รวมสิ่งที่คุณจะได้ยินในประเทศออสเตรเลียหากว่าคุณไม่ใช่คนขาว

SBS GUIDE: “จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?” นั่นแค่เบื้องต้นนะ...

Businesswoman frowning

อะไรนะ? Source: OJO Images RF

เรื่องชวนหัว

หลังจากเลิกงานวันหนึ่ง ผมมานั่งที่บาร์ย่านชานเมืองในนครซิดนีย์ที่ผมได้อาศัยอยู่มาหลายปีดีดัก ซึ่งก็เป็นย่านที่จัดว่า “หรู” แห่งหนึ่ง ไม่ถึงกับว่าจะมีแต่ชนชั้นสูงเท่านั้น แต่ก็ทำให้ผมนึกถึงแถบย่านแฮมป์ตันในนิวยอร์ก ซึ่งสวยงามมาก อยู่ใกล้กับแม่น้ำ และมีคฤหาสน์มากมาย และเศรษฐีเดินไปเดินมาสวมรองเท้าโลฟเฟอร์และเอาเสื้อถักกันหนาวมาพาดห้อยคอไว้

ที่บาร์นี้ ผมพยายามอย่างเต็มที่ที่จะไม่ยุ่งกับใครโดยนั่งฟังเพลง รับประทานอาหารและดื่มเบียร์ไป ปกติแล้ว การที่ผมสวมหูฟังเอาไว้นั้นจะแสดงว่าผมไม่ได้รู้สึกอยากจะพูดคุยสักเท่าไร แต่ชายวัยกลางคนผู้หนึ่งซึ่งนั่งติดกับผมที่บาร์ก็ดูจะไม่เข้าใจนัยที่ผมบอกใบ้ไว้เช่นนี้ เขามีอารมณ์อยากจะพูดคุย และปรากฏว่าพูดคุยอย่างจริงจังเสียด้วย เกี่ยวกับความสัมพันธ์ของพวกเรากับเทคโนโลยี และการที่พวกเรานั้นผูกติดอยู่กับโทรศัพท์อย่างไม่มีทางออก เขาต้องการทราบว่าทำไมพวกเรานั้นถึงไม่อ่านหนังสือพิมพ์อีกต่อไป แล้วเกิดอะไรขึ้นกับหนังสือต่างๆ

ผมสามารถแสดงออกให้ชัดเจนได้ว่าต้องการหยุดการสนทนา แต่ผมก็สามารถจะฟังเพลงและอ่านหนังสือเมื่อไรก็ได้ นี่เป็นโอกาสที่จะได้มีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนมนุษย์ของผม กับเพื่อนบ้าน ด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม ผมอยากจะให้เขารู้สึกว่ามีคนรับฟังเขา ราวกับว่าสิ่งที่เขาพูดนั้นมันสำคัญ บางทีเขาอาจจะไม่มีเพื่อนหรือครอบครัวที่จะมาฟังการบ่นปรารภแบบนี้ บางทีสิ่งเดียวที่เขาได้ยินที่บ้านนั้นอาจจะเป็น “เงียบไปได้มั้ย คุณปู่” หรือ “ทำไมตาแก่อย่างคุณไม่ไปรับประทานอาหารเย็นในโรงรถเสียเลยล่ะ?”

หลังจากที่พยายามทำให้เขารู้สึกมั่นใจว่าผมยังคงอ่านหนังสือพิมพ์และหนังสื่อๆ ต่างๆ ทางดิจิตอล และผมก็เล็งเห็นถึงความวิตกกังวลของเขาในเรื่องการคอยพึ่งพาอุปกรณ์ ผมก็เก็บข้าวของเตรียมตัวที่จะลุก ซึ่งเขานั้นก็ไม่พอใจ

“ถ้างั้น เราก็สนทนากันเสร็จแล้วสินะ” เขากล่าว

“ใช่ครับ คือว่ามันก็น่าสนใจ แต่ผมจำเป็นต้องกลับบ้าน” ผมว่า

“แล้วนั่นคือที่ไหนล่ะ” เขาพูดต่อ “บังกลาเทศเหรอ?”

จบข่าว

คุณเห็นหรือไม่ ว่าแม้ว่าผมเพิ่งจะเสียเวลาในชีวิตของผม 45 นาทีเพื่อฟังชายผู้นี้สั่งสอนผมว่าเทคโนโลยีนั้นเลวร้ายเพียงใด ผมก็ไม่ใช่คนขาว เพราะฉะนั้นผมไม่มีสิทธิ์ที่จะอยู่อาศัยในย่านนั้น ผมต้องอยู่ที่ใดก็ตามที่พวกคนผิวสีน้ำตาลนั้นเดินทางออกมา ถึงแม้ว่าเขาจะได้ฟังผมพูดคุยด้วยสำเนียงอเมริกันที่ชัดเจน

ผมเลือดเดือดขึ้นมาทันที... ผมนั้นสุภาพกับตาขี้บ่นนี้อย่างไม่มีที่ติมาตลอด แต่เขากลับยังรู้สึกว่าจำเป็นต้องทำตัวเหนือกว่าผม -และวิธีที่ดีที่สุดที่เขาจะทำเช่นนั้นก็โดยการทำให้ผมรู้สึกแปลกแยกเป็นคนต่างด้าว ผมอยากจะพูดอะไรที่เลวร้ายมากมายเกี่ยวกับตัวเขา ทั้งการที่เขานั้นทำให้ผมมีความชัดเจนอย่างมากกับความรู้สึกของผมที่มีต่อย่านพักอาศัยแถวนี้ แต่ก็เช่นเดียวกันกับสถานการณ์ที่ผ่านๆ มา ผมก็ไม่ทำอะไร

ผมยิ้มอย่างสุภาพแล้วก็ตอบว่า “ไม่หรอก ผมอยู่ถัดจากหัวมุมไปนี่เอง”

หลังจากนั้นผมก็จ่ายเงินแล้วเดินออกมา แล้วก็ใช้เวลาที่เหลือของคืนนั้นครุ่นคิดเกี่ยวกับสิ่งต่างๆ ซึ่งผมเสียดายที่ไม่ได้พูดกับเขาออกไป

เรื่องนี้ ผมเชื่อว่าเป็นสิ่งที่พวกเด็กๆ เรียกว่าความรุนแรงขนาดยิบย่อย หรือ (เป็นศัพท์จากทศวรรษที่ 70s เพราะฉะนั้นมันไม่ใช่ผลของ “วาทกรรม(การเมืองๆ)ซึ่งถูกต้องไม่มีที่ติให้จับผิด หรือ political correctness ที่บ้าบอเกิน”) มันเป็นแค่การพูดตลกนิดๆ หน่อยๆ เกี่ยวกับเชื้อชาติซึ่งดูเผินๆ แล้วไม่มีพิษมีภัย แต่ว่าอย่างน้อยมันสามารถที่จะทำลายวันที่ดีของคุณลงได้ และอย่างมากก็จะก่อให้คุณเกิดความรู้สึกว่าหากคุณไม่ใช่คนขาวคุณก็เป็นคนนอก คุณไม่ปกติและไม่เป็นที่ต้อนรับ

มันน่าโกรธขึ้งเป็นอย่างมาก และก็เป็นการทำลายศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และมันก็เป็นสิ่งที่ผู้คนผิวสีได้ยินอยู่ตลอดเวลา เช่น “จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?” (อนึ่ง วลีดังกล่าวนั้นพบได้ทั่วไปจนกระทั่งถูกใช้เป็นชื่อของซีรีส์ทางเอสบีเอส ซึ่งพาพวกเราไปรู้จักกับชุมชนซึ่งเต็มไปด้วยผู้คนซึ่งดูไม่เหมือน “ชาวออสเตรเลีย” แต่พวกเขานั้นอยู่ที่นี่มาแล้วหลายชั่วอายุคน ขณะนี้  

แล้วยังมีตัวอย่างอื่นๆ ของสิ่งที่คนผิวสีในประเทศออสเตรเลียยังได้ยินอยู่อย่างสม่ำเสมอหรือไม่?

เพื่อให้ทราบเรื่องนี้ ผมได้ตั้งคำถามในกลุ่มออนไลน์ของชาวออสเตรเลียซึ่งไม่ใช่คนขาว ว่ามีคำถามหรือคำพูดอะไรที่พวกเขาได้พบเจอมาบ้าง ซึ่งคำตอบนั้นล้นหลามเลยทีเดียว ตั้งแต่ความฝักใฝ่ทางเพศด้วยจินตนาการด้านเชื้อชาติ ไปจนถึง “คำชม” ต่อการพูดภาษาอังกฤษ ไปจนถึง มันชัดเจนว่ามีรายการอย่างยาวเหยียดสำหรับสิ่งที่ชาวออสเตรเลียซึ่งไม่ใช่คนขาวนั้นได้ยินจนชาชิน

ต่อไปนี้เป็นบางสิ่งซึ่งพบได้บ่อยๆ...

“จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่?”

มักจะพุ่งเป้าไปยังคนผิวสีซึ่งระบุไปแล้วว่าเขานั้นมาจากออสเตรเลีย โดยพบได้บ่อยมาก แล้วต้องการจะสื่ออะไร? หากคุณไม่ใช่คนขาว

คนเกือบทั้งหมดเห็นด้วยว่ามันไม่ดีเท่าใดนัก แต่ก็มีความเห็นที่แตกต่างกันเมื่อมองถึงเจตนา บางคนคิดว่าการสนทนาแลกเปลี่ยนกันระหว่างคนสองคนซึ่งมีความอยากรู้อยากเห็นอย่างจริงใจนั้น ควรจะสามารถเกิดขึ้นได้จากคำถามที่ว่า “คุณมาจากที่ไหน?” หรือ “พื้นเพของคุณคืออะไร” แต่คนอื่นๆ ก็คิดว่าคำถามดังกล่าว โดยเฉพาะเมื่อผู้ถามเป็นคนขาวนั้น เพราะว่าคนขาวเองนั้นกลับไม่เคยถูกถาม

ซึ่งนี่ก็เป็นเรื่องที่ซับซ้อนและขึ้นอยู่กับสถานการณ์ แต่ผมคิดว่าคำถามดังกล่าว (หากไม่มีคำว่า “จริงๆ แล้ว” ซึ่งยกตัวผู้ถามขึ้นเหนือกว่า) ก็สามารถเป็นวิธีเริ่มการสนทนาอย่างเป็นมิตรได้ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะมีเจตนาที่ดี มันก็น่าเหนื่อยหน่ายหากจะคอยถูกปฏิบัติด้วยความอยากรู้อยากเห็นทางมานุษยวิทยาอยู่ร่ำไป...

คำพูดที่ตามมา:

“ฉันจำเป็นต้องถามว่าคุณมาจากที่ไหนเพราะคุณดูไม่เหมือนชาวออสเตรเลีย”
middle aged woman with a frowning face
Sorry what? Source: Digital Vision

“คุณพูดภาษาอังกฤษได้ดีมากๆ”

บ่อยครั้งมาก ถึงแม้ว่าจะมีวุฒิการศึกษาที่หลากหลาย โดยมักจะใช้พูดด้วยน้ำเสียงที่มั่นใจและแสดงว่าตนเองนั้นเหนือกว่าด้วยอารมณ์ว่า “นั่นมันดีสำหรับเธอหรอกนะ...” ซึ่งก็คล้ายๆ กับกรณีอื่นๆ ซึ่งไม่ใช่การว่าร้าย หรือเป็นการโจมตีกันในเรื่องเชื้อชาติอย่างชัดเจน แต่มันก็เป็นการไม่ให้เกียรติกัน

“แต่คุณไม่เหมือนคนอื่นๆ”

อันนี้ก็ถือว่าคลาสสิก อยู่ในหมวดหมู่ “คุณน่ะจัดอยู่ในพวกที่ดี”

“คุณต้องคุ้นเคยกับความร้อนขนาดนี้แน่ๆ เลย”

ความคิดที่ว่าใครคนหนึ่งมีเพียงแค่เชื้อสายที่มาจากอีกประเทศนั้นเป็นสิ่งที่ประหลาดมากสำหรับบางคน ซึ่งจะไม่สามารถเข้าใจได้เลย - ถึงขั้นที่ว่าพวกเขาจินตนาการไปว่าจะมีอำนาจวิเศษ superpowers บางอย่างซึ่งจะติดมาด้วย แม้ว่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับประเทศนั้นน้อยนิดเพียงใดก็ตาม

ขอกล่าวถึงเป็นพิเศษ:

“คุณคงพัฒนาภูมิคุ้มกันโรคเอาไว้อย่างมากมายเลยจากท้องถิ่นที่มาของคุณ”

“คุณเป็นคน [‘เชื้อชาติ’] ที่ร้อนแรงที่สุดที่ฉันได้เคยพบเจอมา

แปลว่า: “ผู้คนซึ่งไม่ใช่คนขาวนั้นโดยทั่วๆ ไปแล้วไม่มีเสน่ห์ แต่ไม่ว่าด้วยเหตุใดก็ตามคุณนั้นเป็นคนที่แหวกแนวออกไป”

“คุณเป็นผู้ลี้ภัยหรือเปล่า?”

พูดด้วยความห่วงใยที่แท้จริงหรือด้วยความกรุณา คำถามนี้จะมาจากคนที่ได้ทราบว่าบุคคลนั้นๆ มาจากประเทศที่ประสบกับความไม่สงบ แต่ทว่ากับสะท้อนให้เห็นถึงความเข้าใจต่อประเทศดังกล่าวที่มีอยู่เพียงน้อยนิด

“คุณเป็นคนจีนหรือเปล่า?”

“ภรรยาของผมมาจากประเทศจีน”

“หนีห่าว”

“คุณพักอาศัยอยู่ในเมือง แสดงว่าคุณไม่ใช่ชาวอะบอริจินที่แท้จริง”

สะพรึงกันไป.

สำหรับคนที่ผมสอบถามซึ่งเป็นชาวอะบอริจิน “สิ่งที่พวกเขาได้ยิน” นั้นน่ากลัวกว่ามาก และเป็นอันตรายเลยทีเดียว

จากตำรวจ: “คุณตรงตามรูปพรรณสัณฐาน”

ระหว่างที่รอรถประจำทาง: “คุณไปทำอะไรที่นั่น?”

ระหว่างที่เดินไปโรงเรียนในชุดนักเรียน: “คุณกำลังจะไปไหน?”

ที่บ้านขณะที่กำลังทำสวน: “คุณอาศัยอยู่ที่นี่หรือเปล่า?”

และก็มีชาวพื้นเมืองของออสเตรเลียจำนวนหนึ่งเลยทีเดียวที่ก็ กับคำถามว่า “คุณมาจากที่ไหน?” โดยบางคนถึงกับถูกตอกว่า “มาจากที่ไหนก็กลับไปที่นั่นซะ”

“คุณเป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนหรือเปล่า?”

“ฉันชอบอาหาร [เติมชื่ออาหาร ‘ชาติพันธุ์’ หนึ่ง]

ประการแรกเลย พวกเราควรจะ เพื่อเป็นคำรวมๆ สำหรับ “อาหารซึ่งไม่ได้มาจากประเทศคนขาว” ในความเป็นจริงแล้ว พวกเราอาจควรจะ มันเป็นการแบ่งเขาแบ่งเรา และดูทึ่มๆ โดยเฉพาะเมื่อใช้เพื่อพูดอธิบายถึงผู้คน

ส่วนการที่คุณจะแสดงความรักต่ออาหาร ดูเผินๆ แล้วก็เหมือนจะเป็นสิ่งที่ดีที่จะพูดออกไป คุณเพิ่งจะทราบว่าผมเป็นชาวเลบานอน แล้วคุณก็ชอบอาหารเลบานอน เยี่ยมไปเลย! อย่างไรก็คงจะดีกว่าจะบอกว่าคุณเกลียดอาหารเลบานอน และมันก็ฟังดูเหมือนกับว่าคุณพยายามที่จะหาส่วนร่วมในอะไรบางอย่างที่คล้ายคลึงกัน แต่ในขณะเดียวกันมันก็ดูจะง่ายไปหน่อยนะ การที่จะปฏิบัติกับใครราวกับว่าเขานั้นเป็นตัวแทนของทั้งวัฒนธรรมนั้น คนเกาหลีอาจจะชอบอาหารเกาหลี แต่พวกเขาก็อาจจะชอบอาหารอื่นๆ ด้วยได้อีกมากมาย เช่นเดียวกับคนอื่นๆ

และในความเป็นจริงแล้ว บางคนก็อาจจะมีความเชื่อมโยงกับวัฒนธรรมที่ได้รับการยกขึ้นมาชื่นชมนั้นเพียงน้อยนิด บาง “เผ่าพันธุ์” (ฟังแล้วน่าขนลุกไหมล่ะ?) นั้นอยู่ในประเทศนี้มาเป็นเวลาหลายชั่วอายุคนแล้ว เพราะฉะนั้น ความแนบชิดทางวัฒนธรรมของพวกเขานั้นก็ไม่ได้เท่ากันเสมอไป ภาษาแม่ของพวกเขานั้นอาจจะเป็นภาษาอังกฤษ และพวกเขาก็เติบโตขึ้นมาโดยรู้จักแค่เพียงประเทศออสเตรเลีย การเรียนรู้ภาษาและวัฒนธรรมหนึ่งนั้นต้องใช้ทั้งความพยายามและเวลา และคนเหล่านี้ก็อาจมีความสนใจไปในเรื่องอื่นแทนก็ได้

ความกระตือรือร้นในด้านวัฒนธรรมยังอาจนำไปสู่สถานการณ์ที่ว่า “ฉันรู้เกี่ยวกับวัฒนธรรมของเธอ มากกว่าที่เธอรู้เสียอีก” ซึ่งนั่นก็จะเป็นข่าวร้ายสำหรับทุกๆ คนที่เกี่ยวข้อง

ขอกล่าวถึงเป็นพิเศษ:

“ฉันชอบ [เติมปรากฎการณ์ทางวัฒนธรรมเช่น โยคะ คาราเต้ มารีอาชี ฯลฯ]!”

“ฉันมีเวลาที่แสนจะสุขสันต์ที่ [ประเทศนั้น]”

“คุณมีมุมมองที่เสรีมากๆ เลยในฐานะผู้หญิงเอเชีย”

“คุณอาจจะเป็นคนอินเดีย แต่ฉันรู้เกี่ยวกับประเทศอินเดียมากกว่าคุณอีก”

หรืออย่างที่ผู้เข้าร่วมตอบคำถามท่านหนึ่งได้กล่าวไว้: “คนขาวซึ่งโม้ว่าตัวเองนั้นเก่งภาษาแมนดารินกว่าคนจีน(บางคน)นั้นถือว่า เห้... ที่สุด”

“เกิดอะไรขึ้นกับมาเลเซียแอร์ไลน์เที่ยวบินที่ 370!?”

“โอ้ คุณดูไม่เหมือนคนกัมพูชาเลย”

อันนี้ก็สำคัญ การที่ประหลาดใจอย่างมากเมื่อพบว่าใครสักคนนั้นมาจากที่ใดสักแห่งแล้วก็ดูแล้วไม่เหมือนเลย

ซึ่งคำพูดที่ตามมาเนื่องจากรูปลักษณ์ภายนอกนั้นก็รวมไปถึง...

“ฉันมีเพื่อนจากประเทศนั้น แต่ว่าพวกเขาดูไม่เหมือนคุณเลย”
“โอ้ ฉันดูออกว่าคุณเป็นคนอินเดียเนื่องจากจมูกของคุณ”

“เดี๋ยวก่อน! อย่าเพิ่งบอกฉัน [ว่าจริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหน] ฉันอยากจะทาย!”

“คุณไม่ใช่คนเอเชียสิ! คนเอเชียผิวเหลือง!”

“ฉันคิดว่า พหุวัฒนธรรม / การอพยพย้ายถิ่นฐานนั้นเยี่ยมไปเลย”

ขอบคุณมากนะ และก็ยินดีด้วย

“คุณกลับไป [ที่ซึ่งคุณไม่เคยแม้แต่จะอยู่] บ่อยไหม?”

“ขอฉันจับผมของคุณได้ไหม?”

อันนี้ จาก สำหรับชาวอาฟริกัน-อเมริกันในสหรัฐฯ จนกระทั้งได้เป็น  และดูเหมือนมันจะลามมาถึงทวีปโลกใต้นี้แล้ว

ยังมีอีกจำนวนหนึ่ง:

“คุณรู้จักชายคนดำที่สามารถจะแนะนำให้ฉันรู้จักได้หรือไม่?”
“ฉันชอบชาย/หญิง คนดำ”

“ฉันไม่สนใจต่อเรื่องสี(ผิว)”

“ชาวอะบอริจินดูมีวิวัฒนาการน้อยกว่า”

“คุณไม่ใช่คนดำ คุณเป็นคนอเมริกัน”

“พวกเราล้วนแต่เป็นมนุษย์”

ผู้ซึ่งมีส่วนร่วมในการตั้งคำถามของผมยังได้กล่าวถึงกระแสของคนขาวที่จะ   หรือพยายามที่จะเบี่ยงเบนหรือปัดการสนทนาเกี่ยวกับการเหยียดเชื้อชาติ โดยใช้การกล่าวข้างต้น หรือไม่ก็ดังต่อไปนี้:

“ฉันไม่สนใจว่าคุณจะดำ ขาว เหลือง ม่วง…”

ฟังแล้วราวกับว่าคนม่วงๆ ทั้งหลายก็ไม่ต้องวิตกกังวลแล้วสินะ

“อืม... คุณดูเป็นของแปลก”

 เป็น  ใหญ่…

“ฉันไม่เคย เ---ด หญิงผิวน้ำตาล/ดำ/สีต่างๆ มาก่อน”

“ฉันชอบผู้หญิงเข้มๆ”

“แล้วคุณจะเป็นหมอนวดไทยประจำตัวของผมได้หรือเปล่า?”

“คนที่มีเชื้อชาติผสมเล็กน้อยนั้นร้อนแรงมาก”

“โอ้ คุณเดทกับคนขาวชาวออสเตรเลียหรือ? พระเจ้า ลูกของคุณจะต้องร้อนแรงมากๆ!”
Businessman rubbing his eye
Oh boy... Source: Photodisc

ช่วงของ “นี่คุณพูดเรื่อง เห้... อะไรอยู่เนี่ย? ไปไกลๆ ตี...เลย”

บางสิ่งที่ผู้คนบอกกับผมว่าเคยได้ยินนั้น ช่างเฉพาะเจาะจงและน่าประหลาดดีแท้ เพราะฉะนั้นผมคิดว่าเป็นการดีที่จะให้มีช่วงพิเศษเป็นของตัวเองไปเลย

“วัฒนธรรมของคุณจะต้องกดขี่อย่างมากๆ แน่ คุณจะต้องรูสึกเป็นอิสระอย่างมาก ที่ได้อาศัยอยู่ที่นี่”

“ฉันเคยได้ยินว่าผู้อพยพย้ายถิ่นฐานนั้นได้รับคฤหาสน์ และได้งานทำเมื่อเดินทางมาถึง นั่นจริงหรือเปล่า?”

แน่นอน.

“ผู้หญิงที่มีผิวสีอย่างของคุณน่ะ จะไม่ได้งาน” - เอเยนต์ตัวแทนนางแบบ

“ไม่มีใครสามารถบอกอายุของผู้หญิงอินเดียได้ หากคุณเป็นแฟนสาวของพวกเรา เราก็แค่จะบอกทุกคนว่าคุณอายุ 20 กว่าๆ”

“ของพวกเรา”?

“งั้นพ่อแม่ของคุณคงจะเตรียมแต่งงานแบบคลุมถุงชนให้คุณสินะ?

“คุณมาจากอินเดียหรือ? ฉันไปอินเดียมาครั้งหนึ่งเมื่อสิบปีที่แล้ว ฉันแวะที่สนามบินมุมไบเป็นเวลา 4 ชั่วโมงระหว่างทางไปลอนดอน มันแย่มากเลย ทั้งร้อนและเหม็นมาก ฉันไม่รู้ว่าคุณอยู่อย่างนั้นได้อย่างไร แล้วก็ยังมีความยากจนทั้งหลายทั้งปวงอีก”

“มันคงจะยากมากสำหรับสามีของคุณที่จะแต่งงานเข้ามาในครอบครัวของคุณ เขาถูกเกลียดชังเพราะว่าเป็นคนขาวหรือเปล่า?”

“ฉันอิจฉาสีผิวของคุณมาก - คุณจะสวมใส่อะไรก็ได้!”

“โอ้ คุณรู้จัก บ็อบ ดีแลน ได้อย่างไร?”

“คุณเป็นคนปาเลสไตน์ คุณชอบขว้างหินหรือเปล่า?”

“แล้วคุณออกเสียงชื่อของคุณอย่างไร? ถ้าฉันจะขอเรียกคุณว่า [แบบสั้นลง]? ไม่ได้เหรอ?

นั่นมันไม่เป็นแบบออสเตรเลียเลยนะ และคุณก็เป็นนางร้าย (bitch)”

ช่วงของ “นี่มันการเหยียดเชื้อชาติชัดๆ”

และแน่นอน บางสิ่งที่ผู้คนบอกกับผมนั้น เป็นการทำร้ายทางวาจาทีมีแรงผลักดันจากการเหยียดเชื้อชาติ - เพราะฉะนั้นก็จะมีช่วงเฉพาะให้เลย

“สิ่งที่ฉันเกลียดเกี่ยวกับคนอินเดียคือการไม่ยอมให้เสียหน้า”

ผมไม่เข้าใจว่ามันหมายถึงอะไร แต่ว่าข้อความดังกล่าวนั่นขึ้นต้นด้วย “สิ่งที่ฉันเกลียดเกี่ยวกับคนอินเดีย” ความน่าจะเป็นก็คือเรากำลังมุ่งสู่พื้นที่ขัดแย้ง

“เราสร้างทางรถไฟของคุณ”

เช่นกัน ผมไม่เข้าใจ แต่ผมเดาว่ามีการรอคำขอบคุณอยู่

“คุณมากับเรือลำไหน?”

และในบางครั้ง การเกลียดชาวต่างชาติก็แสดงออกมาให้เห็นอย่างชัดเจน ทั้งทางการเมืองและอย่างรุนแรง...

(อนึ่ง “คุณมาที่นี่ทางเรือหรือเปล่า?” เป็นหนึ่งในคำถามซึ่งใช้  ในสารคดีของเอสบีเอส  )

เช่นเหล่านี้:

“ทำไมคุณจึงคิดว่าคุณสามารถมาที่นี่เพื่อแย่งงานของพวกเราไปได้?”
“คุณควรสำนึกในบุญคุณ ที่คุณได้รับอนุญาตให้มาที่ประเทศนี้ได้”
“คุณไม่ได้ปรับเปลี่ยนตัวตามแบบแผนของที่นี่”

และถ้าหากว่ายังไม่เข้าใจความนัยล่ะก็ ยังมีวิธีการแบบตรงๆ เลยเช่นเดียวกัน...

“คุณรับประทานสุนัขหรือ?”

“ชิง ชอง”
“คุณเสียงดังมากนะสำหรับผู้หญิงเอเชีย ส่วนใหญ่แล้วพวกเขาเงียบมากๆ”
“คนจีนนั้นป่าเถื่อนมาก”
“คนจีนนั้นหยาบคาย”

“ฉันเกลียดหากว่าจะต้องเป็นคนอินเดียในตอนนี้”
ขอให้คุณมีวันที่ดีครับ

ติดตามคุณนิกได้ทาง

ชมรายการ จริงๆ แล้วคุณมาจากที่ไหนกันแน่? ได้ทาง เอสบีเอสออนดีมานด์:






Share
Published 16 August 2018 1:40pm
Updated 17 August 2018 3:23pm
By Nick Bhasin
Presented by Tanu Attajarusit
Source: SBS Guide


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand