เรียกร้องออสเตรเลียตามโปรตุเกส นับต่างชาติเป็นผู้อยู่อาศัยในช่วงวิกฤตไวรัสโคโรนา

กลุ่มตัวแทนผู้ลี้ภัยกลุ่มหนึ่งได้เรียกร้องให้ประเทศออสเตรเลียนำวิธีการนำร่องของประเทศโปรตุเกสมาใช้ เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานในระหว่างการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา

COVID-19 smart screening center in Lisbon, Portugal.

Source: LUSA

มีการเรียกร้องให้ประเทศออสเตรเลียนำวิธีการของประเทศโปรตุเกสมาพิจารณาโดยละเอียด เพื่อให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน ในระหว่างการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา

ประเทศดังกล่าวในทวีปยุโรปได้ตัดสินใจใ จนกระทั่งถึงวันที่ 1 กรกฎาคมเป็นอย่างน้อย เพื่อให้แน่ใจว่าพวกเขานั้นสามารถเข้าถึงบริการสาธารณะต่างๆ ได้

เจ้าหน้าที่บริหารสูงสุดของสภาผู้ลี้ภัยแห่งออสเตรเลีย (Refugee Council of Australia) นายพอล พาวเวอร์ กล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่ารูปแบบปฏิบัติดังกล่าวนั้น ถือเป็นการเล็งเห็นความสำคัญของความต้องการอันเร่งด่วนด้านต่างๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราว ท่ามกลางวิกฤตการณ์ด้านสุขภาพ

โดยเขากล่าวว่า “ในช่วงเวลาของการระบาดใหญ่ที่เกิดขึ้นนี้ สถานการณ์ก็ได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว”

“เราทุกคนทราบดีว่าเชื้อไวรัสนั้นไม่ได้เลือกปฏิบัติจากบรรทัดฐานของคนเราว่าจะถือสัญชาติอะไรหรือว่าเป็นผู้อยู่อาศัยถาวรหรือไม่ หรือว่าวีซ่าของพวกเขาจะเป็นแบบใด”

โดยตามรูปแบบของประเทศโปรตุเกสนั้น ผู้ยื่นคำร้องซึ่งก็รวมไปถึงผู้ขอลี้ภัย จำเป็นจะต้องแสดงพยานหลักฐานเพียงแค่ว่าพวกเขานั้นยังมีคำร้องคาอยู่ในระบบ ก็จะมีคุณสมบัติเพียงพอที่จะใช้บริการสาธารณะต่างๆ ได้

นั่นก็หมายความว่าพวกเขาจะได้รับอนุญาตให้เข้าใช้บริการสาธารณสุขแห่งชาติ (National Health Service) ได้รับผลประโยชน์ด้านสวัสดิการต่างๆ ตลอดจนมีบัญชีธนาคาร และสามารถทำสัญญาการว่าจ้างงานและเช่าอสังหาริมทรัพย์ได้ด้วย

โฆษกกระทรวงมหาดไทยของประเทศโปรตุเกส นางคลอเดีย เวโลซา กล่าวกับรอยเตอร์ว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นไม่ควรจะถูกลิดรอนสิทธิต่างๆ ของพวกเขาในระหว่างการระบาดใหญ่นี้

เธอกล่าวว่า “ในเวลาอันไม่ปรกติเช่นนี้ ก็จำเป็นจะต้องมีการรับประกันสิทธิต่างๆ ของผู้อพยพย้ายถิ่นฐาน”
แต่ทว่าที่ประเทศออสเตรเลีย กลับมีความวิตกกังวลว่าลูกจ้างชั่วคราวจำนวนกว่า 1.1 ล้านคนนั้นอาจไม่มีคุณสมบัติเพียงพอที่จะได้รับมาตรการความช่วยเหลือด้านสวัสดิการใดๆ เลย

กลุ่มคนเหล่านี้รวมไปถึงนักเรียนนานาชาติ ผู้ทำงานระหว่างท่องเที่ยว(เวิร์กกิงฮอลิเดย์) เช่นเดียวกันกับผู้ที่ถือวีซ่าบริดจิง วีซ่าความคุ้มครองชั่วคราว(เทมโพรารีโพรเทคชัน) และวีซ่าความคุ้มครองเซฟเฮเวน

นอกจากพลเมืองของประเทศนิวซีแลนด์เพียงบางราย ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานชั่วคราวนั้นไม่เข้าข่ายที่จะได้รับความช่วยเหลือด้านสวัสดิการเพื่อรับมือกับไวรัสโคโรนาแต่อย่างใด

ความช่วยเหลือด้านสวัสดิการนี้รวมไปถึงเงินจ่ายให้ผู้หางาน(จ็อบซีกเกอร์) รายปักษ์จำนวน $1,100 ดอลลาร์ โดยในนั้นจะเป็นเงินช่วยเหลือเนื่องจากไวรัสโคโรนา (coronavirus supplement) จำนวน $550 ดอลลาร์

และพวกเขาก็ยังถูกละเว้น ไม่ได้รับเงินช่วยเหลือค่าจ้างที่จ่ายชดเชยเพื่อรักษาการว่าจ้างงาน(จ็อบคีปเปอร์) ปักษ์ละ $1,500 ซี่งมีมูลค่ารวมถึง $130 พันล้านดอลลาร์
The Portuguese government has declared a state of emergency across the country due to the COVID-19 pandemic.
The Portuguese government has declared a state of emergency across the country due to the COVID-19 pandemic. Source: Sipa USA Henrique Casinhas / SOPA Images/
ภาพ: รัฐบาลโปรตุเกสประกาศภาวะฉุกเฉินทั่วประเทศเนื่องจากการระบาดใหญ่ของโควิด-19

ด้านรัฐบาลสหพันธรัฐของออสเตรเลียก็กล่าวว่า ได้มีเงินผลประโยชน์ที่จ่ายให้เป็นกรณีพิเศษ (Special Benefit payment) ไว้ให้กับผู้ถือวีซ่าชั่วคราวบางประเภทซึ่งประสบกับภาวะความยากลำบากทางการเงิน

ซึ่งเงินดังกล่าวจะรวมถึงเงินช่วยเหลือเนื่องจากไวรัสโคโรนาจำนวน $550 ดอลลาร์ โดยจะเป็นส่วนหนึ่งของมาตราการความช่วยเหลือใหม่ ที่ได้มีการตั้งระดับการให้ความคุ้มครอง (safety net) เอาไว้

นายพาวเวอร์กล่าวว่า ผู้ถือวีซ่าชั่วคราวจำนวนมากในประเทศออสเตรเลียนั้นเป็นกลุ่มแรกๆ ซึ่งว่างงานลง โดยเป็นส่วนหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมที่ได้รับผลกระทบอย่างหนักหน่วงที่สุดจากมาตรการเพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อไวรัส

“ในขณะนี้ คนเหล่านี้จำนวนมากส่วนใหญ่จะไม่สามารถเข้าถึงการให้ความคุ้มครองได้เลยไม่ว่าจะในรูปแบบใดๆ ก็ตาม”

“เรามีคนจำนวนหลายพันคนซึ่งอยู่ในชุมชนของเราผู้ซึ่งเมื่อเดือนที่แล้วนั้นสามารถเลี้ยงตัวเองได้ ... ขณะนี้พวกเขาไม่มีรายได้ใดๆ เลย”
Portugal is being praised for its world leading approach to supporting migrants during the COVID-19 pandemic.
Último relatório europeu aponta Portugal e Suécia como os mais bem sucedidos países europeus no controle do COVID-19 nas últimas semanas. Source: LUSA
ภาพ: ประเทศโปรตุเกสได้รับการยกย่องจากวิธีการให้ความช่วยเหลือต่อผู้อพยพย้ายถิ่นฐานซึ่งล้ำหน้าชาติอื่นๆ ในโลก ในระหว่างการระบาดใหญ่ของโควิด-19

ความวิตกกังวลอีกเรื่องหนึ่งก็คือผลกระทบจากการควบคุมการเดินทางระหว่างประเทศ ที่ทำให้ผู้อพยพย้ายถิ่นฐานบางรายนั้นเสี่ยงต่อการติดเกาะเพราะวีซ่าหมดอายุลง

กระทรวงมหาดไทยของออสเตรเลียกล่าวว่า ทางกระทรวงฯ จะรับพิจารณาคำร้องขอต่อวีซ่าแต่ละรายตราบใดที่คำร้องนั้นยื่นเข้ามาก่อนวันที่วีซ่าจะหมดอายุ

ที่ประเทศอังกฤษ ชาวต่างชาติทุกคนซึ่งติดอยู่ในประเทศได้รับการบอกกล่าวว่าพวกเขาสามารถที่จะยื่นขอต่อวีซ่าเป็นกรณีพิเศษได้จนถึงวันที่ 31 พฤษภาคม

นายพาวเวอร์กล่าวว่าใน “ช่วงเวลาอันไม่ปรกติ” เนื่องจากการระบาดใหญ่ดังกล่าว ก็ย่อมจำเป็นจะต้องมีมาตรการต่างๆ ที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ดังเช่นมาตรการที่ประเทศโปรตุเกสได้นำมาใช้

โดยเขากล่าวว่า “ตามความเป็นจริงนั้นการเดินทางระหว่างประเทศก็แทบจะหยุดชะงักลงโดยทั้งหมด”

“มันจึงจำเป็นที่จะต้องมาคิดกันใหม่ว่าประเทศออสเตรเลียและประเทศต่างๆ นั้นจะให้ความช่วยเหลือระดับพื้นฐานอย่างไรให้กับพลเมืองของตน และจะปฏิบัติต่อพลเมืองชาวต่างชาติอย่างไร”

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้ 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 
เรื่องราวที่น่าสนใจจากเอสบีเอส ไทย

บริการดูแลลูกฟรีให้ชาวออสเตรเลียที่ทำงานซึ่งจำเป็น

 


Share
Published 3 April 2020 12:54pm
By Tom Stayner
Presented by Tanu Attajarusit
Source: Reuters, SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand