ภัยเงียบแอบแฝงของคนนอนน้อย

ผู้เชี่ยวชาญแนะชาวออสเตรเลียให้ความสำคัญกับการนอนหลับ หลังพบประชากรเกินครึ่งนอนน้อย และปัญหาด้านสุขภาพการนอนหลับแอบแฝงที่เป็นอันตรายถึงชีวิต

Sleep study

Source: SBS

จากการวิจัยล่าสุดของมูลนิธิสุขภาพการนอนหลับ (Sleep Health Foundation) ระบุว่า มีชาวออสเตรเลียจำนวนน้อยที่ตื่นขึ้นมาด้วยความสดชื่น 

นางโดโรธี บรูก (Dorothy Bruck) ประธานมูลนิธิสุขภาพการนอนหลับ กล่าวว่า ปัญหาการนอนหลับไม่เพียงพอกำลังสร้างผลกระทบกับคุณภาพชีวิตชาวออสเตรเลียเกินกว่าครึ่ง
60% ของชาวออสเตรเลีย บอกว่ามีอาการของโรคนอนไม่หลับมากกว่าหนึ่งอาการ และเกิดขึ้นมากกว่า 3 ครั้งในช่วงเวลา 1 สัปดาห์ นั่นหมายความว่า พวกเขามีปัญหาในการเข้านอน หรือการนอนหลับให้ต่อเนื่อง จากการตื่นขึ้นมากลางดึกหลายครั้ง นางบรูกกล่าว
การศึกษาดังกล่าว ซึ่งเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างมากกว่า 2,000 คน จากผู้คนทุกช่วงอายุ และทุกภูมิหลังทางวัฒนธรรม ยังได้พบอีกว่ามีชาวออสเตรเลียร้อยละ 15 ที่มีอาการนอนไม่หลับชนิดเรื้อรัง

นายแพทย์ปีเตอร์ เคลเลอร์ (Peter Keller) เป็นหนึ่งในผู้มีอาการดังกล่าว จนกระทั่งเขาได้เข้ารับการรักษา เมื่อ 28 ปีก่อน ขณะนี้เขาเป็นผู้อํานวยการบริหารศูนย์การนอนหลับซิดนีย์ (Sydney Sleep Centre) ซึ่งมีคลินิกจำนวน 11 แห่งที่ตรวจสอบ และรักษาความผิดปกติในการนอนหลับ เช่น โรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnoea)
ตอนนั้นผมทำงานเป็นทันตแพทย์ แล้วอยู่มาวันหนึ่งขณะที่ผมกำลังเจาะฟันคนไข้ ผมถือเครื่องเจาะอยู่ในมือ จู่ ๆ ผมก็เผลอหลับไป โชคดีที่เครื่องมือไม่ได้อยู่ในปากคนไข้ มันก็ทำให้ผมกลัวมาก สำหรับคนไข้แล้วแทบไม่ต้องพูดถึงเลย นายแพทย์เคลเลอร์กล่าว
นายแพทย์เคลเลอร์ยังได้ทำให้แน่ใจว่า ปัญหาการนอนหลับของเขาได้รับการรักษา เขาเชื่อว่า หากเขาไม่รักษาโรคหยุดหายใจขณะหลับ เขาน่าจะเสียชีวิตก่อนเวลาอันควรเช่นเดียวกับพ่อของเขา
ผมคิดว่ามันเป็นอันตรายถึงชีวิต ไม่ใช่เพียงแค่กับผู้ที่มีอาการเท่านั้น แต่รวมถึงคนที่อยู่รอบข้างด้วย คุณก็ลองคิดดูว่าจะเป็นอย่างไรหากพวกเขาขับรถอยู่บนถนน หรือปฏิบัติงานกับเครื่องจักรกล แล้วพวกเขาเผลอหลับไป นายแพทย์เคลเลอร์กล่าว
อาการอ่อนเพลีย อารมณ์หุนหันพลันแล่น ไม่มีสมาธิ และหลายครั้งที่กิจกรรมในชีวิตถูกขัดจังหวะ เป็นส่วนหนึ่งของอาการโรคหยุดหายใจขณะหลับ (Sleep Apnoea) ซึ่งเกิดขึ้นโดยทั่วไปในผู้หญิงและผู้ที่เพิ่งเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยการศึกษาล่าสุดของมูลนิธิสุขภาพการนอนหลับ พบปัญหาการเข้านอนเกิดขึ้นในหมู่วัยรุ่น ขณะที่ผู้มีอายุมากขึ้นกลับพบปัญหาตื่นบ่อยขณะหลับ และตื่นเช้าจนเกินไป

นางโดโรธี บรูก (Dorothy Bruck) ประธานมูลนิธิสุขภาพการนอนหลับยังกล่าวอีกว่า ความเครียดนั้นเป็นอุปสรรคใหญ่ที่สุดในการนอนหลับพักผ่อนอย่างมีคุณภาพ
“ปัญหาการเงิน การตกงาน สถานะทางเศรษฐกิจและสังคมที่ตกต่ำ เราพบสิ่งเหล่านี้พร้อมกันกับตัวชี้วัดทางสุขภาพหลายอย่าง แต่ฉันคิดว่า สิ่งที่เราเห็นในตอนนี้ก็คือ ผู้คนนำความว้าวุ่นมาไว้บนที่นอนด้วยขณะหลับ” นางบรูกกล่าว
ในบรรดาผู้ที่เข้ารับการรักษาความผิดปกติในการนอนหลับ มีสิ่งหนึ่งที่สอดคล้องกัน นั่นคือ เทคโนโลยีเป็นศัตรูตัวฉกาจในการนอนหลับอย่างมีคุณภาพ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับแนะนำว่า ควรปิดโทรศัพท์และคอมพิวเตอร์ก่อนเข้านอนเป็นเวลา 2 ชั่วโมง โดยในช่วงเวลาดังกล่าวคุณต้องไม่รับประทานอาหารเป็นจำนวนมากเกินไป และไม่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์

นางธานุชา โสธิรัตนัม (Thanusha Sothiratnam) เป็นนักเทคโนโลยีการนอนหลับที่ศูนย์การนอนหลับซิดนีย์ เธอสังเกตว่า คลินิกทั้ง 11 แห่งเริ่มมีผู้เข้ารับการรักษาเพิ่มขึ้นทุกปี หลังมีการให้ความรู้มากขึ้นเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ระหว่างความผิดปกติในการนอนหลับและโรคเบาหวาน รวมถึงปัญหาที่อาจเกิดขึ้นกับหัวใจและอายุที่สั้นลง
เมื่อหลายปีก่อนนั้น ผู้คนเข้ามาที่นี่เริ่มต้นจากผู้สูงอายุ จากนั้นพวกเขาก็บอกว่า ‘ฉันไม่เคยรู้มาก่อนเลยในเรื่องนี้และเรื่องนั้น’ หลังจากที่เราเตรียมศึกษาการนอนของพวกเขา เราพูดและให้ความรู้กับพวกเขาว่าอะไรควรทำไม่ควรทำ หลังจากนั้นพวกเขาก็พาลูกหลานเข้ามาที่นี่ มันเป็นเรื่องที่บอกต่อกันไปถึงคนในครอบครัว นางโสธิรัตนัมกล่าว
นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับได้แนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรนอนหลับอย่างน้อยวันละ 7 โมง ส่วนวัยรุ่นและเด็กในวัยเรียนควรนอนหลับอย่างมากสุดวันละ 10 ชั่วโมง


 

รายการ เอสบีเอส ไทย ออนไลน์ ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

Share
Published 26 November 2019 11:26am
Updated 25 June 2021 7:40pm
By Camille Bianchi
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News

Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand