หน้ากากอนามัยลดการแพร่เชื้อโควิด แต่ทำไมผู้ที่สวมจึงไม่มีมากกว่านี้ในออสเตรเลีย

อัตราการติดโควิด-19 ต่อหัวประชากรของออสเตรเลียอยู่ในกลุ่มประเทศที่มีอัตราสูงที่สุดในโลก เหตุใดจึงมีคนไม่มากนักที่สวมหน้ากากอนามัย?

Older people wearing face masks at a train station

Three million free N95 and KN95 masks will be available at Victorian COVID-19 testing sites, community health services venues and on public transport. Source: AAP / JOEL CARRETT

เนื้อหาที่สำคัญในบทความ
  • หลักฐานแสดงให้เห็นว่าหน้ากากอนามัยที่กระชับใบหน้าสามารถลดการแพร่กระจายของโควิด-19 ได้อย่างมาก
  • ถึงแม้จะมีอัตราการติดเชื้อโควิด-19 ติดอันดับสูงที่สุดในโลก แต่ชาวออสเตรเลียส่วนใหญ่ไม่ยอมสวมหน้ากากอนามัย
รัฐบาลรัฐวิกตอเรียประกาศเมื่อวันอังคารว่า รัฐจะแจกหน้ากากอนามัย ชนิดเอ็น 95 (N95) กว่าสามล้านชิ้นให้แก่ประชาชนฟรีในช่วงสองสามสัปดาห์ข้างหน้านี้ เพื่อพยายามลดการระบาดของโควิด-19 และโรคในระบบทางเดินหายใจอื่นๆ

การศึกษาวิจัยชี้ให้เห็นว่า หรืออย่างน้อยก็ช่วยลดปริมาณไวรัสที่จะเข้าไปในร่างกายของผู้สวมใส่หน้ากากอนามัย

เหตุใดจึงไม่มีผู้คนในออสเตรเลียจำนวนมากกว่านี้ที่สวมหน้ากากอนามัย?

ทำไมผู้คนจึงกลับไปมีพฤติกรรมเหมือนช่วงก่อนโควิด?

จำนวนผู้คนที่สวมหน้ากากอนามัยในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกล่าสุดในออสเตรเลียนั้นต่ำกว่าที่จำเป็นต้องเกิดขึ้น จึงจะสามารถลดระดับของการแพร่ระบาดที่สูงลงได้ ศาสตราจารย์เบรนแดน แครบบ์ ผู้อำนวยการสถาบันเบอร์เน็ต กล่าว

"ยากที่จะระบุชัดได้ แต่อย่างดีที่สุดก็อาจจะไม่มากไปกว่า 20-25 เปอร์เซ็นต์ในพื้นที่ส่วนใหญ่ในเมลเบิร์น" เขากล่าวกับพอดคาสต์ InSight+ ของ Medical Journal of Australia ในสัปดาห์นี้

รองศาสตราจารย์ ฮอลลี ซีล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อของมหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์ กล่าวว่า เป็นเพราะคนจำนวนมากกลับไปมีพฤติกรรมเหมือนช่วงก่อนเกิดโควิดระบาด

“เราไม่มีวัฒนธรรมในการสวมหน้ากากอนามัยในช่วงฤดูหนาวหรือช่วงที่มีการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ” รศ. ซีล บอกกับ เอสบีเอส นิวส์

"[ผู้คนกำลัง] ย้อนกลับไปทำสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย สิ่งที่พวกเขาเคยทำ และฉันคิดว่าหากไม่มีการย้ำเตือนหรือไม่มีข้อจำกัดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อะไรเล่าที่จะกระตุ้นให้พวกเขาสวมหน้ากากอนามัย"
[ผู้คนกำลัง] ย้อนกลับไปทำสิ่งที่พวกเขาคุ้นเคย สิ่งที่พวกเขาเคยทำ หากไม่มีการย้ำเตือนหรือไม่มีข้อจำกัดใดๆ เกี่ยวกับเรื่องนี้แล้ว อะไรเล่าที่จะกระตุ้นให้พวกเขาสวมหน้ากากอนามัย
รศ.ฮอลลี ซีล ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ มหาวิทยาลัยนิวเซาท์เวลส์
การเลือกที่ผู้คนเลือกว่าจะสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่นั้น อาจได้รับอิทธิพลจากความเข้าใจผิดเกี่ยวกับ "ประโยชน์ที่ผู้คนเข้าใจ" เกี่ยวกับมาตรการด้านสาธารณสุขและโอกาสในการติดเชื้อซ้ำ ” รศ. ซีล กล่าว

แม้ว่าก่อนหน้านี้จะมีความเชื่อว่าผู้ที่เคยติดเชื้อโควิดแล้วจะมีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อซ้ำเป็นเวลาหลายเดือน

"มีการชี้แนะที่บอกว่าเรากลับไปอยู่ในช่วงเวลาที่ผู้คนปฏิบัติตามมาตรการสาธารณสุขเพื่อตนเอง แทนที่จะทำเพราะเป็นสิ่งที่ดีที่สุดเพื่อประโยชน์ของชุมชน" รศ.ซีล กล่าว

“ในขณะที่ในปี 2021 อาจมีผู้คนจำนวนไม่มากที่ติดเชื้อโควิด-19 จริง ๆ หรืออาจรู้จักคนไม่มากนักที่ติดเชื้อโควิด ในความเป็นจริงในตอนนี้ อาจเป็นทุก ๆ สองคนที่อาจมีประสบการณ์โดยตรงหรือมีคนในครอบครัวใกล้ชิดของพวกเขาที่ป่วยจากโควิด-19”

"นั่นเปลี่ยนกรอบความคิดของเราว่าเราจำเป็นต้องสวมหน้ากากอนามัยหรือไม่ หรือเมื่อใดที่เราจำเป็นต้องได้รับวัคซีน และต้องใช้กลยุทธ์ด้านสาธารณสุขอื่นๆ"

การลดลงของการสวมหน้ากากอนามัยดูเหมือนจะเกิดขึ้นมากที่สุดในกลุ่มคนที่อายุน้อยที่สุดและกลุ่มคนที่อายุมากที่สุดในสังคม รศ. ซีล กล่าว

“เราต้องการทำให้แน่ใจได้ว่า เรากำลังกระตุ้นให้ผู้คนให้ไปรับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น (บูสเตอร์) ของพวกเขา และเรากำลังกระตุ้นให้พวกเขาตระหนักรู้เกี่ยวกับการสวมหน้ากากอนามัย”

ควรนำข้อกำหนดการสวมหน้ากากอนามัยกลับมาหรือไม่?

การวิจัยจากสถาบันเบอร์เน็ต แสดงให้เห็นว่า ข้อกำหนดให้ต้องสวมหน้ากากอนามัยที่นำมาใช้ในช่วงการระบาดของโควิด-19 ระลอกสองในเมลเบิร์นในเดือนกรกฎาคม 2020 "เปลี่ยนการเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณในการระบาดในชุมชนให้ลดลงแบบทวีคูณในเกือบชั่วข้ามคืน"

ในช่วงการระบาดของเชื้อโควิดสายพันธุ์โอมิครอนระลอกล่าสุด รัฐบาลออสเตรเลียและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขได้สนับสนุนอย่างยิ่งให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่ที่มีความเสี่ยงสูง และเมื่อพวกเขาไม่สามารถรักษาระยะห่างจากผู้อื่นได้ แต่ก็ไม่ได้ประกาศเป็นข้อกำหนด

ศาสตราจารย์แครบบ์ได้เรียกร้องให้รัฐบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขพิจารณาการตัดสินใจของพวกเขาอีกครั้ง โดยแนะนำว่าการกำหนดให้สวมหน้ากากอนามัยในบางสถานที่อาจกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นสวมใส่หน้ากากอนามัยนอกพื้นที่เหล่านั้นด้วย

“พวกเราชอบข้อบังคับ แต่เฉพาะเมื่อเรายอมรับในเหตุผลของข้อบังคับนั้นแล้ว และสำหรับโควิด พวกเรายังไม่ยอมรับในเหตุผลเรื่องนี้” ศ.แครบบ์ กล่าว

“จนกว่านายกรัฐมนตรี มุขมนตรี และหัวหน้าคณะรัฐมนตรีจะตื่นขึ้น ... ผมไม่คิดว่าเราจะเปลี่ยนความคิดของชาวออสเตรเลียได้”
แต่รองศาสตราจารย์ซีลกล่าวว่า รัฐบาลต่างๆ ดูเหมือนจะไม่มี "ความกระหาย" ให้ข้อกำหนดการสวมหน้ากากอนามัยกลับมา

“ฉันคิดว่าพวกเขาต้องพิจารณาเรื่องนี้อย่างเป็นองค์รวม มากกว่าประเด็นเดียวคือการเพิ่มขึ้นของผู้ติดเชื้อรายใหม่ และแค่เรื่องแนวปฏิบัติด้านสาธารณสุข” รศ.ซีล กล่าว

“เราสามารถเปิดตัวแคมเปญการประชาสัมพันธ์ใหม่ๆ ได้ แต่มันจะมีผลอะไรไหมในตอนนี้ หรือผลที่ได้รับนั้นจะจำกัด และควรใช้เงินไปกับอย่างอื่นมากกว่า?”

"มีเงินจำกัดที่พวกเขาจะใช้สำหรับเรื่องนี้ มันเป็นเรื่องเกี่ยวกับการให้ผู้คนได้รับวัคซีนเข็มที่สามและสี่ ซึ่งนั่นควรเป็นสิ่งที่ต้องทำอันดับแรกหรือเปล่า? และเรามองหาวิธีอื่นในการพยายามเตือนผู้คนให้สวมใส่หน้ากากอนามัย?"

จะโน้มน้าวใจให้ผู้คนสวมหน้ากากอนามัยได้อย่างไร?

รศ.ซีล กล่าวว่า โครงการริเริ่มแจกหน้ากากอนามัยฟรีของรัฐวิกตอเรียสามารถช่วยกระตุ้นให้ผู้คนจำนวนมากขึ้นเปลี่ยนพฤติกรรมในระยะสั้น

“มันเป็นหนึ่งในสิ่งที่ดีที่สุดที่เราสามารถทำได้” รศ.ซีล กล่าว

“โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าคุณเห็นคนอื่นในบริเวณใกล้เคียงสวมหน้ากากอนามัยทันที นั่นเป็นการสะกิดคุณให้ทำแบบเดียวกันและขจัดความรู้สึกที่ว่าคุณเป็นคนเดียวในบริเวณนั้นที่สวมหน้ากากอนามัย"

แต่นี่อาจไม่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมในระยะยาว รองศาสตราจารย์ซีลกล่าว

“บางทีนั่นอาจเป็นทั้งหมดที่เราต้องการขณะนี้ในอีกสองสามสัปดาห์ข้างหน้า ในขณะที่เราฟันฝ่าผ่านระยะสุดท้ายของการระบาดที่พุ่งสูงในระลอกปัจจุบัน” รศ.ซีล กล่าว
ท้ายที่สุดแล้ว รศ.ซีล กล่าวว่า วิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดในการเพิ่มการสวมหน้ากากอนามัยในหมู่ประชาชนคือการส่งสารแบบจากเพื่อนสู่เพื่อน

“ในการวิจัยของเรา เราพบว่าสมาชิกในครอบครัวมีบทบาทสำคัญในด้านการแพทย์ ดังนั้นในวงสังคมของคุณมีผู้ที่มีภาวะสุขภาพเรื้อรังหรือผู้ที่เป็นผู้สูงอายุ ให้เตือนคนรอบข้างให้ว่าเมื่อใดและเหตุใดเราจึงควรสวมหน้ากากอนามัย” รศ.ซีล กล่าว

“ให้พวกเขาว่า 'ดูสิ ยังคงมีเชื้อโควิดอยู่รอบๆ' บอกว่า 'นี่เป็นเชื้อสายพันธุ์ที่เราเพิ่งพบมาไม่นานนัก ซึ่งหมายความว่าแม้ว่าคุณจะเคยติดโควิดมาแล้ว แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าคุณมีภูมิคุ้มกันอยู่ตอนนี้' และโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ไม่ได้รับวัคซีนเข็มที่สามหรือสี่ ซึ่งพวกเขายังคงมีความเสี่ยงสูงที่จะป่วยหนัก"

คุณสามารถติดตามข่าวสารล่าสุดจากออสเตรเลียและทั่วโลกเป็นภาษาไทยจากเอสบีเอส ไทย ได้ที่เว็บไซต์ 

บันทึกเว็บไซต์ของเราเก็บไว้ในบุ๊กมาร์ก เพื่อไม่ให้คุณพลาดสถานการณ์ล่าสุด หรือติดตามเราทางเฟซบุ๊กที่ 

Share
Published 12 August 2022 3:01pm
By Amy Hall
Presented by Parisuth Sodsai
Source: SBS


Share this with family and friends


Follow SBS Thai

Download our apps
SBS Audio
SBS On Demand

Listen to our podcasts
Independent news and stories connecting you to life in Australia and Thai-speaking Australians.
Understand the quirky parts of Aussie life.
Get the latest with our exclusive in-language podcasts on your favourite podcast apps.

Watch on SBS
Thai News

Thai News

Watch in onDemand