Explainer

เคล็ดลับสู้เงินเฟ้อ: วิธีประหยัดค่าใช้จ่ายในการซื้อของชำท่ามกลางค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้น

ด้วยค่าครองชีพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ชาวออสเตรเลียจำนวนมากกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะสำหรับผลไม้และผักสด

A composite image showing people shopping at the supermarket and market.

As the cost of living in Australia rises, how can shoppers save at the checkout? Source: Getty

Key Points
  • ผักผลไม้ที่หั่นพร้อมปรุงมักจะมีราคาแพงกว่าปกติถึงห้าเท่า
  • ชาวออสเตรเลียมองหาบริการช่วยประหยัดค่ากับข้าวและของใช้ในครัวเรือน
คุณเคยคำนวณราคาของแต่ละรายการที่คุณหยิบใส่ในรถเข็นเวลาออกไปซื้อกับข้าวมากน้อยแค่ไหน?

ด้วยอัตราเงินเฟ้อที่ทำให้ราคาสินค้าประจำวัน รวมถึงราคาของชำที่เพิ่มสูงขึ้น หลายคนกำลังมองหาวิธีลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือน

คิดให้รอบคอบก่อนจ่ายเงิน

คุณแคเทอลิน คาเมรอน (Katelyn Cameron) จากองค์กรสนับสนุนผู้บริโภค CHOICE แนะนำว่าคนทั่วไปควรพิจารณาว่าความสะดวกเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ได้มานั้นคุ้มค่ากับค่าใช้จ่ายเพิ่มเติมหรือไม่

เธอกล่าวว่า ผักและผลไม้ทั้งชิ้นมักจะมีราคาถูกกว่าผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการเตรียมล่วงหน้าและบรรจุหีบห่อ

“ในเดือนตุลาคมปีที่แล้ว Woolworths โฆษณาแครอทแบบชั่งกิโลในราคา 2 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ขณะที่แครอทขูดฝอยหรือแครอทหั่นชิ้นที่บรรจุไว้ขายในราคา 10 ดอลลาร์ต่อกิโลกรัม ซึ่งแพงกว่าถึงห้าเท่า” เธอกล่าว

Packaged salads and pre-chopped fruit.
ราคาที่ต้องจ่ายกับของสดแบบพร้อมปรุงเพื่อแลกกับความสะดวกสบายในการเตรียมอาหาร Source: AAP / Elaine Thompson.
คุณคาเมรอนกล่าวว่า อาหารที่ถูกหั่นล่วงหน้าไม่เพียงแต่จะแพงกว่าเท่านั้น แต่ยังเน่าเสียได้เร็วขึ้นด้วย

CHOICE ยังแนะนำให้ผู้บริโภคพิจารณาราคาต่อหน่วยของสินค้าของชำเมื่อซื้อสินค้า

“ผู้ค้าปลีกของชำทั้งหมดต้องแสดงราคาต่อหน่วยสำหรับแต่ละผลิตภัณฑ์ ซึ่งราคาของสินค้าควรอิงตามหน่วยมาตรฐาน” เธอกล่าว

ด้วยการแสดงราคาต่อ 100 กรัมหรือ 100 มิลลิลิตร ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบมูลค่าของสินค้าที่มีน้ำหนักหรือปริมาตรต่างกัน เพื่อพิจารณาว่าอันไหนคุ้มค่ากว่า

การซื้อของแบบเป็นกลุ่ม

คุณซาราห์ พีชแมน คุณแม่จากซิดนีย์ เลือกซื้อของจากสหกรณ์เมื่อมีโอกาส เพื่อช่วยลดค่าใช้จ่ายของเธอ
A woman wearing glasses.
ซาราห์ พีชแมน คุณแม่จากซิดนีย์ Source: Supplied
ค่าธรรมเนียมสมาชิกประจำปีของเธอที่ Manly Co-op อยู่ที่ 5 ดอลลาร์ ซึ่งนำไปใช้ในการดำเนินงานร้านขายอาหารครบวงจรที่ไม่แสวงหากำไรและดำเนินการโดยอาสาสมัคร เธอได้รับส่วนลด 10 เปอร์เซ็นต์สำหรับการซื้อของที่นั่นด้วยเช่นกัน

แม้ว่าความต้องการของชำในชีวิตประจำวันของเธอจะได้มาจากร้านค้าทั่วไป เธอกล่าวว่าการซื้อวัตถุดิบหลักในครัวจากสหกรณ์ช่วยลดค่าใช้จ่ายรวมของครอบครัวในการซื้ออาหาร

“ฉันรู้ว่าครอบครัวต้องการข้าวโอ๊ต แป้ง ข้าวสาลี คูสคูส สิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ” เธอกล่าว

คุณพีชแมนยอมรับว่าต้องวางแผนและเดินทางประมาณ 20 นาทีไปที่ร้านเพื่อซื้อของใช้จำเป็น แต่เธอกล่าวว่ามันคุ้มค่า

“ฉันพบว่าสินค้าพวกนี้ราคาถูกกว่าที่ซูเปอร์มาร์เก็ตมาก เพราะสิ่งที่ฉันซื้อมักจะเป็นพาสต้าสเปลต์ (spelt) ซึ่งค่อนข้างแพงในซูเปอร์มาร์เก็ต” เธอกล่าว

สหกรณ์ไม่จำเป็นต้องทำกำไรให้กับผู้ถือหุ้นหรือเจ้าของ จึงสามารถขายสินค้าในราคาที่ถูกกว่าเล็กน้อย

คุณพีชแมนซื้อของชำจากหลายแหล่งเพื่อให้ได้ทุกสิ่งที่เธอต้องการ โดยหนึ่งในนั้นคือบริการส่งอาหาร Delish deliveries

บริการเหล่านี้เชื่อมโยงผู้ผลิตกับผู้บริโภคให้มาเจอกัน จึงมักจะสามารถจัดหาของชำในราคาที่ถูกลงเล็กน้อยเนื่องจากตัดคนกลางที่เป็นร้านค้าปลีกออกไป

ใช้ของที่มีให้หมดก่อน

แม้จะฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่จาก ของชำหนึ่งในห้าถุงถูกทิ้งลงถังขยะโดยไม่ได้รับประทานเลย
An arm picking up a grocery bag from a trolley to place into the back of a car.
The food from one in five grocery bags in Australia never makes it to the table. Source: AAP / Ben Rushton
นี่เทียบเท่ากับอาหาร 312 กิโลกรัมต่อคนต่อปี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ากว่า 2,000 ดอลลาร์ต่อครัวเรือน

แม้ในความเป็นจริงเราต้องยอมรับว่าบางส่วนของการสูญเสียนี้เกิดขึ้นระหว่างกระบวนการจัดจำหน่าย แต่ก็ยังมีส่วนที่มาจากอาหารที่ลงเอยในถังขยะของครัวเรือน

การจัดการปัญหาการสูญเสียอาหารในระดับครัวเรือนสามารถช่วยลดปริมาณของชำที่ผู้คนซื้อได้

ลินเซย์ ไมล์ส (Lindsay Miles) ผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับการจัดการขยะและนักเขียน แนะนำว่า แทนที่จะโยนผลไม้หรือผักที่ดูไม่สดใหม่ลงถังขยะและเพิ่มในรายการซื้อของ ลองคิดดูว่าจะนำไปใช้ประโยชน์ในวิธีอื่นได้อย่างไร

“คุณอาจมีแอปเปิลอยู่บ้าง ซึ่งคุณตั้งใจจะใส่กล่องอาหารกลางวัน แต่ตอนนี้มันเหี่ยวย่นและดูไม่น่ากิน คุณยังสามารถนำมันไปทำแอปเปิลซอส สับแล้วทำเป็นครัมเบิล หรือโยนมันลงไปในสมูทตี้ก็ได้” เธอกล่าว

เลือกซื้อวัตถุดิบท้องถิ่นตามฤดูกาล

คุณไมล์สกล่าวว่าผู้คนมักไม่ทราบว่าผลไม้ต่าง ๆ ในออสเตรเลียถูกปลูกให้ตรงตามฤดูกาลเท่านั้น ซึ่งเป็นอีกหนึ่งปัจจัยในการปรับราคาของวัตถุดิบในท้องตลาดในแต่ละช่วงของปี
Waste educator and author Lindsay Miles.
Waste educator and author Lindsay Miles Source: Supplied
เธอแนะนำให้ไปซื้อของจากร้านขายของชำรายย่อย ซึ่งมีโอกาสที่จะพบผลิตภัณฑ์ที่กำลังปลูกในพื้นที่ท้องถิ่นในขณะนั้น มากกว่าซูเปอร์มาร์เก็ตที่มักจะนำเข้าผลิตภัณฑ์สดจากต่างประเทศตลอดทั้งปีเมื่อไม่ได้ปลูกในท้องถิ่น

เธอกล่าวว่า ผลไม้และผักที่ปลูกใกล้เคียงมักจะสดและราคาถูกกว่า

“ยกตัวอย่างเช่น ในเพิร์ธ คุณอาจพบกล้วยจากคาร์นาร์วอนและกล้วยจากควีนส์แลนด์ ซึ่งกล้วยจากคาร์นาร์วอนมักจะราคาถูกกว่า เพราะมันไม่ต้องเดินทางข้ามทั้งประเทศ และไม่ต้องแบกรับต้นทุนเชื้อเพลิงที่เกี่ยวข้องกับการขนส่ง” เธอกล่าว

การลงมือปลูกเอง

แอนดรูว์ บาร์เกอร์ ชายจาก Strathalbyn จ่ายเงินสำหรับของสดที่เขาใช้ในการทำอาหารน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง
Man wearing a hat standing in front of tall sunflower plants.
แอนดรูว์ บาร์เกอร์ ผู้ก่อตั้งโปรเจ็ค Grow Free ใช้จ่ายน้อยกว่าครึ่งของราคาที่เค้าเคยจ่ายเมื่อตัดสินใจปลูกผลผลิตเพื่อกินเอง Source: Supplied
ผลไม้ ผัก และสมุนไพรที่เขาใช้มาจากสวนหลังบ้านของเขาหรือจากการให้ฟรีจากสมาชิกในชุมชนของเขา

เกือบสิบปีก่อน เขาเริ่มต้นการเคลื่อนไหวโปรเจ็ค Grow Free ซึ่งทำให้ชุมชนทั่วออสเตรเลียแชร์ผลผลิตส่วนเกินให้กับผู้อื่นฟรี ๆ ผ่านตู้ในจุดที่กำหนด

“ผมมักจะมองที่ราคาแล้วเห็นผักเคลหนึ่งถุง แล้วคิดว่า ‘เอ๊ะ ฉันสามารถซื้อเมล็ดพันธุ์สองถุงในราคาเท่านี้ ผมจะได้เมล็ดพันธุ์ 200 เมล็ดมาปลูกได้เป็นพัน ๆ ต้น” เขากล่าว

แม้ว่าเขาจะยอมรับว่าในบางครั้ง มันมีค่าใช้จ่ายเริ่มต้น แต่เขากล่าวว่าในระยะยาวมันคุ้มค่ามากกว่าเมื่อเทียบกับมูลค่าของผลผลิตที่สามารถปลูกในสวน

ใช้ทุกส่วนให้เกิดประโยชน์สูงสุด

การใช้ทุกส่วนของผลไม้และผัก หมายถึงเราจะใช้จ่ายเพื่อซื้อเพิ่มน้อยลง

คุณไมล์สกล่าวว่า หลายคนทิ้งส่วนของผัก เช่น ก้านบล็อคโคลี เพราะคิดว่ากินไม่ได้ ทั้งที่จริงแล้วมันกินได้และในบางวัฒนธรรมเป็นส่วนที่นิยมของพืช

เธอกล่าวว่า เมื่อทำตามสูตรอาหาร การเปลี่ยนวิธีคิดสามารถทำให้ใช้ของได้มากขึ้น

“คุณอาจจะต้องใช้แค่ส่วนขาวของกระเทียมสำหรับเมนูที่คุณทำ แต่คุณสามารถใช้ส่วนเขียวได้หากเอามาทำรีซอตโต หรือคุณสามารถแช่แข็งผักหลายชนิดแล้วนำไปทำซุป” คุณไมล์สกล่าว

คุณไมล์สกล่าวว่า ยังควรพิจารณาว่า ‘Best Before Date’ ว่าจริง ๆ แล้ว หมายความว่าอะไร

“Best before คือเรื่องคุณภาพ ส่วน use by date คือเรื่องความปลอดภัย ปกติแล้ววันที่ดีที่สุดก่อนจะอยู่บนผลิตภัณฑ์ที่มีอายุการเก็บรักษายาว และ use by date จะอยู่บนสิ่งที่เสี่ยงสูง เช่น เนื้อสัตว์ ปลา และผลิตภัณฑ์นม Best before คือแนวทาง” เธอกล่าว

“ในสหราชอาณาจักรตอนนี้กำลังทดลองโดยการเอาวัน Best Before ออกจากนม ฉันคิดว่าเขากำลังใส่แค่ ‘วันที่ผลิต’ เหมือนที่เราทำกับขนมปัง”

ซูเปอร์มาร์เก็ตในออสเตรเลียหลายแห่งจะลดราคาสินค้าที่ใกล้จะหมดอายุจากวันดีที่สุดก่อนในช่วงท้ายของวัน

อย่าเลือกมาก

ซูเปอร์มาร์เก็ตรายใหญ่เคยขายแต่ผลไม้และผักที่ดูดีที่สุดเท่านั้น คุณคาเมรอนจาก CHOICE กล่าวว่าการผลักดันเพื่อลดการสูญเสียอาหารทำให้ซูเปอร์มาร์เก็ตเริ่มจำหน่ายผลผลิตที่อาจจะไม่ตรงตามข้อกำหนดด้านความสวยงามก่อนหน้านี้ แต่ในราคาที่ถูกกว่า

“คุณสามารถซื้อผลผลิตเหล่านี้ได้ที่ซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ เกือบทุกแห่งในราคาที่ถูกกว่าผลไม้และผักปกติถึงครึ่งหนึ่ง” เธอกล่าว

Fruit with small defects.
ซูเปอร์มาร์เก็ตหลายเจ้าเลือกขายผลไม้ 'ตกอันดับ' ในราคาที่ต่ำกว่าปกติ แต่แน่นอนว่าเป็นผลไม้ที่ทานได้อร่อยไม่น้อยไปกว่ากัน Source: Getty / Picture Alliance
ซูเปอร์มาร์เก็ตเจ้าใหญ่ ๆ เหล่านี้ มักจะทำการตลาดภายใต้แบรนด์เฉพาะสำหรับผักผลไม้หน้าตาไม่สวยงาม เช่น ‘Imperfect picks,’ ‘I’m perfect fruit’ และ ‘The odd bunch.’

ซื้อของแบรนด์บ้าน ๆ ที่อยู่ใกล้ตัว

คุณคาเมรอนกล่าวว่า สำหรับผู้ที่มักซื้อผลิตภัณฑ์อาหารที่มาจากแบรนด์ใหญ่เสมอ อาจถึงเวลาที่จะลองแบรนด์ของบ้าน ๆ ดูบ้าง

“เราทำการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ชั้นนำในบ้านกับผลิตภัณฑ์ที่ราคาถูกกว่าหลายรายการเป็นประจำเพื่อหาว่าสิ่งไหนที่ดีที่สุดทั้งรสชาติและความคุ้มค่า การทดสอบของเราหลายครั้งพบว่า ไม่เพียงแต่แบรนด์ของบ้านจะราคาถูกกว่า แต่คุณภาพของพวกมันก็ได้พัฒนาขึ้นมาก”

คุณคาเมรอนกล่าวว่า ผู้ที่ไม่อยากยอมแพ้ให้กับผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ควรพิจารณาดูว่าพวกเขาสามารถหาซื้อในราคาที่ถูกที่สุดจากที่ไหน

“งานบางอย่างที่เราทำพบว่า ผลิตภัณฑ์จากแบรนด์ยอดนิยมระดับชาติ เช่น Kellogg's หรือ Cadbury มักจะถูกกว่าราคาเฉลี่ยประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ที่ Aldi เมื่อเทียบกับ Coles หรือ Woolworths” เธอกล่าว


Share
Published 11 December 2024 4:07pm
By Aleisha Orr
Presented by Wanvida Jiralertpaiboon
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand