ชุมชนหลากภาษาวัฒนธรรมตกเป็นเป้าข้อมูลเท็จวัคซีนโควิด

ขณะที่ทั่วโลกทยอยฉีดวัคซีนโควิด-19 ผู้เชี่ยวชาญย้ำชุมชนหลากภาษาวัฒนธรรมยังคงตกเป็นเป้าหมายของข้อมูลเท็จและกลปลุกปั่นให้ตื่นกลัว

Facebook promises action against vaccine misinformation

With social media being a popular source of information for many in the African community, the line between fact and fiction was blurred for some. Source: Courtesy of ABC

กระแสความลังเลในการรับวัคซีน (vaccine hesitancy) เป็นหนึ่งในอุปสรรคสำคัญขัดขวางการสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ (herd immunity) ต่อโรคระบาดโควิด-19 หลายฝ่ายเกรงว่าชุมชนผู้ย้ายถิ่นฐานอาจเป็นกลุ่มสุ่มเสี่ยงที่สุด

ผู้ย้ายถิ่นฐานจำนวนไม่น้อยพึ่งพาข้อมูลโควิด-19 จากประเทศบ้านเกิดเป็นหลัก อีกทั้งภาษาอังกฤษยังอาจไม่ใช่ภาษาแม่ของพวกเขา ผู้เชี่ยวชาญเตือนว่า ข้อมูลสำคัญเกี่ยวกับวัคซีนอาจเข้าไม่ถึงประชากรกลุ่มนี้จนเสี่ยงได้รับข้อมูลคลาดเคลื่อนจากความจริง



“เราพบเห็นข้อมูลเท็จมุ่งเจาะตลาดเป้าหมายกลุ่มย่อย[ในสังคม] คุณอิมราน อาเหม็ด (Imran Ahmed) หัวหน้าศูนย์ต่อต้านความเกลียดชังดิจิทัล (Centre for Countering Digital Hate) ในสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร อธิบายเพิ่มเติม “ตัวอย่างเช่น มีการตลาดเฉพาะเจาะกลุ่มมารดา มุสลิม หรือกลุ่มย่อยอื่น ๆ”

คุณอาเหม็ดกล่าวว่า ข้อมูลเท็จ (misinformation) จำนวนมากบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียมาจาก “นักต่อต้านวัคซีนมืออาชีพ” ไม่กี่ราย ซึ่ง “เจาะจงทำลายความเชื่อมั่นต่อวัคซีน[โควิด-19]

จากนั้น ผู้ผลิตเนื้อหาประเภทนี้จะพยายาม “ชี้นำผู้หลงเชื่อข้อมูลเท็จให้กลายเป็นทรัพย์สินออนไลน์ของตน เปลี่ยนคนเหล่านี้ให้กลายเป็นว่าที่ลูกค้า ขายหนังสือ ขายการเข้าถึงข้อมูลลับ หรือวิธีรักษาลวงโลก”

พญ.ราเชล ฮีป (Rachel Heap) ช่วยก่อตั้งกลุ่มผู้สนับสนุนการฉีดวัคซีนแห่งนอร์เทิร์นริเวอส์ (Northern Rivers Vaccination Supporters) ในรัฐนิวเซาท์เวลส์ เธอกล่าวว่าความรอบรู้ด้านสุขภาพ (health illiteracy) เป็นปัจจัยสำคัญต่อการเลือกรับหรือไม่รับข้อมูลเท็จ

“อาจเป็นเพราะพวกเขามาจากภูมิหลังที่ไม่ได้พูดภาษาอังกฤษ อาจเป็นผู้ลี้ภัยหรือผู้ย้ายถิ่นฐานใหม่ หรืออาจมาจากท้องถิ่นที่ผู้คนเกิดและโตมาภายใต้กรอบวัฒนธรรมความเชื่อที่มองว่า เจ้าหน้าที่ทางการและแนวคิดกระแสหลักเป็นสิ่งเลวร้าย”

“มีคนจำนวนหนึ่งที่คอยล่าเหยื่อกลุ่มเสี่ยง” ดร.ฮีปกล่าว “คนพวกนี้เล็งคนที่อาจไม่รู้เรื่องสุขภาพมากนัก คนที่กลัวหรือไม่ไว้ใจรัฐบาลหรือเจ้าหน้าที่”



พญ.นาเดีย ชาเวส (Nadia Chaves) ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดต่อ กล่าวว่า กุญแจต่อสู้กับข้อมูลเท็จเกี่ยวกับวัคซีนที่มุ่งเป้าชุมชนเหล่านี้คือต้องทำความเข้าใจเหตุผลเบื้องหลังความไม่เท่าเทียมทางสุขภาพบางประการ 

ส่วนผสมของกำแพงภาษา ความยากจน และการเหยียดเชื้อชาติเชิงโครงสร้าง หมายความว่าคนบางกลุ่มอาจมีแนวโน้มหลงเชื่อข้อมูลเท็จมากกว่ากลุ่มอื่น

“ความพยายามลดทอนกระแสความลังเลต่อวัคซีน และปราบปรามข้อมูลเท็จในหมู่ประชากรที่มีภูมิหลังหลากวัฒนธรรมและภาษา ก่อนอื่นต้องแจกแจงอุปสรรคเชิงโครงสร้างที่ส่งผลต่อการเข้าถึงบริการดูแลสุขภาพและสร้างความเชื่อใจ” พญ.ชาเวสอธิบาย

“แน่นอนว่าเราต้องแปลข้อมูลเกี่ยวกับวัคซีนโควิด-19 เป็นภาษาต่าง ๆ แต่แค่เอกสารฉบับแปลนั้นไม่เพียงพอ”

“ขณะที่การรณรงค์ฉีดวัคซีนเป็นเรื่องสำคัญ เราก็ต้องส่งเสริมการจัดหาที่อยู่อาศัยที่ปลอดภัย การจ้างงานที่มั่นคง ตลอดจนบริการด้านสุขภาพจิตและสวัสดิภาพที่เกี่ยวข้อง หากไม่สนับสนุนการดูแลสุขภาพให้ครอบคลุม ก็ไม่อาจสร้างหรือรักษาความเชื่อใจได้”

อ่านรายงานฉบับเต็มเป็นภาษาอังกฤษที่ 

ชมสารดคี The Fight Against Vaccine Hesitancy ได้ทาง SBS on Demand


คุณสามารถอ่านข้อมูลล่าสุดเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) เป็นภาษาไทยได้

หากคุณมีอาการของไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่ ให้ติดต่อขอรับการตรวจเชื้อได้ด้วยการโทรศัพท์ไปยังแพทย์ประจำตัวของคุณ หรือโทรศัพท์ติดต่อสายด่วนให้ข้อมูลด้านสุขภาพเกี่ยวกับเชื้อไวรัสโคโรนา (Coronavirus Health Information Hotline) ที่หมายเลข 1800 020 080

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์  บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 3 June 2021 4:22pm
Updated 3 June 2021 4:26pm
By Darren Mara
Presented by Phantida Sakulratanacharoen


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand