อธิบายศัพท์แสงด้านการเลือกตั้ง จาก donkey vote ไปจนถึง democracy sausage

อธิบายคำศัพท์แสงเกี่ยวกับการเลือกตั้งของออสเตรเลีย ตั้งแต่ donkey vote ไปจนถึง democracy sausage ขณะการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง Source: AAP

คำศัพท์แสงเกี่ยวกับการเลือกตั้งของออสเตรเลีย อาจทำให้หลายๆ คนที่มาอยู่ใหม่ในออสเตรเลียงุนงงได้

คุณอัลจีน ครูซ เป็นวิศวกรไฟฟ้าในบริสเบน เขาอพยพมาจากฟิลิปปินส์มาอยู่ในออสเตรเลียเมื่อสามปีก่อน และยังคงงุนงงกับศัพท์แสงทางการเมือง

“พูดตรงๆ เลยก็คือ ศัพท์สแลงเกือบทั้งหมดนั้น ผมไม่เข้าใจเลยจริงๆ มันตลกดีที่เมื่อใดที่ผมคุยกับชาวออสเตรเลีย และพวกเขาใช้คำสแลง บางครั้งผมก็ต้องใช้เวลากว่าจะเข้าใจถึงสิ่งที่พวกเขาหมายถึงจริงๆ” คุณอัลจีน ครูซ กล่าว

“มันจะเยี่ยมมากถ้าผมคุ้นเคยกับคำศัพท์สแลงเหล่านี้จริงๆ เพื่อที่ว่าผมจะสามารถเข้าใจสิ่งที่พวกเขาพูดได้”

เรามาทำความรู้จักและทำความเข้าใจกับคำศัพท์บางคำที่ใช้บ่อยในการเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียกันเถอะ

Above the line

คำว่า “above the line” หรือ "เหนือเส้น" หมายถึงการลงคะแนนเสียงในบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก ลงคะแนนเสียงเหนือเส้นหมายความว่าคุณต้องใส่หมายเลขตามลำดับความชอบ (จาก 1 ถึง 6) ลงในช่องอย่างน้อย 6 ช่อง ในการลงคะแนนเสียงให้พรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณต้องการเลือก

คะแนนเสียงที่คุณเลือกตั้งลำดับความชอบ จะถูกส่งไปให้ผู้สมัครในพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณเลือกเป็นตัวเลือกอันดับแรก จากนั้นจะส่งไปยังผู้สมัครของพรรคหรือกลุ่มการเมืองที่คุณเลือกเป็นอันดับสอง และต่อไปเรื่อยๆ
ตัวอย่างการลงคะแนนเสียงเหนือเส้น (above the line) สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก
ตัวอย่างการลงคะแนนเสียงเหนือเส้น (above the line) สำหรับบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก Source: AEC

Below the line

Below the line หมายถึงในการลงคะแนนเสียงใต้เส้นในบัตรลงคะแนนเลือกวุฒิสมาชิก โดยคุณจะต้องใส่หมายเลขเรียงตามลำดับความชอบ (จาก 1 ถึง 12) ลงในช่องอย่างน้อย 12 ช่อง สำหรับผู้สมัครแต่ละคน ซึ่งคุณรู้แน่ชัดว่าคุณกำลังลงคะแนนเสียงให้ใคร

Democracy sausage

การขายแซนด์วิชไส้กรอกปิ้งเพื่อหาทุนสนับสนุนองค์การต่างๆ ในชุมชน มักมีขึ้นที่ศูนย์เลือกตั้งทั่วประเทศในวันเลือกตั้ง

ศาสตราจารย์จูดิท เบร็ตต์ จากมหาวิทยาลัยลา โทรบ กล่าวว่า คำว่า “Democracy sausage" หรือ “ไส้กรอกประชาธิปไตย" เกิดขึ้นราวๆ ปี 2012 หลังจากที่เริ่มมีการใช้คำนี้ทางออนไลน์

“คนหนุ่มสาวกลุ่มหนึ่งในโซเชียลมีเดียใช้คำว่า “Democracy sausage" (ไส้กรอกประชาธิปไตย) เพื่อพูดถึงสถานที่ที่ผู้คนสามารถซื้อไส้กรอกเป็นอาหารเช้าได้เมื่อเราต้องไปเลือกตั้ง และคำดังกล่าวก็เริ่มถูกใช้แพร่หลาย” ศาสตราจารย์เบร็ตต์ กล่าว
ที่หน่วยเลือกตั้ง คุณอาจเห็นแผงขายแซนวิชไส้กรอกเพื่อเรี่ยไรเงินให้องค์กรในชุมชน ซึ่งมักเรียกกันว่า 'ไส้กรอกประชาธิปไตย'
ที่หน่วยเลือกตั้ง คุณอาจเห็นแผงขายแซนวิชไส้กรอกเพื่อเรี่ยไรเงินให้องค์กรในชุมชน ซึ่งมักเรียกกันว่า 'ไส้กรอกประชาธิปไตย' Source: AAP Image/James Ross

Donkey vote

ตรงกันข้ามกับความเชื่อที่แพร่หลายว่า นี่เป็นการลงคะแนนแบบทิ้งขว้างซึ่งทำให้เป็นบัตรเสีย แต่ความจริงๆ แล้วการลงคะแนนเสียงแบบที่เรียกกันว่า Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) ยังคงเป็นการลงคะแนนที่ไม่ได้ทำให้บัตรเสียแต่อย่างใด

รองศาสตราจารย์ พอล วิลเลียมส์ นักวิจารณ์การเมืองของมหาวิทยาลัยกริฟฟิท กล่าวว่า " Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) เป็นลงคะแนนที่ถูกต้อง แต่เราคิดว่าลาเป็นสัตว์ที่โง่เขลา ดังนั้นแนวคิดในเรื่องนี้ก็คือ คนที่เข้าไปที่หน่วยเลือกตั้ง เข้าไปในคูหาเลือกตั้ง และคิดว่า ‘ฉันไม่รู้ว่าเรื่องการเมืองเลย ฉันไม่มีความสนใจ และฉันจะสิ่งที่ง่ายที่สุดและเร็วที่สุดเพื่อจะได้ออกไปจากที่นี่’ "

สิ่งที่เร็วที่สุดและง่ายที่สุดมักจะหมายถึง การที่ผู้คนใส่หมายเลข 1 ที่ด้านบนของบัตรลงคะแนนเสียงและใส่หลายเลขเรียงตามลำดับมาจนถึงด้านล่างของบัตรลงคะแนน โดยไม่ได้คิดหรือไม่รู้ว่าพวกเขากำลังลงคะแนนเสียงให้ใครหรือเลือกใคร

นอกจากนี้ ยังมีการลงคะแนนแบบ Donkey vote (ลงคะแนนแบบโง่ๆ เหมือนลา) โดยทำกลับกันคือใส่หมายเลข 10 ลงที่ด้านบนของบัตรลงคะแนน และใส่หมายเลขเรียลงลำดับมาเรื่อยๆ ในถึงหมายเลข 1 ที่ด้านล่างของบัตรลงคะแนน

Hung parliament

มาจากแนวคิดเดียวกันกับ hung jury (คือคณะลูกขุนที่มีความคิดเห็นขัดแย้งกันจนไม่สามารถหาข้อสรุปได้)  แต่ในรัฐสภา หมายความว่าไม่มีพรรคใดที่ได้ที่นั่งส่วนใหญ่โดยรวมในรัฐสภา ดังนั้นจึงไม่มีพรรคการเมืองใดที่จะจัดตั้งรัฐบาลโดยลำพังได้ และสามารถควบคุมเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาได้

แต่ต้องอาศัยการสนับสนุนจากพรรคอื่นและจากผู้สมัครอิสระ
การเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม
การเลือกตั้งระดับสหพันธรัฐของออสเตรเลียจะมีขึ้นในวันที่ 21 พฤษภาคม Source: AAP / MICK TSIKAS/AAPIMAGE

‘I don’t hold a hose’

ดร.อแมนดา โลจ์เซน ผู้อำนวยการศูนย์พจนานุกรมแห่งชาติออสเตรเลีย (ANDC) กล่าวว่า สำนวนหนึ่งที่ ANDC จับตาดูอยู่คือสำนวนที่ว่า ‘I don’t hold a hose’ หรือ “ผมไม่ได้เป็นคนถือสายยาง" ซึ่งย้อนกลับไปในปี 2019 เมื่อนายกรัฐมนตรีสก็อตต์ มอร์ริสัน ไปพักผ่อนที่ฮาวายในช่วงฤดูไฟป่าของออสเตรเลีย

“ตอนที่กลับมา เขาใช้สำนวนว่า ‘I don’t hold a hose’ หรือ “ผมไม่ได้เป็นคนถือสายยาง" เพื่อจะบอกว่า จริงๆ แล้วเขาไม่ใช่คนที่ต้องออกไปจัดการดับไฟป่าโดยตรง” ดร.โลจ์เซน กล่าว

“แต่จากนั้นมันก็ถูกนำมาใช้เพื่อต่อต้านเขา ทั้งในบริบทของไฟป่าและในบริบทอื่นๆ ภายหลัง สำหรับการไม่รับผิดชอบโดยตรงสำหรับสิ่งที่เขาผลักความรับผิดชอบให้คนอื่นหรือให้กับปัจจัยอื่นๆ”

“เราเห็นสำนวนนี้ถูกนำไปใช้บ่อยๆ ในเรื่องการฉีดวัคซีนต้านโควิดให้ประชากร เป็นประโยคที่ว่า 'ผมไม่ได้เป็นคนถือเข็มฉีดยา' เราเพิ่งเห็นเมื่อไม่นานนี้กับสถานการณ์น้ำท่วมด้วยว่า 'ผมไม่ได้เป็นคนถือถังวิดน้ำ'"

Manchurian candidate

วลีที่ได้ยินในรัฐสภาเมื่อเร็ว ๆ นี้ซึ่งใช้โดยทั้งสองพรรคการเมืองหลัก แต่ในช่วงแรกถูกใช้โดยพรรคร่วมเพื่ออ้างถึงพรรคแรงงานว่า เห็นอกเห็นใจจีนเกินกว่าที่รัฐบาลชุดปัจจุบันเห็นว่าเหมาะสม ดร.อแมนดา โลจ์เซน ผู้อำนวยการศูนย์พจนานุกรมแห่งชาติออสเตรเลีย (ANDC) กล่าว

Pork barrelling

มีคำจำกัดความในพจนานุกรมแมกควารี (Macquarie) ว่า "เป็นการให้ส่วนที่ไม่เหมาะสมสำหรับเงินของรัฐบาล เพื่อแลกกับการสนับสนุนทางการเมือง"

ดร.วิลเลียมส์ จากมหาวิทยาลัยกริฟฟิท กล่าวว่า วลี Pork barrelling หรือถังบรรจุเนื้อหมูมาจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเนื้อหมูที่บรรจุมาในถังไม้เป็นอาหารหลักสำหรับคนมั่งคั่งในศตวรรษที่ 19

วลีนี้มีความหมายทางการเมืองในช่วงสงครามกลางเมืองของอเมริกา เมื่อนักการเมืองเสนอเงินให้เพื่อบูรณะชุมชนต่างๆ การเสนอถังบรรจุเนื้อหมูถูกนำมาใช้สำหรับการติดสินบน ซึ่งออสเตรเลียได้นำมาประยุกต์ใช้ในแบบของเราเอง

Pork barrelling เป็นแนวทางปฏิบัติที่พรรคการเมืองและนักการเมืองใช้เงินสาธารณะอย่างมิชอบ เพื่อหาผลประโยชน์ทางการเมืองใส่ตน โดยมากแล้วมักเป็นการใช้เงินสาธารณะเพื่อโน้มน้าวใจผู้มีสิทธิเลือกตั้ง โดยให้คำมั่นสัญญาต่างๆ ระหว่างการหาเสียงเลือกตั้ง


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 9 May 2022 3:43pm
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand