Explainer

การย้ายมาออสเตรเลียจะกลับมาบูมอีกครั้งหลังโควิดหรือไม่

ขณะที่ออสเตรเลียกำลังฟื้นระบบเศรษฐกิจอีกครั้งหลังเผชิญวิกฤตโควิด-19 มากว่า 18 เดือน มีคำแนะนำว่า จำนวนผู้ย้ายถิ่นมายังออสเตรเลีย 2 ล้านคนภายในระยะเวลา 5 ปี อาจกลายเป็น 'จุดเปลี่ยนทางประวัติศาสตร์'

Opening Australia's borders will increase the terrorism risk, the government says

Opening Australia's borders will increase the terrorism risk, the government says Source: AAP

หลังมาตรการล็อกดาวน์ที่ยาวนานกว่า 3 เดือน พื้นที่มหานครซิดนีย์และปริมณฑลก็ได้กลับมาเปิดระบบเศรษฐกิจอีกครั้งเมื่อ 11 ต.ค.ที่ผ่านมา บรรดาเจ้าของธุรกิจต่างโล่งอกโล่งใจ แต่ท่ามกลางเรื่องที่น่ายินดีนี้ กลับมีปัญหาที่ซับซ้อนจากวิกฤตไวรัสโควิด-19 ที่อาจส่งผลกระทบต่อการกลับมาฟื้นตัวอีกครั้ง

ตั้งแต่ออสเตรเลียปิดพรมแดนระหว่างประเทศเมื่อเดือนมีนาคมปีที่ผ่านมา ทำให้ภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมต่าง ๆ ประสบปัญหาขาดแคลนคนทำงานมาอย่างยาวนาน สิ่งนี้ได้ทำให้ผู้นำบางส่วนเรียกร้องให้มีการเปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลียในทันที และยกระดับอัตรารับผู้อพยพย้ายถิ่นฐานขึ้นไปในระดับที่ไม่เคยเป็นมาก่อน นับตั้งแต่ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

แต่สิ่งนี้จะส่งผลกระทบต่อออสเตรเลียอย่างไรบ้าง

อัตราเติบโตประชากรที่ร่วงหล่น

12 เดือนนับตั้งแต่การปิดพรมแดนระหว่างประเทศของออสเตรเลีย ข้อมูลจากสำนักงานสถิติออสเตรเลีย (ABS) ระบุว่า ประชากรในประเทศได้เพิ่มขึ้นเพียง 35,700 คน คิดเป็นอัตราการเติบโตของประชากรเพียงร้อยละ 0.1 ลดลงอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา

ขณะที่อัตราการเพิ่มขึ้นของประชากรตามธรรมชาติรายปี (annual natural increase) ซึ่งประกอบด้วยการเกิดและการเสียชีวิตของผู้อาศัยในออสเตรเลีย ยังคงทรงตัวอยู่ที่ 131,000 คน

แต่ตัวเลขดังกล่าวถูกหักลบด้วยการลดลงของอัตราการอพยพย้ายถิ่นจากต่างประเทศสุทธิ (net migration overseas) อย่างมีนัยยะสำคัญ เข้าสู่แดนลบที่ 95,300 คน ทำให้อัตราการเพิ่มขึ้นตามธรรมชาติลดลงนับตั้งแต่ปีที่ผ่านมา 334,600 คน
An ABS graph titled 'components of quarterly population change'.
The closure of international borders has had a significant impact on the total growth of the Australian population. Source: ABS
นับตั้งแต่ช่วงสงครามในประวัติศาสตร์ออสเตรเลีย เราไม่เคยพบเห็นการเปลี่ยนแปลงทางประชากรศาสตร์ใดที่ใกล้เคียงกับการเปลี่ยนแปลงในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ดร.ลิซ แอลเลน (Dr Liz Allen) นักประชากรศาสตร์จากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (ANU) กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์

การขาดแคลนแรงงาน

ก่อนที่การแพร่ระบาดใหญ่ของโควิด-19 จะเริ่มขึ้น ภาคธุรกิจต่าง ๆ ในออสเตรเลียต่างต้องดิ้นรนกับภาวะขาดแคลนกำลังคนทำงานอยู่แล้วเป็นทุน ทำให้มาตรการปิดพรมแดนระหว่างประเทศอย่างต่อเนื่อง เป็นสิ่งที่ซ้ำเติมให้ปัญหาดังกล่าวย่ำแย่ลงไป
ตั้งแต่ผู้อพยพย้ายถิ่นที่ไม่มีทักษะอาชีพ ไปจนถึงผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะเป็นแพทย์ผู้เชี่ยวชาญระดับสูง เราตระหนักดีว่าเราต้องพึ่งพาพวกเขามากเพียงใด ในฐานะรัฐและชาติจากการอพยพย้ายถิ่น ศาสตราจารย์จ็อก คอลลินส์ (Prof Jock Collins) จากวิทยาลัยธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีซิดนีย์ (UTS) กล่าวกับเอสบีเอส นิวส์
แม้จะมีความต้องการอย่างท่วมท้นจากผู้อพยพย้ายถิ่น ในการมาตั้งรกรากหรือเดินทางกลับมายังออสเตรเลีย ดร.แอลเลน กล่าวว่า มีความเป็นไปได้น้อยที่อัตรารับเข้าของออสเตรเลียในอนาคตอันใกล้ จะฟื้นตัวกลับมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนที่การแพร่ระบาดของโควิด-19 จะเกิดขึ้น ซึ่งในเวลานั้น ออสเตรเลียมีอัตราการเติบโตของประชากรอยู่ที่ร้อยละ 1 ในแต่ละปี

“นั่นหมายถึงหายนะที่รุนแรงสำหรับออสเตรเลีย รวมถึงระบบเศรษฐกิจ” ดร.แอลเลน เตือน
ความต้องการพื้นฐานของประเทศนี้จะไม่ได้รับการเติมเต็ม เนื่องจากกำลังคนทำงานในท้องถิ่นไม่เพียงพอต่อความต้องการของอุตสาหกรรมของเรา ดร.ลิซ แอลเลน
NSW Premier Dominic Perrottet speaks during the release of the NSW Government’s Hydrogen Strategy in Sydney, Wednesday, October 13, 2021. (AAP Image/Joel Carrett) NO ARCHIVING
NSW Premier Dominic Perrottet. Source: AAP
ขณะที่ โดมินิก เพอร์โรต์เทต์ (Dominic Perrottet) มุขมนตรีรัฐนิวเซาท์เวลส์ ได้แสดงความกระตือรือร้นที่จะเปิดพรมแดนระหว่างประเทศของรัฐนิวเซาท์เวลส์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่ดูเหมือนว่าจะมีท่าทีของความลังเลในการตัดสินใจ ท่ามกลางสถานการณ์ด้านการอพยพย้ายถิ่นที่มีความตึงเครียด
เราจำเป็นจะต้องเปิดพรมแดน และเราจะต้องทำการตลาดเพื่อดึงดูดแรงงานที่มีทักษะจากต่างประเทศให้เดินทางเข้ามา เพราะถ้าเราเสียโอกาสนี้ไป ผู้อพยพย้ายถิ่นที่มีทักษะเหล่านั้นก็จะย้ายไปประเทศอื่น นายเพอร์โรต์เทต์ กล่าวเมื่อวันจันทร์ที่ 11 ต.ค. ที่ผ่านมา
การแถลงของมุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา สวนทางกับ กลาดิส เบเรจิกเลียน อดีตมุขมนตรี ที่ได้รับชัยชนะในการเลือกตั้งรัฐนิวเซาท์เวลส์เมื่อปี 2019 และได้ผลักดันให้เกิดนโยบายลดอัตรารับผู้อพยพย้ายถิ่นมายังรัฐนิวเซาท์เวลส์ลงถึงร้อยละ 50 โดยอ้างถึงปัญหาการเติบโตของโครงสร้างพื้นฐาน และการจราจรที่ติดขัด

หรือจะใช้แผนอพยพย้ายถิ่นแบบช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2

หนังสือพิมพ์ธุรกิจ ดิ ออสเตรเลียน ไฟแนนเชียล รีวิว (The Australian Financial Review) รายงานว่า มุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ ได้รับการร้องขอจากข้าราชการอาวุโสในการตั้งเป้าหมายในภาพรวมด้านการอพยพย้ายถิ่นให้สูงขึ้น ด้วยตัวเลขผู้อพยพย้ายถิ่นจำนวน 2 ล้านคนในระยะเวลา 5 ปี

นอกจากนี้ มุขมนตรีเพอร์โรต์เทต์ ยังได้รับการร้องขอเพื่อให้รับรองโครงการอพยพย้ายถิ่น ‘ที่มีความมุ่งมั่น’ ในทำนองเดียวกับช่วงที่มีผู้อพยพย้ายถิ่นมายังออสเตรเลียเป็นจำนวนมากจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งชาวออสเตรเลียได้รับสารจากรัฐบาลในเวลานั้นว่า “สร้างจำนวนประชากร หรือจะต้องอยู่อย่างอนาถ (populate or perish)”

ย้อนกลับไปในปี 1945 ในเวลานั้นรัฐบาลมีความกังวลว่า ออสเตรเลียจำเป็นต้องมีประชากรที่มากขึ้น เพื่อพยุงระดับการฟื้นตัวด้านกลาโหมและระบบเศรษฐกิจ นำไปสู่รากฐานสำคัญในการก่อตั้งหน่วยงานอพยพย้ายถิ่นแห่งสหพันธรัฐ (Federal Department of Immigration) และตั้งเป้าหมายเพิ่มอัตราการเติบโตของประชากรในออสเตรเลียให้ได้ร้อยละ 1 ในแต่ละปี
The 50,000th Dutch migrantarrives in Australia aboard the Sibajak in 1954.
The 50,000th Dutch migrantarrives in Australia aboard the Sibajak in 1954. Source: Supplied: National Archives of Australia
หลังก่อตั้งหน่วยงานดังกล่าว 15 ปีให้หลัง มีผู้อพยพประมาณ 1.2 ล้านคนย้ายมาอาศัยอยู่ในออสเตรเลีย ส่วนมากมาจากทวีปยุโรปที่แตกระแหงจากสงคราม ทำให้เศรษฐกิจของออสเตรเลียได้รับการขับเคลื่อนในเวลานั้น

“ผู้อพยพย้ายถิ่นใหม่เหล่านี้ มีส่วนทำให้ตลาดงานเติบโตกว่าครึ่งหนึ่งในระบบเศรษฐกิจประเทศ และคิดเป็นครึ่งหนึ่งของอัตราการเติบโตของประชากร” ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าว
เมื่อผู้อพยพเหล่านั้นเดินทางมาถึง พวกเขาแทบจะเริ่มทำงานในโรงงานในวันถัดไปหลังลงจากเรือเลย
ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าวว่า ในเวลานั้นออสเตรเลียก็เผชิญกับปัญหาการขาดแคลนแรงงานเช่นเดียวกับวันนี้ ซึ่งจำเป็นต้องมีการเพิ่มจำนวนผู้อพยพย้ายถิ่นให้มากขึ้นเพื่อแก้ไขปัญหา

แต่การเพิ่มจำนวนประชากรแบบเดียวกับช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 จะสร้างความท้าทายให้กับระบบโครงสร้างพื้นฐานและเรื่องที่พักอาศัย ขณะที่ระบบขนส่งสาธารณะ ถนนหนทาง และระบบสาธารณสุข ก็จำเป็นที่จะต้องขยายตัวขึ้นไปด้วย
บ่อยครั้งเกินไปที่รัฐบาลในอดีต มีแนวคิดในทำนองที่ว่า ใช้ประโยชน์จากการอพยพย้ายถิ่น ระหว่างที่ชะลอการลงทุนที่จำเป็นในระบบสาธารณูปโภค จนทำให้เกิดปัญหาหลายอย่างตามมา ศาสตราจารย์คอลลินส์ กล่าว
ศาสตราจารย์คอลลินส์ ยังได้เตือนว่า การพึ่งพาผู้ถือวีซ่าชั่วคราวที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อเติมช่องว่างในตลาดแรงงาน มีความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการเอารัดเอาเปรียบลูกจ้าง และการขโมยค่าจ้างเพิ่มมากขึ้น

ผลกระทบทางวัฒนธรรม

การอพยพย้ายถิ่นที่บูมในช่วงหลังสงครามโลกนั้น ยังเป็นสัญญาณสำคัญถึงการเปลี่ยนแปลงในพื้นฐานด้านวัฒนธรรมของออสเตรเลีย

การตัดสินใจรับผู้ลี้ภัยจากทั่วทวีปยุโรป ถือเป็นจุดสิ้นสุดในการให้สิทธิพิเศษเพื่อตั้งรกรากกับผู้ถือสัญชาติอังกฤษ และเริ่มต้นการเปลี่ยนผ่านออสเตรเลียจากประเทศอาณานิคมอังกฤษสู่สังคมพหุวัฒนธรรม

การตัดสินใจดังกล่าวยังได้ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในแง่มุมด้านการอพยพย้ายถิ่น จนนำไปสู่การยกเลิกนโยบายคนผิวขาวเป็นใหญ่ของออสเตรเลีย (White Australia Policy) โดยรัฐบาลภายใต้การนำโดย กอฟ วิธแลม (Gough Whitlam) นายกรัฐมนตรีคนที่ 21 ของออสเตรเลีย
มันคือการอพยพย้ายถิ่นที่บูมขึ้นมาช่วงหลังสงครามโลก ซึ่งได้กำหนดทิศทางใหม่ให้กับออสเตรเลีย เรามุ่งหน้าออกจากวัฒนธรรมเดียวซึ่งเป็นของคนขาว เราตระหนักว่าเราต้องมุ่งหน้าออกจากสถานที่เพียงสองแห่งในประวัติศาสตร์การอพยพย้ายถิ่นของเรา และมองไปสู่อนาคต ดร.แอลเลน กล่าว
แม้การอพยพย้ายถิ่นที่บูมขึ้นช่วงหลังสงครามโลก จะนำพาผู้อพยพย้ายถิ่นจากทวีปยุโรปมาเป็นจำนวนมาก ดร.แอลเลน คาดว่า ผู้อพยพย้ายถิ่นจากจีนและอินเดียจะยังคงเป็นส่วนแบ่งที่มีขนาดชัดเจน ในส่วนของผู้เดินทางมาถึงออสเตรเลียในอนาคตหลังวิกฤตโควิด-19

“เราจะยังต้องการทักษะจากผู้คนหลายภูมิหลัง ไม่ว่าจะเป็นแรงงาน หรือผู้เชี่ยวชาญ และอื่น ๆ และดิฉันคิดว่า เราจะยังคงพบเห็นการอพยพย้ายถิ่นจากสถานที่ซึ่งมีความหลากหลาย มากกว่าที่เคยเราเคยได้ต้อนรับผู้อพยพจากสถานที่ต่าง ๆ ที่ผ่านมาในประวัติศาสตร์” ดร.แอลเลน กล่าว
ในช่วงเวลานี้ ในการฟื้นตัวหลังจากวิกฤตโควิดครั้งนี้ จะเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญในประวัติศาสตร์ของเรา ดร.ลิซ แอลเลน

คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

ติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 
เรื่องราวอื่น ๆ ที่น่าสนใจจาก เอสบีเอส ไทย

ออสเปิดให้กลับประเทศได้โดยไม่ต้องกักตัว




Share
Published 20 October 2021 1:54pm
By Naveen Razik
Presented by Tinrawat Banyat


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand