ครูที่ออสเตรเลียต้องการเห็นอะไรเมื่อเด็กๆ เริ่มเข้าเรียน

พ่อแม่จำนวนมากเชื่อว่าการสอนให้เด็กอ่านหนังสือเป็นวีธีที่ดีที่สุดในการเริ่มเข้าเรียน แต่ครูหลายคนมักไม่เห็นด้วย นักวิจัยท่านนี้ได้ประพันธ์ไว้ว่า โดยทั่วไปนั้นครูคิดว่าการรู้วิธีควบคุมอารมณ์ การมีความมั่นใจในความสามารถของตนเอง และเป็นผู้ที่ช่างสงสัยอยากเรียนรู้ เป็นสิ่งที่สำคัญสำหรับเด็กๆ มากกว่า

Image of a preschool boy

Source: Image obtained by SBS Insight

รายการวิทยุ เอสบีเอส ไทย ออกอากาศสดหนึ่งชั่วโมงเต็ม กดฟังได้ที่เว็บไซต์  ทุกจันทร์และพฤหัสบดี 22.00 น. (เวลาซิดนีย์/เมลเบิร์น) หลังจากนั้นฟังซ้ำได้ทุกเมื่อ

ติดตาม เอสบีเอส ไทย ทางเฟซบุ๊กได้ที่ 

You can read the full version of this story in English on SBS Insight .

ในเมื่อเร็วๆ นี้ของดิฉัน ดิฉันต้องการทราบว่าความเชื่อหรือพฤติกรรมใดบ้างของพ่อแม่ ที่มีประสิทธิผลที่สุดในการช่วยให้ลูกๆ ของพวกเขานั้นประสบความสำเร็จที่โรงเรียน

กิจกรรมเหล่านี้มักจะเป็นกิจกรรมทั่วๆ ไปซึ่งพ่อแม่ทำในการเตรียมพร้อมให้ลูกของพวกเขาเข้าโรงเรียน แต่ทว่าก็กลับไม่เสมอไป ที่ทำลงไปโดยมีเป้าหมายดังกล่าวเอาไว้(ในใจ)

งานวิจัยของดิฉันรวมไปถึงครูจำนวน 52 ท่าน และคู่พ่อแม่จากโรงเรียนรอบๆ รัฐเซาท์ออสเตรเลียและมณฑลนอร์เทิร์นเทร์ริทอรี ดิฉันจับคู่สิ่งที่พ่อแม่รายงานว่าพวกเขาทำเพื่อลูกๆ ก่อนจะเริ่มเข้าโรงเรียน โดยโยงเข้ากับว่าลูกๆ ของพวกเขานั้นพัฒนาขึ้นได้ดีแค่ไหนที่โรงเรียน โดนดูในหลายๆ ปัจจัย

ดิฉันยังทำการสัมภาษณ์ติดตามภายหลัง กับพ่อแม่จำนวน 16 ท่าน ซึ่งบางท่านนั้นทำงาน ในขณะที่ท่านอื่นๆ เป็นพ่อแม่ที่อยู่กับบ้าน ดิฉันสัมภาษณ์ทั้งพ่อและแม่ ตลอดจนพ่อแม่ที่มาจากจุดยืนทางวัฒนธรรมและเศรษฐกิจที่แตกต่างกันออกไป

“ดิฉันคิดว่าครูจำเป็นต้องได้รับการสนับสนุน ดิฉันคิดว่าครูทำหน้าที่ได้อย่างดีเยี่ยมในการระบุตัวเด็กๆ ผู้มีความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษ และพวกเขาก็คือนักเรียนที่มีความจำเป็นเป็นกรณีพิเศษ ซึ่งอยู่อีกฟากฝั่งของสเป็คตรัม” คุณลิแอน บาร์เดน กล่าว

การอ่านหนังสือเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับพ่อแม่

การรู้หนังสือ ที่ผ่านมาเป็นสิ่งที่อยู่ในใจของพ่อแม่มากที่สุด เมื่อพวกเขาพูดคุยว่าทำการเตรียมตัวลูกๆ ของเขาเพื่อเข้าโรงเรียนอย่างไร โดยทั่วๆ ไปก็จะทำอย่างไม่เป็นทางการหรือทำตามโอกาสที่มี เช่นการอ่านหนังสือร่วมกัน โดยประมาณ 94 เปอร์เซ็นต์ของพ่อแม่ทำกิจกรรมการรู้หนังสือสามถึงสี่ครั้งต่อสัปดาห์

คุณพ่อคนหนึ่งบอกกับดิฉันว่า:
“พูดง่ายๆ เลย เราอ่านหนังสือให้พวกเขาฟังตั้งแต่พวกเขาออกจากโรงพยาบาล […] ดังนั้นพวกเขาจึงคุ้นเคยกับทั้งการอ่านและกับหนังสือต่างๆ อย่างกว้างขวาง เด็กๆ ทั้งสองคนมีหนังสือมากกว่า 200 ถึง 300 เล่มในห้องของพวกเขา”
พัฒนาการด้านการรู้หนังสือมีความสำคัญในช่วงขวบปีแรกๆ และให้ประโยชน์หลายประการต่อเด็กๆ   พบว่าพ่อแม่ซึ่งอ่านหนังสือกับลูกหนึ่งเล่มต่อวันนั้น ได้ให้คำศัพท์แก่ลูกๆ ของพวกเขาโดยเฉลี่ย 1.4 ล้านคำมากกว่า หากเทียบกับเพื่อนของพวกเขาซึ่งไม่เคยถูกอ่านหนังสือให้ฟัง

การเล่นกับเด็กๆ

ดิฉันขอให้พ่อแม่ระบุว่าที่บ้านนั้น ลูกของพวกเขามีของเล่นและวัสดุสำหรับการเรียนรู้อยู่เป็นจำนวนเท่าไร จากรายการ 29 สิ่งที่สามารถหาได้ทั่วๆ ไป ซึ่งก็รวมไปถึงลูกบอล หนังสือระบายสี และบล็อกตัวต่อ

การวิเคราห์หลังจากนั้นของดิฉันแสดงให้เห็นว่า เด็กซึ่งมีอุปกรณ์สำหรับการเล่นที่บ้านมากขึ้นเท่าไร พวกเขาก็จะถูกเตรียมความพร้อมมากขึ้นเท่านั้นต่อความยากลำบากทางการศึกษาที่โรงเรียน

โดยไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่จะต้องใช้จ่ายเงินเพิ่มขึ้นเพื่อพยายามให้แน่ใจว่าเด็กๆ นั้นประสบความสำเร็จ กุมารแพทย์ได้ มากกว่าที่จะเป็น(ของเล่น)อิเล็กทรอนิกส์หรือมีราคาแพง ว่าเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อสนับสนุนพัฒนาการของเด็ก

พ่อแม่หลายคนชอบที่จะเล่นหรือทำกิจกรรมอย่างไม่เป็นทางการ มากกว่าทำการเรียนรู้อย่างเป็นทางการ จากการสัมภาษณ์แสดงให้เห็นว่า ประมาณ 64 เปอร์เซ็นต์ของพ่อแม่กล่าวว่า พวกเขามีส่วนร่วมกับกิจกรรมที่กระตุ้นสติปัญญาสามครั้งหรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์

พ่อแม่ส่วนใหญ่กล่าวว่า พวกเขามีส่วนร่วมในการเล่นแบบไม่มีการวางแผนกับลูกของพวกเขา ซึ่งมักจะนำไปสู่การสนทนากันและเกิดการเรียนรู้ไปตามสถานการณ์ พ่อแม่พูดถึงการใช้เวลาเล่นของลูกๆ มาเป็นโอกาสที่จะเข้ามีส่วนร่วมกับสิ่งที่ลูกสนใจ และออกแบบกิจกรรมต่างๆ ให้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่พวกเขาสนใจ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการเรียนรู้

คุณเอนไนล์ สมิธ สังเกตว่ามีบางอย่างแตกต่างออกไปเกี่ยวกับบุตรชายของเธอ โดยที่ แองกัส สามารถเรียนรู้ได้ตั้งแต่อายุเพียง 18 เดือน ในระหว่างการมาตรวจตามนัดพยาบาลด้านสุขภาพเด็กสอบถามเธอว่าเขาพูดได้ 10 หรือ 20 คำแล้วหรือไม่

ช่องว่างระหว่างครูและพ่อแม่

ทว่ากลับมีความไม่เหมือนกันระหว่างสิ่งที่พ่อแม่ให้คุณค่ามากที่สุดในการเตรียมเด็กเข้าโรงเรียน (การรู้หนังสือ) กับสิ่งที่ครูพบว่าเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับความพร้อมต่อโรงเรียน

ประมาณ 62 เปอร์เซ็นต์ของครูในงานวิจัยของดิฉันวิตกกังวลต่ออย่างน้อยในหนึ่งประการในเรื่องพัฒนาการของเด็ก (และ)กว่า 45 เปอร์เซ็นต์ของเรื่องดังกล่าวจะเกี่ยวกับความพร้อมทางอารมณ์ของเด็ก โดยเฉพาะอย่างยิ่งความมั่นใจในความสามารถของตนเองและทักษะในการควบคุมตนเอง

ความวิตกกังวลดังกล่าวนั้นไม่น่าประหลาดใจแต่อย่างใด งานวิจัย  ก็แสดงให้เห็นว่าครูนั้นรู้สึกว่าทักษะทางการศึกษาไม่ได้สำคัญมากไปกว่าการที่เด็กๆ นั้นมีความมั่นใจ เป็นอิสระ และเป็นนักเรียนรู้ที่ช่างสงสัย

ส่วนในอีกงานวิจัย ครูท่านหนึ่งกว่าวว่า:
"เราสอนให้พวกเขาเขียนชื่อตัวเอง แต่มันสำคัญมากกว่านะที่เด็กๆ นั้นสามารถจะปฏิบัติหน้าที่ในชั้นเรียนของพวกเขาได้"
เรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าพ่อแม่กำลังทำกับลูกๆ อย่างผิดพลาด (แต่)มันสะท้อนให้เห็นถึงความยากลำบากที่พ่อแม่เผชิญในการสอนทักษะทางสังคมและทางอารมณ์

มันเป็นความรับผิดชอบร่วมกัน

พ่อแม่กว่า 90 เปอร์เซ็นต์ในงานวิจัยของดิฉันเห็นว่าบทบาทของการสอนให้เด็กควบคุมอารมณ์นั้นเป็นหน้าที่ร่วมกันระหว่างพวกเขาและครู เป็นเวลานานมาแล้วที่การค้นคว้าวิจัยได้ได้ตระหนักว่าการศึกษานั้นเป็นการทำหน้าที่ร่วมกันโดยความรู้ของทั้งพ่อแม่และครูนั้นก็มีความสำคัญ

จากการศึกษาครั้งสำคัญ  ที่ประเทศอังกฤษ เด็กๆ จะมีเพิ่มพูนขึ้นของ(สมรรถภาพ)การเรียนรู้ของสมอง ในศูนย์ก่อนวัยเรียนซึ่งมีระดับการมีส่วนร่วมของพ่อแม่สูง วิธีการที่มีประสิทธิผลดีที่สุดนั้นได้แก่การแลกเปลี่ยนข้อมูลซึ่งเกี่ยวข้องกับเด็กๆ กันระหว่างพนักงานและพ่อแม่ และการที่พ่อแม่มีสิทธิมีเสียงในการตัดสินใจเกี่ยวกับการเรียนของลูกของพวกเขาสูง

พ่อแม่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือมากขึ้น

เด็กซึ่งใช้เวลาช่วงปีต่างๆ ก่อนวัยเรียนในสิ่งแวดล้อมที่มีพื้นฐานอยู่บนการเล่นและมีการตอบสนอง โดยมีการสนทนาที่มีหัวข้อกว้าง มีประสบการณ์ต่างๆ มีเพื่อน และมีทรัพยากร(สนับสนุน) ก็มักจะปรับตัวได้ดีต่อความยากลำบากของโรงเรียน

แต่ว่าพ่อแม่จะสามารถสอนการควบคุมอารมณ์และทักษะการปรับตัวให้กับเด็ก ซึ่งจำเป็นต่อชั้นเรียนได้อย่างไร?

 พ่อแม่ควรหาจังหวะที่สามารถจะสอนได้ โดยรวมเอาสิ่งที่เด็กนั้นสนใจเข้าไว้ด้วย เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ในแต่ละวัน พวกเขาสามารถใช้โอกาสต่างๆ เหล่านี้เพื่อเป็นช่องทางที่จะพูดคุยอย่างเป็นบวกและเพิ่มความมั่นใจให้กับเด็ก

การปฏิสัมพันธ์ทางสังคม เด็กๆ ควรจะได้รับโอกาสอย่างเต็มที่ในการเล่นกับเพื่อนๆ

การเป็นตัวอย่างที่ดีก็ยิ่งสำคัญเป็นพิเศษ พ่อแม่ควรจะเป็นตัวอย่างในเรื่องการควบคุมตัวเอง รักษาตนให้สงบเมื่อรับเมือกับความผิดพลาด และก่อร่างให้เด็กๆ นั้นพัฒนาขึ้น พ่อแม่ควรจะรู้สึกเป็นบวกกับโรงเรียน และคิดว่าลูกๆ จะมีความสนุกสนานมากขนาดไหนเมื่อยามที่ที่พวกเขาไปโรงเรียน

มันสำคัญมากในการหาเวลาเพื่อพูดคุยกับลูกของคุณเกี่ยวกับความรู้สึกของพวกเขา เพื่อให้พวกเขานั้นเรียนรู้ที่จะตระหนักถึง

งานค้นคว้าวิจัยบางงานยังพบว่า การมีสติ (mindfulness) สำหรับเด็กๆ นั้นก็จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะ

Share
Published 27 June 2019 1:07pm
Updated 27 June 2019 1:11pm
By Amy Graham
Presented by Tanu Attajarusit


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand