สำรวจหลากมุมมองศรัทธาของคนไทยไกลบ้าน

เอสบีเอสไทยพาคุณไปสำรวจหลากมุมมองความเชื่อของคนที่อยู่อาศัยในต่างประเทศ ว่าในปัจจุบันศาสนาสำคัญกับพวกเขาหรือไม่อย่างไร และใช้อะไรเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจเมื่อมีปัญหา

bhudda center.jpeg

วันวิสาขบูชาเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน Credit: Photo by Chayada Powell, SBS Thai


วันวิสาขบูชา ปีนี้ตรงกับ วันพุธที่ 22 พฤษภาคม 2567 ซึ่งนับว่าเป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา สำหรับชาวพุทธทุกนิกายทั่วโลก

ทั้งยังเป็นวันหยุดราชการในหลายๆ ประเทศและเป็นวันสำคัญในระดับนานาชาติตามข้อมติของสมัชชาใหญ่แห่งสหประชาชาติ เนื่องจากเป็นวันคล้ายวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญที่สุดในพระพุทธศาสนา 3 เหตุการณ์ ได้แก่ การประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพาน

ชาวพุทธจึงถือว่าเป็นวันที่รวมการเกิดเหตุการณ์สำคัญ และเรียกการบูชาในวันนี้ว่า วิสาขบูชา ย่อมาจาก วิสาขปุรณมีบูชา หมายถึง การบูชาในวันเพ็ญเดือนวิสาขะ ซึ่งชาวพุทธทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศก็มีกิจกรรมทางศาสนาต่างๆ เช่น ตักบาตร ทำบุญ ฟังธรรม เวียนเทียนรอบอุโบสถ เป็นต้น

bhudda 5.jpeg
หลายความเห็นชี้ว่าวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนรุ่นใหม่ ทำให้พวกเขาห่างจากศาสนาไปโดยปริยาย Credit: Photo by: Chayada Powell, SBS Thai

คนรุ่นใหม่มองศาสนาอย่างไร

จากข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติแห่งประเทศไทยปี 2557 ชี้ว่าประชากรอายุ 13 ปีขึ้นไปเป็นผู้นับถือศาสนาพุทธร้อยละ 94.6

อย่างไรก็ตามปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่มากขึ้นเรื่อยๆ ทั่วโลก ที่ไม่นับถือศาสนาใด ถือเป็นปรากฎการณ์ทางสังคมที่น่าสนใจไม่น้อย และปรากฎการณ์ดังกล่าวถือเป็นแรงสั่นสะเทือนต่อระบบสังคมและวัฒนธรรมที่มีอยู่


ผลการสำรวจจากองค์กรพิว พบว่า คนที่ไม่นับถือศาสนาใดมีจำนวนมากขึ้นถึง 1 1,100 ล้านคน

และ กล่าวว่า โลกสังคมออนไลน์ในเมืองไทยเช่น กระทู้ในพันธุ์ทิพย์ก็เริ่มมีการตั้งคำถามเกี่ยวกับแนวคิดกลุ่มคนไม่มีศาสนา โดยเฉพาะในไทยมีกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น

แม้แต่ในออนไลน์แพลตฟอร์มอื่นๆ เช่น X หัวข้อการสนทนาหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับการไม่ยึดโยงกับศาสนาก็ปรากฏเพิ่มมากขึ้น อย่างเช่นความเห็นหนึ่งในแพลตฟอร์มดังกล่าวเกี่ยวกับปรากฏการณ์คนไร้ศานาว่า

no religion comment EDITED.jpg
การสำรวจขององค์กรพิวยังพบอีกว่า การผิดหวังจากบุคคลทางศาสนาทำให้คนไทยหันไปเป็นคนไม่มีการศาสนาแทน ถึงร้อยละ 20

ประกอบกับในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมามีซีรีย์ เรื่องดัง เช่น "สาธุ" ที่ลงสตรีมมิ่งในเน็ตฟลิกซ์และได้คำชื่นชมจนเป็นไวรัลอย่างล้นหลาม มีนักแสดงขวัญใจวัยรุ่นมารับบทบาทของตัวละครหลักที่ดำเนินเรื่องราวที่ท้าทายวงการศาสนาพุทธ
รวมทั้งตั้งคำถามระหว่าศาสนากับโมเดลธุรกิจที่แฝงในเชิงพุทธพาณิชย์ก็ทำให้ยิ่งมีการถกเถียงในประเด็นที่ว่าศาสนายังสำคัญอยู่หรือไม่ อย่างไร

อะไรทำให้คนหันหลังให้ศาสนา

จากการสำรวจขององค์กรพิวยังพบอีกว่า การผิดหวังจากบุคคลทางศาสนาทำให้คนไทยหันไปเป็นคนไม่มีการศาสนาแทน ถึงร้อยละ 20

คุณ แบมบี้ นักเรียนไทยในนครเมลเบิร์น เปิดเผยกับเอสบีเอสไทยว่า นอกจากสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป การผิดตัวบุคคลที่ทำผิดศีลในศาสนาก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ทำให้คนเสื่อมศรัทธา

“อาจจะเป็นสังคมเปลี่ยนแปลง อันนี้ชัดเจนอยู่ บวกกับความเสียหายที่เค้าชอบทำกัน"
เหมือนที่บอกว่ามีสีกาเข้ามาอะไรประมาณเนี้ยค่ะ หนูคิดว่ามันทำให้คนเสื่อมศรัทธาในศาสนาขึ้นเยอะ
คุณ แบมบี้ นักเรียนไทยในเมลเบิร์น
ส่วน คุณ อิ่มบุญ คนไทยในนครเมลเบิร์นเปิดเผยว่า การทำบุญในปัจจุบันสามารถทำได้หลายแบบ ไม่จำเป็นต้องใช้เงิน และสามารถเห็นผลได้ในทันที เช่นการไปบริจาคโลหิต

“เราก็จะมองว่ามันแบบเข้าวัดก็จะมีเรื่องเงินเข้ามาเกี่ยวข้อง เรามองว่าการทำบุญของเรา มันไม่จำเป็นต้องใช้เงินเยอะ เพราะว่าเงินก็เป็นปัจจัยสำคัญของเรา เราเลือกไปบริจาคเลือดแทน เราเลือกไปทำอะไรที่แบบเห็นผล”

วิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงของคนรุ่นใหม่ ทำให้พวกเขาห่างจากศาสนาไปโดยปริยาย คุณ ออย คนไทยในออสเตรเลีย เสริมว่า

“เมื่อก่อนคนรุ่นเก่ามีเวลาว่างก็ไปทำบุญเข้าวัด แต่คนรุ่นใหม่มีเวลาว่างก็จะไปคาเฟ่ ไปห้าง อะไรแบบนี้แทน”

buddha 3.jpeg
เทศกาล วันพระ หรือ Buddha's day เป็นเทศกาลประจำปีที่จัดขึ้นในนครเมลเบิร์นเพื่อเฉลิมฉลองความหลากหลายทางวัฒนธรรม Credit: Photo by: Chayada Powell, SBS Thai

เมื่อมาอยู่ต่างประเทศแล้วทำให้เข้าวัดหรือนึกถึงศาสนาน้อยลงไหม คุณออย นักเรียนในนครเมลเบิร์นให้ความเห็นกับเอสบีเอสไทยว่า
แน่นอนค่ะ เพราะว่าวัดอยู่ไกล หลายๆที่อยู่นอกเมือง ทำให้เดินทางไม่ค่อยสะดวก
คุณ ออย นักเรียนไทย ในนครเมลเบิร์น

ที่พึ่งจิตใจเมื่อไกลบ้าน

ถ้าไม่ได้ใช้ศาสนาเป็นที่พึ่งจิตใจแล้ว คนรุ่นใหม่ใช้อะไรเป็นหลักในการดำเนินชีวิตก็เป็นอีกประเด็นที่้เป็นที่ถกเถียงกันในโลกออนไลน์

คุณแบมบี้บอกกับเอสบีเอสไทยว่า เธอรู้สึกว่าเธอใช้ตัวเองเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของตน
หนูเชื่อมั่นในตัวเองค่ะ หนูคิดว่าถ้าอะไรถูกมันก็ต้องถูก ถ้าไม่แน่ใจก็ถามคนรอบข้างก็ได้
คุณ แบมบี้ นักเรียนไทยในนครเมลเบิร์น

ส่วนคุณดรีมเปิดเผยว่า เธอมีเพื่อนที่ไม่นับถือศาสนา ซึ่งเขาก็เคยบอกว่า ใช้ตัวเองเป็นที่ตั้งเหมือนกัน

“เคยถามเพื่อนที่เค้าไม่นับถือศาสนา เค้าก็บอกว่า เขาเชื่อมั่นในการกระทำของตัวเองค่ะ”

อย่างไรก็ตามแม้ว่าคนอาจจะห่างจากพิธีกรรมทางศาสนา แต่เมื่อมีเรื่องไม่สบายใจหรือต้องการที่พึ่ง คนรุ่นใหม่อาจคิดถึงศาสนาในแง่ของสิ่งที่ีใช้ปลอบประโลมใจหรือทำให้สบายใจในยามที่เผชิญกับความเครียดได้

คุณออย วิเคราะห์ว่าว่าลึกๆ แล้วคนรุ่นใหม่ก็ยังยึดโยงกับศานาอยู่แม้ว่าจะไม่เห็นเป็นรูปธรรมมากนัก

“คนรุ่นใหม่ เมื่อเขามีปัญหา ก็ยังเข้าวัด ขอพร”



คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 


บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่  

Share
Published 22 May 2024 9:12pm
Updated 23 May 2024 3:45pm
By Chayada Powell
Presented by Chayada Powell
Source: SBS

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand