คำตัดสินของศาลอาจเป็น “ตัวพลิกเกม” ให้ลูกจ้างแคชวล

ศาลออสเตรเลียมีคำตัดสินให้ลูกจ้างแคชวล ที่ทำงานในชั่วโมงการทำงาน “ที่เป็นประจำ แน่นอน ต่อเนื่อง และคาดการณ์ได้” มีสิทธิลางานโดยได้รับค่าจ้าง

A court ruling has found employees contracted as casuals on a permanent basis are entitled to paid leave benefits.

A court ruling has found employees contracted as casuals on a permanent basis are entitled to paid leave benefits. Source: AP

บรรดาผู้พิทักษ์สิทธิลูกจ้าง กล่าวว่า คำตัดสินของศาลที่เป็นกรณีตัวอย่างสำคัญในเรื่องสิทธิอันพึงได้รับของลูกจ้างแคชวลนี้ อาจเป็น “ตัวพลิกเกม” ให้กับนักเรียนต่างชาติที่มักเป็นลูกจ้างแคชวล (casual)

เมื่อวันพุธที่ผ่านมา (20 พ.ค.) ศาลสหพันธรัฐของออสเตรเลีย มีคำตัดสินว่า ลูกจ้างแคชวลที่ทำงานในชั่วโมงการทำงานที่สามารถคาดการณ์ได้ โดยนายจ้างให้คำมั่นล่วงหน้าที่จะมอบหมายงานให้นั้น ไม่เข้าข่ายของคำจำกัดความของการทำงานแบบแคชวล (ทำเฉพาะเมื่อมีงานให้ทำ ไม่มีกำหนดแน่นอน) ดังนั้น จึงมีสิทธิลาพักผ่อนประจำปี ลาป่วย และลาเพื่อให้การดูแลบุคคลในครอบครัว

นายบีเจย์ แซปโคตา ผู้ร่วมก่อตั้งกลุ่ม สตูเดน จ๊อบส์ ออสเตรเลีย (งานสำหรับนักเรียนแห่งออสเตรเลีย) และอดีตประธานสภานักเรียนนานาชาติ กล่าวว่า ผลที่ตามมาอาจมีแนวโน้มช่วยลดการเอารัดเอาเปรียบนักเรียนต่างชาติที่ทำงานแคชวลได้

“ก่อนจะเกิดการระบาดใหญ่ของไวรัสโคโรนา ลูกจ้างนักเรียนต่างชาติที่ทำงานแคชวลจำนวนมาก บอกเราว่า พวกเขารู้สึกว่ากำลังถูกบีบให้ต้องไปทำงานทั้งๆ ที่ไม่สบาย ไม่เช่นนั้น พวกเขาจะต้องสูญเสียงานหรือสูญเสียรายได้ไป” นายแซปโคตา บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

“ดังนั้น นี่อาจสร้างสภาพแวดล้อมการทำงานที่ยุติธรรมสำหรับทุกคนในชุมชน และยังช่วยเพิ่มความพร้อมในการเข้าสู่ระบบงานและความมั่นคงในการทำงานของนักเรียนต่างชาติด้วย”
คำตัดสินของศาลสหพันธรัฐมาจากกรณีที่ นายโรเบิร์ต โรสซาโต ลูกจ้างเหมืองแร่ถ่านหิน ซึ่งประสบความสำเร็จในการโต้แย้งว่า การทำงานสามปีครึ่งของเขากับบริษัทจัดหาแรงงาน เวิร์กแพ็ก (WorkPac) เป็นตำแหน่งงานถาวรที่ถูกซ่อนเร้นในรูปแบบของงานแคชวล

นายโรสซาโต ได้ทำงานตามสัญญาว่าจ้างที่แตกต่างกัน 6 ฉบับที่เหมืองแร่ เกลนคอร์ (Glencore) โดยเป็นสัญญาว่าจ้างงานแคชวล ซึ่งในช่วงหนึ่งเขาทำงานกะละ 12 ชั่วโมงติดกัน 7 วัน ก่อนจะได้วันหยุดหลังจากนั้น 7 วัน

ผู้พิพากษา มอร์ดิไค บรอมเบิร์ก กล่าวว่า รูปแบบการทำงานดังกล่าว เข้าข่ายงาน “ที่มีความสม่ำเสมอ แน่นอน ต่อเนื่อง คงที่ และคาดการณ์ได้” ส่งผลให้ลักษณะการจ้างงานของเขาเป็นงานถาวร มากกว่าแคชวล (ไม่มีกำหนดแน่นอน)

ขณะที่กลุ่มผู้พิทักษ์สิทธินักเรียนต่างชาติต่างยินดีกับคำตัดสินนี้ของศาล ธุรกิจขนาดใหญ่ต่างๆ ก็กำลังล็อบบี้ให้รัฐบาลสหพันธรัฐยับยั้งลูกจ้างไม่ให้ “เอาประโยชน์ทั้งสองทาง” จากสิทธิอันพึงได้รับ

นายคริสเตียน พอร์เตอร์ รัฐมนตรีด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์ กล่าว่า คำตัดสินของศาลจะมีผลทันทีต่อธุรกิจต่างๆ ในช่วงที่หลายธุรกิจกำลังได้รับผลกระทบอย่างหนักจากเชื้อไวรัสโคโรนา

เขากล่าวว่า รัฐบาลอาจพิจารณาร่วมอุทธรณ์เรื่องนี้

“จากการที่การตัดสินของศาลนี้อาจมีแนวโน้มทำให้เศรษฐกิจอ่อนตัวลงได้ในช่วงเวลาที่ชาวออสเตรเลียจำนวนมากอยู่แล้วตกงาน ก็อาจจำเป็นที่จะต้องพิจารณาทางเลือกอื่นทางกฎหมาย” นายพอร์เตอร์ บอกกับ เอเอพี

แต่นายโทนี เบิร์ก โฆษกด้านอุตสาหกรรมสัมพันธ์ของพรรคแรงงาน กล่าวว่า นายจ้างต่างหากที่กำลัง “เอาประโยชน์ทั้งสองทาง” โดยบอกว่า เขารู้สึก “อึ้ง” กับปฏิกิริยาของรัฐบาลเกี่ยวกับคำตัดสินนี้ของศาล
“หากนายจ้างปฏิเสธที่จะให้ความมั่งคงกับลูกจ้างอย่างที่พวกเขามีสิทธิตามกฎหมายแล้วละก็ รัฐสภาก็ไม่ควรปฏิบัติเหมือนกับเป็นไม้เทนนิสปกป้องผู้ที่ทำผิดกฎหมาย” นายเบิร์ก กล่าว

“ผู้คนจำนวนมาก โดยเฉพาะลูกจ้างแคชวล พบว่าตนเองไม่มีทางไประหว่างช่วงโควิด-19 พวกเขาพบว่าตนเองไม่มีสิทธิได้รับความช่วยเหลือหลายอย่างซึ่งมีให้กับผู้ที่ทำงานประจำ”

นายจ้างต่างเกรงกันว่าจะมีการฟ้องร้องกลุ่มหลั่งไหลเข้ามามากมาย ซึ่งอาจส่งผลให้ต้องมีการจ่ายเงินย้อนหลังให้ลูกจ้างสูงถึง 8 พันล้านดอลลาร์

ขณะที่กลุ่มนักเรียนต่างชาติกำลังผลักดันให้มีการผ่อนปรนข้อจำกัดชั่วโมงการทำงาน

นายแซปโคตา กล่าวว่า นักเรียนต่างชาติถูกจ้างให้เป็นลูกจ้างแคชวล เพราะวีซ่าของพวกเขากำหนดให้ทำงานได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 สัปดาห์ หรือ 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ ซึ่งรวมแล้วแทบจะไม่ถึง 3 กะเต็มๆ สำหรับที่ทำงานส่วนใหญ่

“ลูกจ้างจำนวนมากต้องการจ้างงานนักเรียนต่างชาติแต่ไม่สามารถทำได้ เพราะพวกเขาไม่สามารถทำงานเต็มวันได้ 3 วันต่อสัปดาห์ ดังนั้น หากเราสามารถล็อบบี้ให้เพิ่มข้อจำกัดชั่วโมงการทำงานจาก 20 ชั่วโมงให้เป็น 24 ชั่วโมงได้ นั่นจะสามารถสร้างงานพาร์ทไทม์ได้หลายหมื่นตำแหน่งสำหรับนักเรียนต่างชาติ” นายแซปโคตา กล่าว

“นั่นเป็นปัญหาใหญ่อย่างหนึ่งที่นักเรียนต่างชาติเผชิญ และนายจ้างจำนวนมากใช้ข้อจำกัดชั่วโมงการทำงานเป็นวิธีเอาเปรียบนักเรียนต่างชาติ โดยขู่ว่าจะแจ้งให้กระทรวงมหาดไทยเอาผิดกับนักเรียน”
คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 22 May 2020 2:21pm
By Claudia Farhart
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS News, AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand