperatures. Source: Getty
เมื่อถูกถามว่าเขาคิดว่าออสเตรเลียจะสามารถจัดการเรื่องความท้าทายในการขนส่งได้หรือไม่ ศาสตราจารย์ตอบว่า “มันสามารถทำได้”

“วัคซีนไฟเซอร์จะถูกส่งไปทั่วประเทศออสเตรเลียในกล่องเก็บความเย็นพิเศษ ถึงแม้ว่ามันจะลำบากในการที่ต้องส่งวัคซีนในกล่องเก็บความเย็น แต่ก็สามารถทำได้ง่ายในออสเตรเลีย”

วัคซีน mRNA ก็ไม่สามารถผลิตในออสเตรเลียได้เช่นเดียวกับวัคซีนไฟเซอร์/ไบออนเทคเพราะเป็นเทคโนโลยีใหม่

“มีการพูดถึงว่าเราจะพัฒนาความสามารถในการผลิตวัคซีน mRNA ผมคิดว่ามันคงเป็นความคิดที่ดีสำหรับการระบาดในอนาคต” ศาสตราจารย์เอสเทอแมนกล่าว

เกิดอะไรขึ้นกับวัคซีนของมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์และ CSL?

ท่ามกลางความพยายามที่จะคิดค้นวัคซีนในออสเตรเลีย มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์และบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ CSL ต้องหยุดการคิดค้นไว้ในเดือนนี้ หลังผู้เข้าร่วมทดลองแสดงผลเอชไอวีที่ผิดพลาด

“มันไม่ได้สร้างความเสี่ยงที่จะติดเชื้อเอชไอวี” ศาสตราจารย์โรเบิร์ต โบย ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อจากมหาวิทยาลียซิดนีย์กล่าว

“สิ่งที่เราใช้คือโปรตีนในจำนวนน้อย ไม่ได้มีผลในการสร้างไวรัสที่ติดเชื้อ”
แต่นักวิทยาศาสตร์กังวลว่าถึงแม้วัคซีนจะปลอดภัย แต่ผลการตรวจเชื้อเอชไอวีที่ผิดพลาดอาจกระทบกับการตรวจเอชไอวีในออสเตรเลีย รวมถึงการบริจาคเลือด ความคิดเห็นของสาธารณชน และความมั่นใจในการใช้วัคซีน

คนออสเตรเลียคิดอย่างไรกับการใช้วัคซีน?

เพื่อให้โครงการวัคซีนประสบความสำเร็จ ประชาชนส่วนใหญ่ต้องได้รับข้อมูลที่ถูกต้องและสมัครใจที่จะใช้วัคซีน

นายแพทย์อภิเษก เวอมา แพทย์รักษาโรคทั่วไปในเมลเบิร์นกล่าวว่าหลังจากต้องถกเถียงกับคนไข้ที่กังวลกับโควิด 19 ในปีนี้ เขาได้ปัดเป่านิยายปรัมปราเกี่ยวกับวัคซีนไปหลายเรื่อง

“มีคำถามมากมายกับการฉีดวัคซีน มันจะปลอดภัยไหม? จะมีการบังคับใช้ไหม? มันจะเป็นอันตรายไหม?” นายแพทย์เผย
ในระหว่างที่มีความพยายามที่จะคิดค้นวัคซีน คนไข้หลายคนมีความกลัวและความกังวลเรื่องความปลอดภัย

“สิ่งที่เราทำคือพูดคุยอย่างเปิดอกกับคนไข้ และพูดคุยเรื่องความกังวลของพวกเขา” นายแพทย์ชี้

“เราพยายามที่จะใช้โอกาสในการพูดถึงข้อมูลที่เราได้รับจากกรมสาธารณสุขและการทดลองทางแพทย์ เราพยายามที่จะส่งเสริมการปฏิบัติตามหลักฐานที่มี ที่ทำให้เราเชื่อว่าการฉีดวัคซีนเป็นสิ่งที่ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ”

ในเดือนพฤศจิกายน มหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลียทำการสำรวจและพบว่าคนออสเตรเลีย 3,061 คนหรือ 58.5 เปอร์เซ็นต์จะฉีดวัคซีนแน่นอน 6 เปอร์เซ็นต์ระบุว่าจะไม่ฉีดวัคซีนแน่นอน

คนออสเตรเลียทุกคนจะมีส่วนร่วมในการใช้วัคซีนหรือไม่?

นายแพทย์เวอมากล่าวว่ากลุ่มผู้อพยพใหม่บางกลุ่มอาจไม่ได้ถูกพูดถึง เพราะมีอุปสรรคทางภาษาและการขาดการดูแลสุขภาพที่เหมาะสมด้วยปัจจัยเรื่องวัฒนธรรม

“พวกเขามักไม่ได้รับสิทธิ์ และไม่สามารถเข้าถึงการดูแลในระดับทั่วไปและการดูแลเบื้องต้น” นายแพทย์เวอมาชี้ “เพราะฉะนั้นผมคิดว่าพวกเขาจะมีอุปสรรคบางประการ เพราะพวกเขามักจะมีข้อมูลที่ผิด หากพวกเขาไม่ได้รับข้อมูลจากแหล่งที่ถูกต้อง”

รัฐบาลในแต่ละรัฐและรัฐบาลสหพันธรัฐถูกวิจารณ์ในระหว่างการระบาดเกี่ยวกับความผิดพลาดในการสื่อสารกับชุมชนที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรม ตั้งแต่การแปลข้อมูลผิดพลาด จนถึงการไม่ปรึกษากับตัวแทนชุมชน นั่นหมายความว่าบางคนจะหันไปหาข้อมูลข่าวสารเรื่องไวรัสที่ไม่เป็นทางการ
คุณอะเดล ซาลมาน โฆษกของสภาอิสลามแห่งวิกตอเรียเผยว่า “มีข้อมูลที่ผิดเพี้ยนในเรื่องวัคซีนมากมายออนไลน์” และการต่อสู้กับข้อมูลที่ไม่ถูกต้องนั้นเป็นความท้าทายที่ไม่ใช้แค่เฉพาะคนกลุ่มน้อยในออสเตรเลียเท่านั้น แต่รวมถึงสำหรับประชากรทั่วโลก

“ฉันคิดว่ามันสำคัญมากที่จะส่งเสริมการให้ข้อมูลที่ถูกต้องแบบมีประสิทธิภาพ เพราะมีการสร้างความหวาดกลัวอยู่มาก และการเผยแพร่ทฤษฎีสมคมคิดอีกมากมาย” เขากล่าว “เราต้องมั่นใจว่าข้อมูลสามารถส่งไปถึงพวกเขาได้ และเรามีคนให้ข้อมูลที่เชื่อถือได้ในแนวทางที่เหมาะสม”

เขาเรียกร้องให้รัฐบาลสหพันธรัฐเริ่มโครงการให้ข้อมูลล่วงหน้าก่อนที่จะเริ่มใช้วัคซีน
นักแปลในชุมชนออสเตรเลียต้องต่อสู้กับโคโรนาไวรัสเช่นกัน นายเกรก ฮันท์ รัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขกล่าวกับเอสบีเอส นิวส์ว่า รัฐบาลจะ “ยังคงปรึกษาและสอบถามคำแนะนำจากหน่วยงานพหุวัฒนธรรมและผู้เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการตอบรับในเรื่องของโควิด 19 ซึ่งรวมถึงการพัฒนาและการจัดส่งวัคซีน และแผนการสื่อสาร”

รัฐบาลเพิ่งจัดตั้งกลุ่มที่ปรึกษาสาธารณสุขเพื่อการจัดการ Covid 19 จากชุมชนที่มีความหลากหลายทางภาษาและวัฒนธรรมที่มีการประชุมเป็นครั้งแรกในเดือนนี้

ความยุ่งยากที่อาจเกิดขึ้น

ศาสตราจารย์พอล กริฟฟิน ผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสติดเชื้อจากมหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์เผยว่าการใช้วัคซีนในออสเตรเลียอาจมีความยุ่งยาก

“ผมคิดว่าปัญหาหลักคือการขนส่งและความลังเลในการใช้วัคซีนเป็นสิ่งที่เราจะเจอ ผมไม่แน่ใจว่าเราพยายามจัดการปัญหาเหล่านี้ได้ดีหรือยัง” ศาสตราจารย์กล่าว
“การขนส่งจะเป็นสิ่งที่ทำได้ลำบากมาก เพราะเราไม่เคยต้องทำอะไรแบบนี้มาก่อน”

“เรามีวัคซีนไข้หวัดธรรมดาที่ใช้ นั่นรวมถึงการใช้หลายวิธีที่จะให้ประชาชนได้ฉีดวัคซีนนั้น และเราไม่เคยประสบความสำเร็จในระดับที่เราพอใจ เราอยากจะประสบความสำเร็จกับวัคซีนโควิด” ศาสตราจารย์กล่าว

“รวมถึงการบันทึกประวัติ และการทำให้ประชาชนมีหลักฐานว่าได้รับวัคซีนแล้วก็สำคัญ วัคซีนที่เราจะเริ่มต้องฉีดสองครั้งเป็นอย่างต่ำ ถ้าประชาชนไม่กลับมาฉีดครั้งที่สอง มันอาจทำให้ระดับการป้องกันลดลง”

วัคซีนจะใช้ได้ผลไหม?

นายแพทย์มอยกล่าวว่ายังต้องมีการชี้แจงในเรื่องเป้าหมายของโปรแกรมการฉัดวัคซีนในระยะสั้นและระยะยาว

“มันมีประสิทธิภาพในการทำให้คุณไม่ป่วย ในตอนนี้เราไม่แน่ใจว่ามันดีพอที่จะทำให้คุณไม่ติดเชื้อหรือแพร่เชื้ออย่างไร เพราะฉะนั้นมันอาจจะดีสำหรับสิ่งหนึ่ง แต่อาจจะไม่ดีสำหรับสิ่งอื่น” นายแพทย์เผย

“เราไม่เพียงแค่พยายามที่จะปกป้องเป็นรายบุคคล เราพยายามที่จะหยุดการแพร่เชื้อในชุมชนด้วย โดยรวมแล้ววัคซีนเหล่านี้มันมีทั้งข้อดีและข้อเสีย และยังมีบางสิ่งที่ยังไม่สามารถบอกได้ในตอนนี้ เช่น วัคซีนจะอยู่ได้นานเท่าไหร่”

เมื่อไหร่เราจะมีข้อมูลมากกว่านี้?

ศาสตราจารย์เคลลี่กล่าวว่ารายละเอียดเกี่ยวกับการใช้วัคซีนในออสเตรเลียจะเผยต่อสาธารณะในเดือนมกราคม

 


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ ที่นี่

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080 

รัฐบาลสหพันธรัฐออสเตรเลียยังได้มีแอปพลิเคชัน COVIDSafe เพื่อติดตามและแจ้งเตือนผู้ที่พบปะใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ซึ่งคุณสามารถดาวน์โหลดมาใช้ได้จากแอปสโตร์ (app store) สำหรับโทรศัพท์มือถือของคุณ อ่านเกี่ยวกับแอปพลิเคชันนี้ 

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 


Share
Published 23 December 2020 7:42pm
Updated 12 August 2022 3:09pm
By Amelia Dunn, Marcus Megalokonomos
Presented by Chollada K-Ross


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand