หมอในฮอตสปอตของซิดนีย์เผยคนหนุ่มสาวแห่ขอฉีดวัคซีน

นพ.ด่อง ฮัว กำลังทำงานเจ็ดวันต่อสัปดาห์ในคลินิกสามแห่งทั่วพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ เขากล่าวว่า คนหนุ่มสาวกำลังแห่กันไปรับการฉีดวัคซีน โดยผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ที่คลินิกของเขา อาจต้องรอนานถึงสี่สัปดาห์

Dr Dong Hua

Dr Dong Hua in PPE outside the Fairfield Respiratory Clinic. Source: Supplied

นพ.ด่อง ฮัว (Dr Dong Hua) กำลังทำงานเจ็ดวันต่อสัปดาห์ในคลินิกสามแห่งทั่วพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ ซึ่งอยู่ใจกลางพายุโควิด-19 ที่โหมกระหน่ำในนิวเซาท์เวลส์

นายแพทย์ คุณพ่อลูกสาม ผู้ซึ่งทำงานในพื้นที่แฟร์ฟิลด์ ผู้นี้ได้เสียสละเวลาส่วนตัวอย่างมาก เพื่อช่วยนิวเซาท์เวลส์ต่อสู้กับการระบาดของโควิด-19

นพ.ฮัว กล่าวว่า นับตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงคำแนะนำด้านสุขภาพเกี่ยวกับวัคซีนแอสตราเซเนกาเมื่อเดือนที่แล้ว เขาก็ได้เห็นความต้องการฉีดวัคซีนตัวนี้อย่างท่วมท้นจากคนหนุ่มสาวที่จองเวลาขอรับการฉีดวัคซีน

“เมื่อ 2-3 เดือนก่อน เราแทบไม่มีใครที่อายุต่ำกว่า 60 ปีเลย เพราะความเสี่ยงเกิดลิ่มเลือดอุดตัน (จากวัคซีนแอสตราเซเนกา) ” นพ.ฮัว กล่าว

“ความลังเลใจดังกล่าวนั้นเลือนหายไปมาก และเรากำลังเห็นผู้คนก้าวออกมาเพื่อรับการฉีดวัคซีน”
dr dong hua
Dr Hua has been working seven days a week over the past few months due to NSW's escalating COVID-19 crisis. Source: Supplied
เมื่อสองสัปดาห์ก่อน กลุ่มที่ปรึกษาด้านเทคนิคเกี่ยวกับการสร้างภูมิคุ้มกันโรคแห่งออสเตรเลีย (Australian Technical Advisory Group on Immunisation หรือ ATAGI) ได้มีคำแนะนำสำหรับผู้ที่อายุ 18 ปีและมากกว่าที่อยู่ในพื้นที่เขตมหานครของซิดนีย์และปริมณฑล (Greater Sydney) ให้พิจารณาอย่างเร่งด่วนที่จะไปรับการฉัดวัคซีน ไม่ว่าจะเป็นวัคซีนตัวใดก็ตาม ซึ่งรวมทั้งวัคซีนแอสตราเซเนกา”

นพ.ฮัว กล่าวว่า ผู้ที่ต้องการฉีดวัคซีนแอสตราเซเนกา ที่คลินิกของเขา อาจต้องรอนานถึงสี่สัปดาห์

“สถานการณ์ได้เปลี่ยนแปลงไป คนมากขึ้นวิตกเกี่ยวกับโควิดและมีผู้คนราว 10-12 คนที่อายุต่ำกว่า 40 ปีที่ขณะนี้อยู่ในแผนกผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาล”

แพทย์จีพีผู้นี้เตือนว่า ผู้ที่อายุต่ำกว่า 40 ปีที่ต้องการรอจนกว่าจะมีสิทธิ์ฉีดวัคซีนไฟเซอร์ อาจต้องรอนานกว่าที่พวกเขาคาดได้

“ขณะนี้ระยะเวลารอคอยที่คลินิกของผมสำหรับการฉีดวัคซีนไฟเซอร์มักอยู่ที่ 2-3 เดือน และนั่นก็เช่นเดียวกับที่ศูนย์ฉีดวัคซีนขนาดใหญ่ของรัฐนิวเซาท์เวลส์ด้วย”

“ดังนั้น กว่าที่พวกเขาจะมีสิทธิ์ฉีด อาจกินเวลา 6 เดือนกว่าที่พวกเขาจะได้รับการปกป้องจากวัคซีน”

การฉีดวัคซีนในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์

จากอัตราการฉีดวัคซีนตามพื้นที่ต่างๆ ที่รัฐบาลสหพันธรัฐมีข้อมูลนั้น ในสัปดาห์ที่แล้วพบว่า พื้นที่ทางตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ มีอัตราการฉีดวัคซีนต่ำที่สุดในซิดนีย์ โดยมีผู้คนอายุ 15 ปีขึ้นไปเพียงร้อยละ 14.6 ที่ได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้ว ในพื้นที่พาร์รามัตตา ร้อยละ 17.7 ของประชากรได้รับการฉีดวัคซีนครบสองโดสแล้ว ขณะในพื้นที่ตะวันออกของซิดนีย์อยู่ที่ร้อยละ 23.9

นพ.ฮัว กล่าวว่า สารที่คละกันและความชะล่าใจในช่วงต้นของการระบาดอาจเป็นสองปัจจัยที่ทำให้มีสถิติการฉีดวัคซีนต่ำดังกล่าว

เขาเชื่อว่า ปัจจัยทางวัฒนธรรมก็มีส่วนด้วยเช่นกัน จากการที่ผู้คนในชุมชนจำนวนมากใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง

“คนจำนวนมากไม่รู้ว่าพวกเขาควรได้รับวัคซีนตัวไหน หรือวัคซีนแอสตราเซเนกาปลอดภัยสำหรับพวกเขาหรือไม่” นพ.ฮัว กล่าว

โฆษกสาธารณสุขนิวเซาท์เวลส์ กำลังร่วมมืออย่างใกล้ชิดกับกลุ่มชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมต่างๆ เพื่อพยายามทำให้แน่ใจได้ว่า “สมาชิกชุมชนหลากภาษาและวัฒนธรรมเข้าใจคำแนะนำด้านสาธารณสุข”

โฆษกสาธารณสุขกล่าวว่า ได้มีการออกแคมเปญเพื่อสื่อสารกับชุมชนหลากภาษา ซึ่งมีทั้งการแปลข้อมูลเป็นภาษาต่างๆ การขอความช่วยเหลือจากผู้นำทางศาสนาและผู้นำชุมชน และมีเจ้าหน้าที่ที่พูดได้สองภาษาที่ศูนย์ฉีดวัคซีนโควิด-19 และศูนย์ตรวจเชื้อ

แต่ไม่เพียงแค่อุปสรรคทางภาษาและความสับสนเกี่ยวกับข้อมูลด้านสุขภาพเท่านั้น ที่ส่งผลต่อโครงการฉีดวัคซีนให้ประชาชน นพ.ฮัว กล่าวว่า ตัวเขาเองยังต้องช่วยขจัดความเข้าใจที่ผิดๆ ในหมู่ประชาชนบางคนที่มาใช้บริการที่คลินิกของเขาด้วย

“มีทฤษฎีสมคบคิดมากมาย เช่นว่า วัคซีนอาจทำให้เกิดปัญหาเรื่องการเจริญพันธุ์ ซึ่งข้อมูลผิดๆ เหล่านี้ส่วนใหญ่คนได้รับจากการค้นหาทางอินเทอร์เน็ต หรือจากกลุ่มต่อต้านการฉีดวัคซีน ... มีข้อมูลผิดๆ อยู่มากมาย”
dr hua
Dr Hua alongisde healthcare practitioners outside the Fairfield Respiratory Clinic in southwest Sydney. Source: Supplied

ช่วงเวลาที่วุ่นวายสำหรับแพทย์จีพี

สองสามเดือนที่ผ่านมาเป็นช่วงเวลาที่วุ่นวายสำหรับ นพ.ฮัว ซึ่งดูแลคลินิกด้านระบบทางเดินหายใจ ที่แคมป์แบลล์ทาวน์  ที่แฟร์ฟิลด์ และที่เคนยอน สตรีท

เขากล่าวว่า การที่นิวเซาท์เวลส์เปลี่ยนแปลงข้อกำหนดด้านการตรวจเชื้อได้สร้างความกดดันอย่างมากต่อบริการของคลินิกของเขาในระยะแรก โดยกฎดังกล่าวกำหนดให้ผู้ที่อาศัยอยู่ในพื้นที่เขตเทศบาลท้องถิ่นแฟร์ฟิลด์ (Fairfield) และแคนเทอร์บอรี-แบงส์ทาวน์ (Canterbury-Bankstown) ที่ต้องเดินทางออกนอกพื้นที่เพื่อไปทำงานที่จำเป็นต้องไปรับการตรวจเชื้อโควิด-19 ทุกๆ 3 วัน

นพ.ฮัว กล่าวว่า ในช่วงแรกนั้นคลินิกต่างมีคนมาใช้บริการตรวจเชื้อจนแน่นขนัด เนื่องจากในขณะนั้นไม่มีที่รับตรวจเชื้ออย่างเพียงพอ ทำให้ผู้คนต้องรอนาน 3-4 ชั่วโมงกว่าจะได้ตรวจเชื้อ

“เป็นค่อนข้างวุ่นวายมากจริงๆ เรามีคนมาต่อคิวรอกันมากมาย” นพ.ฮัว เล่า

“พวกเขาค่อนข้างโมโห เราให้บริการสำหรับผู้ที่นัดมาล่วงหน้าและคนในพื้นที่มากมายที่ไม่รู้ และพวกเขาได้แสดงความก้าวร้าวกับเรา”

“จำนวนผู้มารับการตรวจเชื้อได้ลดลงไปเล็กน้อย แต่เราก็ยังคงมีผู้คนราว 200 คนต่อวันที่มารับการตรวจหาเชื้อโควิด”

นพ.ฮัว กล่าวว่า เขารู้สึกเศร้าใจจากข่าวที่ว่า ชายวัย 20 ปีเศษผู้หนึ่งที่ไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งอาศัยอยู่ในพื้นที่ตะวันตกเฉียงใต้ของซิดนีย์ เสียชีวิตหลังติดเชื้อโควิด-19

"โควิดเป็นโรคที่ร้ายแรง และสำหรับสายพันธุ์เดลตานี้ ผู้คนจำเป็นต้องระมัดระวังอย่างมาก"

“เราจำเป็นต้องกระตุ้นให้คนอายุน้อยของเราทุกคนไปรับการฉีดวัคซีน เพราะนั่นเป็นโอกาสเดียวที่เราจะเอาชนะการระบาดใหญ่ของเชื้อโรคนี้ได้ โดยเพิ่มอัตราการฉีดวัคซีนของเรา และต้องรักษาอัตราผู้ไปรับการตรวจเชื้อให้สูงต่อไปด้วย”


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 9 August 2021 3:25pm
Updated 9 August 2021 3:56pm
By Eden Gillespie
Presented by Parisuth Sodsai
Source: The Feed


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand