องค์กรชุมชนแนะสร้างการตระหนักรู้การหลอกลวงต้มตุ๋นในกลุ่มเปราะบาง

กลุ่มชุมชนเรียกร้องการสร้างความตระหนักรู้การหลอกลวงต้มตุ๋นระดับรากหญ้า หลังผู้ไม่หวังดีมุ่งเป้าหลอกลวงผู้อพยพย้ายถิ่น และชนพื้นเมืองออสเตรเลีย

Online scams has increased.

Consumer groups have issed warnings about increasing scams during the pandemic. Source: GettyImages-Tom Werner

ผู้ที่ไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักและชนพื้นถิ่นของออสเตรเลีย ต้องสูญเสียเงินไปนับสิบล้านดอลลาร์ให้กับขบวนการหลอกลวงต้มตุ๋นในรอบ 10 เดือนที่ผ่านมา

สแกมวอตช์ (Scamwatch) บริการรายงานการหลอกลวงต้มตุ๋น ของคณะกรรมาธิการด้านการแข่งขันและการค้าของออสเตรเลีย (ACCC) พบข้อมูลล่าสุดที่น่าน่ากังวล ระบุว่า การหลอกลวงต้มตุ๋นได้ขโมยเงินจากผู้ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ 2 ระหว่างวันที่ 1 ม.ค. – 31 ต.ค. เป็นจำนวนเงิน $36.2 ล้านดอลลาร์ เพิ่มขึ้นเกือบร้อยละ 93 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันนี้เมื่อปีก่อน

ขณะที่ชนพื้นถิ่นของออสเตรเลียก็ได้รับผลกระทบอย่างหนักด้วยเช่นกัน โดยมีรายงานการสูญเสียทั้งหมดจากการหลอกลวงต้มตุ๋นที่คิดเป็นจำนวนเงินราว $4.6 ล้านดอลลาร์ในระยะเวลาเดียวกัน เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 138 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน

ข้อมูลดังกล่าวยังเปิดเผยอีกว่า การหลอกลวงต้มตุ๋นรูปแบบใดที่ส่งผลกระทบมากที่สุดในชุมชนเหล่านี้

ชนพื้นถิ่นออสเตรเลีย และผู้ที่พูดภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่สอง ได้รายงานการหลอกลวงทางอินเตอร์เน็ต (phishing) จำนวน 3,067 ครั้ง ซึ่งเป็นขบวนการที่ผู้ประสงค์ร้ายจะลวงเหยื่อเพื่อให้บอกข้อมูลส่วนบุคคลต่าง ๆ เช่น ข้อมูลบัญชีธนาคาร

และยังพบการรายงานเกี่ยวข้องกับสแกมอีกเกือบ 2,090 ครั้ง ซึ่งผู้ก่อเหตุจะขอเงินจากเหยื่อ และขู่หากเหยื่อไม่ให้ความร่วมมือ

นอกจากนี้ สแกมวอตช์ ยังได้พบรายงานการขโมยอัตลักษณ์บุคคล (Identity theft) 1,674 ครั้งจากชุมชนเหล่านี้ รวมถึงการหลอกลวงในการซื้อของออนไลน์อีก 1,454 ครั้ง และรายงานการออกใบเรียกเก็บค่าบริการปลอมอีก 1,062 ครั้ง ซึ่งเป็นขบวนการที่นักลงต้มตุ๋นจะเรียกเก็บเงินใบเรียกเก็บที่ถูกปลอมขึ้นมา

‘จี้จุดที่คนกังวล’ เทคนิคที่ได้ผลของนักต้มตุ๋น

โมฮัมหมัด อัล-คาฟาจี (Mohammad Al-Khafaji) ประธานบริหารสมาพันธ์สภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย (FECCA) ระบุถึงเลขดังกล่าวว่า ‘เป็นเรื่องน่ากังวลอย่างมาก’ และกล่าวอีกว่า ชุมชนพหุวัฒนธรรมเป็นกลุ่มที่อยู่ในความเสี่ยงต่ออาชญากรรมในลักษณะนี้เป็นพิเศษ

“วันนี้ผมเพิ่งได้รับโทรศัพท์จากใครคนหนึ่งที่อ้างว่ามาจากหน่วยงานพิทักษ์พรมแดนออสเตรเลีย ลองจินตนาการว่า ถ้าครอบครัวผู้อพยพย้ายถิ่น โดยเฉพาะผู้ที่เพิ่งเดินทางมาถึง หรือผู้ที่ไม่เคยอยู่ในออสเตรเลียมาเป็นเวลานาน ได้รับโทรศัพท์หรืออีเมลที่อ้างว่ามาจาก Centrelink หรือจากรัฐบาล พวกเขาก็คงจะไม่คิดโดยอัตโนมัติว่าเป็นการหลอกลวง และจะปฏิบัติกับมันอย่างจริงจัง” คุณอัล-คาฟาจี กล่าว

“พวกเขาจะพยายามปฏิบัติตาม เนื่องจากนักหลอกลวงต้มตุ๋นได้จี้จุดที่พวกเขากังวล”
Chief Executive Officer of FECCA Mohammad Al-Khafaji speaking via Skype.
โมฮัมหมัด อัล-คาฟาจี ประธานสมาพันธ์สภาชุมชนชาติพันธุ์แห่งออสเตรเลีย (FECCA) Source: SBS
อเล็กซ์ วอลเตอส์ (Alex Walters) ทนายความด้านกฎหมายแพ่งและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชน จากศูนย์บริการกฎหมายชาวอะบอริจินรัฐวิกตอเรีย (Victorian Aboriginal Legal Service) กล่าวว่า ลูกค้าของเขาโดยส่วนมากได้รับความเดือนร้อนจากนักหลอกลวงต้มตุ๋นที่อ้างว่ามาจากสำนักงานสรรพากรของออสเตรเลีย (ATO)

“สิ่งที่พบบ่อยคือ โรโบคอล (robocall) ที่อ้างว่ามาจากเอทีโอ โดยมีข้อความที่แจ้งว่ามีหนี้ภาษีค้างชำระ และขู่ว่าจะมีโทษจำคุก” คุณวอลเตอส์ กล่าว

“ส่วนลูกค้าอีกหลายคนแจ้งว่า ได้รับสายโทรศัพท์โรโบคอลที่อ้างว่า อัตลักษณ์บุคคลของพวกเขาได้ถูกขโมยไป และมีหมายในการจับกุมผู้ก่อเหตุ”

“ผลกระทบที่มาจากการหลอกลวงเหล่านี้ ส่วนหนึ่งมาจากการกล่าวอ้างเรื่องกระบวนการยุติธรรม และสำหรับชนพื้นเมืองออสเตรเลียที่ได้รับความยุติธรรมอย่างไม่สมส่วนในระบบนี้ ผมมองว่านั่นอาจเป็นสิ่งหนึ่งที่ทำให้มันเป็นเรื่องอันตรายสำหรับลูกค้าของผม” คุณวอลเตอส์ กล่าวเสริม

จะต้องทำอย่างไรให้ผู้คนตระหนักรู้

คุณอัล-คาฟาจี กล่าวว่า การแพร่ระบาดใหญ่ของไวรัสโควิด-19 ได้เน้นให้เห็นถึงความสำคัญของการสร้างความตระหนักรู้ในหมู่ชุมชนที่มีความหลากหลายในเรื่องของสุขภาพในระดับรากหญ้า ขณะเดียวกันก็ควรที่จะสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องการหลอกลวงต้มตุ๋นให้ได้ในระดับเดียวกัน

“เรารู้ว่าองค์กรอย่างสแกมวอตช์ และสำนักงานสรรพากรออสเตรเลีย (ATO) มีสื่อที่ได้รับการแปลแล้วในเรื่องนี้ ทั้งหมดนี้เป็นเรื่องดีและเป็นสิ่งที่ควรมี แต่การที่เก็บเอาไว้ลึกในเว็บไซต์ ถ้าผู้คนไม่สามารถจะเข้าถึงมันได้ มันก็ไม่ใช่เรื่องที่ดีสำหรับทุกคน” คุณอัล-คาฟาจี กล่าว

เขากล่าวว่า ควรสร้างความร่วมมือระหว่างองค์กรภายในชุมชน และจัดเตรียมแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ให้กับพวกเขา เนื่องจากพวกเขา “รู้จักชุมชนดีกว่าใคร”

“แม้ว่าจะเป็นเรื่องเกี่ยวกับการหลอกลวง หรือเรื่องเกี่ยวกับการไปฉีดวัคซีน จากประสบการณ์ของเรา สิ่งที่เป็นความสำเร็จอย่างแท้จริงนั่นคือการลงทุนในการพัฒนาชุมชน และทำให้แน่ใจว่าคุณจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอให้กับองค์กรภายในชุมชนต่าง ๆ เพื่อให้ผู้ส่งสารที่มีความน่าเชื่อถือสามารถส่งสารที่น่าเชื่อถือออกไปได้” คุณอัล-คาฟาจี กล่าว

คุณวอลเตอส์ เห็นด้วยกับแนวทางดังกล่าวว่าเป็นสิ่งสำคัญ

“การกระจายข้อมูลในลักษณะนี้มักเป็นวิธีที่ได้ผลมากที่สุด เมื่อคุณเข้าไปในชุมชนและพูดคุยกับผู้คน” คุณวอลเตอส์ กล่าว

คุณวอลเตอส์ กล่าวอีกว่า การมีประมวลกฎหมายอุตสาหกรรมโทรคมนาคม และการรักษาความเป็นส่วนตัวที่เหมาะสมที่สามารถปิดกั้นสายโทรศัพท์และข้อความหลอกลวงนั้น ก็เป็นเรื่องที่น่ายินดีเช่นกัน


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 10 November 2021 6:34pm
Updated 11 November 2021 12:40pm
By David Aidone
Presented by Tinrawat Banyat
Source: SBS News


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand