ฤดูที่นกแม็กพายบินโฉบลงมาจิกคนมาถึงแล้ว ทำอย่างไรจะปลอดภัย

ฤดูกาลที่นกแม็กพาย (magpie หรือนกสาลิกาปากดำ) บินโฉบลงมาจิกผู้คนมาถึงแล้ว นี่คือคำอธิบายว่าเมื่อไรและทำไมพวกมันจึงบินโฉบลงมาจิกคน และเราจะหลีกเลี่ยงอย่างไร

A magpie swoops on a cyclist.

ในกรณีส่วนใหญ่ การบินโฉบลงมาจิกเกิดขึ้นเมื่อคนหรือสัตว์ที่เดินผ่านถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อลูกนกแม็กพายหรือต่อไข่ของพวกมัน Source: AAP / Supplied

ระวัง ขณะนี้เป็นฤดูทำรังของนกแม็กพาย (magpie หรือสาลิกาปากดำ) และเชื่อกันว่านกแม็กพายที่ ‘ขึ้นชื่อว่าชอบบินโฉบลงมาจิกคน’ นั้น ฉลาดมาก พวกมันสามารถจำหน้าคนได้ด้วย

คุณ คาร์ล ฮิลยาร์ด นักนิเวศวิทยาของกรมสิ่งแวดล้อมและน้ำแห่งรัฐเซาท์ออสเตรเลีย กล่าวว่า คนที่เคยถูกนกแม็กพายโฉบลงมาจิกมาก่อนมีแนวโน้มว่าจะตกเป็นเป้าอีกครั้ง เนื่องจากนกแม็กพายจะกลับไปยังพื้นที่เดิมทุกปีเพื่อผสมพันธุ์

ขณะที่คุณเบ็น แอชตัน นักนิเวศวิทยาเชิงพฤติกรรมแห่งมหาวิทยาลัยแมคควารี กล่าวว่า พฤติกรรมดังกล่าวของนกแม็กพายอาจดูเหมือนจงใจเป็นพิเศษด้วยซ้ำ

“นกแม็กพายขึ้นชื่อที่สุดว่าชอบบินโฉบลงมาจิกคน และอาจพุ่งเป้าไปที่บุคคลใดบุคคลหนึ่งอย่างต่อเนื่องโดยไม่สนใจคนอื่น” คุณแอชตันกล่าว

แต่นักนิเวศวิทยาทั้งสองเห็นพ้องต้องกันว่าการโจมตีของนกแม็กพายนั้นไม่ใช่เพราะพวกมันประสงค์ร้าย แต่นกเหล่านี้พยายามปกป้องรังหรือลูกของมันอย่างแข็งขัน

“และไม่ใช่แค่มนุษย์เท่านั้นที่โดนนกแม็กพายบินโฉบลงมาจิก” คุณแอชตันกล่าว

"นกสายพันธุ์อื่น ๆ เช่น กา และสัตว์อื่น ๆ เช่น สุนัข ก็โดนพวกมันบินโฉบลงมาจิกเช่นกัน"
A magpie.
นกแม็กพายที่ปกป้องรังของพวกมันเป็นหนึ่งในอันตรายช่วงฤดูใบไม้ผลิในกรุงแคนเบอร์รา Source: AAP / Alan Porritt

เมื่อใดคือฤดูกาลที่นกแม็กพายบินโฉบลงมาจิกคน และเหตุใดพวกมันถึงโจมตี?

ในกรณีส่วนใหญ่ การบินโฉบลงมาจิกเกิดขึ้นเมื่อคนหรือสัตว์ที่เดินผ่านถูกมองว่าเป็นภัยคุกคามต่อลูกนกแม็กพายหรือต่อไข่ของพวกมัน

นี่เป็นช่วงเวลาที่นกแม็กพายมีความเปราะบางมากที่สุด และเป็นเหตุผลว่าทำไมจึงมีการชี้ว่า การบินโฉบลงมาจิกเป็นหนึ่งในมาตรการปรับตัวของนกแม็กพายเพื่อรับมือกับสัตว์ที่เป็นผู้ล่า

ฤดูผสมพันธุ์ของนกแม็กพายเริ่มตั้งแต่ประมาณเดือนสิงหาคม-ตุลาคม

โดยปกติแล้วนกแม็กพายตัวเมียจะวางไข่ระหว่าง 3-5 ฟองก่อนจะนั่งกกไข่ประมาณสามสัปดาห์จนกว่าไข่จะฟักเป็นตัว

“ในช่วงเวลานี้ นกแม็กพายตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครอง โดยบางตัวใช้การบินโฉบลงมาจิกเพื่อปกป้องรังของพวกมัน” คุณฮิลยาร์ดกล่าว
ในช่วงเวลานี้ นกแม็กพายตัวผู้จะทำหน้าที่เป็นผู้คุ้มครอง โดยบางตัวใช้การบินโฉบลงมาจิกเพื่อปกป้องรังของพวกมัน
คาร์ล ฮิลยาร์ด นักนิเวศวิทยา กรมสิ่งแวดล้อมและน้ำ เซาท์ออสเตรเลีย
“พวกมันจะทำเช่นนี้ตั้งแต่วางไข่จนกระทั่งลูกนกพร้อมที่จะบิน ซึ่งปกติแล้วประมาณ 4-5 สัปดาห์หลังจากไข่ฟักออกมาเป็นตัว”
An eagle gets attacked by a magpie.
นกอินทรีย์ตัวหนึ่งถูกนกแม็กพายพันธุ์พื้นเมืองของออสเตรเลียตัวหนึ่งไล่จิก Source: AAP / Dean Lewins

จะหลีกเลี่ยงการถูกนกแม็กพายโจมตีได้อย่างไร?

การเปลี่ยนเส้นทางถือเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการหลีกเลี่ยงการถูกนกแม็กพายบินโฉบลงมาจิก โดยนกแม็กพายจะปกป้องพื้นที่ภายในระยะ 100 เมตรจากรังของมันเท่านั้น

แต่ก็ยังมีกลยุทธ์อื่น ๆ ด้วย

ผู้เชี่ยวชาญแนะนำให้เดินหนีมากกว่าวิ่งหนี หรือสวมแว่นกันแดดที่ด้านหลังศีรษะหรือสวมหมวกที่ติดรูปดวงตาหนึ่งคู่ไว้ด้านหลังของหมวก

อีกวิธีคือสวมหมวกกันน็อกสำหรับจักรยานหรือถือร่มที่กางออก

คุณฮิลยาร์ดกล่าวว่าเป็นเรื่องสำคัญที่เราจะต้องไม่แสดงท่าทางก้าวร้าว

“ถ้าคุณโบกมือหรือตะโกน นกแม็กพายจะมองว่าคุณเป็นภัยคุกคามต่อรังของพวกมัน ไม่ใช่แค่ปีนี้เท่านั้น แต่อาจเป็นแบบนี้ไปอีกหลายปีทีเดียว” คุณฮิลยาร์ดกล่าว
ถ้าคุณโบกมือหรือตะโกน นกแม็กพายจะมองว่าคุณเป็นภัยคุกคามต่อรังของพวกมัน ไม่ใช่แค่ปีนี้เท่านั้น แต่อาจจะหลายปี
คาร์ล ฮิลยาร์ด นักนิเวศวิทยา กรมสิ่งแวดล้อมและน้ำ เซาท์ออสเตรเลีย
ในขณะที่ดูเหมือนว่าเราทุกคนกำลังถูกนกแม็กพายโจมตี แต่ในความเป็นจริงแล้วคุณแอชตันกล่าวว่า มีนกแม็กพาย 10 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่บินโฉบลงมาจิกผู้คน

เขากล่าวว่า ใน 10 ปีของการวิจัยนกแม็กพาย เขาไม่เคยตกเป็นเป้าถูกพวกมันโจมตีเลย
A man extends his hand toward a magpie.
คุณเบ็น แอชตัน นักนิเวศวิทยาจากมหาวิทยาลัยแมคควารี กำลังศึกษาพฤติกรรมของนกแม็กพาย Credit: Supplied

นกแม็กพายฉลาดแค่ไหน?

ในโครงการวิจัยของเขานั้น คุณแอชตันใช้นกแม็กพาย หรือนกสาลิกาปากดำ เป็นสายพันธุ์ที่เขาศึกษาเพื่อตอบคำถามที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับความรู้ความเข้าใจเรื่องวิวัฒนาการทางความคิด

"หนึ่งในสมมติฐานหลักสำหรับวิวัฒนาการด้านสติปัญญาคาดการณ์ว่า ความท้าทายในการใช้ชีวิตในสภาพแวดล้อมทางสังคมที่ซับซ้อนนั้น คัดสรรให้เกิดความฉลาดที่มากขึ้น" คุณแอชตันกล่าว

"สอดคล้องกับประเด็นนี้ เพื่อนร่วมงานของผมและผมพบความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดกลุ่มกับความสามารถทางสติปัญญาของนกแม็กพาย”

"เราพบว่านกแม็กพายที่อาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ทำผลงานได้ดีกว่าในการทดสอบด้านความสามารถทางสติปัญญา"
ขณะนี้พวกเขากำลังดำเนินการทดลองเพิ่มเติมเพื่อพิจารณาว่าอะไรที่ขับเคลื่อนความสัมพันธ์กันระหว่างขนาดกลุ่มกับความสามารถทางสติปัญญาที่ว่านี้

"ตัวอย่างเช่น เรากำลังใช้การวิเคราะห์เครือข่ายทางสังคมเพื่อดูว่าจำนวนและความแข็งแกร่งของความสัมพันธ์ทางสังคมเป็นสิ่งที่ขับเคลื่อนการพัฒนาทางความคิดหรือไม่" คุณแอชตันกล่าว

"นอกจากนี้ เรากำลังศึกษาด้านการชราภาพทางปัญญา หรือการเสื่อมถอยด้านความสามารถทางสติปัญญาอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามอายุ"

การชราภาพทางปัญญามีการศึกษาไว้เป็นอย่างดีในมนุษย์ แต่ส่วนใหญ่ไม่มีการศึกษาวิจัยในสัตว์ป่า

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 21 August 2023 1:42pm
Updated 1 September 2023 12:27pm
By SBS News
Presented by Parisuth Sodsai
Source: AAP


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand