คุณแอบบี โอไบรอัน รายงานจากกรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
“แม้ว่าผมจะทรมาน ทุกๆ วัน ผมก็ไม่หวาดกลัว แม้ว่าขาทั้งสองข้างของผมจะถูกตีตรวน ดวงตามทั้งสองของผมก็ยังมองขึ้นสู่ท้องฟ้า”
สมยศ พฤกษาเกษมสุข หนึ่งในนักโทษคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพที่โด่งดังที่สุดของประเทศไทย เขียนข้อความดังกล่าวจากในห้องขัง
ชายวัย 55 ปีคนดังกล่าวใช้เวลาในเรือนจำแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ เป็นเวลาเจ็ดปี เนื่องมาจากการเผยแพร่บทความจำนวนสองบทความซึ่งถูกกล่าวหาว่าหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่เก้า
เขาเล่าว่า เขาถูกปล่อยตัวเมื่อปี 2018 แต่กลับออกไปสู่บรรยากาศของการเซ็นเซอร์ที่หนักหน่วงกว่าเมื่อเขาถูกจับเสียอีก

Somyot Prueksakasemsuk, one of Thailandâs most prominent les majeste prisoners. Source: Abbie O'Brien
“แย่กว่า แย่กว่าในแง่ของบรรยากาศการเมืองไทย” เขากล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
“โดยรวมๆ คุณสามารถเห็นได้ว่า ประชาชนนั้นหวาดกลัวที่จะแสดงความคิดเห็น”
เขากล่าวว่าเป็นเช่นนี้ตั้งแต่เมื่อทหารยึดอำนาจด้วยการทำรัฐประหารในปี ค.ศ. 2014
“ในช่วงห้าปี ยังมีกฎหมายที่แย่ๆ มากมาย กฎหมายที่เป็นเผด็จการ ถึงแม้เราจะมีการเลือกตั้ง สิทธิของประชาชนในการแสดงความคิดเห็นก็ยังถูกจำกัด” เขากล่าว
สองวันหลังจาก ไทยก็ได้ถลำลงสู่ห้วงเหวของความไม่แน่นอนที่ยิ่งลึกลงกว่าเดิม
ดร. เกร็ก เรย์มอนด์ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเมืองของประเทศไทยจากมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย (Australian National University) ได้ไปที่กรุงเทพฯ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเพื่อสังเกตการณ์การเลือกตั้ง โดยเป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยของเขา

Thais go to the polls after five years of military rule. Source: Abbie O'Brien
“รัฐธรรมนูญนั้นไม่ยุติธรรม ในแง่ที่ว่าพรรคซึ่งได้เก้าอี้ สส. จำนวนมากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร ก็อาจไม่จำเป็นว่าจะได้จัดตั้งรัฐบาล” เขากล่าว
พรรคซึ่งฝักใฝ่ทหาร นำโดยนายกรัฐมนตรีประยุทธ จันทร์โอชา นั้นไม่มีเก้าอี้เพียงพอที่จะเป็นรัฐบาลเสียงข้างมาก
ฝ่ายตรงข้ามพรรคหลักได้แก่พรรคเพื่อไทย ซึ่งเป็นพรรคฝั่งของอดีตนายกรัฐมนตรีทักษิณ ชินวัตร ได้รับจำนวน สส. มากที่สุดในสภาผู้แทนราษฎร
ทว่าเมื่อเก้าอี้สมาชิกวุฒิสภา นั้นถูกวางเอาไว้อย่างชัดเจนแล้วว่าเป็นของทางทหาร ก็อาจเป็นไปได้ที่พลเอกประยุทธ์จะยังคงเป็นผู้นำต่อไป ถ้าหากว่าเขาสามารถตั้งรัฐบาลผสมได้
“นี่ก็เป็นเพราะว่าเมื่อมีการจัดตั้งรัฐบาล คะแนนเสียงของวุฒิสมาชิกจำนวน 250 คนซึ่งไม่ได้มาจากการเลือกตั้ง ก็จะถูกนับรวมด้วยในการลงคะแนนเสียงเลือกนายกรัฐมนตรี” ดร. เรย์มอนด์ กล่าว
หลังจากที่ปกครองโดยทหารมาเป็นเวลาห้าปี ก็มีความคาดหวังว่าการเลือกตั้งจะเป็นการหวนคืนสู่ประชาธิปไตยและเสถียรภาพ
แต่บางคนก็หวาดกลัวว่า เมื่อดูแล้วทหารก็อาจยังอยู่ในอำนาจต่อไป ก็จะไม่มีการลดหล่อนใดๆ ให้กับผู้ไม่เห็นด้วยทางการเมือง โดยมีผู้วิพากษ์วิจารณ์ว่า คสช. เพิ่มความกวดขันมากขึ้นด้วยซ้ำในระหว่างที่ปกครองประเทศ
บุศรินทร์ แปแนะ มาจากองค์กรไอลอว์ (iLaw) ซึ่งเป็นองค์กรอิสระด้านสิทธิมนุษยชนที่เฝ้าระวังการปฏิบัติต่อพลเมืองโดยรัฐบาล
เธอกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์ว่า ทหารได้ใช้อำนาจบริหารเพื่อยับยั้งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น
“ได้มีการใช้มาตรา 44 เพื่อออกคำสั่งเป็นจำนวนมาก ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อเสรีภาพของประชาชน เช่นการสั่งห้ามรวมตัวกันเกินห้าคน และการอนุญาตให้เจ้าหน้าที่เข้าตรวจค้นและจับกุมประชาชนได้ เพื่อนำไปปรับทัศนคติเป็นจำนวนเจ็ดวัน” เธอกล่าว
สื่อมวลชนต่างๆ ก็ตกเป็นเป้าเช่นเดียวกัน
ในช่วงเตรียมการเลือกตั้ง สำนักข่าววอยซ์ทีวี ถูกสั่งระงับใบอนุญาตเป็นเวลา 15 วัน หลังจากที่มีรายการสองรายการถูกพบว่าก่อให้เกิดความแตกแยก
“เพราะฉะนั้นหน้าจอของเราก็ดับเลยจริงๆ เป็นเวลาหนึ่งวัน เรานำเรื่องดังกล่าวไปขึ้นศาล ซึ่งเราก็ได้รับชัยชนะที่ศาลปกครอง ตอนนี้พวกเขาก็ยื่นขออุทธรณ์” มล. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล หนึ่งในผู้ออกความคิดเห็นด้านการเมืองของสถานีกล่าวกับเอสบีเอสนิวส์
ตัวของ มล. ณัฏฐกรณ์ เองนั้นก็ถูกสั่งระงับมิให้ออกอากาศเป็นจำนวนหลายครั้ง
เขากล่าวว่า สำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ถูกแต่งตั้งขึ้นโดยรัฐบาลทหาร และก็จะยังคงมีอยู่ต่อไป แม้ว่าจะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นแล้วก็ตาม
“กสทช. นั้น เป็นกลุ่มของผู้ถูกทหารแต่งตั้งขึ้นโดยคำสั่งของ คสช. ที่มีวาระยืดออกไปอย่างไม่มีกำหนด” มล. ณัฏฐกรณ์ กล่าว
āđāļĢāļ·āđāļāļāļĢāļēāļ§āļāļĩāđāđāļāļĩāđāļĒāļ§āļāđāļāļ

āļāļĢāļĢāļāļāļēāļĢāđāļĄāļ·āļāļāđāļāļĒāļĢāļ§āļĄāļāļąāđāļ§āļāļąāļāļāđāļāļāđāļēāļ āļāļŠāļ.
ติดตามฟังรายการ เอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ ทุกวันจันทร์และวันพฤหัสบดี เวลา 22.00 น.
āđāļĢāļ·āđāļāļāļĢāļēāļ§āļāļĩāđāļāđāļēāļŠāļāđāļāļāļēāļ āđāļāļŠāļāļĩāđāļāļŠ āđāļāļĒ

āļāļēāļĄāļŦāļēāļāļēāļāļēāļĻāļāļĢāļīāļŠāļļāļāļāļīāđāļāļĩāđāļŠāļļāļāđāļāđāļĨāļ āđāļŦāđāļĄāļēāļāļĩāđāļĢāļąāļāđāļŦāđāļāļāļĩāđāđāļāļāļāļŠāđāļāļĢāđāļĨāļĩāļĒ