อังกฤษเตือนคนแพ้อาหาร-ยา เลี่ยงฉีดวัคซีนโควิดของไฟเซอร์

สำนักงานอาหารและยาอังกฤษเตือน คนมีประวัติ 'แพ้ยา-อาหาร' เลี่ยงฉีดวัคซีนต้านโควิดของไฟเซอร์-ไบออนเทค ที่เพิ่งอนุมัติใช้ได้ไม่นาน หลังพบรายงานอาการแพ้รุนแรง

A nurse from the Belfast Trust Vaccine Team prepares to inject care home staff with the Pfizer/BioNtech COVID-19 vaccine

A nurse from the Belfast Trust Vaccine Team prepares to inject care home staff with the Pfizer/BioNtech COVID-19 vaccine Source: Press Association

องค์กรกำกับดูแลด้านอาหารและยาของอังกฤษได้เตือนประชาชนว่า  ผู้ที่มีอาการภูมิแพ้โปรตีนแปลกปลอมอย่างรุนแรง (Anaphylaxis) ในอาหารหรือยา ไม่ควรรับวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาโดยบริษัทไฟเซอร์-ไบออนเทค (Pfizer-BioNTech) ซึ่งเป็นการชี้แจงเพิ่มเติมต่อคำเตือนดังกล่าวที่ประกาศไปก่อนหน้านี้

ประเทศอังกฤษได้เริ่มต้นฉีดวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาให้กับประชาชน ตั้งแต่เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา (8 ธ.ค.) โดยเริ่มต้นจากเด็กและผู้สูงอายุเป็นอันดับแรก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการผลักดันในระดับโลก ที่สร้างความท้าทายมากที่สุดครั้งหนึ่งในช่วงที่โลกไม่มีภัยจากสงคราม

หน่วยงานกำกับดูแลยาและผลิตภัณฑ์เพื่อสุขภาพของอังกฤษ (MHRA) ระบุเมื่อวานนี้ (9 ธ.ค.) ว่าพบรายงาน 2 ฉบับ ที่เกี่ยวกับอาการแพ้โปรตีนแปลกปลอมรุนแรง และการแสดงอาการแพ้ต่อวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาดังกล่าว นับตั้งแต่วันแรกที่ได้มีการเปิดตัว

“ผู้ที่มีประวัติอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อวัคซีน อาหาร และยา ไม่ควรรับวัคซีนต้านไวรัสโคโรหน้าของไฟเซอร์-ไบออนเทค” นางจูน เรน (June Raine) ประธานบริหารของ MHRA กล่าว 

“ผู้คนส่วนมากจะไม่มีอาการแพ้อย่างรุนแรง และประโยชน์ของการปกป้องทุกคนจากเชื้อไวรัสโคโรนานั้น มีมากกว่าความเสี่ยงของวัคซีนต้านไวรัสชนิดนี้ คุณสามารถมั่นใจได้ว่า วัคซีนดังกล่าวเป็นไปตามมาตรฐานที่เข้มงวด ในด้านความปลอดภัย คุณภาพ และประสิทธิภาพที่เชื่อถือได้ของ MHRA”

อาการภูมิแพ้โปรตีนแปลกปลอมชนิดรุนแรง (Anaphylaxis) เกิดจากการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายที่มากเกินไป ซึ่งบริการสาธารณสุขแห่งชาติของอังกฤษ (NHS) ได้อธิบายว่า เป็นอาการที่มีความรุนแรงและอันตรายถึงชีวิต 

แนวทางเกี่ยวกับวัคซีนดังกล่าว ในฉบับที่มีความสมบูรณ์ขึ้น ที่ได้มีการทำให้กระจ่างว่า ความเสี่ยงหลักของวัคซีนชนิดนี้มาจากอาการภูมิแพ้โปรตีนแปลกปลอมชนิดรุนแรง ได้มีการเปิดเผย หลังการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิแพ้ 

ขณะที่ MHRA ได้แนะนำในเบื้องต้น สำหรับผู้ที่มีประวัติของอาการแพ้ที่เด่นชัดว่า ให้หลีกเลี่ยงการรับวัคซีนดังกล่าว

ด้าน บริษัท ไฟเซอร์ และบริษัท ไบออนเทค ได้สนับสนุนการสอบสวนวัคซีนดังกล่าวโดย MHRA

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา หน่วยงานกำกับดูแลเวชภัณฑ์และผลิตภัณฑ์ด้านสุขภาพของอังกฤษ (MHRA) เป็นหน่วยงานแรกของโลกที่อนุมัติการใช้วัคซีนต้านไวรัสโคโรนา ที่พัฒนาโดยบริษัท ไฟเซอร์-ไบออนเทค ขณะที่องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ​ (FDA) และองค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ยังคงอยู่ในระหว่างการพิจารณาวัคซีนต้านไวรัสของบริษัทดังกล่าว

เมื่อเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา

ขณะที่เจ้าหน้าที่ระดับสูงของทางการสหรัฐฯ ระบุเมื่อวานนี้ว่า ชาวอเมริกันที่มีอาการภูมิแพ้อย่างรุนแรงอาจไม่ใช่ผู้ทดลองรับวัคซีนของบริษัท ไฟเซอร์-ไบออนเทค จนกว่าจะมีความชัดเจน และความเข้าใจมากขึ้น

ด้านรัฐมนตรีสาธารณสุขของแคนาดา ระบุว่า จะมีการพิจารณาถึงรายงานเกี่ยวกับผลข้างเคียงของวัคซีนต้านไวรัสดังกล่าว แต่ก็ได้ระบุว่าผลข้างเคียงนั้นเป็นเรื่องที่คาดว่าจะเกิดขึ้นได้ และไม่มีความจำเป็นในการเปลี่ยนแปลงข้อมูลด้านความเสี่ยงและประโยชน์ของวัคซีนนี้

นางเรน ประธานบริหารของ MHRA กล่าวต่อสภาผู้แทนราษฎรของอังกฤษว่า อาการแพ้ดังกล่าว ไม่ใช่ส่วนประกอบที่เกิดขึ้นในการทดลองทางคลินิกของวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาที่พัฒนาโดยไฟเซอร์

ไฟเซอร์ ระบุว่า ได้มีการคัดกรองผู้เข้าร่วมทดลองรับวัคซีน ที่มีประวัติเกี่ยวกับอาการแพ้อย่างรุนแรงต่อวัคซีนชนิดต่าง ๆ รวมถึงส่วนผสมที่ใช้ในการผลิตวัคซีน 

แต่อย่างไรก็ตาม มีการคาดว่าอาการแพ้ต่อวัคซีนของไฟเซอร์-ใบออนเทค อาจเกิดขึ้นจากส่วนประกอบที่ใช้ในการผลิตวัคซีนที่เรียกว่า โพลีเอธิลีน ไกลคอล (Polyethylene glycol) หรือ PEG ซึ่งช่วยรักษาความเสถียรของวัคซีน และไม่พบอยู่ในส่วนประกอบของวัคซีนชนิดอื่น 

ขณะที่องค์การยาแห่งสหภาพยุโรป (EMA) ระบุว่า จะนำข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับคุณภาพ ความปลอดภัย และประสิทธิภาพของวัคซีนต้านไวรัสโคโรนาดังกล่าว ไปประกอบการพิจารณาในการอนุมัติ ซึ่งรวมถึงข้อมูลจากนอกกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปด้วย


ประชาชนในออสเตรเลียต้องอยู่ห่างกับผู้อื่นอย่างน้อย 1.5 เมตร คุณสามารถตรวจดูว่ามีข้อจำกัดใดบ้างที่บังคับใช้อยู่ในรัฐและมณฑลของคุณ 

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 10 December 2020 5:44pm
Updated 10 December 2020 6:50pm
Presented by Tinrawat Banyat
Source: AFP, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand