Explainer

วิกฤตไฟฟ้าออสฯ ‘ตัดไฟ-พักซื้อขายพลังงาน’ ทำไมมาถึงจุดนี้

วิกฤตเศรษฐกิจยังไม่ทุเลา วิกฤตพลังงานก็เข้ามาท่ามกลางอากาศเย็น ล่าสุดโครงข่ายไฟฟ้ารับความต้องการไม่ไหวจนต้องตัดไฟเป็นหย่อม ๆ กลุ่มดำเนินการตลาดพลังงานเร่งสั่งพักซื้อขายไฟในตลาดกลางระดับชาติ อะไรที่ทำให้ค่าไฟกลายเป็นวิกฤตครั้งใหม่ที่พบได้ในข่าวรายวัน

ภาพเสาส่งไฟฟ้าแรงสูง และแผนที่ออสเตรเลียแบบกราฟิก

Source: SBS News

ถือเป็นครั้งแรกที่ตลาดพลังงานแห่งชาติของออสเตรเลียได้ถูกสั่งพักการซื้อขาย โดยกลุ่มผู้ประกอบการในตลาดพลังงานระบุว่า

กลุ่มผู้ดำเนินการตลาดพลังงานออสเตรเลีย (AEMO) ระบุในบันทีกที่เผยแพร่เมื่อวานนี้ (15 มิ.ย.) ว่าได้พักการซื้อขายในตลาดพลังงานไฟฟ้าซื้อขายทันที (electricity spot market) อย่างไม่มีกำหนดในรัฐนิวเซาท์เวลส์ รัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐแทสเมเนีย และรัฐวิกตอเรีย

การประกาศพักการซื้อขายดังกล่าวเกิดขึ้น หลัง



“สถานการณ์เมื่อไม่กี่วันนี้ได้สร้างความท้าทายทั่วทั้งอุตสาหกรรมพลังงาน การพักการซื้อขายในตลาดจะลดความซับซ้อนของการดำเนินการต่าง ๆ ในช่วงที่เกิดภาวะขาดแคลนพลังงานในห่วงโซ่อุปทานอย่างมีนัยยะสำคัญ” แดเนียล เวสเทอร์แมน (Daniel Westerman) ประธานบริหารกลุ่มผู้ดำเนินการตลาดพลังงานออสเตรเลีย (AEMO) กล่าว

เหตุการณ์ครั้งนี้ถือเป็นการพักการซื้อขายในตลาดพลังงานระดับชาติโดยสมบูรณ์ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นับตั้งแต่เริ่มต้นในปี 1998 ทำให้กลุ่มผู้ดำเนินการตลาดพลังงานสามารถเข้าควบคุมการจ่ายพลังงานไฟฟ้าจากผู้ผลิตเข้าสู่โครงข่ายไฟฟ้าทางชายฝั่งตะวันออกของประเทศ

นอกจากนี้ กลุ่มผู้ดำเนินการตลาดพลังงานจะเป็นผู้ตั้งราคาพลังงานให้กับทุกเขตปกครองภายในตลาด

ในบรรดาสาเหตุหลักของวิกฤตในครั้งนี้ รวมถึงปัญหาโรงไฟฟ้าถ่านหินที่มีสภาพเก่าทรุดโทรมเกิดการขัดข้อง ราคาแก๊ซที่พุ่งสูงขึ้นทั่วโลก และการใช้พลังงานที่สูงขึ้นในสภาพอากาศที่หนาวเย็นในรัฐนิวเซาท์เวลส์และรัฐวิกตอเรีย

อีกปัจจัยหนึ่งก็คือโรงกำเนิดไฟฟ้าต่าง ๆ ซึ่งปกติจะจ่ายพลังงานสำรองเข้าสู่ระบบเมื่อกำลังส่งขาออกอยู่ในระดับต่ำ ถอนตัวออกจากตลาดหลัง AEMO ประกาศเพดานอัตราค่าไฟฟ้า (price cap) อยู่ที่ 300 ดอลลาร์ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมง

“นี่เป็นความผิดพลาดของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่าย ที่ปฏิเสธการนำนโยบายสำรองพลังงานภายในประเทศมาปรับใช้” ซาแมนธา เฮปเบิร์น (Samantha Hepburn) ศาสตราจารย์ด้านกฎหมายพลังงาน จากมหาวิทยาลัยดีกิน กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“มันเป็นเรื่องเหลวไหลที่เราไม่มีกลไกป้องกันสำหรับตลาดภายในประเทศให้สำรองพลังงานเอาไว้ส่วนหนึ่ง เพื่อให้เราไม่ต้องซื้อคืนในราคาที่แพงกว่า 80 เท่า และเพื่อที่ผู้ค้าปลีกจะซื้อพลังงานได้ในความเป็นจริง และสามารถทำกำไรได้ในธุรกิจที่พวกเขาดำเนินการ”

อะไรที่จุดชนวนวิกฤต

ผศ.กิโยม โรเจอร์ (Guillaume Roger) จากสาขาเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยโมแนช กล่าวว่า วิกฤตในครั้งนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากการขาดแคลนพลังงาน แต่เกิดจากการขาดแคลนศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าให้เพียงพอกับความต้องการ

“ในตอนนี้ เรากำลังอยู่ท่ามกลางวิกฤตที่ตลาดกำลังพังทลายลง” ผศ.โรเจอร์ กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

“มันไม่ได้มีปัญหาขาดแคลนแหล่งพลังงาน แต่มันเป็นเพราะเราขาดศักยภาพไปประมาณ 2-3 กิกะวัตต์จากพลังงานถ่านหิน ซึ่งปกติแล้วเราจะมีตรงนี้ ถ้าประมาณแล้วก็ประมาณ 20-25% ของโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ไม่ทำงาน

เมื่อเกิดปัญหากับแหล่งพลังงานในลักษณะนี้ ตลาดพลังงานก็ต้องพึ่งพาผู้ผลิตไฟฟ้าในการนำพลังงานกลับมาสู่ตลาดเพื่อให้เพียงพอกับความต้องการ



เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (13 มิ.ย.) AEMO ได้กำหนดเพดานราคาไฟฟ้าขายส่งสำหรับรัฐควีนส์แลนด์ รัฐเซาท์ออสเตรเลีย รัฐวิกตอเรีย และรัฐนิวเซาท์เวลส์ที่ $300 ดอลลาร์ต่อเมกะวัตต์วัตต์ชั่วโมง

“เราไม่เห็นราคา $300 ดอลลาร์ต่อเมกะวัตต์ชั่วโมงบ่อยมากนัก ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ประมาณ $70 ดอลลาร์ และเพดานราคาในตลาดคือ $15,000 ดอลลาร์” ผศ.โรเจอร์ กล่าว

“แตเรามีผู้กำเนิดไฟฟ้าที่ผลิตได้ที่ $400 ดอลลาร์ พวกเขาต้องได้รับการจ่าย $400 ดอลลาร์เพื่อผลิตไฟฟ้า หากคุณจ่ายพวกเขา $300 พวกเขาก็เลือกที่จะไม่ผลิต”

หากผู้ผลิตไฟฟ้าปฏิเสธที่จะเสนอขาย AEMO สามารถใช้กลไกในการออกคำสั่งให้ผลิตไฟฟ้ากลับเข้ามาในระบบ จากนั้นผู้ผลิตไฟฟ้าจะสามารถเรียกค่าชดเชยได้ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม

พักการซื้อขายในตลาดระดับชาติจะช่วยอะไร

ศาสตราจารย์เฮปเบิร์น กล่าวว่า การพักการซื้อขายในตลาดหมายความว่า AEMO กำลงพยายามวิเคราะห์ว่าจะยังคงกำหนดเพดานราคาค่าไฟฟ้าต่อไปหรือไม่

“จุดประสงค์ของการพักการซื้อขาย คือความพยายามในการวิเคราะห์ว่าจะปรับใช้ระเบียบพลังงานแห่งชาติ (National Electricity Rules) ในรูปแบบที่สมเหตุสมผลได้อย่างไร” ศาสตราจารย์เฮปเบิร์น กล่าว

“ในความเห็นของฉัน มันกำลังจะมีการปรับใช้ระเบียบฉุกเฉินในแง่ของการสำรองและการจ่ายพลังงงานอย่างจริงจัง”
คุณเวสเทอร์แมนจาก AEMO กล่าวว่า การพักการซื้อขายในตลาดเป็นมาตรการชั่วคราว และจะพิจารณาเป็นรายวัน เขากล่าวอีกว่าคำสั่งดังกล่าวจะยกเลิกเมื่อ AEMO มั่นใจว่าตลาดจะดำเนินการได้อย่างเหมาะสม

แล้วประชาชนควรกังวลไหม

ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรเจอร์ กล่าวว่า เนื่องจากชาวออสเตรเลียส่วนมากมีสัญญาพลังงานที่จะเก็บค่าใช้พลังงานในอัตราคงที่ ผลกระทบต่อผ็บริโภคส่วนใหญ่นั้นจะมีน้อย

“พวกเขาจะแทบจะสังเกตไม่เห็นเลย เว้นแต่ว่ามีเหตุไฟดับ หากคุณพบเหตุไฟดับ มันคือหายนะสำหรับใครก็ตามที่ได้รับผลกระทบ” ผู้ช่วยศาสตราจารย์โรเจอร์ กล่าว

ศาสตราจารย์ เดวิด เบิร์น (David Byrne) จากคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเมลเบิร์น กล่าวว่า แม้ราคาขายส่งพลังงานไฟฟ้าจะไม่ส่งผลกระทบต่อผู้บริโภคในระยะสั้น แต่ในระยะยาวนั้น ผู้บริโภคจะสังเกตได้ถึงความแตกต่างเมื่อเวลาผ่านไป

“สิ่งใดก็ตามที่คุณซื้อและต้องมีการสร้างและการผลิต ทุกอย่างล้วนใช้ไฟฟ้า และเราไม่เคยคิดถึงมันเลย” ศาสตราจารย์เบิร์น กล่าว

“มันแค่อยู่ฉากหลัง และเราไม่ได้คิดถึงมันในฐานะของสิ่งที่ทำให้เรามีไฟสว่าง หรือในแง่ของสิ่งที่มีผลต่อราคาของทุกอย่างที่เราซื้อและบริโภค แต่คุณจะเห็นว่าสิ่งนั้นจะส่งผลมาถึงเมื่อเวลาผ่านไป”


คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

แฟร์เวิร์กขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ 5.2% คาดเงินเฟ้อ-ดอกเบี้ยจ่อขึ้นอีก


Share
Published 16 June 2022 5:37pm
Updated 16 June 2022 6:24pm
By Emma Kellaway
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand